ฮุปแต้มอีสาน, สิมอีสาน (Isan Mural Painting and Isan Temple Architectures)
 สิม หอไตร ฮูปแต้ม

(วางเมาส์บนรูปภาพ เพื่อดูส่วนขยายภาพ)

+ เพิ่ม | - ลด ขนาดตัวอักษร      

      บ้านตาดทอง มีลักษณะเป็นเนินดินขนาดใหญ่สูงประมาณ 3 เมตร มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ 1 ชั้น เป็นรูปวงรี วางตัวตามแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ - ทิศตะวันตกเฉียงใต้ กว้างประมาณ 500 เมตร ยาวประมาณ 650 เมตร ปัจจุบันตัวเมืองถูกแบ่งเป็นสองส่วน เนื่องจากทางหลวงสาย 23 ตัดผ่าน และมีการตั้งบ้านเรือนอยู่หนาแน่น มีการทำนาและปลูกผักโดยรอบเนินดิน ทำให้คูน้ำคันดินโบราณถูกทำลายลง คูเมืองด้านทิศตะวันตก ได้ขุดลอกเป็นคลองระบายน้ำ
      บ้านตาดทอง มีอายุประมาณ 2,500 ปีมาแล้ว เป็นชุมชนเกษตรกรรม พบหลักฐานการฝังศพแบบนอนหงาย เครื่องใช้ที่พบได้แก่เศษภาชนะดินเผาแบบมีลายเขียนสีที่ขอบปาก ซึ่งพบทั่วไปในบริเวณทุ่งกุลาร้องไห้ ชุมชนแห่งนี้มีการอยู่อาศัยต่อเนื่องมาโดยตลอดจนถึง สมัยทวาราวดี และขอม นับถือศาสนาพุทธ ได้พบใบเสมาเป็นจำนวนมาก ใบเสมาที่พบมีลักษณะต่างไปจากใบเสมาที่พบในชุมชนต้นและกลางแม่น้ำชี บริเวณจังหวัดชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ รุ่นหลังลงมาจนถึงปัจจุบัน
      มีชุมชนไท - ลาวเข้าอยู่อาศัย ศาสนสถานสำคัญของชุมชนคือ พระธาตุก่องข้าวน้อย และพระธาตุบ้านสะเดา

      ใบเสมาที่พบบริเวณธาตุก่องข้าวน้อยหรือพระธาตุตาดทองในปัจจุบันนั้น ถูกนำไปจัดเก็บไว้หลายๆ แห่ง เช่น วัดโพธิ์ศรีมงคล วัดอัมพวันเหนือ วัดศรีธรรมาราม และพบที่วัดสุปัฏนารามวรวิหาร จ.อุบลฯ เป็นต้น

ใบเสมาหินทรายสมัยทวารวดี วัดโพธิ์ศรีมงคล ใกล้ๆ ธาตุก่องข้าวน้อยหรือพระธาตุตาดทองในปัจจุบัน อ.เมือง จ.ยโสธร
      ใบเสมาภายในวัดโพธิ์ศรีมงคล นำมาจากบริเวณธาตุก่องข้าวน้อย มาปักไว้บริเวณพระอุโบสถและบริเวณต้นโพธิ์ เนื่องจากไม่ได้เข้าใจเรื่องความสำคัญของวัตถุโบราณของผู้ที่เกี่ยวข้องภายในวัด จึงปักใบเสมาตามอำเภอใจ และบางใบฝังลึกมากจนบดบังลายของใบเสมา คงเป็นเพราะกลัวการสูญหายจากการลักโขมย จึงปักลงลึกหรือเกิดจากการถมพื้นที่วัดให้สูงขึ้น แต่ไม่ได้ขยับใบเสมาขึ้น
      ลวดลายบนใบเสมา จะเป็นลายหม้อปูรณฆฏะ ลายธรรมจักร ลายสี่เหลี่ยมซ้อนกันคล้ายๆ ลายจีน ฐานเป็นฐานบัวคว่ำบัวหงาย เป็นต้น

