ฮุปแต้มอีสาน, สิมอีสาน (Isan Mural Painting and Isan Temple Architectures)
 สิม หอไตร ฮูปแต้ม

(วางเมาส์บนรูปภาพ เพื่อดูส่วนขยายภาพ)

+ เพิ่ม | - ลด ขนาดตัวอักษร      


วัดศรีธาตุ บ้านสิงห์ ต.สิงห์ อ.เมือง จ.ยโสธร
     วัดศรีธาตุ สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๕ ไร่ ๒๙ ตาราวา อาณาเขตทิศเหนือจดที่สาธารณะ ทิศตะวันตก จดหมู่บ้านและถนนสาธารณะสายบ้านสิงห์ - บ้านหนองหิน ตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๐ เดิมเป็นวัดร้าง ชาวบ้านเรียกบริเวณนี้ว่า ดงผีสิงห์ ต่อมามีคณะของเจ้าคำสู เจ้าคำโส เจ้าคำขุย เจ้าคำปุ้ย ฯลฯ พร้อมด้วยมหาเซียงสา ย้ายมาจากนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน (ปัจจุบันเป็นจังหวัดหนองบัวลำภู) ได้มาบูรณะวัดนี้ขึ้น ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๐      วัดศรีธาตุ เป็นวัดเก่าแก่ที่ประดิษฐานพระพุทธรูปโบราณ ก่อนสมัยสุโขทัย มีสถูปโบราณ สิงห์หินแกะสลัก อันมีประวัติที่พิสดารเล่าขานกันมา หอไตรกลางน้ำที่สวยสดงดงาม พร้อมทั้งงานพุทธศิลปอีสานอย่างอื่น ให้ท่านได้ชมที่พิพิธภัณฑ์ของวัด

สิ่งที่น่าสนใจ
      พระเจ้าใหญ่ พระหลักคำวรสิหนาท เป็นพระพุทธรูปปางเสวยวิมุติสุข (มารสะดุ้ง) หน้าตักกว้าง ๒.๘๕ เมตร สูง ๕.๒๐ เมตร สร้างด้วยอิฐฉาบปูน ได้พบอยู่ที่ประดิษฐานปัจจุบันอันปกคลุมด้วยเถาวัลย์ พระเจ้าใหญ่องค์นี้ชาวบ้านถือว่า มีความศักดิ์สิทธฺ์ เมื่อชาวบ้านมีทุกข์ จะนำดอกไม้ ธูปเทียน ทอง เพื่อไปสักการะ อธิษฐานขอให้ขจัดปัดเป่าทุกข์ภัย และก็ได้ผลดังปราถนา ใน พ.ศ. ๒๕๐๓ วิหารหลังเดิมได้พังลงมาเพราะเสื่อมโทรมตามกาลเวลา เป็นเรื่องน่าแปลกที่ด้านทิศใต้ ติดกับวิหารเป็นศาลาการเปรียญ เมื่อวิหารพังลงมาน่าจะพังทับครึ่งหลังครึ่งหลังแต่ไม่ได้โดนศาลาการเปรียญ หรือแม้แต่องค์พระเจ้าใหญ๋ก็มิได้ระคายผิวเลย และปัจจุบันได้สร้างวิหารหลังใหม่แล้ว ในเดือน ๕ จะมีงานสรงน้ำพระเจ้าใหญ๋เป็นประจำทุกปี

      หอไตร เป็นหอไตร ที่สร้างมาตั้งแต่สมัยโบราณ เพื่อเป็นแหล่งเก็บรวบรวมตู้พระไตรปิฎก อักษรธรรม มีศิลปะการก่อสร้างที่มีลวดลายแกะสลักไม้สวยงาม หอไตรวัดศรีธาตุ ตั้งอยู่กลางสระน้ำมีระเบียงรอบยื่นมาติดเสาระเบียง เดิมใช้เป็นที่เก็บหนังสือผูกใบลานต่าง ลักษณะทางสถาปัตยกรรม หลังคาจั่ว ซ้อนหลังคากันสาดรอบ ผนังโปร่งตีไม้แนวกั้นเป็นผนังชั้นระเบียงสลับช่องเปิด องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม เป็นศิลปะแบบอีสานพื้นบ้าน โดยเฉพาะส่วนของคันทวยนาคแสดงเอกลักษณ์เฉพาะพื้นบ้านอย่างชัดเจน หน้าบัน (สีหน้า) ตีแผ่นไม้กันล้อผนังส่วนอาคาร ถือเป็นรูปแบบหอไตรกลางน้ำที่มีลักษณะที่แตกต่างกับรูปแบบนิยมของหอไตรหลังอื่นในท้องที่ บานประตูเป็นลายเครือเถา แกะสลักลวดลายสวยงาม
     ปัจจุบัน หอไตรวัดศรีธาตุมีการบูรณะซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม และยังเป็นสถานที่ใช้สำหรับให้เด็ก เยาวชน และประชาชน ได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

