สิม หอไตร ฮูปแต้ม



ปราสาทสระกำแพงน้อย ปราสาทสระกำแพงน้อย ปราสาทสระกำแพงน้อย ปราสาทสระกำแพงน้อย ปราสาทสระกำแพงน้อย ปราสาทสระกำแพงน้อย ปราสาทสระกำแพงน้อย ปราสาทสระกำแพงน้อย ปราสาทสระกำแพงน้อย ปราสาทสระกำแพงน้อย ปราสาทสระกำแพงน้อย ปราสาทสระกำแพงน้อย ปราสาทสระกำแพงน้อย ปราสาทสระกำแพงน้อย
  • ปราสาทสระกำแพงน้อย
  • ปราสาทสระกำแพงน้อย
  • ปราสาทสระกำแพงน้อย
  • ปราสาทสระกำแพงน้อย
  • ปราสาทสระกำแพงน้อย
  • ปราสาทสระกำแพงน้อย
  • ปราสาทสระกำแพงน้อย
  • ปราสาทสระกำแพงน้อย
  • ปราสาทสระกำแพงน้อย
  • ปราสาทสระกำแพงน้อย
  • ปราสาทสระกำแพงน้อย
  • ปราสาทสระกำแพงน้อย
  • ปราสาทสระกำแพงน้อย
  • ปราสาทสระกำแพงน้อย
แผนผังปราสาทสระกำแพงน้อย

ปราสาทสระกำแพงน้อย
    ปราสาทสระกำแพงน้อย เป็นหนึ่งในศาสนสถานประเภท “อโรคยศาล” หรือสถานพยาบาลซึ่งปรากฏหลายแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ตามจารึกปราสาทตาพรหมระบุว่าพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พุทธศตวรรษที่ 18) โปรดให้สร้างขึ้นจำนวน 102 แห่งในทุกๆวิษัย (เมือง)
    อนึ่ง ในประเทศไทยมีการพบปราสาทประเภทหนึ่งซึ่งมีลักษณะแผนผังแบบเดียวกัน คือ ประกอบไปด้วยปราสาทประธานตรงกลาง บรรณาลัยทางด้นทิศใต้ โคปุระ กำแพงล้อมและสระน้ำทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ปราสาทแบบนี้บางหลังพบจารึก “โรงพยาบาล” ซึ่งทำให้ทราบได้ว่าปราสาทแบบนี้ก็คืออโรคยศาลตามที่ระบุไว้ในจารึกปราสาทตาพรหมนั่นเอง
    ปราสาทแห่งนี้คงเคยเป็นศาสนสถานประจำโรงพยาบาล อาจเคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธเจ้าไภษัชยคุรุไวฑูรยประภา พระพุทธเจ้าแห่งการรักษาโรค ขนาบข้างด้วยพระโพธิสัตว์ 2 พระองค์ คือพระสูรยประภาและพระจันทรประภา ซึ่งพระนามทั้งสามนี้ปรากฏในจารึกโรงพยาบาลทุกหลัก ส่วนสถานพยาบาลนั้นคงสร้างด้วยไม้และสูญหายไปแล้วในปัจจุบัน
    อนึ่ง เนื่องจากเป็นพระบรมราชโองการจากส่วนกลาง จึงทำให้ปราสาทในกลุ่มนี้ สร้างขึ้นด้วยความรีบเร่ง อันแสดงจากการสร้างด้วยศิลาแลงอย่างง่ายๆซึ่งแสดงถึงความรีบเร่งในการสร้าง บางครั้งมีการนำเอาของเก่ามาใช้ใหม่ เช่นปราสาทสระกำแพงน้อยแห่งนี้ มีการนำเอาทับหลังและส่วนประกอบสถาปัตยกรรมอื่นๆที่เป็นหินทรายจากปราสาทสมัยบาปวนแห่งหนึ่งมาสร้าง
    ตัวอย่างอโรคยศาลแห่งอื่นๆในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ปราสาทตาเมืองโต๊จ จ.สุรินทร์, ปรางค์กู่ จ.ชัยภูมิ, กู่ประภาชัย จ.ขอนแก่น เป็นต้น

ถ่ายภาพเมื่อ : 13 พฤศจิกายน 2559
หมายเหตุ : ขณะที่ถ่ายภาพข้างๆ ศาลเจ้าใต้ต้นไทร พบหมูป่าบริเวณป่าข้างสระน้ำหรือบาราย มีอารมณ์ดุร้าย จะวิ่งพุ่งชน จึงควรระมัดระวังเป็นพิเศษ


