ฮุปแต้มอีสาน, สิมอีสาน (Isan Mural Painting and Isan Temple Architectures)
 สิม หอไตร ฮูปแต้ม

(วางเมาส์บนรูปภาพ เพื่อดูส่วนขยายภาพ)

+ เพิ่ม | - ลด ขนาดตัวอักษร      


สิม วัดมณีจันทร์
      วัดมณีจันทร์ ตั้งอยู่ที่ บ้านมะเฟือง หมู่ที่ 1 ตำบลมะเฟือง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์
      วัดมณีจันทร์ เริ่มก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2340 ณ บริเวณทิศตะวันออกของหมู่บ้าน แต่เดิมนั้นชื่อ " วัดจันทร์ " แต่ได้เกิดไฟไหม้ขึ้นที่วัด ต่อมาจึงได้ย้ายมาสร้างวัดขึ้นใหม่ ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้าน เมื่อปีพุทธศักราช 2436 มีเนื้อที่ทั้งหมด 5 ไร่ 2 งาน
      ประกาศตั้งเป็นวัดเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2456 ต่อมาเมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2474 ได้เปลี่ยนชื่อจาก " วัดจันทร์ " เป็น " วัดมณีจันทร์ " โดยเจ้าอธิการสีดา สีลานุโลโม

      สิม หรือ อุโบสถวัดมณีจันร์ สร้างขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2482 - 2484 โดย นายจันทร์ โมกศรี สมัยบวชเป็นพระภิกษุ เป็นรองเจ้าอาวาส และ พระใบฎีกาสีดา เป็นเจ้าอาวาสในสมัยนั้น พร้อมทั้งชาวบ้านบ้านมะเฟือง ร่วมกันก่อสร้างขึ้น โดยการขุดดินภายในวัดมาเผาทำเป็นอิฐ และช่วยกันนำทรายมาจากแม่น้ำมูล มาผสมกับน้ำยาของต้นไม้ที่ชาวบ้านเรียกว่า " ยางบง " มาก่อฉาบเป็นอุโบสถ และขุดเอาดินเหนียวมาเผา เพื่อเป็นกระเบื้องมุงหลังคา (ที่ชาวบ้านเรียกว่า "กระเบื้องดินขอ") สถาปัตยกรรมที่โดดเด่น ด้วยเอกลักษณ์ของโบสถ์ทางภาคอีสาน นอกจากนั้นยังเป็นโบสถ์ที่เรียกว่า " โบสถ์มหาอุตม์ " อีกด้วย กล่าวคือ เป้นโบสถ์ที่มีเพียงประตูเข้ด้านหน้าเพียงด้านเดียว ซึ่งโบราณเชื่อว่า หากทำการปลุกเสกวัตถุมงคลในโบสถ์นี้ จะทำให้สัดถุมงคลดังกล่าว มีความศักดิ์สิทธิ์และเข้มขลังเป็นอย่างยิ่ง
      ที่ผ่านมา เคยมีการบูรณะมาแล้ว 3 ครั้ง หลังจากนั้นในช่วงปี พ.ศ. 2549 " คุณเสฎฐพันธุ์ เสริญไธสง " โปรดิวเซอร์รายการโทรทัศน์ ได้บูรณะอุโบสถครั้งใหญ่ ด้วยการเปลี่ยนหลังคามุงกระเบื้อง และกระเทาะผนังปูนผนังปูนที่ถูกเกลือจากดินกัดเซาะจนผุกร่อนออก แล้วฉาบปูนใหม่
      นอกจากนั้น ยังได้รับความร่วมมือจาก " ผศ.อัศวิณีย์ หวานจริง " กับ " อ.อุดม หวานจริง " และทีมงานในการสร้างสรรค์ ภาพวิจิตรกรรม ที่ผนังด้านนอกโบสถ์ทั้ง 4 ด้าน ด้วยงานศิลปะ กระจกสี