      สิงห์ มีเรื่องเล่าว่า สิงห์ ตัวที่เป็นสัญญลักษณ์ของบ้านสิงห์นี้ ในใบลานอักษรไทยน้อย ที่ศาลากลางจังหวัดยโสธร กล่าวเป็นภาษาพื้นบ้านว่า " อินทิราชเจ้า เฮียกชื่อ ดงหลวง นามกรดง ซีกของทางซ้าย อันว่าเทวบุตรเจ้าสำแดง เป็นที่อยู่มีอ่างแก้วสระใหญ่บริคน แปลงสิงหืหินให้เป็นผลานกว้าง อันสิงห์โตนี้มัฤทธิ์ขั่ว อันว่าสิงห์แม่นั้นเดินค้นคัวหา แท้แหล่ว"
      ถ้าวิเคราะห์ตามตำนานนี้ แสดงให้เห็นว่าสิงห์ตัวนี้เป็นเพศผู้ และสามารถเหาะเหิน ดำดิน บินบนได้ ตรงกับคำบอกเล่าของคนรุ่นเก่าว่า สิงห์ตัวนี้เหาะไปมาหาสู่สิงห์ตัวเมียที่วัดสิงห์ท่าเป็นประจำ
      อยู่มาวันหนึ่ง เกิดพายุฟ้าคะนอง ฟ้าได้ผ่าลงที่ตัวสิงห์ ตกลงที่ร่องน้ำ ร่องน้ำแห่งนี้จึงมีชื่อว่า ร่องสิงห์ แต่ต่อมาภาษาเพี้ยนเป็น ร่องสิม อยู่ด้านทิศใต้ของบ้านห้องข่า ชาวบ้านทราบจึงได้นำกลับมาไว้ที่วัดศรีธาตุตามเดิม จากนั้นสิงห์ตัวนี้ได้ถูกโขมยไปหลายครั้ง ดังนี้
ครั้งที่ ๑ พบที่ร่องน้ำ บ้านห้องข่า
ครั้งที่ ๒ หาไปโดยถูกโขมย มีคนไปพบที่ฐานจุดบั้งไฟ ทิศตะวันออกของวัดศรีธาตุ
ครั้งที่ ๓ หายไป มีคนพบที่หนองน้ำ ด้านตะวันออกของหมู่บ้านและถูกเจาะสะดือ เพื่อหาสมบัติและเครื่องรางของขลัง
ครั้งที่ ๔ พบที่หน้าวิหาร ขโมยไม่สามารถเอาไปได้ และทิ้งเชือกและอุปกรณ์ไว้
ครั้งที่ ๕ ใช้ล้อเข็นออกมาแต่เอาไปไม่ได้ เพราะล้อเข็นหัก
ครั้งที่ ๖ เป็นครั้งที่หายไปนานที่สุด ตั้งแต่ปี ๒๕๒๘ ในคืนวันที่ ๓๐ ตุลาคม ได้ถูกขโมยไปอีกครั้ง รวมเวลา ๓ เดือน ๑๓ วัน และสามารถนำกลับมาได้ โดยการติดตามของตำรวจ ไปพบที่ ต.ยาง อ.เมือง จ. บุรีรัมย์ จากการเล่าของ พ.ต.อ. เอิบ พรายบัว สวญ.ยโสธร เล่าว่า ก่อนที่จะได้คืน มีคนเห็นแสงสว่างพุ่งจากพื้นดินแถวป่าละเมาะขึ้นสู่ท้องฟ้า จึงไปดุพบว่า ขโมยได้ฝังสิงห์ศิลาแลงตัวนี้ จึงได้นำความแจ้งแก่ตำรวจ จึงได้กลับคืนมา จากการพยายามของเหล่ามิจฉาชีพหลายครั้ง หลายหนแต่ไม่สำเร็จ คงเพราะความศักดิ์สิทธิและอิทธิฤทธิ์ของสิงห์คู่บ้านคู่เมืองนี้เป็นแน่แท้



