ฮุปแต้มอีสาน, สิมอีสาน (Isan Mural Painting and Isan Temple Architectures)
 สิม หอไตร ฮูปแต้ม

(วางเมาส์บนรูปภาพ เพื่อดูส่วนขยายภาพ)

+ เพิ่ม | - ลด ขนาดตัวอักษร      

ใบเสมาหินทรายสมัยทวารวดี พระธาตก่องข้าวน้อย (พระธาตุถาดทอง) อ.เมือง จ.ยโสธร

      ใบเสมา หรือ สีมา เป็นประติมากรรมหินสลัก ซึ่งใช้เป็นสัญลักษณ์หรือเพื่อแสดงขอบเขตพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์เนื่องในพุทธศาสนา จากการศึกษาพบว่ามีการสร้างอย่างแพร่หลายมาก ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยช่วงพุทธศตวรรษที่ 12-16 ซึ่งเป็นยุคที่วัฒนธรรมทวารวดีเจริญรุ่งเรื่องขึ้น การปักใบเสมาดังกล่าวอาจสืบเนื่องมาจากระบบคติความเชื่อ สันนิษฐานว่าอาจจะเกี่ยวกับ
      - คติที่สืบทอดมาจากประเพณีการปักหินตั้ง (Megaliths) โดยเชื่อเรื่องการนับถือผีบรรพบุรุษของชนพื้นเมืองในเอเชียอาคเนย์
      - คติการสร้างขึ้นเนื่องในพุทธศาสนา เพื่อเป็นหลักเขตกำหนดบริเวณศักดิ์สิทธิ์ หรือสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางพุทธศาสนา
      - เป็นตัวแทนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับเคารพบูชา ทำหน้าที่คล้ายสถูปเจดีย์หรือพระพุทธรูปเพื่อให้ผู้คนได้กราบไหว้บูชา

      ลักษณะการปักใบเสมา
      - ปักหลักเดียว เพื่อแสดงเขตหรือตำแหน่งของบริเวณพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์
      - ปักเป็นกลุ่ม พบว่ามีการปักล้อมรอบเนินดินหรือพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์โดยไม่มีการกำหนดทิศทางแน่นอน
      - ปักประจำทิศ มีตั้งแต่การปัก 4 ทิศ 8 ทิศ ไปจนถึง 16 ทิศ โดยปักล้อมรอบเนินดินหรือสิ่งก่อสร้างทางศาสนา เพื่อแสดงเขตของสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เช่น เจดีย์ พระธาตุ อุโบสถ พบว่ามีทั้งการปักใบเสมาเดี่ยว ปักเสมาคู่ หรือปักซ้อนกัน 3 ใบ

      รูปแบบและการประดับตกแต่งลวดลาย
      ใบเสมาที่พบในวัฒนธรรมทวารวดีทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย มีลักษณะเป็นแท่งหินขนาดใหญ่ อาจเป็นลักษณะแท่งหินธรรมชาติ หรือแผ่นหินที่ไม่มีการโกลนให้เป็นรูปร่าง แบบแผ่นหิน (Slab Type) ที่มีการถากโกลนให้เป็นแผ่น หรือแบบแท่งเสา (Pillar Type) ที่มีการถากโกลนให้เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม แปดเหลี่ยม มีการตกแต่งลวดลายโดยการแกะสลักลงบนใบเสมา ลวดลายที่พบมาก เช่น
      - แบบเรียบ
      - แกะสลักรูปสันนูนทรงสามเหลี่ยมคล้ายสถูปบริเวณกึ่งกลางใบ สถูปเป็นสัญลักษณ์แทนพระพุทธเจ้า
      - แกะสลักเป็นหม้อน้ำศักดิ์สิทธิ์ (หม้อปูรณฆฏะ) มีลักษณะเป็นภาชนะทรงกลม บางครั้งมีพวย หรือมีการประดับลายพรรณพฤกษาเรียงต่อเนื่องขึ้นเป็นรูปกรวยยอดแหลมหรือสันสถูป หม้อน้ำนี้เป็นสัญลักษณ์มงคลตามความเชื่อของอินเดียโบราณ แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์
      - แกะสลักเป็นภาพเล่าเรื่องทางพุทธศาสนา เช่น พุทธประวัติ และชาดกตอนสำคัญ
      - แกะสลักเป็นธรรมจักร พบทั้งที่สลักบริเวณกึ่งกลางใบและสลักบริเวณสันขอบของใบเสมา ธรรมจักรเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนาที่แสดงว่าพระพุทธศาสนาได้เผยแผ่มายังดินแดนแห่งนี้แล้ว