ข้อมูลจาก : แผ่นป้ายประชาสัมพันธ์ภายในวัด




       ศิลปะกระจกสี การตัดกระจกชิ้นเล็กชิ้นน้อย ขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียว เท่าปลายก้านไม้ขีดและเล็กที่สุดเท่าเมล็ดงา ที่มีเพียง 5 สี ได้แก่ แดง เขียว น้ำเงิน ฟ้า และขาว ให้เกิดการผสมสีด้วยแสงที่ตกกระทบจากสิ่งแวดล้อมรายรอบอุโบสถ และการมองด้วยสายตาของผู้มาเยือน การทำกระจกที่มีความแข็งให้กลายเป็นงานอันอ่อนช้อย
      นอกจากความละเอียดของการตัดกระจกเป็นรูปต่างๆ ได้วิจิตรพิสดารแล้ว การชมภาพจิตรกรรม ในเวลาที่แสงแดดอ่อน - แรง ยังให้ความรู้สึกที่งดงามต่างกันอีกด้วย จิตรกรรมประดับกระจกทั้ง 4 ด้าน มีดังนี้
      1.ด้านหน้าพระอุโบสถ เป็นเรื่องราว จากวรรณคดีทางพระพุทธศาสนา ที่ชาวอีสานศรัทธากันมาก คือ เรื่อง พระมาลัยโปรด 3 โลก
      2. ด้านข้างทิศใต้ เป็นเหตุการณืประวัติท้องถิ่น ทำให้ชาวชุมชน โดยเฉพาะเยาวชนทราบถึงรากเหง้า และภูมิใจในวัฒนธรรมท้องถิ่นตนเอง
      3. ด้านหลังพระอุโบสถ ภาพประวัติการเสด็จออก ณ สีหบัญชร ของพระที่นั่งอนันตสมาคม ในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี
      4. ด้านข้างทิศเหนือ เป็นเหตุการณ์สำคัญๆ และวัฒนธรรม สภาพสังคม ค่านิยม ความเชื่อของชาวอำเภอพุทไธสง ในยุคนี้ คือ มีวิถีชีวิต โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในสมัยนี้
       ภาพถ่ายเมื่อ : 29 สิงหาคม 2558



สถานที่ตั้ง : บ้านมะเฟือง ต.มะเฟือง อ.พุทไธสง จ.บุรีรัมย์
ถ่ายภาพเมื่อ : 29 สิงหาคม 2558
วันติดตั้งหน้าเว็บ : 31 สิงหาคม 2558
จำนวนผู้เข้าชม : 7625 ครั้ง
หมายเหตุ : เว็บมาสเตอร์เดินทางไปชมและถ่ายภาพเอง, ข้อมูลจากป้ายที่วัด


29-08-2015 Views : 7626
      ร่วมกันสนับสนุนเว็บไซต์นี้ ทำได้ง่ายๆ ด้วยการคลิกลิงค์ด้านล่าง... ขอบคุณครับ





อาร์ตนานา สตูดิโอ และ เดอะ ไดโนเสาร์ อาร์ต แกลเลอรี่ ™ (หอศิลป์ เดอะแด็ก)
บ้านเลขที่ 9, 48 หมู่ 12 บ้านหนองซำ ต.น้ำอ้อม อ.ค้อวัง จ.ยโสธร 35160 กรุณาโทรติดต่อก่อนการเดินทางหรือนัดหมายล่วงหน้า ที่เบอร์ โทร. 081- 303 4493, 064-092 9449
ออกแบบโลโก้ | ออกแบบบรรจุภัณฑ์ | ออกแบบกล่อง | ออกแบบบถุง | ออกแบบฉลาก | ออกแบบสื่อส่งเสริมการขาย ออกแบบสื่อดิจิทัล Digital Media Design

 ร่วมสนับสนุนเว็บไซต์ อีสานอาร์ตดอทคอม ช่องพุทธศิลป์อีสาน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางถ่ายภาพนำมาจัดทำเว็บไซต์ ได้ที่ :

ธนาคารกสิกรไทย สาขาบางกะปิ ชื่อบัญชี นายพัฒยา จันดากูล เลขที่บัญชี 003-2-02799-9 ประเภท ออมทรัพย์

ต้องยอมรับความจริงว่า การเดินทางมีค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะค่าน้ำมันรถ หากต้องเดินทางไกลๆ หลายร้อยกิโลเมตร ค่าใช้จายในแต่ละเที่ยวก็หลายพันบาท เว็บมาสเตอร์จึงต้องรองบประมาณ และวางแผนการเดินทางให้คุ้มกับค่าน้ำมัน โดยกำหนดจุดที่จะไปถ่ายภาพให้ได้เยอะๆ ก่อนการเดินทาง ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ให้การสนับสนุนค่าเดินทางครับ



18.189.14.219 | Copyright © 2008 - 2023 esanart.com All Rights Reserved.
Website designed by Artnana Sudio