      พระธาตุองค์อาจกบาลหลวง เป็นธาตุบรรจุอัฐิของบรรพชน ผู้นำในการก่อตั้งบ้านสิงห์โคก ที่เดินทางมาจากหนองบัวลำพู ประวัติพระธาตุองค์อาจกะบาลหลวงเป็นธาตุเก่าแก่ ตามที่เล่ามาข้างต้น ชาวบ้านนับถือบูชามาตลอด มีเรื่องเล่าว่า มีคนไม่เชื่ออยากทดลอง โดยนำเอาก้อนอิฐของพระธาตุออกไปจากสถานที่โดยมิได้บอกกล่าว ปรากฎว่า ปวดท้องอย่างรุนแรง ครั้นนำกลับมาและขอขมาหายปวดท้องเป็นปลิดทิ้ง
      ในปี พ.ศ. ๒๕๓๒ ได้ทำพิธีบวงสรวงเพื่อขอบูรณะ โดยการนำของพระครูฉันทกิจโกศล เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน ทำการบวงสรวงอยู่ ๓ คืน โดยมีทายก ทายิกา บวชชีพราหมณ์ คืนละ ๑,๐๐๐ คนเศษ จึงได้สร้างค่อมไว้โดยมิได้รื้อถอน คืนแรกของการบวงสรวง มีเกจิอาจารย์รูปหนึ่งร่วมในพิธีท่านคงมาด้วยความอยากทดลอง ปรากฎว่า ก้อนอิฐหล่นลงมาตรงหน้าท่านนั้น ทั้งที่ก่อนหน้านี้ชาวบ้านได้ดูแลความเรียบร้อยและทำความสะอาดอยู่ทั้งวัน

      ยังมีสิ่งที่น่าสนใจอีกมากมาย เช่น สิมเก่า รูปแบบอีสาณผสมญวณ สถูปสิงห์โบราณ ธรรมาสโบราณและงานพุทธศิลปอื่นๆ อีกมาก


ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น
       ถ่ายภาพเมื่อ : 23 กุมภาพันธ์ 2557 ยังไม่ได้บูรณะปฏิสังขรณ์
พระสมุห์สุรสิงห์ สุระเตโช ท่านรองเจ้าอาวาสผู้ให้ความอนุเคราะห์พาเดินชม และตอบคำถาม
หอไตรกลางน้ำ ได้รับการบูรณะปี 2530
หอไตรกลางน้ำ กรมศิลปแจ้งให้วัดสูบน้ำออก เพื่อเตรึยมบูรณะ
หอไตรกลางน้ำ สภาพโดยรอบวัด แออัด พื้นที่ไม่กว้างใหญ่มากนัก
หอไตรกลางน้ำ สภาพโดยรอบรกร้าง
ความสวยงามนั้น ถือว่า สวยกว่าวัดทุ่งนางโอก ซึ่งอยู่ใกล้ๆ กัน
สิมเก่า เป็นสิมขนาดใหญ่ เข้าออกทางเดียว มี 2 ประตู การประดับประดาลาย ลายปูนปั้นนั้นดูเหมือนจะออกไทยๆ แต่ดูลักษณะโครงสร้างแล้วน่าจะมีช่างญวนร่วมด้วย
สถานที่ประดิษฐานสิงห์โบราณ (ปัจจุบัน เป็นสิงห์จำลอง ส่วนสิงห์จริงนั้น ได้นำไปไว้ในสิม ป้องกันโขมย ซึ่งได้มีการโขมยไปแล้วถึง 6 ครั้ง ก่อนจะได้กลับคืนมา)
พระประธานภายในสิม รูปแบบศิลปะน่าจะเป็นลานช้าง (ดูจากยอดเกตุและพระพักตร์)
สิงห์ วางไว้ข้างพระพุทธรูป เป็นสิงห์เพศผู้ ส่วนสิงห์เพศเมียอยู่ที่วัดสิงห์ท่า อ.เมือง จ.ยโสธร
ลายสลักบานประตูเป็นลายเครือเถาว์ (ดอกฝ้าย)
ประตูอีกบาน ลายคนละแบบ เป็นศิลปะช่างชาวบ้าน
ครุฑ เป็นสัตว์สัญญลักษณ์ที่ช่างญวน นิยมปั้นมาก
คันทวยเป็นแบบอีสานพื้นบ้าน
บานหน้าต่างเป็นลายเครือเถาว์ ดอกฝ้าย
หน้าบันด้านหลังสิม
สิม เป็นสิมขนาดใหญ่และสูง
หอแจกเก่า ภายใน เมื่อดูลักษณะการจัดวางแล้ว น่าจะเป็นที่ตั้งธรรมาส ไว้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนามาแต่โบราณ ท่านเจ้าอาวาสไม่ให้รื้อ ให้ดูแลรักษาไว้
ธรรมาสโบราณ มีความสมบูรณ์มาก เป็นธรรมาส 4 เสา แต่เห็นมีเสาธรรมาสเสาเดียววางอยู่ข้างๆ จึงให้รู้สึกว่าแรกๆ น่าจะเป็นธรรมาสเสาเดียว ซึ่งต้องฝังลงกับพื้นดิน เมื่อถึงฤดูฝนอาจจะโดนความชื้นมาก เมื่อน้ำท่วมก็ไม่สามารถย้ายได้ จึงมีการเปลี่ยนเป็นแบบที่สามารถยกได้ เพื่อหลบภัยต่างๆ
ภายในพิพิธภัณฑ์ มีสิ่งล้ำค่าทางอารยะธรรมมากมาย ให้เราได้รำลึก สืบเสาะงานของครูช่างอีสานโบราณ
หีบพระธรรม (กล่องเก็บใบลาน)
เสาธรรมาส (ธรรมาสเสาเดียว)
สถูปครอบ พระธาตุองค์อาจกะบาลหลวง
พระธาตุองค์อาจกะบาลหลวง


