สิม หอไตร ฮูปแต้ม



ปราสาทปรางค์กู่ ปราสาทปรางค์กู่ ปราสาทปรางค์กู่ ปราสาทปรางค์กู่ ปราสาทปรางค์กู่ ปราสาทปรางค์กู่ ปราสาทปรางค์กู่ ปราสาทปรางค์กู่ ปราสาทปรางค์กู่ ปราสาทปรางค์กู่
  • ปราสาทปรางค์กู่
  • ปราสาทปรางค์กู่
  • ปราสาทปรางค์กู่
  • ปราสาทปรางค์กู่
  • ปราสาทปรางค์กู่
  • ปราสาทปรางค์กู่
  • ปราสาทปรางค์กู่
  • ปราสาทปรางค์กู่
  • ปราสาทปรางค์กู่
  • ปราสาทปรางค์กู่

ถ่ายภาพเมื่อ : 18 สิงหาคม 2555 / 19 พฤศจิกายน 2559



       การเดินทาง จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 23 (ร้อยเอ็ด-ยโสธร) ประมาณ 10 กิโลเมตร ถึงที่ว่าการอำเภอธวัชบุรี ฝั่งตรงข้ามมีทางแยกซ้ายไปปรางค์กู่ ระยะทาง 6 กิโลเมตร หรือใช้ทางหลวงหมายเลข 2044 (ร้อยเอ็ด-โพนทอง) ไปประมาณ 8 กิโลเมตร มีทางแยกขวาไปปรางค์กู่อีก 1 กิโลเมตร 
Isan Upload


รวมภาพเก่าๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานที่


 ข่าวอัพเดท ข่าวสารอัพเดทสถานที่ :
ปรางค์กู่หลังการบูรณะ
มีการบูรณะอีกครั้ง ปี 2555  ภาพถ่ายหลังการบูรณะ 

ข่าวทั้งหมด 1 ข่าว
 

ปราสาทปรางค์กู่ จ.ร้อยเอ็ด
       ปราสาทปรางค์กู่ เป็นปราสาทขอม ตั้งอยู่ที่อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด ปรางค์ประธานสร้างด้วยศิลาแลง มีกำแพงล้อมรอบ ที่มีซุ้มประตูทางเข้าหรือโคปุระอยู่ด้านหน้า มีอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือบรรณาลัย มีสระน้ำหรือบารายกรุด้วยศิลาแลง พบใบเสมาทั้งแบบแผ่นและแบบแท่ง ทำด้วยหินทรายและศิลาแลงจำนวนหนึ่ง
       เมื่อ พ.ศ. 2534 กรมศิลปากรได้ทำการบูรณะ และค้นพบทับหลังที่ปรางค์ประธาน สลักเป็นรูปคนขี่หลังช้าง มีความหมายว่า พระอินทร์ทรง (แปลว่า ขี่) ช้างเอราวัณ และพบเสากรอบประตูทำด้วยศิลาแลง 2 ชิิน ส่วนล่างและส่วนบน อีกทั้งยังพบศิวลึงค์ขนาดใหญ่ พร้อมแท่น
       ปรางค์กู่ หรือปราสาทหนองกู่ ต.มะอึ อ.ธวัชบุรี จ.ร้อยเอ็ด ถนนสายร้อยเอ็ด – โพนทอง ประมาณ 8 กิโลเมตร มีทางแยกด้านขวามือ เข้าปรางค์กู่ประมาณ 1 กิโลเมตรเลี้ยวซ้ายอีกครั้งเข้าวัดศรีรัตนาราม ปรางค์กู่ ตั้งอยู่ภายในวัดปรางค์กู่หรือวัดศรีรัตนาราม เป็นกลุ่มอาคารที่มีลักษณะแบบเดียวกันกับอาคารที่เชื่อกันว่า คือ อโรคยศาล ตามที่ปรากฏในจารึกปราสาทตาพรหม อันประกอบด้วยปรางค์ประธาน บรรณาลัย กำแพง ซุ้มประตูและสระน้ำ นอกกำแพง โดยทั่วไปนับว่าคงสภาพเดิมพอควร โดยเฉพาะปรางค์ประธานชั้นหลังคาคงเหลือ 3 ชั้น และ มีฐานบัวยอดปรางค์อยู่ครบ
       จากการสอบถามเจ้าอาวาส วัดศรีรัตนาราม กล่าวว่าเป็น ทับหลังหน้าประตูมุข ของปรางค์ประธาน เสากรอบประตู 2 ชิ้น ชิ้นหนึ่งมีภาพสลักรูปฤาษีที่โคนเสาศิวลึงค์ขนาดใหญ่ พร้อมฐานที่ได้จากทุ่งนาด้านนอกออกไป และชิ้น ส่วนบัวยอดปรางค์ ซึ่งถูกดัดแปลงเป็นฐานของพระสังกัจจายน์ปูนปั้น กำหนดอายุุว่าสร้างราว พุทธศตวรรษที่ 18
       ปัจจุบันหลังการบูรณะ ได้ปรับภูมิทัศน์ให้สวยงามแต่ยังคงสภาพดั้งเดิมไว้ อีกทั้งยังสร้างอาคารรูปแบบอีสาน ไว้จัดเก็บใบเสมาต่างๆ ให้เป็หมวดหมู่ ง่ายต่อการเข้าชม
       สรุปได้ว่า ปรางค์กู่ เป็นสถาปัตยกรรมแบบบาปวน ในลัทธิไศวนิกาย รูปแบบของอาคารอโรคยาศาล สร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 สร้างในพุทธศตวรรษที่ 18 กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนปรางค์กู่เป็นโบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 172 วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478


       บูรณะครั้งที่ 1 ปี พ.ศ. 2534        บูรณะครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2555


ถ่ายภาพเมื่อ : 19 พฤศจิกายน 2559 หลังการบูรณะ



สถานที่ตั้ง : วัดศรีรัตนาราม บ้านยางกู่ ต.มะอึ อ.ธวัชบุรี จ.ร้อยเอ็ด
ถ่ายภาพเมื่อ : 18 สิงหาคม 2555 (กำลังบูรณะ) 19 พฤศจิกายน 2559 (หลังการบูรณะ)
วันติดตั้งหน้าเว็บ : 19 เมษายน 2558
ปรับปรุงล่าสุด : 20 พฤศจิกายน 2559
จำนวนผู้เข้าชม : 4008 ครั้ง
หมายเหตุ : เว็บมาสเตอร์เดินทางไปชมและถ่ายภาพเอง, ข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต และเรียบเรียงขึ้นเอง

ออกแบบโลโก้ ออกแบบกล่อง ออกแบบถุง ออกแบบสิ่งพิมพ์ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ วาดเส้น จิตรกรรม Drawing  Painting รับทำ SEO, ปั่นเว็บ, หน้า 1, อันดับ 1 ฮูปแต้ม, สิมอีสาน, ฮูบแต้ม, ศิลปะอีสาน, สิม, โบสถ์, หอไตร, สถาปัตยกรรมอีสาน
9809/1 Anankanak Rd., Tambol Kalasin, Amphoe Muang, Kalasin Province 46000 Thailand
www.artnana.com

3.236.18.23 =    Tuesday 19th March 2024
 IP : 3.236.18.23   คนที่กำลังอ่าน   Bookmark and Share   
Russia รัสเซีย  เรียนรัสเซีย  ภาษารัสเซีย ตุ๊กตารัสเซีย ของฝากรัสเซีย