ใบเสมาแกะสลักหม้อปูรณฆฏะ เป็นรูปแบบที่พบมากกว่ารูปแบบอื่น (กลุ่มใบเสมาพระธาตุตาดทองหรือธาตุก่องข้าวน้อยเดิม)
      กลุ่มใบเสมาพระธาตุตาดทอง ถูกนำไปไว้หลายๆ ที่ เช่น วัดโพธิ์ศรีมงคล วัดอัมพวันเหนือ วัดศรีธรรมาราม เป็นต้น ลักษณะเป็นใบเสมาที่มีขนาดใหญ่ สูงประมาณ 70 - 200 เซนติเมตร (ไม่รวมฐานราก) หนาประมาณ 15-20 เซนติเมตร มีทั้งแบบเรียบ แบบแกะสลักสันนูน แกะเป็นหม้อปูรณฆฏะต่อด้วยกรวยและเสมาธรรมจักร และยังพบการแกะสลักเรื่องพุทธประวัติ ตอนพระพุทธเจ้าตรัสรู้ ประทับนั่งสมาธิบนพระแท่นวัชรอาสน์ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ อีกแผ่นหนึ่งด้วย

      การตกแต่งใบเสมาด้วยรูปสถูปหรือหม้อปูรณฆฏะ ตามที่ได้กล่าว ไว้แล้วว่า การปักใบเสมาแบบใบเดียวที่กลางลานนั้น อาจหมายถึงเครื่องหมายแทนสถูป โดยสังเกตจากรูปแบบของใบเสมาที่มีการสลักรูปสถูปหรือหม้อปูรณฆฏะไว้ หม้อปูรณฆฏะ เป็นเครื่องหมายของความอุดมสมบูรณ์ เป็นสัญลักษณ์ที่พบมาก่อนแล้ว ตั้งแต่ศิลปะอินเดียโบราณ และยังพบอีกในศิลปะลังกาสมัยอนุราธปุระ ในราวพุทธศตวรรษที่ 8 - 10 ก็นิยมปักหินตั้งรูปปูรณฆฏะไว้บริเวณหน้าประตูทางเข้า (การปักใบเสมา ที่วัดศรีธรรมาราม ได้ปักใหม่ โดยปักเป็นคู่ๆ ใบเล็กและใบใหญ่ จึงไม่อาจยืนยันได้ถึงการปักเดิมตั้งแต่การค้นพบ ก่อนการเคลื่อนย้ายมาที่วัดเพื่อเก็บรักษา)

      เนื่องจากปูรณฆฏะ เป็นเครื่องหมายของความอุดมสมบูรณ์ จึงเป็นสัญลักษณ์ในการอวยพรผู้มาศาสนสถานให้มีความสุขไปด้วย และด้วยเหตุนี้จึงเป็นเครื่องยืนยันการรับสืบ ทอดวัฒนธรรมศาสนา และศิลปกรรมมาจากอินเดีย และลังกาด้วยเช่นกัน



