+ เพิ่ม |
- ลด ขนาดตัวอักษร
เขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์
ลำปาวเป็นลำน้ำสาขาสำคัญของแม่น้ำชี มีต้นน้ำอยู่ที่หนองหาน อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี แล้วไหลลงมารวมกับแม่น้ำชีที่อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ รวมความยาวประมาณ 250 กิโลเมตร มีพื้นที่ลุ่มน้ำทั้งหมดประมาณ 7,400 ตารางกิโลเมตร ปัญหาของการเพาะปลูกในเขตลุ่มน้ำลำปาวก็เช่นเดียวกันปัญหาที่เกิดอยู่ทั่วไปในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ การขาดแคลนน้ำต้นฤดูทำนาปีและฤดูแล้ง ส่วนในกลางฤดูฝน ฝนตกชุก น้ำล้นตลิ่งและไหลเข้าท่วมที่ราบลุ่มริมลำน้ำที่เรียกว่า นาทาม ทั้งริมฝั่งลำปาวและบริเวณลำปาวบรรจบแม่น้ำชีเสียหายเป็นประจำแทบทุกปี จนเป็นเหตุให้ราษฏรที่อยู่ในเขต นาทาม ต้องอพยพไปหาแหล่งทำกินใหม่ทางต้นน้ำ ทำการตัดต้นไม้ ถากถางและปรับพื้นที่จนเป็นการทำลายแหล่งน้ำธรรมชาติยิ่งทำให้ปัญหาการขาดแคลนน้ำและปัญหาอุทกภัยเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น
เพื่อเป็นการแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำและปัญหาอุทกภัยในลุ่มน้ำลำปาวกรมชลประทานจึงได้เริ่มพิจารณาโครงการเพื่อทำการก่อสร้างเขื่อนลำปาวในปี พ.ศ. 2499 โดยได้รับการสนับสนุนจากธนาคารโลกและรัฐบาลไทย ต่อมาคณะกรรมการเศรษฐกิจอนุมัติให้ดำเนินการในปี พ.ศ. 2503 โดยมีบริษัท Engineering Consultants. Inc (ECI) จากสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ออกแบบก่อสร้างร่วมกับเจ้าหน้าที่ของกรมชลประทาน ใช้งบประมาณการก่อสร้างจากเงินกู้และเงินช่วยเหลือให้เปล่าจากองค์การบริหารวิเทศกิจแห่งสหรัฐ (USAID) ส่วนหนึ่งสมทบกับเงินงบประมาณแผ่นดิน เริ่มก่อสร้างตัวเขื่อนดินและอาคารประกอบในปี พ.ศ. 2506 ที่บ้านหนองสองห้อง และบ้านสะอาดนาทม ตำบลลำคลอง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ เสร็จเรียบร้อยและสามารถเก็บกับน้ำได้ตามวัตถุประสงค์ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2511
เขื่อนลำปาวประกอบด้วยเขื่อนดิน 2 เขื่อนเชื่อมถึงกัน เขื่อนดินที่สร้างขวางกั้นลำปาวสูง 33 เมตร ยาว 3,560 เมตร และอีกเขื่อนหนึ่งสร้างขวางกั้นห้วยยางสูง 26 เมตร ยาว 2,420 เมตร ตัวเขื่อนดินที่เชื่อมต่อระหว่างเขื่อนทั้งสองยาว 1,820 เมตร รวมความยาวเขื่อนลำปาวทั้งสิ้น 7,800 เมตร เก็บกักน้ำได้ 990 ล้านลูกบาศก์เมตร ต่อมาในปี พ.ศ. 2533 ได้ปรับปรุงอาคารระบายน้ำล้นโดยก่อสร้างฝายยางสูง 2 เมตร เหนือระดับเส้นฝายน้ำล้น ทำให้สามารถเก็บกับน้ำได้เพิ่มขึ้นเป็น 1,430 ล้านลูกบาศก์เมตร
ในส่วนของระบบส่งน้ำ ก่อสร้างแล้วเสร็จปี พ.ศ. 2528 ประกอบด้วยคลองส่งน้ำสายใหญ่จำนวน 2 สาย คลองส่งน้ำสายซอยจำนวน 112 สาย ความยาวรวม 585.517 กิโลเมตร ระบบส่งน้ำครอบคลุมพื้นที่ชลประทานทั้งสิ้น 314,000 ไร่ ในฤดูฝนและ 180,000 ไร่ ในฤดูแล้ง ครอบคลุมพื้นที่ 233 หมู่บ้าน 33 ตำบล ในเขตอำเภอเมือง อำเภอยางตลาด อำเภอกมลไสย และอำเภอ ฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์
วันที่ 20 ธันวาคม 2548 คณะรัฐมนตรีลงมติเห็นชอบและอนุมัติในหลักการตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอโครงการลงทุนด้านทรัพยากรน้ำระยะเร่งด่วน ปี 2549 (เพิ่มเติม) ภายใต้กรอบโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ (Mega Project) ด้านทรัพยากรน้ำ ซึ่มีแผนโครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการเก็บกับน้ำอ่างเก็บน้ำลำปาว จ.การสินธุ์ ค่าลงทุนทั้งโครงการ 2,970 ล้านบ้าน ระยะเวลาดำเนินการ 2549-2551 ต่อมาวันที่ 19 กันยายน 2549 คณะรัฐมนตรีอนุมัติก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ ตามมาตร 23 วรรค 4 ระหว่างปีงบประมาณ 2549 - 2552 เฉพาะงานจ้างก่อสร้างปรับปรุงประสิทธิภาพการเก็บกักน้ำอ่างเก็บน้ำ วงเงิน 1,508 ล้านบาท
วันที่ 21 สิงหาคม 2550 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อนุมัติให้กรมชลประทานขยายระยะเวลาก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ จากปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ถึงปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 เป็นปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ถึงปีงบประมาณ พ.ศ. 2553
เขื่อนลำปาวเป็นเพื่อนดิน 2 เขื่อนเชื่อมติดกัน ปิดกั้น 2 ลำน้ำ ได้แก่ช่วงปิดกั้นลำปาวที่บ้านหนองสองห้อง และช่วงปิดกั้นห้วยยางที่บ้านสะอาดนาทม ตำบลคำคลองอำเภอเมืองจังหวัดกาฬสินธุ์
- สันเขื่อนกว้าง 8.00 เมตร
- ความยาวรวม 7,799 เมตร
- ความสูง (ช่วงสูงที่สุด)
ช่วงเขื่อนลำปาว 33.00 เมตร
ช่วงเขื่อนห้วยยาง 26.00 เมตร
- ฐานเขื่อนกว้างสุด 228.00 เมตร
- ระดับน้ำสันเขื่อน +167.80 เมตร(ร.ท.ก.)
ข้อมูลจก : http://lampaoproject.com
ติดต่อ :
สถานที่ตั้ง : อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์
ถ่ายภาพเมื่อ : 3 พฤศจิกายน 2556 - 21 มีนาคม 2558
วันติดตั้งหน้าเว็บ : 24 เมษายน 2558
ปรับปรุงล่าสุด :
จำนวนผู้เข้าชม : 7916 ครั้ง
หมายเหตุ : เว็บมาสเตอร์เดินทางไปชมและถ่ายภาพเอง