สิม หอไตร ฮูปแต้ม



วัดป่าวังเลิง วัดป่าวังเลิง วัดป่าวังเลิง วัดป่าวังเลิง วัดป่าวังเลิง วัดป่าวังเลิง วัดป่าวังเลิง วัดป่าวังเลิง
  • วัดป่าวังเลิง
  • วัดป่าวังเลิง
  • วัดป่าวังเลิง
  • วัดป่าวังเลิง
  • วัดป่าวังเลิง
  • วัดป่าวังเลิง
  • วัดป่าวังเลิง
  • วัดป่าวังเลิง


    หลวงพ่อสุทธิพงศ์ ชนุตตโม เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน
    หลวงพ่อสุทธิพงศ์ ชนุตตโม หรือ “พระครูสุทธิพรหมคุณ” เป็นพระสายปฏิบัติอีกรูปหนึ่ง ที่เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของพุทธศาสนิกชนชาวมหาสารคามในวงกว้าง หลวงพ่อสุทธิพงศ์ เป็นศิษย์สายพระกัมมัฏฐานที่ได้ศึกษาแนวทางปฏิบัติมาจากหลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร แห่งวัดป่าวังเลิง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม ซึ่งเป็นพระป่าร่วมสมัยหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ปัจจุบัน หลวงพ่อสุทธิพงศ์ สิริอายุ 64 พรรษา 20 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่าวังเลิง และเจ้าคณะอำเภอเมือง-อำเภอบรบือ นอกจากนั้น ยังรักษาการตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดมหาสารคาม
    ประวัติ หลวงพ่อสุทธิพงศ์ เกิดในสกุล ตุละวรรณ เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2486 ณ บ้านชุมพล ต.ค้อใต้ อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร โยมบิดา-มารดา ชื่อนายเมฆและนางจันดี ตุละวรรณ ครอบครัวของท่านประกอบอาชีพทำไร่ทำนาเหมือนคนอีสานทั่วๆ ไป ในวัยหนุ่ม นายสุทธิพงศ์ เป็นคนเรียนหนังสือเก่ง หลังจบการศึกษาชั้นมัธยมปีที่ 6 จากโรงเรียนเตรียมอุดมสว่างดินแดน ได้เข้าไปศึกษาต่อที่กรุงเทพฯ จบระดับปริญญาตรี หลังจากนั้น ได้ประกอบอาชีพส่วนตัว กระทั่งอายุล่วงเข้าวัยเลขสี่ พ.ศ.2530 นายสุทธิพงศ์ เกิดความเบื่อหน่ายชีวิตทางโลก ได้ตัดสินใจหันหน้าเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ อุปสมบทถวายเป็นพระราชกุศลแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 60 พรรษา ณ วัดถ้ำกลองเพล จ.อุดรธานี โดยมีพระเทพเมธาจารย์ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูอุดรคณานุศาสน์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูสิริสารสุธี เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    ช่วงนั้น หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร ได้ธุดงควัตรไปจำพรรษาอยู่ที่วัดโพธิ์ทอง อ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด ท่านได้ติดตามไปศึกษาวิปัสสนากัมมัฏฐานจำพรรษาอยู่กับหลวงปู่มหาบุญมี ก่อนได้เดินทางไปจำพรรษาที่อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ อีก 1 ปี พ.ศ.2532 บรรดาญาติโยมชาวมหาสารคาม ที่มีความเลื่อมใสศรัทธาหลวงปู่มหาบุญมี เห็นป่าสาธารณประโยชน์บริเวณตั้งวัดป่าวังเลิง ในปัจจุบันเป็นทำเลที่เงียบสงบ เหมาะแก่การปฏิบัติธรรมและสร้างวัดป่า จึงได้นิมนต์หลวงปู่มหาบุญมี มาสร้างวัด หลวงพ่อสุทธิพงศ์ ก็ติดตามมาจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าวังเลิง แห่งนี้จนถึงปัจจุบัน
