สิม หอไตร ฮูปแต้ม



ดอนขุมเงิน ดอนขุมเงิน ดอนขุมเงิน ดอนขุมเงิน ดอนขุมเงิน ดอนขุมเงิน ดอนขุมเงิน ดอนขุมเงิน ดอนขุมเงิน ดอนขุมเงิน
  • ดอนขุมเงิน
  • ดอนขุมเงิน
  • ดอนขุมเงิน
  • ดอนขุมเงิน
  • ดอนขุมเงิน
  • ดอนขุมเงิน
  • ดอนขุมเงิน
  • ดอนขุมเงิน
  • ดอนขุมเงิน
  • ดอนขุมเงิน


แหล่งโบราณคดีดอนขุมเงิน
      เป็นเนินดินมีบริเวณพื้นที่ไม่มากนัก ด้านนอกจะพบหินวางเรียงเป็นก้อนโดยรอบคล้ายกำแพงแก้ว หินส่วนใหญ่จะถูกดินทับถมเอาไว้ จากการขุดค้นของสำนักศิลปากรที่ 10 ร้อยเอ็ด มีต้นไม้นานาพันธุ์ขึ้นปกคลุมอยู่ ตรงกลางเนินแห่งนี้ จะมีปราสาทหินทรายแดงโผล่พ้นพื้นดินขึ้นมาบางส่วน ลักษณะการก่อสร้างใช้หินทรายแดงตัดเป็นก้อนสี่เหลี่ยมวางทับซ้อนกันเป็นชั้นๆ ผลจากการศึกษาขุดค้นของนักโบราณคดีทำให้ทราบเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่มีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องของชุมชนแห่งนี้ หลักฐานชิ้นสำคัญคือ แท่นศิวลึงค์ที่ทำจากหินทรายสีเขียว ขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว1 เมตร จารึกด้วยอักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต สร้างในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12 เนื้อหาเกี่ยวกับประวัติการขึ้นครองราชย์ของพระเจ้าจิตรเสน แท่นดังกล่าวนี้นักโบราณคดีสันนิษฐานว่ามีอายุเก่าแก่กว่าปราสาทนครวัดนครธม ถึง 500 ปีีี
       สำนักงานศิลปากรที่ 10 กรมศิลปากร ได้ดำเนินขุดค้นทางโบราณคดี ใน พ.ศ. 2548 โดยได้รับงบประมาณบูรณาการสนับสนุนจากจังหวัดร้อยเอ็ด จากการศึกษาพบว่า มีลักษณะเป็นโบราณสถานประเภทบ่อน้ำ มีขนาด 2.50x2.50 เมตร ลึกประมาณ 6 เมตร พื้นด้านล่างของบ่อน้ำ ปูหินทรายโดยรอบ ผนังด้านตะวันตก มีขั้นบันไดซ้อนลดหลั่นกัน 6 ขั้น รอบบ่อน้ำ มีลานปูพื้นด้วยศิลาทรายสีชมพู ในผังรูปจตุรัสขนาดประมาณ 11x11 เมตร ขอบลานด้านตะวันตกมีทางยื่นออกไป 6.50 เมตร กว้าง 2.90 เมตร ส่วนปลายทางเดินมีห้องรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสประมาณ 2x3 เมตร ประกอบอยู่ด้่านทิศใต้ของแนวทางเดิน ประกอบด้วยห้องสี่เหลี่ยมจตุรัสขนาดเท่ากัน บริเวณด้านตะวันออกเฉียงเหนือของบอน้ำ เป็นตำแหน่งแนวกรอบหินตั้งรูปี่เหลี่ยมจตุรัสขนาด 6.50x6.50 เมตร ล้อมแนวกรอบหินตั้งรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 3.30x1.45 เมตร ไว้ถายใน ซึ่งได้พบฐานโยนี มีจารึกที่ขอบฐานเป็นอักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต อายุราวพุทธศตวรรษที่ 12 เป็นเรื่องราวกล่าวถึงพระนาม "เจ้าชายจิตรเสน" ได้รับพระนามอันเกิดจากการอภิเษกว่า " พระเจ้าศรีมเหนทรวรมัน" หลักฐานจารึกดังกล่าวสอดคล้องกับกลุ่มจารึกของพระเจ้าจิตรเสน ที่พบในลุ่มแม่น้ำชี แม่น้ำมูล และมีรายละเอียดมากกว่าจารึกอื่นๆ โดยเฉพาะหลักฐานทางด้านโบราณคดีที่พบร่วมกัน เช่น ชิ้นส่วนแตกหักของศิวลึงค์ รูปโค และพระพิมพ์ดินเผา เป็นต้น
       ปัจจุบันโบราณสถานแห่งนี้ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 114 ตอนพิเศษที่ 80ง ลงวันที่ 12 กันยายน 2548