ถ่ายภาพเมื่อ : 23 พฤษภาคม 25560

 Isan Upload


รวมภาพเก่าๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานที่



 ข่าวอัพเดท ข่าวสารอัพเดทสถานที่ :
ข่าวทั้งหมด 0 ข่าว
 

+ เพิ่ม | - ลด ขนาดตัวอักษร    


ปราสาทสระกำแพงน้อย จังหวัดศรีสะเกษ
ที่ตั้ง : วัดสระกำแพงน้อย บ้านกลาง ตำบลขยุง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ

พิกัดภูมิศาสตร์
    รุ้ง 15 องศา 08 ลิปดา 40 พิลิปดาเหนือ แวง 104 องศา 15 ลิปดา 05 พิลิปดาตะวันออก (แผนที่ลำดับชุด L 7017 ระวาง 5839 II พิมพ์ครั้งที่ 1 – RTSD มาตรฐานส่วน 1 : 50,000)

การประกาศขึ้นทะเบียน
    ขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม 2478 และประกาศกำหนดขอบเขตที่ดินโบรารสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่น 119 ตอนพิเศษ 117 ง วันที่ 29 พฤศจิกายน 2545 เนื้อที่ 53 ไร่ 3 งาน 77 ตารางวา

การดำเนินงาน
    ระหว่างปี พ.ศ. 2550 – 2553 สำนักศิลปากรที่ 11 อุบลราชธานี ดำเนินการขุดแต่งและบูรณะ

แผนผังและองค์ประกอบสถาปัตยกรรม
    กลุ่มอาคารศิลาแลง ประกอบด้วย ปราสาทประธาน 1 หลัง บรรณาลัย 1 หลัง มีกำแพงแก้วล้อมรอบ ด้านหน้าทางด้านทิศตะวันออกมีอาคารประตู้ซุ้มหรือโคปุระต่อเชื่อต่อกับแนวกำแพงแก้ว นอกกำแพงแก้มมุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีสระน้ำ กรุด้วยศิลาแลง 1 สระ และยังมีบารายขนาดใหญ่ด้านทิศตะวันออก 1 แห่ง และด้านทิศตะวันตก เฉียงใต้ 1 แห่ง มีรายละเอียดดังนี้

ปราสาทประธาน
    ก่อด้วยศิลาแลง แผนผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุม ขนาด 4.90 x 4.90 เมตร หันหน้าทางทิศตะวันออก ด้านหน้าก่อเป็นห้องมุขยื่นออกมา ขนาดกว้าง 2.70 เมตร ยาว 2.70 เมตร ผนังเรือนธาตุด้านทิศเหนือ ทิศตะวันตก และทิศใต้ทำเป็นประตูหลอก ที่ผนังด้านทิศใต้ของห้องมุขหน้าก่อเว้นเป็นหน้าต่าง 1 บาน มีกรอบทำด้วยหินทราย ที่กรอบด้านล่างมีร่องรอยกลมของเสาลูกมะหวดประกอบบานหน้าต่าง เสาประดับกรอบประตูมุขหน้า สลักลวดลายตามรูปแบบศิลปกรรมบายนและเสาประดับกรอบประตูห้องกลางสลักลวดลายที่ฐานเสารูปฤาษีในซุ้ม ด้านหน้าปราสาทประธานก่อเป็นลานสี่เหลี่ยมย่อมุม มีร่องรอยหลุมเสา

บรรณาลัย
    ก่อด้วยศิลาแลง แผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง 3.70 เมตร ยาว 5.80 เมตร หันหน้าทางทิศตะวันตก ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของประสาทประธาน หลังคาพังทลาย ประกอบด้วย ห้องกลางและห้องมุขหน้า ผนังสามด้านก่อทึบ โดยผนังด้านหลังทางทิศตะวันออกก่อเป็นประตูหลอก ด้วยการก่อแนวผนังลดระดับจากมุมอาคารเล็กน้อย หน้าห้องมุขหน้าและทางเข้าห้องกลาง ยังคงมีเสากรอบประตูอยู่ ภายในห้องการ ก่อแนวศิลาแลงลักษณะยกระดับเป็นแท่น สันนิษฐานว่าคงเป็นพื้นที่ประดิษฐานรูปเคารพ

