ฮุปแต้มอีสาน, สิมอีสาน (Isan Mural Painting and Isan Temple Architectures)
 สิม หอไตร ฮูปแต้ม

(วางเมาส์บนรูปภาพ เพื่อดูส่วนขยายภาพ)

+ เพิ่ม | - ลด ขนาดตัวอักษร      


วัดหน้าพระธาตุ (วัดตะคุ)
      วัดหน้าพระธาตุ หรือชาวบ้านเรียกวัดแห่งนี้อีกชื่อหนึ่งว่าวัดตะคุ เป็นวัดเก่าแก่ของชาวปักธงชัย สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2330 หรือในช่วงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โบสถ์หลังเก่า
      ตั้งอยู่ข้างโบสถ์ใหม่ เป็นหลังดั้งเดิมมีมาแต่ครั้งสร้างวัด ฐานโบสถ์มีลักษณะแอ่นโค้ง ที่ศัพท์ทางช่างเรียกว่า ตกท้องสำเภา หรือท้องช้าง หรือท้องเชือกซึ่งเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมที่ช่างนิยมทำกันในช่วงปลายกรุงศรีอยุธยา และต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ที่น่าสนใจคือส่วนของหลังคาซึ่งไม่มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์เช่นโบสถ์ที่พบเห็นทั่วไป ซึ่งคล้าย "ศิลปะพระราชนิยม" ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายในโบสถ์มีภาพเขียนซึ่งอยู่ในสภาพสมบูรณ์น่าชม เป็นภาพแสดงเรื่องราวต่าง ๆ เช่น ภาพชาดกตอนต่าง ๆ ภาพพระบฏ (พระพุทธเจ้าทรงยืน) ภาพการนมัสการรอยพระพุทธบาท ภาพพิธีศพหรืออสุภกรรมฐาน พระมาลัย นอกจากนี้ยังสอดแทรกวิถีชีวิตชาวบ้านด้วย ในอดีตมีภาพเขียนทางด้านนอก แต่ปัจจุบันลบเลือนไปมากแล้ว เหลือเพียงบางส่วนที่เหนือประตูทางเข้าด้านหน้า
หอไตรกลางน้ำ
      ตั้งอยู่หน้าโบสถ์หลังเก่า หอไตรหลังนี้ยกพื้นสูงชั้นเดียวตั้งอยู่ในสระน้ำ มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบเรือนไทยหลังคาจั่วภาคกลาง ผนังอาคารเป็นแบบฝาปะกน เหตุที่ต้องสร้างอยู่ในน้ำเพราะหอไตรเป็นที่เก็บพระไตรปิฎก ตำราคัมภีร์โบราณซึ่งทำจากใบลานเป็นส่วนใหญ่ มอดมดปลวกจึงมักมาแทะกัดกินทำให้เกิดความเสียหาย คนโบราณจึงได้สร้างสระน้ำ ป้องกันไม่ให้สัตว์ต่าง ๆ ขึ้นไปทำลายพระธรรมคัมภีร์เหล่านั้น เมื่อถึงเวลาที่ต้องไปหยิบไปใช้ก็จะมีสะพานพาดไปที่บันไดทางขึ้นหอไตร เสร็จแล้วก็ยกออก ปัจจุบันหอไตรนี้ไม่ได้ใช้ประโยชน์ตามหน้าที่เดิมแล้ว หอไตรหลังนี้มีภาพเขียนให้ชม ด้านนอกตั้งแต่ประตูทางเข้าเป็นลายรดน้ำปิดทอง ส่วนตามผนังเป็นภาพพุทธประวัติ เทพชุมนุม ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ก้านแย่ง แม่พระธรณีซึ่งอยู่ในสภาพลบเลือนไปมาก ส่วนด้านในหอไตรเป็นเทพชุมนุม ดอกไม้ร่วง เป็นต้น
พระธาตุ
      มีงานนมัสการวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 อยู่หน้าโบสถ์หลังเก่า เป็นปูชนียสถานที่ชาวปักธงชัยให้ความเคารพศรัทธา ตามประวัติของวัดกล่าวว่า ชาวบ้านซึ่งเป็นคนลาวที่อพยพมาจากเวียงจันทน์ได้ร่วมกันสร้างขึ้น เพื่อให้เป็นศูนย์กลางของชุมชน องค์พระธาตุมีรูปทรงคล้ายพระธาตุเจดีย์ที่พบเห็นในภาคอีสาน คือฐานธาตุเป็นทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส ส่วนบนสูงเรียวขึ้นไปสอบเข้าหากันมีลักษณะคล้ายกลีบดอกบัว จึงเรียกกันในศิลปะลาวว่าทรงบัวเหลี่ยม ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของพระธาตุแบบพื้นบ้านลาว


ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น



Wat Na Phra That
      Wat Na Phra That, locally known as Wat Takhu, is an ancient temple founded in 1787 or during the reign of King Buddha Yodfa Chulaloke. It is located Moo 1, Takhu Subdistrict, Pak Thong Chai District, Nakhon Ratchasima, about four kilometres from Mueang Pak Town.

