ฮุปแต้มอีสาน, สิมอีสาน (Isan Mural Painting and Isan Temple Architectures)
 สิม หอไตร ฮูปแต้ม

(วางเมาส์บนรูปภาพ เพื่อดูส่วนขยายภาพ)

+ เพิ่ม | - ลด ขนาดตัวอักษร      


ปราสาทศีขรภูมิ หรือ ปราสาทระแงง
      ปราสาทศีขรภูมิ หรือ ปราสาทระแงง ตั้งอยู่ข้างวัดบ้านปราสาท บ้านปราสาท ตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ปราสาทหลังนี้เป็นปราสาทที่งดงามที่สุดในจังหวัดสุรินทร์ โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และพระธิดาทั้ง 3 (มี หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล เป็นต้น) ได้เดินทางมาเยือนเมื่อ มกราคม - กุมภาพันธ์ 2472 (นับอย่างใหม่ต้องปี พ.ศ. 2473) และได้ถูกรวมเข้ากันกับอุทยานประวัติศาสตร์กลุ่มปราสาทตาเมือนและปราสาทศีขรภูมิ

      ประวัติ
      จากลักษณะทางศิลปกรรม สันนิษฐานว่าสร้างราวพุทธศตวรรษที่ 17 เป็นศาสนสถานในลัทธิไศวนิกาย และในพุทธศตวรรษที่ 22 มีการบูรณะเพิ่มเติมที่องค์ปราสาทแถวหลังฝั่งทิศใต้ เป็นแบบศิลปะล้านช้าง และยังมีจารึกอักษรธรรมปรากฏอยู่ ณ ปราสาทหลังนี้ ปี พ.ศ.2531 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงนำ พระอาจารย์ของนักเรียนนายร้อย จปร. ได้มาศึกษาที่โบราณสถานแห่งนี้ และก็ได้มีการบูรณะปราสาทศีขรภูมิ ให้ดูงามเด่นเป็นสง่าน่าภาคภูมิใจแก่แขกบ้านแขกเมืองที่มาเยือนเมืองปราสาทหินโบราณแห่งนี้
      ลักษณะทางสถาปัตยกรรม
      ปราสาทศีขรภูมิ มีลักษณะเป็นปรางค์หมู่ 5 องค์ เป็นปราสาทก่ออิฐไม่สอปูน ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกัน โดยตัวฐานก่อด้วยศอลาแลงกว้าง 25 เมตร ยาว 26 เมตร สูง 1.5 เมตร โดยมีคูน้ำกว้าง 125 เมตร ล้อมรอบสามด้าน โดยเว้นด้านตะวันออกอันเป็นทางเข้าไว้
      ปรางค์ประธานสูงประมาณ 32 เมตร ทับหลังเป็นภาพพระศิวนาฏราชสิบกร ทรงฟ้อนรำอยู่เหนือเกียรติมุข ภายใต้วงโค้งลายท่อนมาลัย ซึ่งสลักเป็นภาพพระคเณศ พระพรหม พระวิษณุ และพระอุมาโดยทับหลังชิ้นนับเป็นทับหลังที่มีความสวยงามและสมบูรณ์ที่สุดชิ้นหนึ่งของเมืองไทย บริเวณเสากรอบประตูสลักเป็นรูปนางอัปสรถือดอกบัว และทวารบาลยืนกุมกระบอง ซึ่งนางอัปสราที่ปราสาทศีขรภูมินี้มีลักษณะคล้ายกับนางอัปสราที่ปราสาทนครวัด ประเทศกัมพูชา ซึ่งไม่พบที่ปราสาทศิลปะเขมรโบราณแห่งใดอีกเลยในประเทศไทย พบที่ปราสาทศีขรภูมิเพียงแห่งเดียวเท่านั้น





      Prasat Sikhoraphum (Thai: ปราสาทศีขรภูมิ) is a Khmer temple located in Thailand, between the cities of Surin and Sisaket. It was built in the 12th century by King Suryavarman II for Hindu worship.
      The temple is composed of five sandstone and brick towers, on a base made of laterite. There are sandstone bas-reliefs on the main tower depicting Shiva, Brahma, Ganesha, Vishnu and Uma. The door frames have sets of apsaras, devatas and dvarapalas. The temple was converted for use by Buddhists in the 16th century. Architectural contributions influenced by Laos are evident on the tower roofs. The name comes from the Sanskrit word of South India shikhara, meaning tower sanctuary.
      
