สิม หอไตร ฮูปแต้ม



กุฏิฤาษีน้อย กุฏิฤาษีน้อย กุฏิฤาษีน้อย กุฏิฤาษีน้อย กุฏิฤาษีน้อย กุฏิฤาษีน้อย
  • กุฏิฤาษีน้อย
  • กุฏิฤาษีน้อย
  • กุฏิฤาษีน้อย
  • กุฏิฤาษีน้อย
  • กุฏิฤาษีน้อย
  • กุฏิฤาษีน้อย


    กุฏิฤาษีน้อย บริเวณที่ตั้งกุฏิฤาษีเป็นจุดสิ้นสุดของถนนโบราณ ที่มีต้นทางจากเมืองพระนครในเขมร แต่ไม่เหลือร่องรอยถนนไว้ให้เห็นเพราะเป็นที่อยู่อาศัยของชาวบ้าน กุฏิฤาษีเชื่อว่าเป็นอโรคยาศาลสร้างขึ้นช่วงรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งเป็นยุครุ่งเรืองแห่งอาณาจักรขอม พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างอโรคยาศาลตามเส้นทางโบราณไว้เป็นจำนวนมาก ปัจจุบันนี้เหลือให้เห็นเพียงซากกำแพงศิลาแลงกับปราสาทเท่านั้น

 Isan Upload


รวมภาพเก่าๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานที่



 ข่าวอัพเดท ข่าวสารอัพเดทสถานที่ :
ข่าวทั้งหมด 0 ข่าว
 

+ เพิ่ม | - ลด ขนาดตัวอักษร

กุฏิฤาษีน้อยจังหวัดนครราชสีมา
    กุฏิฤาษีน้อย อโรคยศาลา หรือ สุคตาลัย สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ราวพุทธศตวรรษที่ 18 สันนิษฐานว่าประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ ส่วนที่ใช้รักษาผู้เจ็บป่วย ซึ่งคงสร้างด้วยเครื่องไม้ ปัจจุบันจึงไม่เหลือหลักฐานให้ศึกษา สำหรับส่วนที่ 2 คือ ศาสนสถานประจำอโรคยศาลา ซึ่งยังคงเหลือหลักฐานให้เห็นอยู่

    ตามจารึกปราสาทพระขรรค์ กล่าวว่า สร้างขึ้นพร้อมกัน 102 แห่ง ทั่วทุกวิษัย (เมือง) สะท้อนให้เห็นถึงพระราชอำนาจของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่แพร่เข้ามาในดินแดนไทย นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นถึงความห่วงใยในเรื่องสุขภาพของราษฏร ตามข้อความที่กล่าวในจารึกตามอโรคยาศาลาต่างๆ คือ “โรคทางร่างกายของปวงชนนี้ เป็นโรคทางจิตที่เจ็บปวดยิ่ง เพราะความทุกข์ของราษฎร แม้มิใช่ความทุกข์ของพระองค์ แต่เป็นความทุกข์ของเจ้าเมือง”

    แผนผังของปราสาทในกลุ่มอโรคศาลานี้ส่วนใหญ่แล้วมีลักษณะคล้ายคลึงกันทั้งหมด โดยที่กุฏิฤๅษีหนองบัวรายนี้จะหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ก่อด้วยศิลาแลง มีปราสาทประธาน ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้มีบรรณาลัยตั้งหันหน้าเข้าหาปราสาทประธาน ทั้งหมดนี้ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว มีโคปุระด้านทิศตะวันออกเป็นประตูทางเข้าเพียงด้านเดียว ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือนอกแนวกำแพงแก้วมีสระน้ำในผังรูปสี่เหลี่ยม การพบกุฏิฤๅษีพิมายนี้แสดงให้เห็นว่าชุมชนบริเวณเมืองพิมายนี้เป็นชุมชนที่มีขนาดใหญ่ชุมชนหนึ่ง มีการอยู่อาศัยต่อเนื่องเรื่อยมาจนกระทั่งถึงพุทธศตวรรษที่ 18 เป็นอย่างน้อย

    กุฏิฤาษีน้อย หรือกุฏิฤาษีพิมาย อโรคยศาลา ริมถนนโบราณทางทิศใต้ของเมืองพิมาย ใกล้ประตูกำแพงเมืองพิมาย คือ ประตูทางทิศใต้ที่ท่านางสระผม กรมศิลปากรได้ทำการขุดแต่งและบูรณะเมื่อปี พ.ศ. 2531-2532 พบปฏิมากรรมรูปเคารพพระโพธิสัตว์วัชรธรองค์หนึ่ง และศิลาจารึกประจำอโรคยาศาลหนึ่งหลัก


สถานที่ตั้ง : นอกเมืองพิมายทางด้านทิศใต้ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
ถ่ายภาพเมื่อ :
วันติดตั้งหน้าเว็บ : 20 กรกฎาคม 2558
จำนวนผู้เข้าชม : 3179 ครั้ง
หมายเหตุ : ข้อมูลภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต, ข้อมูลจากหนังสือความลับในปราสาทขอม เขียนโดย ทรงสมัย สุทธิธรรม






อาร์ตนานา สตูดิโอ และ เดอะ ไดโนเสาร์ อาร์ต แกลเลอรี่ ™ (หอศิลป์ เดอะแด็ก)
บ้านเลขที่ 9, 48 หมู่ 12 บ้านหนองซำ ต.น้ำอ้อม อ.ค้อวัง จ.ยโสธร 35160 กรุณาโทรติดต่อก่อนการเดินทางหรือนัดหมายล่วงหน้า ที่เบอร์ โทร. 081- 303 4493, 064-092 9449
ออกแบบโลโก้ | ออกแบบบรรจุภัณฑ์ | ออกแบบกล่อง | ออกแบบบถุง | ออกแบบฉลาก | ออกแบบสื่อส่งเสริมการขาย ออกแบบสื่อดิจิทัล Digital Media Design

 ร่วมสนับสนุนเว็บไซต์ อีสานอาร์ตดอทคอม ช่องพุทธศิลป์อีสาน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางถ่ายภาพนำมาจัดทำเว็บไซต์ ได้ที่ :

ธนาคารกสิกรไทย สาขาบางกะปิ ชื่อบัญชี นายพัฒยา จันดากูล เลขที่บัญชี 003-2-02799-9 ประเภท ออมทรัพย์

ต้องยอมรับความจริงว่า การเดินทางมีค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะค่าน้ำมันรถ หากต้องเดินทางไกลๆ หลายร้อยกิโลเมตร ค่าใช้จายในแต่ละเที่ยวก็หลายพันบาท เว็บมาสเตอร์จึงต้องรองบประมาณ และวางแผนการเดินทางให้คุ้มกับค่าน้ำมัน โดยกำหนดจุดที่จะไปถ่ายภาพให้ได้เยอะๆ ก่อนการเดินทาง ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ให้การสนับสนุนค่าเดินทางครับ



98.81.24.230 | Copyright © 2008 - 2023 esanart.com All Rights Reserved.
Website designed by Artnana Sudio