Highlights:
      1.Old ubosot
      Located near the new ubosot, the old ubosot is the temple’s former main hall built when the temple was founded. The building sits on a foundation that slightly curves in the middle. This is called Tok Thong Samphao, Tok Thong Chang or Tok Thong Chuek, which is an architectural style popular during the late Ayutthaya Period and the early Rattanakosin Period. Besides, unlike general ubosots, the building does not have Cho Fah, Bai Raka and Hang Hong, which makes it resemble King Nangklao’s “favourite architectural styles”. The building possesses beautiful murals that are still in good condition.
      They portray stories from the Jataka tales, the standing Buddha, people paying respect to the Buddha’s footprint, the Asubha Meditation, the story of Phra Malai and local lifestyles. Murals are also found on the exterior wall but most of them are faded and cannot be easily seen except the one above the front door.
      2.Ho Trai Klang Nam
      Ho Trai Klang Nam is located in the middle of the lake near the old ubosot. It is a Thai-style building raised high above water with Central Thai-style gables and Fa Pakon-patterned walls. The reason why it was erected in the middle of the lake is to protect the ancient Tripitaka leaf scriptures kept in the building from insects, especially termites and ants which can destroy the leaf scriptures. When one wants to get into the building, one has to use a temporary bridge which can be taken out after use. However, nowadays the leaf scriptures are no longer kept here.
      In addition, the building has Guilded Black Lacquer front doors. It also possesses murals painted on both exterior and interior walls. On the exterior walls, murals portray the Buddha’s life and time, the celestial assembly, the Phum Khao Bin Kan Yaeng pattern and Phra Mae Thorani. These murals, however, are faded. On the interior wall, the murals of the celestial assembly and falling flowers are found.
      3.Phra That
      Located in front of the old ubosot, it is a stupa held in high esteem by locals. According to history, it was built by the Laotian immigrants from Vientiane in order to be the centre of their community. The stupa is similar to others found in the North East. It has a square foundation and a tall square spire resembling a square lotus flower. This type of architecture is called Song Bua Liam in the Lao Language and is unique to traditional Laotian Architecture. (http://www.tourismthailand.org)
       ถ่ายภาพเมื่อ : 29 สิงหาคม 2558


ช่าง
      เรามักจะได้ยินบ่อยๆ ว่า ช่างหลวง ช่างท้องถิ่นหรือช่างชาวบ้านนั้น จำแนกจากฝีมือการเขียนภาพ เช่น หากเราไปดูภาพที่เขียนตามผนังวัดที่กษัตริย์เชื้อพระวงศ์หรือเจ้าขุนมูลนายสร้าง การคัดเลือกช่างการแสวงหาช่างมาเขียนจิตรกรรมนั้น จะเลือกเฟ้นให้ได้ดีที่สุดเพื่อให้สมพระเกียรติผู้สร้าง ดังนั้นฝ่ายจัดหาช่างจึงต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก จึงต้องหาช่างผู้ที่มีประสบการณ์ มาก มีฝีมือเก่งฉกาจในยุคนั้นเท่าที่จะทำได้ หาได้ หากผิดพลาดได้ช่างไม่ดี อาจจะหมายถึงสิ้นยศ สิ้นบารมี สิ้นวาสนาได้
      ส่วนสิมหรืออุโบสถชาวบ้านทั่วไปนั้น เป็นไปได้ยากที่จะแสวงหาช่างเก่งๆ ได้ ด้วยสมัยนั้นไม่มีเทคโนโลยี่ที่จะติดต่อกัน หากได้ข่าวที่ไหนตำบลได ก็จะจัดหาคณะบุคคลไปเชิญให้มาวาด มาแต้มฮูปแต้มให้ โดยการใช้เกวียนเป็นพาหนะหรือด้วยการเดินเท้าไปแสวงหาช่าง หากหาไม่ได้ ก็จะคัดหาบุคคลผู้มีความรู้ครูพักลักจำ ทดลองวาด ทดลองทำและลงมีเขียนลงมือแต้ม ตามแต่จะทำได้ ดังที่เราเห็นตามสิมอีสานทั่วไป
      ปัจจุบันนี้ ก็ไม่ต่างจากอดีตมากนัก แม้ช่างจะมากมาย ก็ใช่ว่าฝีมือจะเก่งกันทุกคน จบจากสถาบันเดียวกัน ฝีมือก็ต่างกันมากมาย จึงแล้วแต่ผู้จ้างผู้คัดสรรช่างจะมองออก หากผ่านพ้นไป 50-100 ปี ขึ้นไป ก็คงจะเกิดการจำแนกช่างออกมาเป็นกลุ่มอีก เหมือนยุคนี้ที่แยกช่างออกเป็น 2 กลุ่มง่ายๆ คือ ช่างชาวบ้าน และช่างหลวงนั่นเอง (ความคิดเห็นของผู้ทำเว็บ)