      
      ธาตุก่องข้าวน้อย หรือพระธาตุตาดทอง
      "ธาตุก่องข้าวน้อย" หรือ "พระธาตุตาดทอง" อยู่กลางทุ่งนา ที่บ้านตาดทอง อำเภอเมืองยโสธร บริเวณบ้านตาดทองเคยเป็นแหล่งชุมชนมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ พบหลักฐานการอยู่อาศัยเป็นแหล่งฝังศพและมีเศษภาชนะแบบที่พบในทุ่งกุลาร้องไห้ มีเนินดินขนาดราว 500 X 650 เมตรรูปวงรี มีคูน้ำล้อมรอบ แต่ปัจจุบันทางหลวงตัดผ่านกลางเนิน จนแบ่งออกเป็นสองฟากและมีบ้านเรือนตั้งอยู่หนาแน่น
      พบใบเสมาจำนวนมาก ทำให้ทราบว่าบริเวณลุ่มน้ำชีตอนปลายต่อเนื่องกับอำนาจเจริญและอุบลราชธานีมีการผสมผสานของวัฒนธรรมแบบทวารวดีและแบบเจนละในราวพุทธศตวรรษที่ 11-12 ดังพบจากโบราณสถานที่ดงเมืองเตยซึ่งอยู่ไม่ห่างไกลนัก
      ต่อมาบริเวณนี้เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมล้านช้าง มีการสร้างธาตุซึ่งมีเรือนธาตุเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม มีซุ้มจระนำอยู่ทั้งสี่ทิศ และมีรูปทรงคอดที่กลางเรือนธาตุทำให้คล้ายกับรูปร่างของก่องข้าว ซึ่งเป็นทรงสูงแบบก่องใส่ข้าวที่พบในท้องถิ่น ในตำนานของบ้านตาดทองซึ่งผูกพันกับพระธาตุพนมในวัฒนธรรมในเขตลุ่มน้ำโขง เล่ากันว่า ชาวบ้านกลุ่มหนึ่งได้นำเอาของมีค่าต่างๆ รวบรวมใส่ถาดทองคำเพื่อจะนำไปบรรจุไว้ในพระธาตุพนม แต่องค์พระธาตุพนมสร้างเสร็จเสียก่อน ชาวบ้านจึงได้สร้างธาตุตาดทองและนำของมีค่ามาบรรจุไว้ในนี้แทน
      ส่วน "ธาตุลูกฆ่าแม่" ที่เชื่อว่าสร้างตามตำนานก่องข้าวน้อยฆ่าแม่นั้น เป็นเรื่องของหนุ่มชาวนาที่ทำนา ตั้งแต่เช้าจนเพล มารดาส่งข้าวสายเกิดหิวข้าวจนตาลายอารมณ์ชั่ววูบทำให้เขากระทำมาตุฆาตด้วยเหตุเพียงข้าวที่เอามาส่งดูจะน้อยไม่พอกิน ครั้นเมื่อกินข้าวอิ่มแล้ว ข้าวยังไม่หมดจึงได้สติคิดสำนึกผิดที่ตนกระทำมาตุฆาต สันนิษฐานว่าน่าจะอยู่ที่ "วัดทุ่งสะเดา" ห่างไปราว 2 กิโลเมตร เป็นสถูป 2 องค์ ตั้งอยู่ใกล้กัน องค์หนึ่งเหลือแต่ฐานอีกองค์หนึ่งมีฐานและเรือนธาตุเป็นรูปแปดเหลี่ยมมียอดเรียวแหลม

ธาตุก่องข้าวน้อย หรือพระธาตุตาดทอง ตั้งอยู่ในทุ่งนา ตำบลตาดทอง ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 9 กิโลเมตร ไปตามทางหลวงหมายเลข 23 (ยโสธร-อุบลราชธานี) กิโลเมตรที่ 194 เลี้ยวซ้ายไปอีก 1 กิโลเมตร

