วัดโพธิ์ชัยนาพึง จ.เลย
วัดโพธิ์ชัย เป็นวัดเก่า มีมาก่อนการตั้งหมู่บ้าน สร้างขึ้นราว พุทธศตวรรษที่ 22-23 ภายในวัดมีวิการเก่าแก่ที่มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง ฝีมือช่างพื้นถิ่นที่งดงาม
วิหารเป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ผนังก่ออิฐถือปูน หันหน้าไปทางทิศเหนือ มีประตูทางเข้า 3 ทาง
คือ ด้านทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก ที่ประตูทั้ง 3 ทิศ มีสัตว์หิมพานต์(มอม) หมอบอยู่ด้านละ 1 คู่
ส่วนผนังด้านทิศใต้ก่อทึบ หลังคาทรงจั๋ว มุงด้วยไม้แป้นเกล็ด มีชายคาปีกนกโดยรอบ รองรับด้วยเสาไม้
หลังคาวิหารคลุมต่ำมาก ซึ่งเป็นรูปแบบเฉพาะของอวคารท้องถิ่นจังหวัดเลย และยังช่วยป้องกันภาพจิตรกรรมฝาผนังอีกด้งย
ภาพจิตรกรรมฝาผนังปรากฏอยู่ ทั้งที่ผนังด้านในและด้านนอก ด้านในเขียนเรื่องพุทธประวัติและพระเวสสันดรชากดก
ด้านนอกเขียนเรื่องเนมิราชชาดก สังข์ศิลป์ชัย และการเกด สะท้อนให้เห็นชีวิตความเป็นอยู่ และการนับถือศาสนาของชาวบ้านนาพึง ในช่วงปลายสมัยอยุธยา (ผนังด้านใน) ลักษณะของลายเส้นและการใช้สีบ่งบอกถึงความมีอิสระและเป็นศิลปะท้องถิ่นอย่างแท้จริง
ฮูปแต้ม จิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับพุทธประวัติและวรรณกรรมท้องถิ่นที่ผนังด้านทิศเหนือมีจารึกว่าภาพเขียนดังกล่าวเขียนขึ้นเมื่อจุลศักราช 1214
ตรงกับพ.ศ. 2395 ตรงกับช่วงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและที่ด้านนอกพระอุโบสถหลังเดียวกันนี้
ยังมีภาพจิตรกรรม ซึ่งเขียนขึ้นในสมัยหลังคือเมื่อปี พ.ศ. 2459 นับเป็นโบราณสถานและโบราณวัตถุที่มีค่ายิ่งแห่งหนึ่ง
ของจังหวัดเลย และกรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนวัดโพธิ์ชัยเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2530
พระเจ้าองค์แสน
มีพระพุทธรูปสำคัญศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพของชาวบ้าน คือ พระเจ้าองค์แสน หรือพระพุทธรูปฝนแสนห่าตามประวัติเล่าว่า
เสด็จมาจากเมืองเชียงแสนด้วยพระองค์เอง มาประดิษฐานอยุ่ที่วัดโพธิ์ชัย โดยมีฆ้องห้อยศอกมา 1 อัน
และลูกแก้วเป็นทองสัมฤทธิ์มาด้วย 1 องค์ พร้อมด้วยปืน 1 กระบอก ต่อมาเจ้าเมืองเชียงของทราบข่าวจึงยกขบวนพลช้าง
พลม้า เพื่อที่จะอัญเชิญไปเชียงของ แต่ไม่สามารถอัญเชิญไปได้ และเล่ากันต่อมาว่า ถ้าพระพุทธรูปองค์นี้เสด็จไปประดิษฐาน
ณ ที่ใด ที่นั้นจะไม่มีการแล้ง จึงได้ชื่อว่าพระพุทธรูปฝนแสนห่า พระพุทธรูปองค์แสน เป็นพระพุทธรูปขนาดหน้าตัก
กว้าง 34 เซนติเมตร สูง 50 เซนติเมตร เนื้อองค์เป็นทองสัมฤทธิ์ พระสังฆาฏิเป็นทองนาค พอถึงฤดูตรุษสงกรานต์
ชาวบ้านจะนำพระพุทธรูปองค์แสนมาสรงน้ำและทำพิธีเปลี่ยนเครื่องทรงทุกปี โบสถ์และวิหารที่วัดแห่งนี้ก่อสร้างด้วยฝีมือประณีต
ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับพุทธประวัติต่างๆ กรมศิลปากรได้ทำการตรวจสอบแล้ว พบว่าทั้งโบสถ์ วิหาร
และพระพุทธรูปนั้นมีอายุ 400 ปี นับเป็นโบราณสถานและโบราณวัตถุที่มีค่ายิ่งของจังหวัดเลย
หอไตร
ในบริเวณวัดมีหอพระไตรปิฎกที่มีความสูงสร้างด้วยไม้
สถานที่ตั้ง : ตั้งอยู่เลขที่ ๔๗ บ้านนาพึง ถนนด่านซ้าย-นาแห้ว หมู่ที่ ๑ ตำบลนาพึง อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย
ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น
|
|
|
12-12-2013 Views : 8695