      องค์ประกอบของโบราณสถาน
      ปราสาทหินศรีขรภูมิ สร้างด้วยอิฐ หินทรายและศิลาแลง ประกอบด้วยปรางค์ก่ออิฐ 5 องค์ ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน หันหน้าไปทางทิศตะวันออก แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส โดยมีปรางค์ประธานตั้งอยู่ตรงกลาง และมีปรางค์บริวาร 4 องค์ ศาสนสถานทั้งหมดนี้ ล้อมรอบด้วยสระน้ำ 3 สระ
      1. ปรางค์ประธาน แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสย่อมุมไม้สิบสอง องค์ปรางค์ไม่มีมุข มีประตูทางเข้าเพียงด้านเดียว คือ ทางด้านทิศตะวันออก ทับหลังประตูจำหลักภาพศิวนาฏราชบนแท่น มีหงส์แบก 3 ตัว อยูาเหนือเศียรเกียรติมุข มีภาพพระคเณศ พระพรหม พระวิษณุ และนางบรรพตี (พระอุมา) อยู่ด้านล่าง เสาประตูสลักเป็นลวดลายเทพธิดา ลายก้ามปู และรูปทวารบาล บริเวณหน้าบันเป็นอิฐประดับลวดลายปูนปั้น
      2. ปรางค์บริวาร แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสย่อมุมไม้สิบสอง องค์ปรางค์ไม่มีมุข มีประตูเข้าทางด้านทิศตะวันออก เช่นเดียวกับปรางค์ประธาน พบทับหลัง 2 ชิ้น ชิ้นหนึ่งเป็นภาพพระกฤษณะฆ่าช้างและคชสีห์ อีกชิ้นหนึ่งเป็นภาพพระกฤษณะฆ่าคชสีห์ ที่ปรางค์บริวารองค์ทิศตะวันตก พบจารึกหินทรายที่ผนังกรอบประตู เป็นจารึกอักษรธรรมอีสาน ภาษาไทย - บาลี เรื่องราวที่จารึก กล่าวถึงกลุ่มพระเถระผู้ใหญ่และท้าวพระยา ร่วมกันบูรณะโบราณสถานแห่งนี้
      2. สระน้ำ จำนวน 3 สระ สระหนึ่งอยู่ทางทิศเหนือ มีความยาวอ้อมไปถึงมุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนอีก 2 สระ ตั้งอยู่ทางทิศใต้และทิศตะวันตกเฉียงใต้
      อายุสมัย จากลวดลายที่เสาและทับหลังของปรางค์ประธานและบริวารทั้ง 4 องค์ มีลักษณะปนกันระหว่างรูปแบบศิลปะขอม แบบบาปวน (พ.ศ. 1550-1650) และแบบนครวัด (พ.ศ. 1650-1700) เนื่องในศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกาย และคงดัดแปลงให้เป็นวัดในพุทธศาสนา ตามที่มีหลักฐานการบูรณะปฏิสังขรณ์ในราวพุทธศตวรรษที่ 22- 23 ในสมัยตอนปลายอยุธยา
      การประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 98 ตอนที่ 104 วันที่ 30 มิถุนายน 2524
      การประกาศกำหนดขอบเขตโบราณสถาน ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 98 ตอนที่ 104 วันที่ 30 มิถุนายน 2524 เนื้อที่ 10 ไร่ 2 งาน 27 ตาราวา

ถ่ายภาพเมื่อ : 30 สิงหาคม 2558

      Prasat Sikhoraphum is a Khmer Hindhu temple located in Ban Prasat, Tambon Ra Ngaeng, Sikhoraphum District in Surin province in southern Northeast Thailand. Surin Province is east of Burirum Province.
      In Surin there are some 13 historic Khmer monuments to see. Prasat Sikhoraphum is the largest and best preserved Khmer monument. Prasat Si Khoraphum is located at Ban Prasat, Tambon Ra Ngaeng, Amphoe Sikhoraphum, 34 kilometers east from the main Province town at Amphoe Prasat 800 meters north off the Surin Sikhoraphum road.

