สิม หอไตร ฮูปแต้ม



 กู่กาสิงห์  กู่กาสิงห์  กู่กาสิงห์  กู่กาสิงห์  กู่กาสิงห์  กู่กาสิงห์  กู่กาสิงห์  กู่กาสิงห์  กู่กาสิงห์  กู่กาสิงห์  กู่กาสิงห์  กู่กาสิงห์  กู่กาสิงห์  กู่กาสิงห์  กู่กาสิงห์  กู่กาสิงห์  กู่กาสิงห์  กู่กาสิงห์  กู่กาสิงห์  กู่กาสิงห์
  •  กู่กาสิงห์
  •  กู่กาสิงห์
  •  กู่กาสิงห์
  •  กู่กาสิงห์
  •  กู่กาสิงห์
  •  กู่กาสิงห์
  •  กู่กาสิงห์
  •  กู่กาสิงห์
  •  กู่กาสิงห์
  •  กู่กาสิงห์
  •  กู่กาสิงห์
  •  กู่กาสิงห์
  •  กู่กาสิงห์
  •  กู่กาสิงห์
  •  กู่กาสิงห์
  •  กู่กาสิงห์
  •  กู่กาสิงห์
  • กู่กาสิงห์
  •  กู่กาสิงห์
  • กู่กาสิงห์

       ปราสาทกู่กาสิงห์ เป็นปราสาทในศิลปะบาปวน ประกอบด้วยปราสาทอิฐ 3 หลังตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกัน หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ปราสาทหลังกลางมีมณฑปยื่นออกมาด้านหน้า ส่วนปราสาทหลังเหนือและหลังใต้กลับไม่มีมณฑป ที่ด้านหน้าเยื้องไปทางด้านทิศเหนือและทิศใต้ปรากฏบรรณาลัย อาคารทั้งหมดล้อมรอบด้วยกำแพงซึ่งมีโคปุระอยู่ทางด้านทิศตะวันออกและตะวันตก นอกกำแพงดังกล่าวยังมีสระน้ำล้อมอีกชั้นหนึ่ง
       ปราสาทประธานทั้งสามหลังสร้างขึ้นด้วยวัสดุผสม คือ ส่วนผนังก่อด้วยอิฐ แต่ส่วนที่ต้องสลัก เช่น ลวดบัวเชิง ทับหลัง ฯลฯ กลับสลักด้วยหิน การใช้วัสดุผสมนี้ปรากฏอย่างสม่ำเสมอในศิลปะขอมที่พบในประเทศไทย
        ครรภคฤหะประดิษฐานศิวลึงค์ ส่วนที่มณฑปปรากฏโคนนทิ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าปราสาทแห่งนี้สร้างขึ้นในลัทธิไศวนิกาย อย่างไรก็ตามทับหลังที่พบที่นี่ส่วนมากเป็นทับหลังแบบบาปวนที่ตรงกลางสลักรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณประทับเหนือหน้ากาล ซึ่งแสดงให้เห็นว่า เทพเจ้าที่สำคัญที่สุดของปราสาทอาจไม่จำเป้นต้องปรากฏมากที่สุด บนทับหลังหรือหน้าบันของศาสนสถานแห่งนั้นๆ ก็ได้
       จากการขุดแต่ง ได้ค้นพบ เครื่องประดับทองคำรูปนาค 5 เศียรและแผ่นทองคำซึ่งใช้ในการวางศิลาฤกษ์ จากรูปแบบศิลปะสามารถกำหนดอายุอยู่ในสมัยบาปวนเช่นเดียวกับตัวปราสาท ปัจจุบันนี้โบราณวัตถุดังกล่าวเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติร้อยเอ็ด


    Ku Ka Sing, Kaset Wisai, Roi Et 45150 Thailand
    This huge temple complex dates back to the Khmer empire. The temple comprises three pagodas on the same laterite base, and rectangular library buildings in front. All of them are surrounded by a wall, with entrance pavilions known as Gopura at the four directions. Outside is a U-shaped moat surrounding the wall.
    Inside the inner chamber of the central prang, there is a Siva Lingam, which represents the Supreme God Siva and fertility, according to the beliefs in the Sivaite sect of Hinduism. Several lintels were also found here. One piece depicts the God Indra on his mount – the Erawan or Airavata elephant – in a stylized arch above the Kala face whose hands hold the garland.