    หลวงพ่อสุทธิพงศ์ ได้ปฏิบัติมุ่งเจริญภาวนากัมมัฏฐาน พยายามมุมานะศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมจนแตกฉาน สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก ตามลำดับ ด้วยความที่เป็นศิษย์ของหลวงปู่มหาบุญมี และเป็นพระที่มีวัตรปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเจริญรอยตามหลวงปู่มหาบุญมี คือ การวิปัสสนากัมมัฏฐาน และฉันเพียงวันละครั้ง ทำให้ชื่อเสียงเริ่มเป็นที่เลื่องลือ แม้พรรษาจะยังน้อย
    พ.ศ.2535 หลวงปู่มหาบุญมี ได้มรณภาพลง คณะสงฆ์จึงแต่งตั้งหลวงพ่อสุทธิพงศ์ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่าวังเลิง
    ในปี พ.ศ.2537 ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลโคกพระ 2 อ.กันทรวิชัย
    พ.ศ.2541 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโทที่ “พระครูสุทธิพรหมคุณ”
    พ.ศ.2548 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นเอก ในราชทินนามเดิม
    พ.ศ.2550 รักษาการตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดมหาสารคาม
    ในปี2552 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์

    หลวงพ่อสุทธิพงศ์ ปกครองพระภิกษุสามเณรในวัดป่าวังเลิง ด้วยความเมตตาธรรม แต่เคร่งครัดในระเบียบ ทุกวันต้องสวดมนต์ภาวนาตั้งแต่ 19.00-22.00 น. ตื่นจำวัดสามนาฬิกา ทำวัตรเช้าถึงสี่นาฬิกา จากนั้นนั่งวิปัสสนากัมมัฏฐานไปจนถึง 6 นาฬิกา ก่อนออกบิณฑบาตโปรดญาติโยม คำสอนที่หลวงพ่อสุทธิพงศ์ พร่ำสอนญาติโยม จะเน้นเรื่องของศีล 5 โดยให้นำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน สอนให้เป็นผู้มีสติพิจารณาตนเอง อย่าไปกล่าวโทษคนอื่น มีหิริมีความละอาย มีขันติ ความอดทนอดกลั้น เมื่อมีความทุกข์ในใจ ให้สวดอิติปิโส รำลึกถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า นับได้ว่า หลวงพ่อสุทธิพงศ์ ยึดหลักแนวทางการปฏิบัติจากหลวงปู่มหาบุญมีอย่างเคร่งครัด สมเป็นเนื้อนาบุญของพระพุทธศาสนาโดยแท้



เส้นทาง
    การเดินทาง : จากเมืองมหาสารคามขับรถ เส้นทาง สารคาม-กาฬสินธุ์ เลย มมส.ใหม่ มาไม่มากนัก ทางเลี้ยวเข้าวัดอยู่ฝั่งขวามือ มีป้ายบอกชัดเจน

 ข่าวอัพเดท ข่าวสารอัพเดทสถานที่ :
ข่าวทั้งหมด 0 ข่าว

 
+ เพิ่ม | - ลด ขนาดตัวอักษร    


วัดป่าวังเลิง จังหวัดมหาสารคาม
    วัดป่าวังเลิง เป็นวัดที่มีชื่อเสียงเป็นวัดสายวัดป่านิกายธรรมยุติ สร้างโดยหลวงปู่พระมหาบุญมี สิริธโร (มรณภาพแล้วเมื่อ 20 เม.ย. 2535 เวลา 10.10 น.)
