สิม หอไตร ฮูปแต้ม



สวนสะออน สวนสะออน สวนสะออน สวนสะออน สวนสะออน สวนสะออน สวนสะออน สวนสะออน สวนสะออน สวนสะออน สวนสะออน สวนสะออน สวนสะออน สวนสะออน สวนสะออน สวนสะออน สวนสะออน
  • สวนสะออน
  • สวนสะออน
  • สวนสะออน
  • สวนสะออน
  • สวนสะออน
  • สวนสะออน
  • สวนสะออน
  • สวนสะออน
  • สวนสะออน
  • สวนสะออน
  • สวนสะออน
  • สวนสะออน
  • สวนสะออน
  • สวนสะออน
  • สวนสะออน
  • สวนสะออน
  • สวนสะออน


สวนสะออน
      เปิดให้เข้าชมทุกวันเวลา 07.00-18.00 น. ไม่เสียค่าเข้าชม สถานีฯ มีบ้านพักและสถานที่ตั้งแคมป์บริการ โดยต้องทำจดหมายขออนุญาตล่วงหน้าถึง หัวหน้าสถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าลำปาว ตู้ ปณ. 120 อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ 46000 หรือผู้อำนวยการสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช
       การเดินทาง มี 2 สองเส้นทาง คือ เส้นทางไปเขื่อนลำปาว เมื่อถึงตัวเขื่อนจะมีทางเลียบสันเขื่อนไปอีกประมาณ 4 กิโลเมตร หรือใช้เส้นทางกาฬสินธุ์-สหัสขันธ์ (ทางหลวงหมายเลข 227) ประมาณ 19 กิโลเมตร จะมีทางแยกซ้ายไปสวนสะออนอีกประมาณ 5 กิโลเมตร

Isan Upload


รวมภาพเก่าๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานที่


 ข่าวอัพเดท ข่าวสารอัพเดทสถานที่ :
วัวแดงสวนสะออน
ฤดูแล้งจะแห้งแล้งมากๆ ถ่ายภาพไม่สวยงามเท่าที่ควร บริเวณข้างๆ แคมป์ลูกเสือ จะเป็นแหล่งที่วัวแดงลงมาเล็มหญ้าข้างลำปาว เป็นสถานที่ๆ สวยงามอีกแห่งหนึ่งของสวนสะออน

ข่าวทั้งหมด 1 ข่าว
 
+ เพิ่ม | - ลด ขนาดตัวอักษร

วัวแดง สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าลำปาว (สวนสะออน) จ.กาฬสินธุ์
      สวนสะออน เป็นสวนสัตว์เปิดในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าลำปาว อยู่ด้านตะวันออกของอ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาว นอกจากจะได้ชมสัตว์ป่าในบรรยากาศธรรมชาติแล้ว ริมทะเลสาบยังมีบรรยากาศร่มรื่นเหมาะแก่การพักผ่อนชมทิวทัศน์ ที่ตั้งและการเดินทาง ฝั่งตะวันออกของสันเขื่อนลำปาวตรงรอยต่อระหว่าง อ.เมือง และ อ.สหัสขันธ์
       ประวัติ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าลำปาวได้รับการกำหนดให้เป็นเขตห้ามล่าตามประกาศกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ เมื่อวันที่ 16 ก.ค.2531 มีพื้นที่รับผิดชอบทั้งสิ้น 210,938 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่สองจังหวัดคือ จ.กาฬสินธุ์ ในเขต อ.เมือง อ.สหัสขันธ์ อ.ท่าคันโท อ.หนองกุงศรี อ.ยางตลาด กิ่ง อ.สามชัย อ.ห้วยเม็กและ จ.อุดรธานี ในเขต อ.วังสามหมอ อ.ศรีธาตุ อ.กุมภวาปี สภาพโดยทั่วไปเป็นพื้นน้ำทะเลสาบทั้งหมดของเขื่อนลำปาว โดยมีป่าเต็งรังประมาณ 1,600 ไร่ รวมพื้นที่ของสถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าอยู่บริเวณทิศตะวันออกของอ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาว มีเนื้อที่ 1,420 ไร่ มีสภาพเป็นป่าเต็งรังหรือป่าแดงที่ค่อนข้างสมบูรณ์ มีสวนสัตว์เปิดที่มีสัตว์ป่าที่เป็นเอกลักษณ์ของสวนสะออน คือ วัวแดง ซึ่งเป็นสัตว์หายากมีอยู่มากกว่า 130 ตัว นักท่องเที่ยวสามารถชมวัวแดงได้อย่างใกล้ชิด เนื่องจากมันไม่มีลักษณะดุร้าย นอกจากนั้นยังมีสัตว์ชนิดอื่น ๆ ได้แก่ ชะนี ลิง นกชนิดต่าง ๆ ทั้งที่เลี้ยงไว้และนกที่มาตามฤดูกาล มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติให้นักท่องเที่ยวได้เดินชม