      ใบเสมา หรือ สีมา เป็นประติมากรรมหินสลัก ซึ่งใช้เป็นสัญลักษณ์หรือเพื่อแสดงขอบเขตพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์เนื่องในพุทธศาสนา จากการศึกษาพบว่ามีการสร้างอย่างแพร่หลายมาก ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยช่วงพุทธศตวรรษที่ 12-16 ซึ่งเป็นยุคที่วัฒนธรรมทวารวดีเจริญรุ่งเรื่องขึ้น การปักใบเสมาดังกล่าวอาจสืบเนื่องมาจากระบบคติความเชื่อ สันนิษฐานว่าอาจจะเกี่ยวกับ
      รูปแบบและการประดับตกแต่งลวดลาย
      ใบเสมาที่พบในวัฒนธรรมทวารวดีทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย มีลักษณะเป็นแท่งหินขนาดใหญ่ อาจเป็นลักษณะแท่งหินธรรมชาติ หรือแผ่นหินที่ไม่มีการโกลนให้เป็นรูปร่าง แบบแผ่นหิน (Slab Type) ที่มีการถากโกลนให้เป็นแผ่น หรือแบบแท่งเสา (Pillar Type) ที่มีการถากโกลนให้เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม แปดเหลี่ยม มีการตกแต่งลวดลายโดยการแกะสลักลงบนใบเสมา ลวดลายที่พบมาก เช่น
      - แบบเรียบ
      - แกะสลักรูปสันนูนทรงสามเหลี่ยมคล้ายสถูปบริเวณกึ่งกลางใบ สถูปเป็นสัญลักษณ์แทนพระพุทธเจ้า
      - แกะสลักเป็นหม้อน้ำศักดิ์สิทธิ์ (หม้อปูรณฆฏะ) มีลักษณะเป็นภาชนะทรงกลม บางครั้งมีพวย หรือมีการประดับลายพรรณพฤกษาเรียงต่อเนื่องขึ้นเป็นรูปกรวยยอดแหลมหรือสันสถูป หม้อน้ำนี้เป็นสัญลักษณ์มงคลตามความเชื่อของอินเดียโบราณ แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์
      - แกะสลักเป็นภาพเล่าเรื่องทางพุทธศาสนา เช่น พุทธประวัติ และชาดกตอนสำคัญ
      - แกะสลักเป็นธรรมจักร พบทั้งที่สลักบริเวณกึ่งกลางใบและสลักบริเวณสันขอบของใบเสมา ธรรมจักรเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนาที่แสดงว่าพระพุทธศาสนาได้เผยแผ่มายังดินแดนแห่งนี้แล้ว

ใบเสมาแกะสลักหม้อปูรณฆฏะ เป็นรูปแบบที่พบมากกว่ารูปแบบอื่น (กลุ่มใบเสมาพระธาตุตาดทองหรือธาตุก่องข้าวน้อยเดิม)
      ใบเสมาวัดศรีธรรมาราม ซึ่งนำมาจากธาตุก่องข้าวน้อย ลักษณะเป็นใบเสมาที่มีขนาดใหญ่ สูงประมาณ 70 - 200 เซนติเมตร (ไม่รวมฐานราก) หนาประมาณ 15-20 เซนติเมตร มีทั้งแบบเรียบ แบบแกะสลักสันนูน แกะเป็นหม้อปูรณฆฏะต่อด้วยกรวยและเสมาธรรมจักร และยังพบการแกะสลักเรื่องพุทธประวัติ ตอนพระพุทธเจ้าตรัสรู้ ประทับนั่งสมาธิบนพระแท่นวัชรอาสน์ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ อีกแผ่นหนึ่งด้วย

      การตกแต่งใบเสมาด้วยรูปสถูปหรือหม้อปูรณฆฏะ ตามที่ได้กล่าว ไว้แล้วว่า การปักใบเสมาแบบใบเดียวที่กลางลานนั้น อาจหมายถึงเครื่องหมายแทนสถูป โดยสังเกตจากรูปแบบของใบเสมาที่มีการสลักรูปสถูปหรือหม้อปูรณฆฏะไว้ หม้อปูรณฆฏะ เป็นเครื่องหมายของความอุดมสมบูรณ์ เป็นสัญลักษณ์ที่พบมาก่อนแล้ว ตั้งแต่ศิลปะอินเดียโบราณ และยังพบอีกในศิลปะลังกาสมัยอนุราธปุระ ในราวพุทธศตวรรษที่ 8 - 10 ก็นิยมปักหินตั้งรูปปูรณฆฏะไว้บริเวณหน้าประตูทางเข้า (การปักใบเสมา ที่วัดศรีธรรมาราม ได้ปักใหม่ โดยปักเป็นคู่ๆ ใบเล็กและใบใหญ่ จึงไม่อาจยืนยันได้ถึงการปักเดิมตั้งแต่การค้นพบ ก่อนการเคลื่อนย้ายมาที่วัดเพื่อเก็บรักษา)