    หลวงปู่พระมหาบุญมี สิริธโร ผู้สร้างวัดป่าวังเลิง
    หลวงปู่พระมหาบุญมี สิริธโร เดิมชื่อบุญมี สมภาค เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2453 ตรงกับวันขึ้น 11 ค่ำ เดือน 11 ปี 11 คือปีจอ เป็นบุตรโทนของนางหนุก สมภาค และนายทำมา สมภาค ที่บ้านขี้เหล็ก ตำบลรังแร้ง อำเภอ อุทุมพรพิสัย จังหวัด ศรีสะเกษ เมื่อครั้งเป็นเด็กจะทีนิสัยรักความสงบและมีความใฝ่ใจในพระพุทธศาสนาอย่างมาก จนมีเรื่องเล่าว่า ครั้งหนึ่งในขณะที่ท่านเลี้ยงควายอยู่กลางทุ่งนาร่วมกับเด็กๆ ในหมู่บ้านเดียวกัน ท่านได้พบภาพพระพุทธรูปในกระดาษแผ่นหนึ่งเข้า ก็เกิดความสนใจมากเป็นพิเศษจึงได้เก็บกระดาษแผ่นนั้นซ่อนเอาไว้ พอมีเวลาว่างท่านก็จะเอามานั่งดูจนเกิดปิติ จึงเอาดินเหนียวมาปั้นเป็นพระพุทธรูป โดยมีเด็กเลี้ยงควายพากันนั่งดู และก็ปั้นบ่อยๆ มีความสวยงามด้วย เมื่อมีมากขึ้นหลวงปู่จึงได้แจกและแบ่งปันให้เพื่อนๆเอาไป ตอนนั้นหลวงปู่บอกว่ามีอายุประมาณ 8-9 ปีเห็นจะได้
    พออายุได้ประมาณ 10-12 ปี ท่านก็ได้เริ่มเรียนหนังสือกับหลวงน้า ซึ่งบวชพระอยู่ที่วัดใกล้บ้าน ท่านช่วยโยมมารดาทำนาและช่วยงานบ้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานบ้านของเด็กผู้หญิงก็ตาม ท่านทำทุกอย่าง นับว่าเป็นผู้ที่มีความสามารถกว่าเด็กทั่วๆไป และที่สำคัญก็คือมีนิสัยชอบช่วยเหลือเพื่อนบ้าน ไม่ว่าเขาจะทำอะไร ไม่ว่าจะเป็นงานหนักงานเบา ถ้าพอจะช่วยเหลือได้ท่านจะรีบช่วยทันที โดยไม่ต้องให้คนอื่นขอร้อง และชอบถามคำถามเกี่ยวกับธรรมะอยู่เสมอ เช่นเห็นคนตายก็จะถามว่า คนไม่ตายไม่ได้หรือ คนไม่ป่วยไม่ได้หรือ อย่างนี้เป็นต้น
    ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรมและปฏิปทา หลังจากที่หลวงปู่ พระมหาบุญมี สิริธโร เรียนจบชั้นประถมปีที่ 2 แล้วก็ไม่ได้เรียนต่อ ต้องออกมาช่วยโยมมารดาทำนาและงานบ้าน เลี้ยงควาย จนอายุได้ 17 ปี จึงได้มาบวชเป็นสามเณรอยู่กับหลวงน้า คือพระอาจารย์สิงห์ (ไม่ใช่พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม วัดป่าสาลวัน) ผู้เป็นน้องชายของมารดา โดยบวชในฝ่ายของมหานิกาย หรือที่เรียกว่าวัดบ้าน บวชได้ 1 พรรษา พอจวนจะเข้าพรรษาทื่ 2 ซึ่งเหลือเวลาเพียงหนึ่งเดือน โยมมารดาก็ขอร้องให้สึกออกมาช่วยทำงานบ้าน เพราะสุขภาพไม่ดี ท่านจึงต้องสึกออกมาช่วยโยมมารดาทำงานและได้สมัครเป็นคนขนหินทำทางรถไฟสายกรุงเทพ-นครราชสีมา-สุรินทร์
    เมื่อหลวงปู่อายุย่าง 18-20 ปี โยมมารดาจะขอผู้หญิงให้ตั้งหลายครั้ง แต่ท่านปฏิเสธทุกครั้งไม่ยอมมีครอบครัว เพราะดูคนทั้งหลายแล้วมีความทุกข์ วิตกกังวลแทบทั้งสิ้น ยากที่จะทำจิตของตนให้ผ่องแผ้วได้ ท่านระลึกอยู่ว่า บวชจึงจะมีสุขหนอ การมีชีวิตอยู่อย่างฆราวาสนี้มีแต่ทุกข์ วิตก กังวล ไม่สิ้นสุด มีแต่ความรุ่มร้อน เหมือนฝุ่นละอองมาจากทิศต่างๆ มีเต็มอากาศไม่รู้ว่าจะหนีไปทิศใดได้ มีแต่จะคลุกเคล้าละอองพิษลงสู่ใจ ใจก็มีแต่ความเศร้าหมอง เพราะท่านเห็นโทษของกามคุณ ถ้าผู้ใดเสพกามารมณ์อยู่เสมือนบริโภคเหล็กเผาไฟแดงๆ อยู่ จิตของท่านจึงระลึกน้อมไปถึงการอุปสมบท
