ฮุปแต้มอีสาน, สิมอีสาน (Isan Mural Painting and Isan Temple Architectures)

 สิม หอไตร ฮูปแต้ม

 Sim ISAN สิม สิมอีสาน หอไตรอีสาน ฮูปแต้มอีสาน มนต์เสน่ห์แห่งพุทธศิลป์แดนดินอีสาน
 
  
  
บทความดีๆ จากอินเตอร์เน็ต : ศึกษาและสืบสาน มรดกฮูปแต้ม
เสาร์ ที่ 18 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2556

ศึกษาและสืบสาน มรดกฮูปแต้ม


           ''ฮูปแต้ม'' คือคำที่ ใช้เรียกงานศิลปะจิตรกรรมฝาผนัง ที่ใช้ในการตกแต่ง ''สิม'' หรือโบสถ์แบบอีสาน เป็นศิลปะที่ทรงคุณค่าทางวัฒนธรรมของคนอีสาน

ศิลปะที่บ่งบอกเรื่องราวความเป็นมาของสังคมแต่ละยุคสมัย

           ฮูปแต้มบนผนังสิมเกิดมาจากภูมิปัญญา และฝีมือของช่างเขียนภาพฝาผนังพื้นเมืองอีสาน หรือ ''ช่างแต้ม'' ที่สั่งสมการเรียนรู้มาอย่างยาวนาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการออกแบบ เทคนิคและการใช้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งนอกจากบอกเล่าเรื่องราวทางศาสนา แล้วยังสามารถสะท้อนความคิดของช่างแต้มแต่ละคน ที่แสดงออกอย่างตรงไปตรงมา

           สิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่บรรจุอยู่ในผลงานก็คือ ความศรัทธาและความตั้งใจของคนทำ ฮูปแต้มจึงเป็นสื่อสะท้อนความคิด ความสามารถ ภูมิรู้ และทรรศนะเกี่ยวกับความงามของช่างและชาวบ้าน และสามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานที่บันทึกเรื่องราวในอดีตของชุมชน ซึ่งฮูปแต้มที่ปรากฏส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับประเพณี วัฒนธรรม วิถีชีวิตของ คนอีสานในอดีตตลอดจนเรื่องราวทางพระพุทธศาสนา

           โครงการย้อนรอยอดีตถิ่นอีสานสืบตำนานฮูปแต้ม สานสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น'' (Thai-Japanese Reserving Isan Mural Heritage) ซึ่งจัดขึ้น ณ วัดหน้าพระธาตุ (วัดตะคุ) อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา โดย Asia Partnership Fund Group หรือเอพีเอฟ กรุ๊ป ซึ่งเป็นกองทุนส่วนบุคคลของชาวญี่ปุ่นที่เข้ามาลงทุนในประเทศแถบภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยมายาวนานกว่า 10 ปี และมีการลงทุนในธุรกิจหลากหลายประเภท ร่วมกับ กองทัพภาคที่ 2 และสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ เป็นอีกความพยายามในการอนุรักษ์ผลงานจิตรกรรมช่างพื้นบ้าน รวมถึงถ่ายทอดความสำคัญของศิลปะแขนงนี้ให้แก่เยาวชนคนรุ่นใหม่

สิม วัดหน้าพระธาตุ อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา สิม วัดหน้าพระธาตุ อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา
   


           "ฮูปแต้มที่อยู่ในสิมหรือโบสถ์ คืออีกหนึ่งรูปแบบของจิตรกรรมฝาผนัง เป็นศิลปะที่ทรงคุณค่าทางวัฒนธรรมของคนอีสานที่บ่งบอกเรื่องราวความเป็นมาของสังคมแต่ละยุคสมัย ทาง Asia Partnership Fund Group ด้วยระยะเวลาที่ยาวนานทำให้รู้สึกซาบซึ้งและผูกพันกับประเทศไทย ที่ให้ความเอื้อเฟื้อต่อคนต่างชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มีต่อชาวญี่ปุ่นที่มาทำงานและอาศัยอยู่ในเมืองไทย จึงได้ริเริ่มการจัดทำโครงการนี้ขึ้นมา เพื่อนำกิจกรรมทางศิลปะมาใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารให้เยาวชนได้เข้าไปเรียนรู้ประวัติความเป็นมา รวมทั้งมีส่วนในการอนุรักษ์ฮูปแต้ม ซึ่งคิดว่าวิธีการนี้จะทำให้เยาวชนเกิดความเข้าใจในความสำคัญของศิลปะพื้นบ้าน เกิดความรัก หวงแหน และนำมาซึ่งการร่วมกันอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมฮูบแต้มอีสาน" กติกา จิระดำรง ตัวแทน Asia Partnership Fund Group กล่าว

           การทำงานของโครงการสืบตำนานฮูปแต้มที่ผ่านมา ได้ อาจารย์สุมาลี เอกชนนิยม อาจารย์ประจำคณะศิลปวิจิตร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ เจ้าของผลงานหนังสือ ''ฮูปแต้มในสิมอีสาน งานศิลป์สองฝังโขง'' ลงสำรวจพื้นที่ในจังหวัดนครราชสีมา เพื่อค้นหา ฮูบแต้มที่ปรากฎอยู่ในของวัดต่างๆ เพื่อใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ศิลปกรรมและวิถีชีวิตของชุมชน

           จากการสำรวจพบว่า ในจังหวัดนครราชสีมา เป็น 1 ใน 6 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีฮูปแต้มในสิมของหลายวัด โดยเฉพาะฮูปแต้มในสิมที่วัดหน้าพระธาตุ (วัดตะคุ) อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นจิตรกรรมฝาผนังสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีอายุกว่า 300 ปี และเป็นฮูปแต้มเพียงแห่งเดียวในจังหวัดนครราชสีมาที่เรียกได้ว่ายังคงมีสภาพเกือบสมบูรณ์ เหมาะสำหรับใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ศิลปกรรมและวิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณีของชาวชุมชนอีสานเป็นอย่างดี