      เนื่องจากปูรณฆฏะ เป็นเครื่องหมายของความอุดมสมบูรณ์ จึงเป็นสัญลักษณ์ในการอวยพรผู้มาศาสนสถานให้มีความสุขไปด้วย และด้วยเหตุนี้จึงเป็นเครื่องยืนยันการรับสืบ ทอดวัฒนธรรมศาสนา และศิลปกรรมมาจากอินเดีย และลังกาด้วยเช่นกัน





      
      จารึกบ้านตาดทอง ใบเสมาหินทรายสีแดง จารึกด้วยอักษรขอมโบราณ ภาษาเขมร, สันสกฤต ราวพุทธศตวรรษที่ 15 (เก็บรักษาไว้ที่วัดแห่งนี้)
      ตามประวัติทะเบียนจารึก ยส. 1 ของกองหอสมุดแห่งชาติ ได้บันทึกไว้ว่า ได้ขุดพบจารึกหลักนี้ ที่หมู่บ้านตาดทอง ตำบลตาดทอง อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร ต่อมาปี พ.ศ. 2503 ได้ย้ายมาไว้ที่วัดอัมพวัน ซึ่งอยู่ในหมู่บ้านตาดทองนั้นเอง ต่อมาเป็น พ.ศ. ใดไม่ปรากฏ ได้นำมาเก็บรักษาไว้ที่วัดโพธิศรีมงคล จังหวัดยโสธร ปัจจุบันมีพระอธิการสอน วิมโล เป็นเจ้าอาวาส ซึ่งท่านได้เก็บรักษาจารึกบ้านตาดทองนี้ไว้เป็นอย่างดี เจ้าหน้าที่กองหอสมุดแห่งชาติ ได้ออกสำรวจจารึกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเมื่อปี พ.ศ. 2523 และได้ทำการอัดสำเนาถ่ายภาพจารึกบ้านตาดทองไว้ เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2523 จารึกหลักนี้ ใช้ศัพท์โบราณ อันผิดจากศัพท์ที่ใช้ในปัจจุบันอยู่บ้าง เช่น ตนฺทุลํ (ข้าวสาร) ปัจจุบันใช้ ตณฺฑุลํ เป็นต้น ส่วนหลักภาษาก็คลาดเคลื่อนบ้างเล็กน้อย เช่น ททาตฺ น่าจะเป็น อททาตฺ ฉะนั้น การอ่าน-แปลครั้งนี้ จึงต้องอาศัยความหมายเป็นสำคัญ การพิมพ์ครั้งนี้อ่าน-แปลเฉพาะด้านที่ 1 เท่านั้น ส่วนด้านที่ 2 ยังไม่ได้อ่าน-แปล
      ข้อความในจารึก เริ่มด้วยการกล่าวนอบน้อมพระศิวะ และกล่าวถึงพระเจ้ารุทรโลกว่า เป็นผู้มีความสามารถมาก ปกครองประเทศโดยธรรม ได้พระราชทานสิ่งของต่างๆ จำนวนมากแก่เจ้าชายที่เข้าพิธีมงคลสมรสกับพระราชธิดา ช่วงสุดท้ายของจารึกบอกให้ทราบว่า เจ้าชายเป็นเชื้อพระวงศ์ชาวเมืองภวปุระ และพราหมณ์ได้ทำพิธีบูชาพระศิวลึงค์ทุกวัน
      จารึกบรรทัดที่ 4 ได้ระบุชื่อกษัตริย์พระองค์หนึ่ง คือ “รุทฺรโลก” หรือ “พระเจ้ารุทรโลก” อันเป็นพระนามของพระเจ้าหรรษวรมันที่ 1 ซึ่งครองราชย์เมื่อ พ.ศ. 1454-1664 และพระนามนี้ได้รับเมื่อพระองค์สวรรคตแล้ว ฉะนั้นจารึกหลักนี้คงสร้างภายหลังจากที่พระเจ้าหรรษวรมันสวรรคตแล้ว