เดินทางโดยรถยนต์
    นักท่องเที่ยวสามารถ สามารถเดินทางมากู่กาสิงห์ ได้ 2 ทาง คือ ใช้เส้นทางร้อยเอ็ด-เกษตรวิสัย ทางหลวงหมายเลข 214 ระยะทาง 47 กิโลเมตร เดินทางต่อไปตามทางหลวงสายเกษตรวิสัย-สุวรรณภูมิ ประมาณ 10 กิโลเมตรมีทางแยกขวากู่กาสิงห์เป็นระยะทางอีก 10 กิโลเมตร หรืออีกทางเลลือกหนึ่ง อาจใช้เส้นทางสายร้อยเอ็ด-สุวรรณภูมิ-สุรินทร์ (ทางหลวงหมายเลข 215ต่อด้วย 214) ระยะทาง 60 กิโลเมตร ถึงวัดกู่พระโกนา ด้านตรงข้ามวัดมีทางแยกไปกู่กาสิงห์ เข้าไปเป็นระยะทางราว 18 กิโลเมตร  Isan Upload


รวมภาพถ่าย ที่เกี่ยวข้องกับสถานที่



 ข่าวอัพเดท ข่าวสารอัพเดทสถานที่ :
ประเพณีบุญบั้งไฟกู่กาสิงห์ ประจำปี 2558
ขอเชิญเที่ยวงานและร่วมสืบสาน " ประเพณีบุญบั้งไฟกู่กาสิงห์ " ในระหว่างวันที่ ๒๙ เมษายน ถึง วันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๘ และวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๘ ณ บริเวณสนามฟุตบอลเทศบาลตำบลกู่กาสิงห์และเขตเทศบาลตำบลกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด

ข่าวทั้งหมด 1 ข่าว
 
+ เพิ่ม | - ลด ขนาดตัวอักษร      


กู่กาสิงห์ จ.ร้อยเอ็ด
       บริเวณที่ตั้งบ้านกู่กาสิงห์ในปัจจุบัน เดิมเป็นชุมชนโบราณมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ต่อเนื่องมาถึงสมัยประวัติศาสตร์ในสมัยวัฒนธรรมเขมร ดังปรากฎภาชนะดินเผาในพิธีกรรมการฝังศพครั้งที่ 2 และโบราณสถานขอม กู่กาสิงห์ กู่โพนวิจและกู่โพนระฆัง (กู่ มีความหมายเดียวกับ ปราสาท) ตั้งอยู่ในชุมชน เดิมบริเวณทำเลที่ตั้งชุมชนเป็นป่ารกทึบไม่มีคนอยู่อาศัย บริเวณปรางค์กู่เป็นป่าไผ่ปกคลุมไปด้วยป่าไผ่ บ้างก็ว่าในบางฤดูกาลจะมีนายพรานมาสร้างที่พักดักยิงสัตว์ หรือเป็นที่หลบซ่อนของโจรผู้ร้ายที่มาจากเขตแดนจังหวัดสุรินทร์
       กู่กาสิงห์ เป็นโบราณสถานสถาปัตยกรรมแบบเขมรอีกแห่งหนึ่ง มีขนาดค่อนข้างใหญ่และยังอยู่ในสภาพดีพอควร ประกอบด้วย ปรางค์ 3 องค์ ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกัน มีวิหารหรืออาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่เรียกว่าบรรณาลัย อยู่ทางด้านหน้าทั้งสองข้าง ทั้งหมดล้อมรอบด้วยกำแพงซึ่งมีซุ้มประตูทั้ง 4 ทิศ ถัดออกไปเป็นคูน้ำรูปเกือกม้าล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง ปรางค์ประธานหรืออาคารหลักที่มี 3 องค์นั้น ตั้งเรียงอยู่บนฐานเดียวกันในแนวเหนือ-ใต้ แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ปรางค์องค์กลางมีขนาดใหญ่กว่าอีก 2 องค์ที่ขนาบข้าง และมีมุขยื่นทางด้านหน้าเป็นห้องยาว มีประตูทางเข้า 3 ทาง คือด้านหน้าและด้านข้างของห้องยาวทั้งสอง
       ส่วนฐานขององค์ปรางค์ก่อด้วยศิลาทรายยังคงปรากฏลวดลายสลักเป็นชั้นเป็นแนว เช่น ลายกลีบบัวและลายกนก ผนังก่ออิฐ ที่ห้องในสุดหรือส่วนครรภคฤหะได้ค้นพบศิวลึงค์ ซึ่งเป็นตัวแทนของเทพสูงสุด (พระอิศวร) และความอุดมสมบูรณ์ตามลัทธิความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย นอกจากนี้ยังพบทับหลังอีกหลายชิ้น ชิ้นหนึ่งสลักเป็นภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณในซุ้มเรือนแก้ว โดยยืนอยู่เหนือหน้ากาล ซึ่งมีมือยึดจับท่อนพวงมาลัยอีกทีหนึ่ง และยังได้พบซุ้มหน้าบันสลักเป็นภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณท่ามกลางลายก้านขดอีกด้วย ส่วนปรางค์อีก 2 องค์ที่ขนาบนั้น มีขนาดและลักษณะเดียวกัน
        ฐานก่อด้วยศิลาทราย ผนังก่ออิฐมีประตูเพียงด้านหน้า ภายในมีแท่นรูปเคารพวางอยู่จากลวดลายของศิลปกรรม แบบแผนผังและโบราณวัตถุที่พบแสดงให้ทราบว่า กู่กาสิงห์สร้างขึ้นในแบบศิลปะเขมรที่เรียกว่า "แบบบาปวน" อายุราว พ.ศ. 1560-1630 เพื่อเป็นเทวสถานอุทิศถวายแด่พระอิศวร เทพเจ้าสูงสุดองค์หนึ่งในศาสนาพราหมณ์


ถ่ายภาพเมื่อ : 19 พฤษภาคม 2555


ถ่ายภาพเมื่อ : 1 มิถุนายน 2557


ถ่ายภาพเมื่อ : 20 มีนาคม 2559



สถานที่ตั้ง : วัดสว่างอารมณ์(กู่) เลขที่ 79 หมู่ 2 บ้านกู่กาสิงห์ ต.กู่กาสิงห์ อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด 45150
ถ่ายภาพเมื่อ : 9 พฤษภาคม 2555, 1 มิถุนายน 2557, 20 มีนาคม 2559
วันติดตั้งหน้าเว็บ : 5 เมษายน 2558
ปรับปรุงล่าสุด :
จำนวนผู้เข้าชม : 4403 ครั้ง
หมายเหตุ : เว็บมาสเตอร์เดินทางไปชมและถ่ายภาพเอง ขัอมูลจาก : วิกิพีเดีย, archae.su.ac.th, bangkokpost.com

ออกแบบโลโก้ ออกแบบกล่อง ออกแบบถุง ออกแบบสิ่งพิมพ์ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ วาดเส้น จิตรกรรม Drawing  Painting รับทำ SEO, ปั่นเว็บ, หน้า 1, อันดับ 1 ฮูปแต้ม, สิมอีสาน, ฮูบแต้ม, ศิลปะอีสาน, สิม, โบสถ์, หอไตร, สถาปัตยกรรมอีสาน
9809/1 Anankanak Rd., Tambol Kalasin, Amphoe Muang, Kalasin Province 46000 Thailand
www.artnana.com

54.227.136.157 =    Tuesday 19th March 2024
 IP : 54.227.136.157   คนที่กำลังอ่าน   Bookmark and Share   
Russia รัสเซีย  เรียนรัสเซีย  ภาษารัสเซีย ตุ๊กตารัสเซีย ของฝากรัสเซีย