สิม หอไตร ฮูปแต้ม



กู่อูบมุง กู่อูบมุง กู่อูบมุง กู่อูบมุง กู่อูบมุง กู่อูบมุง กู่อูบมุง กู่อูบมุง กู่อูบมุง กู่อูบมุง
  • กู่อูบมุง
  • กู่อูบมุง
  • กู่อูบมุง
  • กู่อูบมุง
  • กู่อูบมุง
  • กู่อูบมุง
  • กู่อูบมุง
  • กู่อูบมุง
  • กู่อูบมุง
  • กู่อูบมุง


       ต่อมา พ.ศ. 2542 ชาวบ้านคูฟ้า, โคกศรี, โคกน้อยและบ้านเจริญสุข ได้พร้อมใจกันยกเงินงบประมาณที่รัฐบาลสนันสนุน หมู่ละบ้านหนึ่งแสนบาท รวมสี่แสนบาท บูรณะจัดสร้างกู่อูบมุงที่ชำรุดทรุดโทรมลงอีก จนเห็นเป็นองค์ปัจจุบัน ตามรูปแบบกรมศิลปากร โดยคงไว้ซึ่งรูปทรงเดิม และปี พ.ศ. 2543 - 2544 ชาวบ้านทั้ง 4 หมู่บ้าน ได้ร่วมหันสร้างศาลาหลวงพ่อเหรียญชัย พระประสิทธิ์แห่งสำนักป่ามะแวง จ.อุบลราชธานีและคณะชาวบ้านทั้ง 4 หมู่บ้าน ได้นำพระพุทธรูปมาประดิษฐาน ณ ศาลานี้ พร้อมกับทำการสมโภชน์ ในวันอาทิตย์ที่ 6 พฤษภาคม 2544 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง เพื่อเป็นพุทธบูชาและเป็นที่สักการะของชาวพุทธทั่วไป 
Isan Upload


รวมภาพเก่าๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานที่


 ข่าวอัพเดท ข่าวสารอัพเดทสถานที่ :
การเดินทางไปกู่อูบมุง
จากตัวเมืองร้อยเอ็ด วิ่งตามถนน 2043   มาถึงแยกที่ตัดกับถนน 202 (ถ.อรุณประเสริฐ) ให้เลี้ยวซ้ายวิ่งไปตัวเมืองยโสธร  สังเกตุฝั่งซ้ายมือ จะมีป้ายบอกทางเข้าไปกู่อูบมุง

