สิมวัดบ้านนาควาย จ.อุบลฯ
บ้านาควาย เป็นหมู่บ้านชานเมืองของจังหวัด ตั้งอยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานีประมาณ 5,000 เมตร หมู่บ้านนี้ทราบจากการเล่าต่อๆ กันมาจากผู้เฒ่าผู้แก่ว่า ตั้งหลังจากเมืองอุบลราชธานีไม่นานนัก เมือ พ.ศ. 2325 พระวรราชสุริยวงศ์ (เท้าคำผง) ให้สร้างเมืองอุบลราชธานี ชาวบ้านก็ออกมาหาที่เกษตรกรรมใล้ๆ กับแหล่งน้ำ เรียกว่า บึง หรือ หนอง พากันทำไร่ทำนา ขณะนั้นมีสิบกว่าหลังคาเรือน เมื่ออยู่รวมกันเป็นหมู่บ้านพอสมควรแล้ว ชาวบ้านก็หาทำเลสร้างวัดขึ้นเรียกว่า วัดบ้านนาควาย สร้างกุฏีให้พระสงฆ์อยู่อาศัย มีเจ้าอาวาสรูปแรก คือ หลวงปู่แดง
ต่อมาเจ้าอาวาสรูปที่ 2 คือ พระอาจารย์ทา หรือชาวบ้านเรียกว่า ยาคูทา จึงได้ชักชวนชาวบ้านก่อสร้างโบสถ์ (สิม) ขึ้น โดยมีขนาด 11 ศอก 1 คืบ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก โดยพระคุณเจ้า ยาคูทา เป็นช่างก่อสร้างและอาศัยแรงงานการก่อสร้างจากชาวบ้านทั้งหมด วัสดุในการก่อสร้างส่วนฐานทั้งหมดก่อด้วยอิฐ ฉาบปูน แต่ปูนที่ใช้ในยุคนั้น อาสัยบ่อหินปูน ตามท้องห้วยหลายแห่ง แม้ปูนจะไม่ขาวนัก แต่ก็มีคุณภาพดีมาก เสาใช้เสาไม้ เช่น ไม้เต็ง ไม้มะค่าแต้ ไม้แดง โครงหลังคาส่วนบน ทั้งหมดใช้ไม้ตลอด หน้าจั่ว ป่านลม ป้านทราย เครื่องมุงก็ใช้ไม้ เรียกว่า แป้นมุง ใช้เวลาก่อสร้าง 3-4 ปี ก็เสร็จ และพระสงฆ์ ได้ใช้เป็นสถานที่ทำสังฆกรรมศาสนกิจตลอดจนถึงขณะนี้
พ.ศ. 2410 ได้ประกาสเป็นพุทธสีมา มีเจ้าอาวาสครองวัดนาควาย จนถึงขณะนี้ จำนวน 11 รูป และรูปที่ 11 (พ.ศ. 2524-ปัจจุบัน) คือ พระครูโสภณขันตยาภรณ์
พ.ศ. กรมศิลปากร ได้ขึ้นทะเบียนโบสถ์ (สิม) ของวัดนี้เป็นโบราณวัตถุไว้แล้ว โดยมีเจ้าหน้าที่ของกรมศิลปากร จะมาดูและบูรณะซ่อมแซมให้คงสภาพเดิมไว้เสมอ
จึงถือได้ว่าโบสถ์ (สิม) ของวัดบ้านนาควายหลังนี้ เป็นโบราณวัตถุล้ำค่าควรแก่การอนุรักษณ์สืบไป โดยเแพาะเจ้าอาวาส ขณะนี้ได้เอาใจใส่ดูแลรักษาเป็นพิเศษ มีพุทธศาสนิกชนไปกราบนมัสการพระประธานในโบสถ์ (สิม) และชมภาพจิตรกรรมฝาผนังที่งดงามและหาดูได้ยากอยู่เสมอ
สิม (อุโบสถ) วัดนาควาย สร้างโดยยาคูทาและชาวบ้านนาควาย แต่ไม่ปรากฏปีที่ก่อสร้าง มีลักษณะเป็นอาคารสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก่ออิฐ ฉาบปูน ฐานเอวขันสูง หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ขนากว้าง 5.50 เมตร ยาว 9.00 เมตร มีมุข และประตูขึ้นทางด้านหน้า ผนังด้านข้างทิศเหนือ-ใต้ มีหน้าต่างด้านละ 1 ช่อง หลังคาทรงจั่ว เดิมมุงด้วยไม้แป้นเกล็ด ตกแต่งด้วยช่อฟ้า ใบระกา และหางหงส์ทำด้วยไม้แกะสลัก มีคันทวยไม้แกะสลักด้านข้องอาคาร ข้อางละ 5 ตัว พร้อมเต้ารับ
ภายในสิมประดิษฐานพระประธานบนฐานชุกชีก่ออิฐฉาบปูน ผนังภายในทั้ง 4 ด้าน มีภาพจิตรกรรมเขียนเล่าเรื่องพุทธประวัติ ส่วนผนังด้านหน้ามีภาพจิตรกรรมเช่นเดียวกัน กำหนดอายุการสร้างอยู่ในสมัยรัตนโกสินธุ์ อิทธิพลศิลปะพื้นบ้านอีสาน
กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2537 ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 111 ตอนพิเศษ 85 ง หน้า 52 กำหนดพื้นที่ประมาณ 1 ไร่ 67 ตาราวา และบูรณะซ่อมแซมเมือ่ปี พ.ศ. 2554
ต่อมา ปี 2503 มีการบูรณะอีกครั้งหนึ่ง ภายในผนังมีจิตรกรรมผาผนังที่มีคุณค่า โดยเป็นจิตรกรรมฝาผนัง เขียนเป็นภาพเทพชุมนุม พุทธประวัติ ตอนผจญมาร และปรินิพพาน ภาพชาดก ได้แก่ ปาจิตต์กุมารชาดก และมหาเวชสันดรชาดกกัณฑ์ต่างๆ ภาพจิตกรรมเหล่านี้ สะท้อนให้เห็นสภาพสังคม วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ความเจริญของบ้านเมือง การประกอบอาชีพ การละเล่น พิธีกรรม การแต่งกาย ทรงผม นอกจากภาพชาวบ้านพื้นถิ่นอีสานและคนลาวแล้ว ยังแสดงภาพชาวตางชาติ ทั้งจีน ฝรั่ง แขก ซึ่งเข้ามามีบทบาทในประเทศไทยสมัยนี้อีกด้วย
สถานที่ตั้ง : วัดบ้านนาควาย ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น
|
|
|
28-11-2013 Views : 5815