ถ่ายภาพเมื่อ : 30 พฤษภาคม 2557 กำลังดำเนินการบูรณะปฏิสังขรณ์


ถ่ายภาพเมื่อ : 24 สิงหาคม 2557 กำลังดำเนินการบูรณะปฏิสังขรณ์ใกล้แล้วเสร็จ


ถ่ายภาพเมื่อ : 30 พฤษภาคม 2557 งานประจำปี นมัสการปิดทองหลวงพ่อใหญ่


ถ่ายภาพเมื่อ : 30 พฤษภาคม 2557 สิงห์คู่บ้านคู่เมือง จ.ยโสธร : งานประจำปี นมัสการปิดทองหลวงพ่อใหญ่



สถานที่ตั้ง : วัดศรีธาตุ บ้านสิงห์ ต.สิงห์ อ.เมือง จ.ยโสธร
ถ่ายภาพเมื่อ : 23 กุมภาพันธ์ 2557 / 30 พฤษภาคม 2557 / 24 สิงหาคม 2557
วันติดตั้งหน้าเว็บ : 25 กุมภาพันธ์ 2557
จำนวนผู้เข้าชม : 3716 ครั้ง
หมายเหตุ : เว็บมาสเตอร์เดินทางไปชมและถ่ายภาพเอง, ข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต


25-02-2014 Views : 3717
      ร่วมกันสนับสนุนเว็บไซต์นี้ ทำได้ง่ายๆ ด้วยการคลิกลิงค์ด้านล่าง... ขอบคุณครับ





อาร์ตนานา สตูดิโอ และ เดอะ ไดโนเสาร์ อาร์ต แกลเลอรี่ ™ (หอศิลป์ เดอะแด็ก)
บ้านเลขที่ 9, 48 หมู่ 12 บ้านหนองซำ ต.น้ำอ้อม อ.ค้อวัง จ.ยโสธร 35160 กรุณาโทรติดต่อก่อนการเดินทางหรือนัดหมายล่วงหน้า ที่เบอร์ โทร. 081- 303 4493, 064-092 9449
ออกแบบโลโก้ | ออกแบบบรรจุภัณฑ์ | ออกแบบกล่อง | ออกแบบบถุง | ออกแบบฉลาก | ออกแบบสื่อส่งเสริมการขาย ออกแบบสื่อดิจิทัล Digital Media Design

 ร่วมสนับสนุนเว็บไซต์ อีสานอาร์ตดอทคอม ช่องพุทธศิลป์อีสาน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางถ่ายภาพนำมาจัดทำเว็บไซต์ ได้ที่ :

ธนาคารกสิกรไทย สาขาบางกะปิ ชื่อบัญชี นายพัฒยา จันดากูล เลขที่บัญชี 003-2-02799-9 ประเภท ออมทรัพย์

ต้องยอมรับความจริงว่า การเดินทางมีค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะค่าน้ำมันรถ หากต้องเดินทางไกลๆ หลายร้อยกิโลเมตร ค่าใช้จายในแต่ละเที่ยวก็หลายพันบาท เว็บมาสเตอร์จึงต้องรองบประมาณ และวางแผนการเดินทางให้คุ้มกับค่าน้ำมัน โดยกำหนดจุดที่จะไปถ่ายภาพให้ได้เยอะๆ ก่อนการเดินทาง ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ให้การสนับสนุนค่าเดินทางครับ



98.81.24.230 | Copyright © 2008 - 2023 esanart.com All Rights Reserved.
Website designed by Artnana Sudio