      " ช่างหลวง คือ บรรดาผู้ที่มีฝีมือ ความรู้ และความสามารถ เป็นช่างทำการสร้างสรรพสิ่งต่างๆ แต่เมื่อสมัยที่บ้าน เมืองยังปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มีพระเจ้าแผ่นดิน หรือในหลวงเป็นประมุขปกครองพระราชอาณาจักร โดยผู้ที่เป็นช่าง ได้สมัครเข้าไปรับหน้าที่ช่าง ในราชการในหลวงบ้าง ที่ได้ถวายตัวแก่เจ้านายเข้าสังกัด เป็นข้าทำการช่าง ในกรมที่เจ้านายพระองค์นั้นทรงปกครองอยู่ก็มีบ้าง ยังพวกที่ได้รับเกณฑ์เข้ามารับราชการได้ทำ การช่างตามความรู้ ความสามารถ ให้ประจำอยู่ตามกรมกอง ในราชการของหลวงก็มีอยู่มิใช่น้อย บรรดาผู้ที่เป็น ช่างต่างๆ ตามที่ว่ามานี้ ต่างก็ได้รับมอบหมายให้มีภาระหน้าที่ และ ความรับผิดชอบในการสร้าง ทำสรรพสิ่งต่างๆ สนองความต้องการ และ ประโยชน์ตามความประสงค์ สำหรับราชการของพระเจ้าแผ่นดินหรือในหลวง ฉะนี้บรรดา ช่าง ดังกล่าวจึงได้รับการขนานนามว่า “ช่างหลวง” " ข้อมูลจาก : www.changsipmu.com


สถานที่ตั้ง : หมู่ 1 ตำบลตะคุ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ห่างจากเทศบาลเมืองเมืองปักประมาณ 4 กม.
ถ่ายภาพเมื่อ : 29 สิงหาคม 2558
วันติดตั้งหน้าเว็บ : 28 พฤศจิกายน 2556
จำนวนผู้เข้าชม : 752 ครั้ง
หมายเหตุ : เว็บมาสเตอร์เดินทางไปชมและถ่ายภาพเอง, ข้อมูลจากป้ายประชาสัมพันธ์และอินเตอร์เน็ต




Nakhon Ratchasima
Operating day: Daily
Operating time: 08.00 - 16.30

Contact Details
Wat Na Phrathat
It is located Moo 1, Takhu Subdistrict, Pak Thong Chai District, Nakhon Ratchasima, about four kilometres from Mueang Pak Town.


28-11-2013 Views : 753
      ร่วมกันสนับสนุนเว็บไซต์นี้ ทำได้ง่ายๆ ด้วยการคลิกลิงค์ด้านล่าง... ขอบคุณครับ





อาร์ตนานา สตูดิโอ และ เดอะ ไดโนเสาร์ อาร์ต แกลเลอรี่ ™ (หอศิลป์ เดอะแด็ก)
บ้านเลขที่ 9, 48 หมู่ 12 บ้านหนองซำ ต.น้ำอ้อม อ.ค้อวัง จ.ยโสธร 35160 กรุณาโทรติดต่อก่อนการเดินทางหรือนัดหมายล่วงหน้า ที่เบอร์ โทร. 081- 303 4493, 064-092 9449
ออกแบบโลโก้ | ออกแบบบรรจุภัณฑ์ | ออกแบบกล่อง | ออกแบบบถุง | ออกแบบฉลาก | ออกแบบสื่อส่งเสริมการขาย ออกแบบสื่อดิจิทัล Digital Media Design

 ร่วมสนับสนุนเว็บไซต์ อีสานอาร์ตดอทคอม ช่องพุทธศิลป์อีสาน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางถ่ายภาพนำมาจัดทำเว็บไซต์ ได้ที่ :

ธนาคารกสิกรไทย สาขาบางกะปิ ชื่อบัญชี นายพัฒยา จันดากูล เลขที่บัญชี 003-2-02799-9 ประเภท ออมทรัพย์

ต้องยอมรับความจริงว่า การเดินทางมีค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะค่าน้ำมันรถ หากต้องเดินทางไกลๆ หลายร้อยกิโลเมตร ค่าใช้จายในแต่ละเที่ยวก็หลายพันบาท เว็บมาสเตอร์จึงต้องรองบประมาณ และวางแผนการเดินทางให้คุ้มกับค่าน้ำมัน โดยกำหนดจุดที่จะไปถ่ายภาพให้ได้เยอะๆ ก่อนการเดินทาง ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ให้การสนับสนุนค่าเดินทางครับ



18.97.14.88 | Copyright © 2008 - 2023 esanart.com All Rights Reserved.
Website designed by Artnana Sudio