Isan Upload


รวมภาพเก่าๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานที่


 ข่าวอัพเดท ข่าวสารอัพเดทสถานที่ :
ฐานโยนี
จัดแสดงถาวรที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดร้อยเอ็ด

ข่าวทั้งหมด 1 ข่าว
 

ดอนขุมเงิน จ.ร้อยเอ็ด

      ถอดความ "จารึกดอนขุมเงิน" ในบริเวณแหล่งโบราณคดีดอนขุมเงิน กิ่งอำเภอหนองฮี จังหวัดร้อยเอ็ด กรมศิลปากร สำนักงานศิลปากรที่ ๑๐ ร้อยเอ็ด ดำเนินการขุดค้นขุดแต่งทางโบราณคดี เมื่อต้นปีพุทธศักราช ๒๕๔๘ ขณะดำเนินการได้ขุดพบศิลาจารึกที่ฐานรูปเคารพ เป็นจารึกอักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต สร้างขึ้นเมื่อพุทธศตวรรษที่ ๑๒ กับได้ทำการขุดลอกบ่อน้ำจืด ซึ่งชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียง รวมทั้งประชาชนอยู่ในจังหวัดร้อยเอ็ดและจังหวัดอื่นๆ ในภาคอีสาน ต่างเชื่อกันว่าเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์
       บ่อน้ำนี้อยู่ห่างไกลจากจุดพบศิลาจารึกที่ฐานเคารพไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ ๒๐ เมตรเศษ ลักษณะเป็นบ่อที่ขุดลึกลงไปในพื้นดิน บ่อรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ปากบ่อกว้างด้านละประมาณ ๒.๕๐ เมตร ลึกประมาณ ๖ เมตรเศษ ผนังข้างบ่อทั้ง ๔ ด้าน กรุด้วยหินทรายสีเหลืองรูปสี่เหลี่ยม หินที่กรุไว้เรียงเป็นแนวเรียบลงไปถึงก้นบ่อเหมือนกันทั้ง ๔ ด้าน แต่มีด้านหนึ่งอยู่ทิศตะวันตกในระหว่างหินกรุที่เรียงเป็นแนวเรียบนั้น มีหินยื่นออกประมาณ ๔๕ เซนติเมตร เรียงเว้นเป็นระยะจากปากบ่อลงไปถึงก้นบ่อในแนวเฉียง ทำเป็นขั้นบันไดสำหรับเดินลงไปยังก้นบ่อ
จารึกเมื่อมองจากด้านบน
       ลักษณะสภาพของบ่อหลังจากขุดแต่งแล้ว เป็นบ่อน้ำที่มีความสวยงาม ยังคงอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์เป็นส่วนใหญ่ และก็น่าจะยังคงอยู่ในลักษณะเดิมตั้งแต่แรกสร้างด้วย ที่กล่าวเช่นนี้ก็เนื่องจากพบว่า หินกรุที่อยู่ผนังข้างบ่อน้ำ มีอักษรจารึกปรากฏอยู่ทั้งตอนบนใกล้ปากบ่อ และตอนล่างใกล้ก้นบ่ออักษรจารึกที่กล่าวถึงนี้ เป็นอักษรตัวเดียว จารึกอยู่บนหิน ๔ ก้อน ตำแหน่งที่พบอักษรจารึกมีรายละเอียดดังนี้
       ผนังข้างบ่อด้านทิศเหนือ นับจากก้นบ่อขึ้นมา หินกรุก้อนที่สามริมขวา มีจารึกอักษร ๑ ตัว เป็นรูปอักษร ล
       ผนังข้างบ่อด้านทิศใต้ นับจากก้นบ่อขึ้นมา หินกรุก้อนที่สามริมขวา มีจารึกอักษร ๑ ตัว เป็นรูปอักษร ช
จุดที่พบ
       ผนังข้างบ่อด้านทิศใต้ นับจากก้นบ่อขึ้นมา หินกรุก้อนที่สี่ริมขวา มีจารึกอักษร ๑ ตัว เป็นรูปอักษร ป
       สำนักงานศิลปากรที่ ๑๐ ร้อยเอ็ด ได้ดำเนินการขุดค้น และขุดแต่งทางโบราณคดี ในบริเวณแหล่งโบราณคดีดอนขุมเงินต่อไปอีกระยะหนึ่ง ทำให้ได้พบหินมีอักษรจารึกเพิ่มขึ้นอีกชิ้นหนึ่งอยู่ห่างไปจากบ่อน้ำประมาณ ๑ ตัว คือ รูปอักษร ย หินที่มีจารึกอักษร ย นี้ สันนิษฐานว่าน่าจะเคยกรุอยู่ที่ขอบบ่อน้ำด้านทิศตะวันออก นับจากปากบ่อลงไปก้อนที่สี่ ซึ่งจะตรงกับตำแหน่งของแผ่นจารึกอักษร ป ที่กรุอยู่ด้านทิศตะวันตก
จารึกรูปอักษรทั้ง ๔ ตัวนี้
       หากพิจารณาลักษณะของรูปอักษรโดยละเอียดแล้วจะเห็นได้ว่ารูปสัณฐานของเส้นอักษรเหมือนกับรูปอักษรในจารึกฐานรูปเคารพที่พบในแหล่งโบราณคดีดอนขุมเงิน จารึกหลักนี้เมื่ออ่านแปลข้อความแล้วทราบว่า เป็นจารึกที่พระเจ้าจิตรเสน สร้างเมื่อพุทธศตวรรษที่ ๑๒ จารึกด้วยอักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต


บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์
       ความในจารึกกล่าวถึงพระจิตรเสนผู้เป็นพระราชนัดดาของพระเจ้าศรีสารวเภามะ พระองค์เป็นโอรสของพระเจ้าศรีวีรวรมัน และแม้โดยศักดิ์จะเป็นพระอนุชาของ พระเจ้าศรีภววรมัน แต่ทรงมีพระชนมายุมากกว่า เมื่อพระองค์ได้ราชาภิเษกเป็นกษัตริย์แล้ว ทรงเฉลิมพระนามว่า พระเจ้าศรีมเหนทรวรมัน หลังจากที่พระองค์ทรงได้ชัยชนะชาวต่างประเทศ (ที่เป็นชนพื้นเมือง) ณ บริเวณนี้อย่างสมบูรณ์แล้ว ได้สร้างรูปพระศิวะ และโคนนทิด้วยศิลา ประดิษฐานไว้ให้เป็นที่สักการะ
       รูปอักษรจารึกที่หินกรุรอบขอบบ่อเป็นอักษรปัลลวะ และแต่ละตัวก็มีความหมายในภาษาสันสกฤต ดังได้จัดทำคำแปลจารึก พร้อมทั้งคัดจำลองอักษรจารึกและคำจารึกไว้ดังต่อไปนี้
       ล หมายถึง พระศิวะหรือพระอิศวร ช หมายถึง พระวิษณุหรือพระนารายณ์ ป หมายถึงพระนางปารพตีหรือพระอุมา ชายาของพระศิวะ ย หมายถึงพระนางลักษมี ชายาของพระวิษณุ
       จากตำแหน่งที่รูปอักษรประดิษฐานอยู่จะเห็นได้ว่าเทพเจ้าสำคัญจะประจำอยู่ก้นบ่อ ได้แก่ พระศิวะอยู่ก้นบ่อด้านทิศเหนือ ซึ่งน่าจะเป็นทิศที่หมายแทนถึงยอดเขาไกรลาส อันเป็นที่สถิตของพระศิวะ ส่วนพระวิษณุอยู่ก้นบ่อด้านทิศใต้ซึ่งน่าจะเป็นทิศที่หมายแทนถึงบาดาลหรือเกษียรสมุทร อันเป็นที่สถิตของพระวิษณุ
       เนื่องจากบ่อน้ำแห่งนี้มีบันไดทำไว้เป็นทางลงไปสู่ก้นบ่อ อยู่ทางทิศตะวันตก ซึ่งเป็นทิศที่มีอักษร ป ประดิษฐานอยู่ตอนบนใกล้ปากบ่อ ถ้ากำหนดให้ด้านนี้เป็นจุดเริ่มต้น เวียนจากซ้ายไปขวาเป็นทักษิณาวรรต โดยเริ่มที่รูปอักษร ป ซึ่งหมายถึง พระนางปารพตี ชายาของพระศิวะ เวียนเคลื่อนที่ไปสู่อักษร ล ซึ่งหมายถึง พระศิวะ ที่ก้นบ่อด้านทิศเหนือ เมื่อนำอักษรทั้ง ๒ ตัวมาเรียงกัน คือ ปล จะมีรูปเป็นคำศัพท์ในภาษาสันสกฤต หมายถึงเคลื่อนที่ เดิน ไป ถ้าเวียนต่อไปอีก จะได้อักษรเรียงกัน ๒ ตัว คือ ยช เป็นคำศัพท์ภาษาสันสกฤต หมายถึงการบูชา บวงสรวง ไหว้ สังเวย อนึ่งถ้าเรียงอักษร ๒ คำนี้ในทางย้อนกลับจะได้คำศัพท์ ๒ คำ คือ ลป หมายถึงพูด กล่าว พูดซ้ำๆ และ ชย หมายถึงชัยชนะ ความมีชัย
       ถ้านำคำทั้ง ๔ ข้างต้นมาเรียงต่อกัน จะได้อักษร ๘ ตัว คือ ปล ยช ลป ชย ซึ่งมีลักษณะเหมือนเป็นคาถา หรือบทสวดสรรเสริญเทพเจ้า อีกทั้งจำนวน ๘ ก็เป็นสัญลักษณ์แห่งมงคลตามคติความเชื่อในลัทธิศาสนาพราหมณ์อยู่แล้ว ถึงแม้ว่าจะไม่เป็นประโยคตามหลักไวยากรณ์ในภาษาสันสกฤต แต่ก็อาจแปลสรุปเอาความได้ว่า หมายถึงการสวดภาวนาบูชายังให้การไปนั้นประสบชัยชนะ