วัวแดง (วัวเพาะ หรือ วัวดำ)
ชื่อสามัญ : Banteng
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bos javanicus
ลักษณะทั่วไป
       รูปร่างคล้ายวัวบ้าน แต่มีลักษณะสำคัญที่ต่างไปจากวัวบ้าน คือ ลำตัวมีขนาดใหญ่กว่า มีวงก้นขาวทั้งในตัวผู้และตัวเมีย มีเส้นขาวรอบจมูก ขาทั้ง 4 ข้างมีสีขาวตั้งแต่หัวเข่าจนถึงกีบเท้า ระหว่างโคนขาของตัวผู้ไม่มีขน แต่เป็นหนังตกกระแข็ง ๆ เรียกว่า "กระบังหน้า" ความยาวลำตัวและหัวประมาณ 190 - 255 เซนติเมตร หางยาว 65 - 70 เซนติเมตร สูงประมาณ 155 - 165 เซนติเมตร และมีน้ำหนักราว 600 - 800 กิโลกรัม ส่วนวัวแดงที่พบในประเทศไทยนั้น ทั้งตัวผู้ และตัวเมีย มีสีน้ำตาล แต่ตัวผู้มีสีเข้มกว่า หางสั้น เห็นได้ชัด มีเส้นสีดำกลางหลัง จากไหล่ถึงโคนหาง ตัวผู้มีอายุมาก มีสีน้ำตาลดำ มีสีขาวรูปใบโพธิ์ที่ก้น รอบริมฝีปาก เหนือเปลือกตา และที่ขาทั้งสี่ ตั้งแต่เหนือเข่าลงไป มีสีขาวเรียกว่า ถุงเท้าขาว
ถิ่นอาศัย, อาหาร
       พบในพม่า ไทย อินโดจีน ชวา บอร์เนียว เกาะบาหลี ซาราวัค เซลีเบส สำหรับประเทศไทยเคยพบได้ทุกภาค ส่วนใหญ่จะเจอบริเวณป่าโปร่ง หรือป่าทุ่ง เพราะจะทนต่อความแห้งแล้งได้เป็นอย่างดี วัวแดงจะออกหากินเป็นฝูงประมาณ 10-15 ตัว ในเวลากลางคืน หรือตอนเช้าตรู่และตอนเย็น อาคาร คือ กินหญ้าอ่อนๆ ใบไผ่อ่อน หน่อไม้อ่อน ลูกไม้ป่าบางชนิด ใบไม้ ยอดอ่อนของพืช และดอกไม้ป่าบางชนิด
พฤติกรรม, การสืบพันธุ์
       ชอบหากินอยู่เป็นฝูง ไม่ใหญ่นัก ราว 10-15 ตัว ปกติจะเริ่มออกหากินตั้งแต่ตอนพลบค่ำไปจนถึงเช้าตรู่ กลางวันนอนหลบตามพุ่มไม้ทึบ ชอบอยู่ตามป่าโปร่งหรือป่าทุ่ง ชอบกินดินโป่งไม่ชอบนอนแช่ปลัก รักสงบ ปกติไม่ดุร้าย หากินโดยมีตัวเมียเป็นจ่าฝูง

       วัวแดงเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ 2 ปีเศษ และจะประสมพันธ์ในช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน ระยะตั้งท้องนาน 8-10 เดือน ปกติออกลูกครั้งละ 1 ตัว ลูกหย่านมเมื่อมีอายุราว 9 เดือน หลังคลอดลูกราว 6-9 เดือน แม่วัวแดงจะเป็นสัดและรับการผสมพันธุ์อีก มีอายุยืนประมาณ 30 ปี
สถานภาพปัจจุบัน
       เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535

ติดต่อ : สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าลำปาว ตู้ ปณ. 12 อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ 46000
สถานที่ตั้ง : อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ เปิดทำการทุกวัน : 07.00 - 18.00
ถ่ายภาพเมื่อ : 3 พฤศจิกายน 2556 - 21 มีนาคม 2558
วันติดตั้งหน้าเว็บ : 23 เมษายน 2558
ปรับปรุงล่าสุด :
จำนวนผู้เข้าชม : 4093 ครั้ง
หมายเหตุ : เว็บมาสเตอร์เดินทางไปชมและถ่ายภาพเอง




ออกแบบโลโก้ ออกแบบกล่อง ออกแบบถุง ออกแบบสิ่งพิมพ์ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ วาดเส้น จิตรกรรม Drawing  Painting รับทำ SEO, ปั่นเว็บ, หน้า 1, อันดับ 1 ฮูปแต้ม, สิมอีสาน, ฮูบแต้ม, ศิลปะอีสาน, สิม, โบสถ์, หอไตร, สถาปัตยกรรมอีสาน
9809/1 Anankanak Rd., Tambol Kalasin, Amphoe Muang, Kalasin Province 46000 Thailand
www.artnana.com

54.85.255.74 =    Tuesday 19th March 2024
 IP : 54.85.255.74   คนที่กำลังอ่าน   Bookmark and Share   
Russia รัสเซีย  เรียนรัสเซีย  ภาษารัสเซีย ตุ๊กตารัสเซีย ของฝากรัสเซีย