           กลุ่มเป้าหมายในการร่วมสานต่องานศิลป์ในครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของ จังหวัดนครราชสีมา ที่ผ่านการคัดกรองเข้าร่วมโครงการ จำนวน 120 คน เริ่มด้วยการบรรยายสรุปเรื่อง ''ความสำคัญของจิตรกรรมฝาผนังกับชุมชน'' โดยอาจารย์สุมาลี ตามด้วยการลงมือศึกษาและฝึกปฏิบัติการคัดลอกฮูปแต้มในกิจกรรม ''จิตรกรรมจากฝาผนังสู่ผืนกระดาษ'' รวมถึงกิจกรรมแลกเปลี่ยนศิลปะและวัฒนธรรมไทย-ญี่ปุ่น แนะนำการเขียนตัวอักษรญี่ปุ่น โดย ศิลปินชาวญี่ปุ่น ฝึกหัดการวาดรูปแบบญี่ปุ่น/แสดงผลงาน

           ทั้งหมดก็เพื่อส่งเสริม และปลูกฝังจิตสำนึก ความรัก ความเข้าใจในงานศิลปกรรมของท้องถิ่นอีสาน นำศิลปะมาเชื่อมโยงให้เยาวชนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้เรื่องราวของสังคมแต่ละยุคสมัยได้อย่างเข้าใจลึกซึ้ง ให้เยาวชนสามารถประยุกต์ใช้ศิลปะพื้นบ้านในการสะท้อนวิถีชีวิตของคนอีสาน รวมถึงให้เยาวชนได้ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของศิลปะอันจะนำไปสู่การอนุรักษ์ศิลปกรรมของท้องถิ่นในอนาคต

           นอกจากนักเรียนจะได้รับความรู้ และการถ่ายทอดงานทางด้านศิลปะของทั้ง 2 ชาติแล้ว ภาพวาดศิลปะที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมจะถูกนำมาคัดเลือกภาพที่ดีที่สุด 3 ภาพ จากทั้งหมด 120 ภาพ ทั้งภาพในแบบไทยและแบบญี่ปุ่น โดยทาง Asia Partnership Fund Group ได้จัดทุนการศึกษาให้กับนักเรียนและเงินสนับสนุนกิจกรรมโรงเรียน รวม 110,000 บาท เพื่อใช้ประโยชน์ทางด้านการศึกษาต่อไป

           ก่อนจะปิดท้ายกิจกรรมในโครงการ ''โครงการย้อนรอยอดีตถิ่นอีสานสืบตำนานฮูปแต้ม สานสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น'' ด้วยกิจกรรมสำคัญ คือการร่วมกันวาดภาพประวัติศาสตร์เชื่อมความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น ระหว่างมิซูเอะ ซูกิยาม่า จิตรกรญี่ปุ่น และอาจารย์สุมาลี เอกชนนิยม ตัวแทนจิตรกรไทย ถือเป็นการแสดงออกถึงความร่วมมือครั้งนี้


โดย : ชาธิป สุวรรณทอง Life Style : ศิลปวัฒนธรรม กรุงเทพธุรกิจ


เข้าชม : 10687


บทความดีๆ จากอินเตอร์เน็ต 5 อันดับล่าสุด







    หมายเหตุ : บางวัด ภาพจากอินเตอร์เน็ต เพราะยังไม่ได้เดินทางไปชม
ออกแบบโลโก้ ออกแบบกล่อง ออกแบบถุง ออกแบบสิ่งพิมพ์ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ วาดเส้น จิตรกรรม Drawing  Painting รับทำ SEO, ปั่นเว็บ, หน้า 1, อันดับ 1 ฮูปแต้ม, สิมอีสาน, ฮูบแต้ม, ศิลปะอีสาน, สิม, โบสถ์, หอไตร, สถาปัตยกรรมอีสาน


อาร์ตนานา สตูดิโอ และ เดอะ ไดโนเสาร์ อาร์ต แกลเลอรี่ ™ (หอศิลป์ เดอะแด็ก)
บ้านเลขที่ 9, 48 หมู่ 12 บ้านหนองซำ ต.น้ำอ้อม อ.ค้อวัง จ.ยโสธร 35160 กรุณาโทรติดต่อก่อนการเดินทางหรือนัดหมายล่วงหน้า ที่เบอร์ โทร. 081- 303 4493, 064-092 9449
www.artnana.com

 ร่วมสนับสนุนเว็บไซต์ อีสานอาร์ตดอทคอม ช่องพุทธศิลป์อีสาน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางถ่ายภาพนำมาจัดทำเว็บไซต์ ได้ที่ :

ธนาคารกสิกรไทย สาขาบางกะปิ ชื่อบัญชี นายพัฒยา จันดากูล เลขที่บัญชี 003-2-02799-9 ประเภท ออมทรัพย์

ต้องยอมรับความจริงว่า การเดินทางมีค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะค่าน้ำมันรถ หากต้องเดินทางไกลๆ หลายร้อยกิโลเมตร ค่าใช้จายในแต่ละเที่ยวก็หลายพันบาท เว็บมาสเตอร์จึงต้องรองบประมาณ และวางแผนการเดินทางให้คุ้มกับค่าน้ำมัน โดยกำหนดจุดที่จะไปถ่ายภาพให้ได้เยอะๆ ก่อนการเดินทาง ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ให้การสนับสนุนค่าเดินทางครับ



3.128.198.21 | Copyright © 2008 - 2023 esanart.com All Rights Reserved.
Website designed by Artnana Sudio