สิม หอไตร ฮูปแต้ม



ปราสาทบ้านช่างปี่ ปราสาทบ้านช่างปี่ ปราสาทบ้านช่างปี่ ปราสาทบ้านช่างปี่ ปราสาทบ้านช่างปี่ ปราสาทบ้านช่างปี่ ปราสาทบ้านช่างปี่ ปราสาทบ้านช่างปี่ ปราสาทบ้านช่างปี่ ปราสาทบ้านช่างปี่
  • ปราสาทบ้านช่างปี่
  • ปราสาทบ้านช่างปี่
  • ปราสาทบ้านช่างปี่
  • ปราสาทบ้านช่างปี่
  • ปราสาทบ้านช่างปี่
  • ปราสาทบ้านช่างปี่
  • ปราสาทบ้านช่างปี่
  • ปราสาทบ้านช่างปี่
  • ปราสาทบ้านช่างปี่
  • ปราสาทบ้านช่างปี่

    องค์ประกอบของโบราณสถาน :
    1. ปรางค์ สร้างด้วยศิลาแลง แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสย่อมุมไม้สิบสอง มีขนาดประมาณ 1.50 x 9.50 เมตร มีประตูอยู่ทางด้านทิศตะวันออก
    2. บรรณาลัย สร้างด้วยศิลาแลง แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขนาดประมาณ 4 x 6 เมตร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของปรางค์
    3. กำแพงแก้วและซุ้มประตู สร้างด้วยศิลาแลง แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ล้อมโบราณสถานไว้ภายใน มีขนาดประมาณ 25.80 x 35.80 เมตร มีซุ้มประตูอยู่ทางด้านทิศตะวันออก มีขนาดประมาณ 6.50 x 11 เมตร
    4. สระน้ำ กรุด้วยศิลาแลง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือนอกกำแพง
    อายุสมัย : ประมาณพุทธศตวรรษที่ 18
    การประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน : ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม 2478
    การประกาศกำหนดขอบเขตโบราณสถาน : ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 98 ตอนที่ 104 วันที่ 30 มิถุนายน 2524 เนื้อที่ 4 ไร่ 30 ตารางวา


    สรุป ปราสาทบ้านช่างปี เป็นศาสนสถานประจำอโรคยาศาลของขอมขนาดเล็ก โดยทั่วไปของปราสาทบ้านช่างปี่ สามารถมองเห็นซากกำแพงแก้ว โคปุระ และบรรณาลัย ที่หลงเหลืออยู่บ้างในสภาพเป็นก้อนศิลาแลงหล่นอยู่ทั่วไป ในอดีตเคยมีคนเข้ามาขุดหาสมบัติและของมีค่าต่างๆ จนกลายเป็นสภาพซากปรักหักพังเสียหาย ก่อนที่จะได้รับการบูรณะจากกรมศิลปากร เมื่อปี พ.ศ. 2553 - 2555




ปราสาทบ้านช่างปี ถ่ายภาพเมื่อ : 17 พฤศจิกายน 2560

 Isan Upload


รวมภาพเก่าๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานที่



 ข่าวอัพเดท ข่าวสารอัพเดทสถานที่ :
ข่าวทั้งหมด 0 ข่าว
 
+ เพิ่ม | - ลด ขนาดตัวอักษร

ปราสาทบ้านช่างปี่ จังหวัดสุรินทร์
   เป็นอโรคยศาล หรืออโรคยศาลา หรือโรงพยาบาล หนึ่งในจำนวน 102 แห่ง ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรขอมโบราณ โปรดให้สร้างขึ้น ตั้งอยู่ที่บ้านช่างปี่ ตำบลช่างปี่ อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ 18 มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยนผืนผ้า ก่อด้วยศิลาแลง และหินทราย

   ปราสาทช่างปี่ ประกอบด้วยองค์ประธานสี่เหลี่ยมจัตุรัส ก่อด้วยสิลาแลงและหินทราย มีมุมด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีอาคารขนาดเล็กเรียกว่า "บรรณาลัย" หมายถึง สถานที่รักษาพยาบาล และพิธีกรรมทางศาสนา เป็นปราสาทแบบเขมรที่ยังสร้างไม่เสร็จสมบูรณ์ เพราะนอกจากไม่พบประติมากรรมภายใน ปราสาทประธานแล้ว หน้าบันและทับหลังที่มีอยู่ก็ยังสลักไม่เสร็จ อาจกล่าวได้ว่าปราสาทแห่งนี้เป็นอโรคยาศาลที่สร้างสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7

   ปราสาทช่างปี่มีปราสาทเพียงหลังเดียวอยู่ตรงกลาง ก่อด้วยศิลาแลง มีมุขยื่นออกไปทางทิศตะวันออก ซึ่งเป็นทางเข้าส่วนอีกสามด้านเป็นประตูหลอก ที่มุมทางทิศตะวันออกเฉียงใต้มีบรรณาลัย หรือวิหารขนาดเล็กหันหน้าไปทางทิศตะวันตก อาคารทั้งสองล้อมรอบด้วยกำแพงศิลาแลง ทำเป็นซุ้มประตูด้านทิศตะวันออก ภายนอกกำแพงด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมกรุด้วยหินแลง