ถ่ายภาพเมื่อ : 21 ธันวาคม 2559
ธาตุก่องข้าวน้อย หรือ ธาตุตาดทอง อ.เมือง จ.ยโสธร
ธาตุก่องข้าวน้อย หรือ ธาตุตาดทอง อ.เมือง จ.ยโสธร
ธาตุก่องข้าวน้อย หรือ ธาตุตาดทอง อ.เมือง จ.ยโสธร
ธาตุก่องข้าวน้อย หรือ ธาตุตาดทอง อ.เมือง จ.ยโสธร
ธาตุก่องข้าวน้อย หรือ ธาตุตาดทอง อ.เมือง จ.ยโสธร
ธาตุก่องข้าวน้อย หรือ ธาตุตาดทอง อ.เมือง จ.ยโสธร
ธาตุก่องข้าวน้อย หรือ ธาตุตาดทอง อ.เมือง จ.ยโสธร
ธาตุก่องข้าวน้อย หรือ ธาตุตาดทอง อ.เมือง จ.ยโสธร
ธาตุก่องข้าวน้อย หรือ ธาตุตาดทอง อ.เมือง จ.ยโสธร
ธาตุก่องข้าวน้อย หรือ ธาตุตาดทอง อ.เมือง จ.ยโสธร
ธาตุก่องข้าวน้อย หรือ ธาตุตาดทอง อ.เมือง จ.ยโสธร
ธาตุก่องข้าวน้อย หรือ ธาตุตาดทอง อ.เมือง จ.ยโสธร
ธาตุก่องข้าวน้อย หรือ ธาตุตาดทอง อ.เมือง จ.ยโสธร


ใบเสมาวัดโพธิ์ศรีมงคล โดยละเอียด คลิก | ใบเสมาวัดศรีธรรมารามโดยละเอียด คลิก | ใบเสมาวัดอัมพวันเหนือ คลิก
 Isan Upload
ภาพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง



สถานที่ตั้ง : ต.ตาดทอง อ.เมือง จ.ยโสธร
พิกัด : 15.763536, 104.206996
ถ่ายภาพเมื่อ : 21 ธันวาคม 2559
วันติดตั้งหน้าเว็บ : 13 กรกฏาคม 2560
จำนวนผู้เข้าชม : 723 ครั้ง
แหล่งที่มาข้อมูล : lek-prapai.org, finearts.go.th, เรียบเรียงขึ้นเอง
หมายเหตุ : เว็บมาสเตอร์เดินทางไปชมและถ่ายภาพเอง


13-07-2017 Views : 724
      ร่วมกันสนับสนุนเว็บไซต์นี้ ทำได้ง่ายๆ ด้วยการคลิกลิงค์ด้านล่าง... ขอบคุณครับ


ออกแบบโลโก้ ออกแบบกล่อง ออกแบบถุง ออกแบบสิ่งพิมพ์ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ วาดเส้น จิตรกรรม Drawing  Painting รับทำ SEO, ปั่นเว็บ, หน้า 1, อันดับ 1 ฮูปแต้ม, สิมอีสาน, ฮูบแต้ม, ศิลปะอีสาน, สิม, โบสถ์, หอไตร, สถาปัตยกรรมอีสาน
9809/1 Anankanak Rd., Tambol Kalasin, Amphoe Muang, Kalasin Province 46000 Thailand
www.artnana.com
 ร่วมสนับสนุนเว็บไซต์ อีสานอาร์ตดอทคอม ช่องพุทธศิลป์อีสาน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางถ่ายภาพนำมาจัดทำเว็บไซต์ ได้ที่ :

ธนาคารกสิกรไทย สาขาบางกะปิ ชื่อบัญชี นายพัฒยา จันดากูล เลขที่บัญชี 003-2-02799-9 ประเภท ออมทรัพย์

ต้องยอมรับความจริงว่า การเดินทางมีค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะค่าน้ำมันรถ หากต้องเดินทางไกลๆ หลายร้อยกิโลเมตร ค่าใช้จายในแต่ละเที่ยวก็หลายพันบาท เว็บมาสเตอร์จึงต้องรองบประมาณ และวางแผนการเดินทางให้คุ้มกับค่าน้ำมัน โดยกำหนดจุดที่จะไปถ่ายภาพให้ได้เยอะๆ ก่อนการเดินทาง ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ให้การสนับสนุนค่าเดินทางครับ



18.97.14.88 | Copyright © 2008 - 2023 esanart.com All Rights Reserved.
Website designed by Artnana Sudio