ข่าวทั้งหมด 1 ข่าว
 

พระธาตุกู่อูบมุง จ.ร้อยเอ็ด
       ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าอุโมงค์หนองแวง ห่างจากแม่น้ำชีมาทางทิศใต้ประมาณ 100 เมตร พื้นที่ดังกล่าวอยู่ในการดูแลของชาวบ้านคูฟ้า บ้านโคกน้อย บ้านโคกสีและบ้านเจริญสุข จาการสอบถามประวัติพระธาตกู่อูบมุง จากผู้เม่าผู้แก่เล่าว่า " ได้มีขอมโบราณคณะหนึ่งซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นชาวพุทธ ที่มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก ได้รับว่าว่า ขณะนั้นกำลังมีการก่อสร้างพระธาตุพนม เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกฐาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่หัวเมืองนครพนม จึงได้เกิดศรัทธาต้องการที่จะมีส่วนร่วมในการก่อสร้างพระธาตุพนมดังกล่าว จึงได้รวบรวมสมัครพรรคพวกจำนวนหนึ่ง รวมกันเป็นหมู่คณะ ออกเดินทางโดยใช้ม้าต่างวัวต่าง บรรทุกเครื่องสักการะบูชาและสัมภาระแก้วแหวนเงินทองต่างๆ มากมาย มุ่งหน้าสู่หัวเมืองนครพนม เพื่อร่วมก่อสร้างพระธาตุพนม เมื่อเดินทางมาถึงป่าอูบมุง ก็ได้ทราบข่าวว่าพระฐาตุพนมได้สร้างเสร็จแล้ว หัวหน้าคณะไม่สามารถนำพรรคพวกเดินทางกลับสู่ภูมิลำเนาเดิมได้ จึงได้สร้างกู่พระธาตุองค์ขึ้น เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็ได้บรรจุสิ่งของมีค่าต่างๆ ที่สำคัญ เช่น พระพุทธรูปทองคำ พระพุทธรูปเงิน พระพุทธรูปศิลา พร้อมทั้งแก้วแหวนเงินทองมากมาย พร้อมกันนั้นได้ตั้งหมู่บ้านขึ้นที่นั่นด้วย (ปัจจุบัน กลายเป็นหมู่บ้านร้าง ยังคงมีเพียงร่องรอยของสระน้ำเก่าของหมู่บ้านดังกล่าว) นอกจากนั้นยังได้สร้างพระพุทธรูปศิลาปางมารวิชัย ขึ้นอีกองค์หนึ่ง มีหน้าตัก กว้าง 15 นิ้ว สูง 30 นิ้ว ประดิษฐานไว้ที่เจดีย์กู่อูบมุง "
       ต่อมาพระธาตุกู่อูบมุง ได้ทรุดโทรมไปตามกาลเวลา พังทับถมพระพุทธรูปดังกล่าวเหลือให้เห็นแค่เศียรเท่านั้น พอให้ชาวบ้านได้สรงน้ำและกราบไหว้ในงานเทศกาลสรงน้ำพระและเทศกาลสรงกู่ งานนี้มีขึ้นเป็นประจำซึ่งตรงกับ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี
       เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2468-2470 พระสมุห์พิมพ์ (พิมพ์ ชุปวา) เจ้าอาวาสวัดบ้านคูฟ้า (บ้านชาติ) สมัยนั้นได้นำพระภิกษุสามเณรและชาวบ้าน โดยมีพ่อใหญ่ขุนศักดา (ดา ธะนี) ผู้ใหญ่บ้านโคกน้อย ได้ทำการขุดพระธาตุอูบมุงเพื่อบูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่ ได้พบไหโบราณ 2 ใบ พระพุทธรูปทองคำ 3 องค์ พระพุทธรูปทุกองค์จารึกเป็นอักษรขอม มีขนาดเท่าๆ กัน สูงประมาณ 1 คืบ หน้าตัก 2 นิ้ว หนักประมาณ 6 ตำลึง และพบพระพุทธรูปศิลาดำ ปางลีลา สูงประมาณ 1 ศอก กว้าง 1 ฟุต ปัจจุบันพระพุทธรูปเหล่านั้นได้ถูกโจรกรรมไปหมดแล้ว
       จากหนังสือโบราณคดีหลากสาระในแดนอีสาน - ล้านนา / กรมศิลปากร

สถานที่ตั้ง :ป่าอุโมงหนองแวง บ้านคูฟ้า หมู่ที่ 5 ต.กุดน้ำไส อ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด
ถ่ายภาพเมื่อ : 1 มกราคม 2555
วันติดตั้งหน้าเว็บ : 18 เมษายน 2558
ปรับปรุงล่าสุด :
จำนวนผู้เข้าชม : 5467 ครั้ง
หมายเหตุ : เว็บมาสเตอร์เดินทางไปชมและถ่ายภาพเอง

ออกแบบโลโก้ ออกแบบกล่อง ออกแบบถุง ออกแบบสิ่งพิมพ์ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ วาดเส้น จิตรกรรม Drawing  Painting รับทำ SEO, ปั่นเว็บ, หน้า 1, อันดับ 1 ฮูปแต้ม, สิมอีสาน, ฮูบแต้ม, ศิลปะอีสาน, สิม, โบสถ์, หอไตร, สถาปัตยกรรมอีสาน
9809/1 Anankanak Rd., Tambol Kalasin, Amphoe Muang, Kalasin Province 46000 Thailand
www.artnana.com

3.236.111.234 =    Tuesday 19th March 2024
 IP : 3.236.111.234   คนที่กำลังอ่าน   Bookmark and Share   
Russia รัสเซีย  เรียนรัสเซีย  ภาษารัสเซีย ตุ๊กตารัสเซีย ของฝากรัสเซีย