       อีกประการหนึ่ง หากเรียงอักษร ป จากทิศตะวันตกเวียนต่อไปรอบบ่อน้ำ โดยการเชื่อมประสานอักษร ป จากทิศตะวันตกกับอักษร ล ที่ทิศเหนือ จะได้อักษรเรียงกัน ๒ ตัว คือ ปล และนำอักษร ล จากทิศเหนือไปประสมกับอักษร ย ที่ปากบ่อด้านทิศตะวันออก จะได้อักษรเรียงอัน ๒ ตัว คือ ลย และหากเวียนต่อไปทำนองเดียวกันนี้ จากทิศตะวันออกไปสู่ทิศใต้ จะได้อักษรเรียงกัน ๒ ตัว คือ ยช และเวียนไปสู่ทิศตะวันตก จะได้อักษรเรียงกันอีก ๒ ตัว คือ ชป อักษรที่นำมาเรียงกันนี้ จัดได้เป็นคำศัพท์ ๔ คำ แต่ละคำมีความหมายในภาษาสันสกฤต ดังนี้
       ปล หมายถึงเคลื่อนที่ เดิน ไป ลย หมายถึงเคลื่อนที่ เดิน ไป ยช หมายถึงการบูชา บวงสรวง ไหว้ สังเวย ชป หมายถึงสวดมนต์ ภาวนา ชักลูกประคำ
       คำศัพท์ ๔ คำนี้ หากนำคำแปลมาสรุปเอาความหมายถึงการสวดภาวนาบูชา เพื่อการเคลื่อนที่ หรือการไป และเมื่อนำคำศัพท์ทั้ง ๔ คำ มาเรียงต่อกันแล้วจะได้รูปอักษร ๘ ตัว คือ ปล ลย ยช ชป และถ้าเรียงอักษร ๘ ตัวนี้ในทางย้อนกลับทำนองโอ้โลมปฏิโลมก็จะได้คำศัพท์อีก ๔ คำ คือ ลป ยล ชย ปช ซึ่งแต่ละคำก็มีความหมายในภาษาสันสกฤตเช่นเดียวกัน ยกเว้น ยล เพียงคำเดียวที่เป็นภาษาเขมร ดังนี้คือ
       ลป หมายถึงพูด กล่าว พูดซ้ำๆ ยล หมายถึงเข้าใจ รู้ชัด รู้แจ้งด้วยปัญญา ชย หมายถึงชัยชนะ ความมีชัย ปช หมายถึงแข็ง แกร่ง กวดขัน ตายตัว
       คำปฏิโลมนี้ถ้านำมาเรียงต่อกันก็จะได้รูปอักษร ๘ ตัว คือ ลป ยล ชย ปช และถ้านำคำแปลมาสรุปเอาความ หมายถึง การสวดภาวนาบูชาซ้ำๆ ยังให้ได้ชัยชนะอย่างแน่นอน
       อักษร ๘ ตัวที่นำมาเรียงกลับไปมา ล้วนเป็นอักษรชื่อของเทพเจ้าสำคัญของศาสนาพราหมณ์ ซึ่งหากนำมากล่าวซ้ำๆ ก็จะมีลักษณะเป็นบทสรรเสริญเทพเจ้าหรือคำกล่าวบูชาเทพเจ้าเพราะตามคติศาสนาพราหมณ์ระบุว่า การออกนามเทพเจ้าซ้ำๆ กันร้อยครั้ง พันครั้ง หรือตลอดวัน ตลอดคืน เทพเจ้าจะพอพระทัย และโปรดประทานพรให้ได้ในทุกสิ่งที่ปรารถนา นอกจากนั้นความหมายของคำศัพท์ทุกคำก็ล้วนมีความหมายในทางมงคล บ่อบอกถึงการประกอบพิธีบูชา และสวดภาวนาบูชาซ้ำๆ อย่างต่อเนื่อง จักยังให้การไปหรือการกระทำกิจการต่างๆ ประสบชัยชนะและความสำเร็จทั้งปวง