    ท่านจึงเอาความดำริในใจนี้เล่าสู่มารดาฟังว่าท่านอยากบวช โยมมารดาของท่านจึงได้อนุโมทนาและอนุญาตให้บรรพชาอุปสมบทได้ จนถึงอายุ 21 ปี จึงขออนุญาตโยมมารดาบวชเป็นพระฝ่ายมหานิกาย โดยมีพระอาจารย์สิงห์ เป็นภาระรับไปดำเนินการให้ทุกอย่าง
    ด้วยจิตใจที่ฝักใฝ่ในเรื่องของการศึกษาในธรรม ท่านจึงมีความปรารถนาที่จะเรียนด้านปริยัติธรรม แต่เนื่องจากการศึกษาธรรมะในสมัยนั้นวัดที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือวัดเลียบ ซึ่งเป็นวัดที่หลวงปู่เสาร์ กนตสีโล เคยพำนักมาก่อน แต่เนื่องจากท่านเป็นพระฝ่ายมหานิกาย จึงค่อนข้างจะยุ่งยาก เพราะวัดเลียบเป็นวัดธรรมยุต ด้วยเหตุนี้พระอาจารย์สิงห์ซึ่งเป็นหลวงน้าของท่านจึงได้นำไปฝาก ท่านเจ้าคุณพระศาสนดิลก เจ้าอาวาสวัดเลียบ ท่านเจ้าคุณบอกว่าจะต้องญัตติเป็นพระฝ่ายธรรมยุต พอได้ฟังดังนั้นหลวงปู่ก็ดีใจเป็นอันมาก ในการบวชใหม่ครั้งนี้ มีพระศาสนดิลกเป็นอุปัชฌาย์ พระมหาสว่าง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายาว่า สิริธโร อุปสมบทเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2474 เวลา 10.00 น. ณ วัดเลียบ ต.ในเมือง จ.อุบลราชธานี
    หลังจากที่ได้บวชเป็นพระภิกษุแล้ว ท่านก็ได้ตั้งใจเล่าเรียนข้อวัตรปฏิบัติ จนเป็นที่เล่าลือว่าท่านเก่งมาก เพียงเวลาไม่นานท่านก็สอบนักธรรม ตรี โท เอกได้ และในปี พ.ศ. 2478 ก็ได้ย้ายไปอยู่ที่วัดบูรพา อ.เมือง จ.อุบลราชธานี เป็นวัดที่หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต พำนักอยู่สมัยปฏิบัติธรรมเริ่มแรก
    จากนั้นในปี พ.ศ.2479 ก็ได้เดินทางเข้าไปศึกษาหาความรู้ในกรุงเทพมหานคร จำพรรษาที่วัดปทุมวนาราม เขตปทุมวัน อยู่ไม่นานก็สอบได้เปรียญ 3 ประโยค มีความแตกฉานพระปริยัติมาก
    หลังจากที่หลวงปู่ได้อุปสมบท 2 พรรษา โยมมารดาได้ถึงแก่กรรม ในระหว่างนั้นจิตวิตกกังวลไปต่าง ท่านได้พิจารณาเห็น อนิจจัง ต่อมาท่านอยากจะออกธุดงค์ปฏิบัติธรรมตามคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงเดินทางกลับมายังภาคอีสาน แล้วตั้งหน้าปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง
    พ.ศ.2490-2494 จำพรรษาอยู่ที่วัดป่าบ้านห้วยทราย อ.คำชะอี จ. มุกดาหาร ซึ่งเป็นวัคที่ หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น หลวงปู่ขาว หลวงปู่มหาบัว เคยจำพรรษา พำนักปฏิบัติธรรมมาก่อน
    พ.ศ.2495-2500 จำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านม่วง อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี
    พ.ศ.2501-2503 จำพรรษาอยู่ที่วัดป่าหนองบัว อ.พังโคน จ.สกลนคร
    พ.ศ.2504-2505 จำพรรษาอยู่ที่วัดป่าบ้านเหล่า อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร
    พ.ศ.2506-2508 จำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านท่าสำราญ อ.บึงกาฬ จ.หนองคาย
    พ.ศ.2509-2519 จำพรรษาอยู่ที่วัดในเขตจังหวัดเลยหลายวัด เช่นวัดบ้านหมากแข้ง
    พ.ศ.2520-2530 จำพรรษาอยู่ที่วัดป่าภูทอง อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี
    พ.ศ.2531-2532 จำพรรษาอยู่ที่วัดป่าศรีโพธ์ทอง อ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด
    พ.ศ.2533 จำพรรษาอยู่ที่วัดเกาะ อ.สตึก จ.บุรีรัมย์
    พ.ศ.2534-2535 จำพรรษาที่วัดป่าวังเลิง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม
    หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร เป็นพระสุปฏิปันโน บุตรของกองทัพธรรม พระอาจารย์ใหญ่หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น
    สานุศิษย์คาดว่าหลวงปู่บุญมี ไม่ได้พบหรือได้ฟังธรรมจากพระอาจารย์ใหญ่หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต โดยตรง
    แต่การเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ของหลวงปู่บุญมีอยู่สำนักเดียวกับหลวงปู่เสาร์คือวัดเลียบ และไปพำนักอยู่วัดบูรพาสำนักเก่าดั้งเดิมของหลวงปู่มั่น ภูริทัตเถระ นั่นเองด้วยบริบทและสภาวธรรมของสำนักวัดเลียบ วัดบูรพาราม และทราบประวัติของพระอาจารย์ใหญ่ทั้งสองขณะที่ศึกษาปริยัติอยู่วัดนี้ ซึ่งเป็นแบบอย่างของการแสวงหาโมกขธรรม เกิดแรงบันดาลใจและมองเห็นลู่ทางธรรมที่เหนือกว่าการศึกษาปริยัติ จึงเป็นสิ่งที่หลวงปู่ฝังใจตลอดเวลา เมื่อไปศึกษาปริยัติธรรมที่เมืองกรุง วัดปทุมวนาราม ก็ได้รับทราบเรื่องราวที่บูรพาจารย์และพระป่ามาพำนักที่นี่ หลวงปู่จึงทิ้งป่าคอนกรีตออกปฏิบัติธรรมอย่างอุกฤษฏ์ ตามรอยพระพุทธองค์และบูรพาจารย์ทั้งสอง โดยมีสหธรรมมิกที่เคยปรนนิบัติรับใช้บูรพาจารย์ที่ธุดงค์ร่วมกันถ่ายทอดคำสั่งสอนมรรควิธีของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลวงปู่จึงถือว่าบูรพาจารย์ทั้งสองเป็นพระอาจารย์ และมีความสนิทสนมคุ้นเคยกับกลุ่มกองทัพธรรมสายนี้ที่สุด ดังจะเห็นได้ว่าหลวงปู่เป็นที่เคารพนับถือของพระสุปฏิปันโน ทั้งรุ่นศิษยานุศิษย์หลวงปู่มั่น และรุ่นหลานศิษย์เป็นอันมาก นับตั้งแต่หลวงปู่มหาบัว ญานสัมปันโน หลวงพ่อพุธ ฐานิโย หลวงปู่ศรี มหาวีโร หลวงพ่อเมือง หลวงพ่ออุ่นวัดป่าแก้ว พระอาจารย์อินทร์ถวาย
    ดังจะเห็นได้จากงานพระราชทานเพลิงศพ ที่เป็นวาระการชุมนุมของคณะศิษยานุศิษย์สายหลวงปู่มั่นมากที่สุดครั้งหนึ่ง และในงานรำลึกบูชาพระเถราจารย์ฝ่ายปฏิบัติธรรมศิษย์หลวงปู่มั่น ณ วัดโพธิสมพรอุดรธานี ประวัติและรูปของหลวงปู่ก็ได้รับการเผยแพร่ในงานนิทรรศการครั้งนี้ด้วย
    หลวงปู่เริ่มอาพาธหนักในช่วงเดือน พฤศจิกายน ๒๕๓๒ ในระหว่างที่พักจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าศรีโพธิทอง สาเหตุเกิดจากการหกล้มในขณะเดินเข้าห้องน้ำแล้วเกิดอาการเข่าอ่อน หลังจากนั้นท่านเกิดอาพาธเดินไม่ได้ คณะศิษย์จึงได้พยายามช่วยกันรักษาพยาบาลอาการอาพาธของท่าน ทั้งด้วยยาแผนโบราณและยาแผนปัจจุบัน แต่ยังไม่ดีขึ้น ในที่สุดผู้ใหญ่สัญชัยและกำนันเซ็งจึงได้นิมนต์ท่านไปรักษาแผนโบราณที่ อำเภอสตึก พร้อมกับรักษาที่ ร.พ. ศิริราชด้วย ในบางโอกาสจนอาการดีขึ้น