ลือ อาถรรพ์ปราสาทช่างปี่ จ.สุรินทร์ นายก อบต.ช่างปี่ อ.ศีขรภูมิ ยืนยัน ตายแล้ว 33 ราย
16 สิงหาคม 2012 นายยงยุทธ จิววุฒิพงศ์ นายก อบต.ช่างปี่ อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์ เปิดเผยว่า มีชาวบ้านจำนวนมากที่เสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุ หลังมีคนนำวัตถุโบราณที่ขุดพบจากตัวปราสาทช่างปี่ ติดมือไปมีจำนวนทั้งหมด 33 ราย ส่วนมากเสียชีวิตด้วยโรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งตนยอมรับว่าเชื่อว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์มีจริง จากเหตุอาถรรพ์ที่เกิดกับคนใน อบต. ที่เสียชีวิตในเวลาไล่เลี่ยกัน

   ขณะที่ นายชัยณรงค์ ทองหล่อ ผู้ใหญ่บ้านช่างปี่ ระบุว่า อาจ เป็นเพราะ ที่ตั้ง อบต. อยู่ติดกับปราสาท ห่างกันเพียง 50 เมตร เท่านั้น แต่ก่อนเป็นบารายด้านทิศตะวันออกมีเขตแนวกั้นด้วยหินศิลาแลง แต่ต่อมาทาง อบต.ได้มาถมที่เพื่อสร้างสำนักงาน อบต.ทับบาราย เมื่อเริ่มขุดแต่งและมีผู้คนล้มตายลงกลายเป็นเรื่องโจษขานและหวาดกลัวแก่คน ทั่วไป ในขณะนี้ มีชาวบ้านจำนวนมากจากหลายหมู่บ้านทั้งในตำบลและข้างเคียงต่างเดินทางนำ เครื่องเซ่นไหว้มาบวงสรวงเพื่อขอขมาต่อทวยเทพที่รักษาปราสาทไม่ขาดสาย

    ตั้งแต่ปี 2553 กรมศิลปากร ได้ทำการบูรณะปราสาทช่างปี่ พบโปราณวัตถุจำนวนมา ส่วนหนึ่งนำไปเก็บรักษาไว้ (แต่ยังไม่ได้จัดแสดง : พฤษภาคม 2555) ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ อีกส่วนหนึ่งเก็บรักษาไว้ที่วัดบ้านช่างปี่





สถานที่ตั้ง : บ้านช่างปี่ ตำบลช่างปี่ อำเภอศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์
ถ่ายภาพเมื่อ : 30 สิงหาคม 2558, 17 พฤศจิกาายน 2560
วันติดตั้งหน้าเว็บ : 20 กรกฎาคม 2558
ปรับปรุงล่าสุด : 21 พฤศจิกายน 2559
ข้อมูล : ภาพเก่าจากอินเตอร์เน็ต, ข้อมูลจากหนังสือความลับในปราสาทขอม เขียนโดย ทรงสมัย สุทธิธรรม, ทำเนียบโบราณสถานขอมในประเทศไทย เล่ม 3 จังหวัดสุรินทร์
หมายเหตุ : เว็บมาสเตอร์เดินทางไปชมและถ่ายภาพเอง
จำนวนผู้เข้าชม : 1277 ครั้ง





อาร์ตนานา สตูดิโอ และ เดอะ ไดโนเสาร์ อาร์ต แกลเลอรี่ ™ (หอศิลป์ เดอะแด็ก)
บ้านเลขที่ 9, 48 หมู่ 12 บ้านหนองซำ ต.น้ำอ้อม อ.ค้อวัง จ.ยโสธร 35160 กรุณาโทรติดต่อก่อนการเดินทางหรือนัดหมายล่วงหน้า ที่เบอร์ โทร. 081- 303 4493, 064-092 9449
ออกแบบโลโก้ | ออกแบบบรรจุภัณฑ์ | ออกแบบกล่อง | ออกแบบบถุง | ออกแบบฉลาก | ออกแบบสื่อส่งเสริมการขาย ออกแบบสื่อดิจิทัล Digital Media Design

 ร่วมสนับสนุนเว็บไซต์ อีสานอาร์ตดอทคอม ช่องพุทธศิลป์อีสาน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางถ่ายภาพนำมาจัดทำเว็บไซต์ ได้ที่ :

ธนาคารกสิกรไทย สาขาบางกะปิ ชื่อบัญชี นายพัฒยา จันดากูล เลขที่บัญชี 003-2-02799-9 ประเภท ออมทรัพย์

ต้องยอมรับความจริงว่า การเดินทางมีค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะค่าน้ำมันรถ หากต้องเดินทางไกลๆ หลายร้อยกิโลเมตร ค่าใช้จายในแต่ละเที่ยวก็หลายพันบาท เว็บมาสเตอร์จึงต้องรองบประมาณ และวางแผนการเดินทางให้คุ้มกับค่าน้ำมัน โดยกำหนดจุดที่จะไปถ่ายภาพให้ได้เยอะๆ ก่อนการเดินทาง ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ให้การสนับสนุนค่าเดินทางครับ



107.23.85.179 | Copyright © 2008 - 2023 esanart.com All Rights Reserved.
Website designed by Artnana Sudio