       การที่อักษรทั้งสี่ หรืออาจจะกล่าวว่านามของเทพเจ้าทั้งสี่จารึกลงบนแผ่นศิลา ประดิษฐ์ไว้รอบบ่อน้ำ น่าจะเป็นการเพิ่มคุณลักษณะของบ่อน้ำแห่งนี้ เทียบเท่ากับมีเทพเจ้าทั้งสี่สถิตประจำอยู่รอบสม่ำเสมอ ยังให้บังเกิดเทวบารมี ส่งพลังให้บ่อน้ำแห่งนี้มีความสำคัญ เป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์นอกจากนั้นอักษรนามเทพเจ้าทั้งสี่ยังเป็นอักษรที่ประกอบเป็นบทมนต์ หรือบทสรรเสริญเทพเจ้าอันเป็นมงคลยิ่ง จึงมีคุณลักษณะที่ส่งเสริมให้มีความศักดิ์สิทธิ์เพิ่มพูนขึ้นอีก กับยังส่งพลังให้น้ำในบ่อเป็นมงคล เป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ไปด้วย
       ความศักดิ์สิทธิ์ของบ่อน้ำแห่งนี้ น่าจะได้มีการสืบทอดความเชื่อกันตลอดมาเป็นเวลายาวนานอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๒ เป็นต้นมา จวบจนถึงปัจจุบัน ย่างเข้าพุทธศตวรรษที่ ๒๖ แล้ว เนื่องจากชาวบ้านในบริเวณใกล้เคียงและประชาชนทั่วไปในจังหวัดร้อยเอ็ด และจังหวัดอื่นๆ ในภาคอีสาน ปัจจุบันก็ยังมีความเชื่อว่าบ่อน้ำแห่งนี้เป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ กล่าวได้ว่าความศักดิ์สิทธิ์ของบ่อน้ำแห่งนี้ยั่งยืนยาวนานมากกว่า ๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว
       การพบจารึกอักษร ๔ ตัวนี้ จึงนับว่าเป็นหลักฐานที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ทำให้สามารถวิเคราะห์ให้ได้ทราบถึงความสำคัญของบ่อน้ำ รวมไปถึงอารยธรรม ความเชื่อ และความเจริญรุ่งเรืองของศาสนาพราหมณ์ และความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรเจนละ ในยุคสมัยที่พระเจ้าจิตรเสน หรือพระเจ้าศรีมเหนทรวรมัน เป็นกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ ผู้แกล้วกล้าในสงคราม ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๒ นั้นจากหลักฐานจารึกของพระองค์ที่พบแล้ว ทำให้ทราบว่าพระองค์ได้ขยายขอบเขตของอาณาจักรส่วนหนึ่งครอบคลุมบริเวณภาคอีสานของประเทศไทยปัจจุบัน ตลอดลำแม่น้ำมูลที่จังหวัดอุบลราชธานีเข้ามาสู่แม่น้ำสายย่อยๆ ที่แยกจากแม่น้ำมูลไปตามแม่น้ำเสียวที่จังหวัดร้อยเอ็ด แยกไปทางแม่น้ำชีที่จังหวัดขอนแก่น แยกไปสู่ลำมาศ หรือลำปลายมาศที่จังหวัดบุรีรัมย์ และเลยไปตามทิวเขาดงรัก ต่อทิวเขาบรรทัดที่อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว และอาจเลยต่อไปถึงทะเลที่จังหวัดจันทบุรีด้วย
       จารึกของพระเจ้าจิตรเสนที่พบในเขตจังหวัดต่างๆ ในประเทศไทย ล้วนเป็นหลักฐานสำคัญที่บ่งบอกถึงพระราชกรณียกิจของพระองค์ที่ได้สร้างสรรค์ไว้ ส่วนหนึ่งได้ตกทอดเป็นมรดกวัฒนธรรมโดยเฉพาะความเชื่อถือศรัทธาอย่างเชื่อมั่นในศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย

บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่แหล่งโบราณคดีดอนขุมเงิน
       เป็นหลักฐานหนึ่งที่บ่งบอกถึงองค์ประกอบแห่งพิธีกรรมตามคตินิยมของไศวนิกายที่เคยดำเนินอยู่อย่างรุ่งเรืองในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ของภูมิภาคแห่งนี้ ซึ่งปัจจุบันคือภาคอีสานของประเทศไทย
      (ถอดความ 'จารึกดอนขุมเงิน' ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐ อาจารย์ก่องแก้ว วีระประจักษ์ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาโบราณ กรมศิลปากร)

สถานที่ตั้ง : บ้านหนองคูณ ต.เด่นราษฎร์ กิ่งอ.หนองฮี จ.ร้อยเอ็ด
ถ่ายภาพเมื่อ : 14 เมษายน 2558
วันติดตั้งหน้าเว็บ : 16 เมษายน 2558
ปรับปรุงล่าสุด :
จำนวนผู้เข้าชม : 4019 ครั้ง
หมายเหตุ : เว็บมาสเตอร์เดินทางไปชมและถ่ายภาพเอง

ออกแบบโลโก้ ออกแบบกล่อง ออกแบบถุง ออกแบบสิ่งพิมพ์ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ วาดเส้น จิตรกรรม Drawing  Painting รับทำ SEO, ปั่นเว็บ, หน้า 1, อันดับ 1 ฮูปแต้ม, สิมอีสาน, ฮูบแต้ม, ศิลปะอีสาน, สิม, โบสถ์, หอไตร, สถาปัตยกรรมอีสาน
9809/1 Anankanak Rd., Tambol Kalasin, Amphoe Muang, Kalasin Province 46000 Thailand
www.artnana.com

54.205.179.155 =    Tuesday 19th March 2024
 IP : 54.205.179.155   คนที่กำลังอ่าน   Bookmark and Share   
Russia รัสเซีย  เรียนรัสเซีย  ภาษารัสเซีย ตุ๊กตารัสเซีย ของฝากรัสเซีย