    ภายหลังจากนั้น คณะศิษย์จากจังหวัดมหาสารคามได้พากันอาราธนานิมนต์ท่านให้มาจำพรรษาที่วัดป่าเลิง และท่านก็ได้มาจำพรรษาที่วัดป่าเลิงเมื่อวันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๓๓
    ครั้นต่อมาในปี ๒๕๓๔ หลวงปู่ก็เกิดอาพาธขึ้นอีกครั้งหนึ่ง คณะศิษย์จึงได้นำตัวท่านไปรักษาที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จ ขอนแก่น และตั้งแต่นั้นมาอาการอาพาธของหลวงปู่ก็มีแต่ทรงกับทรุดมาตลอดตามลำดับดังนี้
    เข้ารักษาที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์
    ครั้งที่ ๑ วันจันทร์ที่ ๒๕ พ.ย. ๒๕๓๔ ออกจาก ร.พ. เมื่อ ๒ ธ.ค. ๒๕๓๔
    ครั้งที่ ๒ วันพุธที่ ๒๕ ธ.ค. ๒๕๓๔ ออกจาก ร.พ. เมื่อ ๑๐ ม.ค. ๒๕๓๕
    ครั้งที่ ๓ วันศุกร์ที่ ๒๗ มี.ค. ๒๕๓๕ และในเช้าวันที่ ๒๘ มี.ค. ๒๕๓๕ ท่านก็ได้อนุญาตให้ นายแพทย์วันชัย วัฒนศัพท์ ทำการผ่าตัดใส่สายยาง ทางหลอดลม เข้า โออาร์ เวลา ๑๖.๑๕ ออกเกือบจะเวลา ๑๗.๐๐ น. และฟื้นเวลาประมาณ ๒๐.๐๐ น.
    หลังจากนั้นอาการอาพาธของหลวงปู่ก็ทรุดหนักมาเรื่อยๆ จนในที่สุดหลวงปู่ก็ละสังขารไปด้วยอาการอันสงบ เมื่อวันที่ ๒๐ เม.ย. ๒๕๓๕ เวลา ๑๐.๑๐ น. ตรงกับวันจันทร์ แรม ๓ ค่ำ เดือน ๕ ปีวอก สิริรวมอายุได้ ๘๑ ปี ๖ เดือน ๖ วัน
    เหลือเพียงภาพลักษณ์แห่งความเป็นพระภิกษุ ที่เยือกเย็น เบิกบาน เมตตาหาที่ประมาณมิได้ สันโดษ เรียบง่าย และเป็นแบบอย่างแห่งมรรควิธี ไปสู่ความหลุดพ้น ที่พุทธศาสนิกชนจะต้องปฏิบัติตาม
    ขออำนาจบารมีธรรมของหลวงปู่ที่ได้ประพฤติปฏิบัติมาจงแผ่เมตตาบารมี ให้พุทธบริษัทได้เกิดธรรมจักษุ พบแก่นพุทธธรรม เพื่อความร่มเย็นเป็นสุข ของสรรพสัตว์ทั้งพิภพด้วยเทอญ

สถานที่ตั้ง : วัดป่าวังเลิง ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย มหาสารคาม 44150
ถ่ายภาพเมื่อ : 3 มีนาคม 2556
วันติดตั้งหน้าเว็บ : 8 ตุลาคม 2559
จำนวนผู้เข้าชม : 11000 ครั้ง
หมายเหตุ : เว็บมาสเตอร์เดินทางไปชมและถ่ายภาพเอง : ข้อมูลจาก : thammayoot.com




ออกแบบโลโก้ ออกแบบกล่อง ออกแบบถุง ออกแบบสิ่งพิมพ์ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ วาดเส้น จิตรกรรม Drawing  Painting รับทำ SEO, ปั่นเว็บ, หน้า 1, อันดับ 1 ฮูปแต้ม, สิมอีสาน, ฮูบแต้ม, ศิลปะอีสาน, สิม, โบสถ์, หอไตร, สถาปัตยกรรมอีสาน
9809/1 Anankanak Rd., Tambol Kalasin, Amphoe Muang, Kalasin Province 46000 Thailand
www.artnana.com

18.208.203.36 =    Tuesday 19th March 2024
 IP : 18.208.203.36   คนที่กำลังอ่าน   Bookmark and Share   
Russia รัสเซีย  เรียนรัสเซีย  ภาษารัสเซีย ตุ๊กตารัสเซีย ของฝากรัสเซีย