กำแพงแก้ว
    ก่อด้วยศิลาแลง แผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง 21.50 เมตร ยาว 34.50 เมตร ด้านทิศตะวันออกก่อเชื่อมกับอาคารประตูซุ้มหรือโคปุระ และก่อเว้นเป็นช่องประตูขนาดเล็กทางด้านใต้ของโคปุระยังคงมีร่องรอยกรอบประตูล่างปรากฏอยู่ อาคารประตูซุ้มหรือโคปุระ ก่อด้วยศิลาแลง แผนผังรูปกากบาท ประกอบด้วยห้องมุขหน้าด้านทิศตะวันออก ห้องกลาง ห้องมุขทิศเหนือ ห้องมุขทิศใต้ และมุขเล็กๆ ทางทิศตะวันตก ห้องมุขหน้าด้านทิศตะวันออกเหลือหลักฐานถึงหลังคาโค้งทรงประทุน ผนังด้านทิศเหนือและทิศใต้ของห้องมุขหน้า มีหน้าต่างด้านละ 1 บาน กรอบทำด้วยหินทรายประดับด้วยเสาลูกมะหวด 5 เสา ผนังด้านทิศตะวันออกของห้องมุขทิศเหนือและห้องมุขทิศใต้ มีหน้าต่างด้นละ 1 บาน ลักษณะเช่นเดียวกับกรอบหน้าต่างห้องมุขหน้าแต่ประดับด้วยเสาลูกมะหวด 3 เสา

แนวศิลาแลง
    อยู่ภายในกำแพงแก้วด้านมุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือของปราสาทประธานลักษณะเป็นแนวศิลาแลงก่อเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ที่มุมมีร่องรอยหลุมเสา ลักษณะการก่อสร้างและตำแหน่งเดียวกันนี้ เคยพบที่ปราสาทนางรำ จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งสันนิษฐานว่าอาจเป็นที่ตั้งศิลาจารึก

สระน้ำกรุด้วยศิลาแลง
    ตั้งอยู่นอกกำแพงมุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ทางวัดทำถนนตัดผ่านระหว่างแนวกำแพงแก้วด้านทิศเหนือกับสระน้ำ ในบริเวณโบราณสถานมีทับหลังสลักลวดลายหลายชิ้น มีรูปศิลปกรรมบาปวน ราวพุทธศตวรรษที่ 16 เช่น ทับหลังรูปอุมามเหศวร พระวรุณทรงหงส์ เป็นต้นจึงสันนิษฐานว่าแต่เดิมบริเวณนี้คงเป็นที่ตั้งศาสนสถานมาก่อนและมีการก่อสร้างเป็นอโรคยศาลในชั้นหลัง ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18





สถานที่ตั้ง : วัดเทพปราสาท บ้านขะยูง ตำบลขะยูง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีษะเกษ
ถ่ายภาพเมื่อ : 26 กรกฎาคม 2558, 13 พฤศจิกายน 2559, 23 พฤษภาคม 2560
วันติดตั้งหน้าเว็บ : 20 กรกฎาคม 2558
จำนวนผู้เข้าชม : 1993 ครั้ง
ข้อมูล : หนังสือทำเนียบอโรคยาศาลในประเทศไทย สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร, archae.su.ac.th
หมายเหตุ : เว็บมาสเตอร์เดินทางไปชม และถ่ายภาพเอง






อาร์ตนานา สตูดิโอ และ เดอะ ไดโนเสาร์ อาร์ต แกลเลอรี่ ™ (หอศิลป์ เดอะแด็ก)
บ้านเลขที่ 9, 48 หมู่ 12 บ้านหนองซำ ต.น้ำอ้อม อ.ค้อวัง จ.ยโสธร 35160 กรุณาโทรติดต่อก่อนการเดินทางหรือนัดหมายล่วงหน้า ที่เบอร์ โทร. 081- 303 4493, 064-092 9449
ออกแบบโลโก้ | ออกแบบบรรจุภัณฑ์ | ออกแบบกล่อง | ออกแบบบถุง | ออกแบบฉลาก | ออกแบบสื่อส่งเสริมการขาย ออกแบบสื่อดิจิทัล Digital Media Design

 ร่วมสนับสนุนเว็บไซต์ อีสานอาร์ตดอทคอม ช่องพุทธศิลป์อีสาน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางถ่ายภาพนำมาจัดทำเว็บไซต์ ได้ที่ :

ธนาคารกสิกรไทย สาขาบางกะปิ ชื่อบัญชี นายพัฒยา จันดากูล เลขที่บัญชี 003-2-02799-9 ประเภท ออมทรัพย์

ต้องยอมรับความจริงว่า การเดินทางมีค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะค่าน้ำมันรถ หากต้องเดินทางไกลๆ หลายร้อยกิโลเมตร ค่าใช้จายในแต่ละเที่ยวก็หลายพันบาท เว็บมาสเตอร์จึงต้องรองบประมาณ และวางแผนการเดินทางให้คุ้มกับค่าน้ำมัน โดยกำหนดจุดที่จะไปถ่ายภาพให้ได้เยอะๆ ก่อนการเดินทาง ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ให้การสนับสนุนค่าเดินทางครับ



52.205.218.160 | Copyright © 2008 - 2023 esanart.com All Rights Reserved.
Website designed by Artnana Sudio