ถ่ายภาพเมื่อ : 22 ธันวาคม 2559
วัดโพธิ์ศรีมงคล อ.เมือง จ.ยโสธร
วัดโพธิ์ศรีมงคล อ.เมือง จ.ยโสธร
วัดโพธิ์ศรีมงคล อ.เมือง จ.ยโสธร
วัดโพธิ์ศรีมงคล อ.เมือง จ.ยโสธร
วัดโพธิ์ศรีมงคล อ.เมือง จ.ยโสธร
วัดโพธิ์ศรีมงคล อ.เมือง จ.ยโสธร
วัดโพธิ์ศรีมงคล อ.เมือง จ.ยโสธร
วัดโพธิ์ศรีมงคล อ.เมือง จ.ยโสธร
วัดโพธิ์ศรีมงคล อ.เมือง จ.ยโสธร
วัดโพธิ์ศรีมงคล อ.เมือง จ.ยโสธร
วัดโพธิ์ศรีมงคล อ.เมือง จ.ยโสธร

ใบเสมาที่นำไปจากธาตุกล่องข้าวน้อย
ใบเสมาวัดศรีธรรมาราม | ใบเสมาวัดอัมพวันเหนือ
 Isan Upload
ภาพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง



สถานที่ตั้ง : วัดโพธิ์ศรีมงคล ต.ตาดทอง อ.เมือง จ.ยโสธร
พิกัด : 15.763112, 104.203356
ถ่ายภาพเมื่อ : 22 ธันวาคม 2559
วันติดตั้งหน้าเว็บ : 10 กรกฏาคม 2560
ปรับปรุงล่าสุด : 6 กันยายน 2561
จำนวนผู้เข้าชม : 2351 ครั้ง
แหล่งที่มาข้อมูล : finearts.go.th, sac.or.th, yasothon.go.th เรียบเรียงขึ้นเอง
หมายเหตุ : เว็บมาสเตอร์เดินทางไปชมและถ่ายภาพเอง


10-07-2017 Views : 2352
      ร่วมกันสนับสนุนเว็บไซต์นี้ ทำได้ง่ายๆ ด้วยการคลิกลิงค์ด้านล่าง... ขอบคุณครับ




อาร์ตนานา สตูดิโอ และ เดอะ ไดโนเสาร์ อาร์ต แกลเลอรี่ ™ (หอศิลป์ เดอะแด็ก)
บ้านเลขที่ 9, 48 หมู่ 12 บ้านหนองซำ ต.น้ำอ้อม อ.ค้อวัง จ.ยโสธร 35160 กรุณาโทรติดต่อก่อนการเดินทางหรือนัดหมายล่วงหน้า ที่เบอร์ โทร. 081- 303 4493, 064-092 9449
ออกแบบโลโก้ | ออกแบบบรรจุภัณฑ์ | ออกแบบกล่อง | ออกแบบบถุง | ออกแบบฉลาก | ออกแบบสื่อส่งเสริมการขาย ออกแบบสื่อดิจิทัล Digital Media Design

 ร่วมสนับสนุนเว็บไซต์ อีสานอาร์ตดอทคอม ช่องพุทธศิลป์อีสาน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางถ่ายภาพนำมาจัดทำเว็บไซต์ ได้ที่ :

ธนาคารกสิกรไทย สาขาบางกะปิ ชื่อบัญชี นายพัฒยา จันดากูล เลขที่บัญชี 003-2-02799-9 ประเภท ออมทรัพย์

ต้องยอมรับความจริงว่า การเดินทางมีค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะค่าน้ำมันรถ หากต้องเดินทางไกลๆ หลายร้อยกิโลเมตร ค่าใช้จายในแต่ละเที่ยวก็หลายพันบาท เว็บมาสเตอร์จึงต้องรองบประมาณ และวางแผนการเดินทางให้คุ้มกับค่าน้ำมัน โดยกำหนดจุดที่จะไปถ่ายภาพให้ได้เยอะๆ ก่อนการเดินทาง ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ให้การสนับสนุนค่าเดินทางครับ



18.97.14.88 | Copyright © 2008 - 2023 esanart.com All Rights Reserved.
Website designed by Artnana Sudio