What to see at Prasat Sikhoraphum
      The Khmer architecture. Here there are five Prangs made of bricks as shown in the images here and these are mounted on a laterite base. The architectural layout is called a ''quincunx'' and can be seen also in some of the Angkor monuments such as Angkor Wat. The Temple is The central Prang is 32 meters high. It is famous for its intricately carved sandstone lintel, colonettes, and pilasters. In traditional Khmer architecture the structure is partly surrounded by a moat formed by large ponds.
      The Lintel bas relief. Above the entrance to the central tower [ or Prang ] is a lintel depicted to Shiva. Here Shiva with ten arms dances above the head of Kala. This is one of the best preserved stone Khmer lintels in Thailand. The work is illustrated in the images here.
      The two Devata bas reliefs. The Central Prang faces east and on other post to the front door on the east and west side, facing east is a Devata. These are the only two such devata in Thailand and outside Cambodia. These prominent figures flank the doorway. The purpose for the Devata is not understood and there is academic discussion on the subject. The Guardians bas reliefs.
      The Nagas Carvings. Here the Naga are three headed. The role of the Naga in Khmer mythology is explained here.


สถานที่ตั้ง : ตั้งอยู่ข้างวัดบ้านปราสาท บ้านปราสาท ต.ระแงง อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์
ถ่ายภาพเมื่อ : 30 สิงหาคา 2558
วันติดตั้งหน้าเว็บ : 30 สิงหาคม 2558
ปรับปรุงล่าสุด : 22 พฤศจิกายน 2559
จำนวนผู้เข้าชม : 1871 ครั้ง
หมายเหตุ : เว็บมาสเตอร์เดินทางไปชมและถ่ายภาพเอง, ข้อมูลจากวิกิพีเดีย, thailandsworld.com, ทำเนียบโบราณสถานขอมในประเทศไทย


03-08-2015 Views : 1872
      ร่วมกันสนับสนุนเว็บไซต์นี้ ทำได้ง่ายๆ ด้วยการคลิกลิงค์ด้านล่าง... ขอบคุณครับ





อาร์ตนานา สตูดิโอ และ เดอะ ไดโนเสาร์ อาร์ต แกลเลอรี่ ™ (หอศิลป์ เดอะแด็ก)
บ้านเลขที่ 9, 48 หมู่ 12 บ้านหนองซำ ต.น้ำอ้อม อ.ค้อวัง จ.ยโสธร 35160 กรุณาโทรติดต่อก่อนการเดินทางหรือนัดหมายล่วงหน้า ที่เบอร์ โทร. 081- 303 4493, 064-092 9449
ออกแบบโลโก้ | ออกแบบบรรจุภัณฑ์ | ออกแบบกล่อง | ออกแบบบถุง | ออกแบบฉลาก | ออกแบบสื่อส่งเสริมการขาย ออกแบบสื่อดิจิทัล Digital Media Design

 ร่วมสนับสนุนเว็บไซต์ อีสานอาร์ตดอทคอม ช่องพุทธศิลป์อีสาน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางถ่ายภาพนำมาจัดทำเว็บไซต์ ได้ที่ :

ธนาคารกสิกรไทย สาขาบางกะปิ ชื่อบัญชี นายพัฒยา จันดากูล เลขที่บัญชี 003-2-02799-9 ประเภท ออมทรัพย์

ต้องยอมรับความจริงว่า การเดินทางมีค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะค่าน้ำมันรถ หากต้องเดินทางไกลๆ หลายร้อยกิโลเมตร ค่าใช้จายในแต่ละเที่ยวก็หลายพันบาท เว็บมาสเตอร์จึงต้องรองบประมาณ และวางแผนการเดินทางให้คุ้มกับค่าน้ำมัน โดยกำหนดจุดที่จะไปถ่ายภาพให้ได้เยอะๆ ก่อนการเดินทาง ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ให้การสนับสนุนค่าเดินทางครับ



13.59.36.203 | Copyright © 2008 - 2023 esanart.com All Rights Reserved.
Website designed by Artnana Sudio