สิม หอไตร ฮูปแต้ม



พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์
  • พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์
  • พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์
  • พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์
  • พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์
  • พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์
  • พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์
  • พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์
  • พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์
  • พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์
  • พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์
  • พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์
  • พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์
  • พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์
  • พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์
  • พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์
  • พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์
  • พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์
  • พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์
  • พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์
  • พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์

ภาพถ่ายเมื่อ : 20 สิงหาคม 2560
คลิกเพื่อชมนิทรรศการแบบออนไลน์
ศิลาจารึกปราสาทตาเหมือนธม 6
ปราสาทจำลอง
นาคปัก
ชิ้นส่วนทับหลัง พบที่ อ.ปราสาท
บันแถลงจำหลักภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ จากปราสาทตาเหมือนโต้ด






พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์
สถานที่ตั้ง :
เลขที่ 214 หมู่ 13 ถ.สุรินทร์–ช่องจอม ต.เฉนียง อ.เมืองสุรินทร์ จ.สุรินทร์ 32000

เวลาทำการ : วันพุธ-วันอาทิตย์ 09.00-16.00 น.
หยุดวันจันทร์ วันอังคาร และวันนักขัตฤกษ์

อัตราค่าเข้าชม :
เข้าชมโดยไม่เสียค่าธรรมเนียม (เนื่องจากยังไม่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา)

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
โทรศัพท์/โทรสาร : 044-153054
E-mail : surinmuseum@yahoo.com 
Isan Upload


รวมภาพที่เกี่ยวข้องกับสถานที่


 ข่าวอัพเดท ข่าวสารอัพเดทสถานที่ :
ข่าวทั้งหมด 0 ข่าว
 
+ เพิ่ม | - ลด ขนาดตัวอักษร

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุรินทร์ อ.เมือง จ.สุรินทร์
       พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ ถือกำเนิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2517 จากความคิดริเริ่มของนายสุธี โอบอ้อม ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ขณะนั้น โดยการชักชวนข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน ให้นำศิลปวัตถุและโบราณวัตถุมาบริจาค ซึ่งได้จัดแสดงไว้ที่ศาลากลางจังหวัดสุรินทร์
       ต่อมาภายหลังจึงได้ย้ายไปเก็บรักษาและจัดแสดงชั่วคราว ณ อาคารสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสุรินทร์ เมื่อพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ ได้รับมอบโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุเพิ่มมากขึ้น ทั้งจากประชาชน และจากการดำเนินงานทางโบราณคดี ทำให้สถานที่จัดแสดงซึ่งอาศัยใช้พื้นที่ปีกด้านล่างของอาคารสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสุรินทร์คับแคบ ไม่เหมาะสมต่อการให้บริการ ประกอบกับในปี พ.ศ.2535 กรมศิลปากรมีนโยบายที่จะปรับปรุงและจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำเมืองให้ครอบคลุมทั่วประเทศ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ จึงเป็นพิพิธภัณฑสถานอันดับต้นๆ ที่ได้รับการพิจารณาจัดตั้งขึ้นภายใต้นโยบายดังกล่าว
       กรมศิลปากรได้ดำเนินการขอใช้ที่ดินราชพัสดุจากกรมธนารักษ์ บริเวณ กม.ที่ 4 ริมถนน สุรินทร์ – ช่องจอม เพื่อใช้เป็นสถานที่ก่อสร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ แห่งใหม่ และได้เริ่มดำเนินการปรับปรุงสถานที่พร้อมทั้งก่อสร้างอาคารตั้งแต่ปี พ.ศ.2539 เป็นต้นมา

       อาคารจัดแสดงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุรินทร์ เป็นอาคารที่ได้รับการออกแบบขึ้นใหม่ รูปทรงทันสมัย โดยประยุกต์มาจาก “ปราสาท” สถาปัตยกรรมในศิลปะเขมร มีลักษณะเป็นกลุ่มอาคารที่เชื่อมต่อถึงกัน จัดแสดงเรื่องราวของจังหวัดสุรินทร์ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 5 เรื่อง คือ
       1. ธรรมชาติวิทยา จัดแสดงเรื่องกายภาพของจังหวัดสุรินทร์ ประกอบด้วยสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ลักษณะทางธรณีวิทยา ทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ และเรื่องข้าว เนื่องจากจังหวัดสุรินทร์เป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิที่มีคุณภาพดีแห่งหนึ่งของประเทศ
       2. ประวัติศาสตร์โบราณคดี มีเนื้อหาเกี่ยวกับพัฒนาการของผู้คนตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่พบหลักฐานในจังหวัดสุรินทร์ ตั้งแต่เมื่อประมาณ 2,000–1,500 ปีมาแล้ว สมัยวัฒนธรรมทวารวดีซึ่งเริ่มประมาณพุทธศตวรรษที่ 12–13 สมัยวัฒนธรรมเขมรมีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 12–18 จนถึงสมัยอยุธยาราวพุทธศตวรรษที่ 24 การจัดแสดงเป็นการจำลองสภาพชีวิตและพิธีกรรมการฝังศพครั้งที่ 2 ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุสมัยทวารวดี เขมร ที่พบในจังหวัดสุรินทร์ หุ่นจำลองโบราณสถาน เป็นต้น
       3. ประวัติศาสตร์เมือง เนื้อหาในส่วนนี้นำเสนอเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของจังหวัดสุรินทร์ โดยเริ่มจากชาวกูยช่วยจับช้างเผือกส่งกลับคืนสู่กรุงศรีอยุธยา และได้รับความดีความชอบตั้งเป็นบ้านเมือง การปฏิรูปการปกครองมาเป็นระบบเทศาภิบาลและระบอบประชาธิปไตยตามลำดับนอกจากนี้ยังมีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ด้านเศรษฐกิจ สังคม ประชากร และการศึกษาในการจัดแสดงได้จำลองภาพเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์เมืองสุรินทร์ เช่น การจับช้างเผือก การเดินรถไฟมาถึงสุรินทร์ สภาพตลาดการค้าในยุคแรกๆ สภาพการศึกษาในอดีต เพื่อให้ผู้ชมสามารถซึมซับเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของเมืองสุรินทร์ในอดีตมาจนถึงจังหวัดสุรินทร์ปัจจุบันได้อย่างชัดเจนขึ้น
       4. ชาติพันธุ์วิทยาจะกล่าวถึงประชากรในจังหวัดสุรินทร์ที่ประกอบด้วยชน 3 กลุ่มใหญ่ คือ ชาวกูย กลุ่มชนที่มีความสามารถในการจับและฝึกช้าง ชาวเขมรกลุ่มดั้งเดิมที่ปรากฏหลักฐานการอยู่อาศัยในจังหวัดสุรินทร์มาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 12–13 เป็นอย่างช้า และชาวลาวกลุ่มชนที่อพยพเข้ามาเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 22 ในการจัดแสดงได้จำลองให้เห็นวิถีชีวิตของคนกลุ่มต่างๆ โดยการจำลองบ้านเรือน หุ่นจำลองการประกอบพิธีกรรมของชาวไทยกูย ไทยเขมร ภาพถ่ายและภาพวาดเกี่ยวกับขนบประเพณีและสภาพความเป็นอยู่ของชาวไทยลาวซึ่งจะสื่อถึงสภาพวิถีชีวิต ลักษณะเด่นทางวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มชนที่ประกอบกันเป็นคนสุรินทร์ในปัจจุบัน
       5. มรดกดีเด่น เนื้อหาจะกล่าวถึงมรดกทาวัฒนธรรมของจังหวัดสุรินทร์ที่โดดเด่นและเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป คือ งานศิลปกรรม ได้แก่ การทำเครื่องประดับเงิน และการทอผ้าไหม ศิลปะการแสดงพื้นบ้าน ได้แก่ การแสดงเรือม (การรำ) การละเล่นเจรียง รวมถึงดนตรีพื้นบ้าน เช่น วงกันตรึม วงมโหรี และการเลี้ยงช้างซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก ในส่วนการจัดแสดงจะใช้โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ หุ่นจำลอง ภาพถ่าย วีดีทัศน์ และเครื่องเล่นแผ่นเสียง เป็นสื่อให้เห็นถึงการแสดงพื้นบ้าน การผลิตและใช้ประโยชน์จากงานหัตถกรรม มีหุ่นจำลองและวีดีทัศน์เรื่องการจัดแสดงศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน ฉากจำลองบรรยากาศหมู่บ้านช้างให้ผู้ชมได้ทราบถึงมรดกภูมิปัญญาท้องถิ่นสุรินทร์ที่มีมาตั้งแต่อดีตและยังคงดำรงอยู่กระทั่งปัจจุบัน

       ตัวอย่างนิทรรศการที่น่าสนใจคือ
       ประวัติศาสตร์เมืองสุรินทร์ เนื้อหาในส่วนนี้นำเสนอเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของจังหวัดสุรินทร์ โดยเริ่มจากกลุ่มชาวกูยซึ่งได้ช่วยจับช้างเผือกที่แตกโรงหนีมา ส่งกลับคืนสู่กรุงศรีอยุธยา ทำให้ได้รับพระราชทานความดีความชอบตั้งชุมชนชาวกูยเหล่านี้ขึ้นเป็นบ้านเมือง
       จนถึงระยะเวลาที่มีการปฏิรูปการปกครองมาเป็นระบบเทศาภิบาลและระบอบประชาธิปไตยตามลำดับ
       นอกจากนี้ยังมีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ด้านเศรษฐกิจ สังคม ประชากร และการศึกษา ในการจัดแสดง มีฉากไดโอรามาจำลองภาพเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์เมืองสุรินทร์ เช่น การจับช้างเผือก การเดินรถไฟมาถึงจังหวัดสุรินทร์ สภาพตลาดการค้าในยุคแรกๆ สภาพการเรียนการสอนในอดีต ฯลฯ ไว้ให้ศึกษา
       จุดเด่นที่สุดในส่วนนี้น่าจะได้แก่หุ่นจำลองสำริดรูปพระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง (เชียงปุม) เจ้าเมืองสุรินทร์คนแรก


สถานที่ตั้ง : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุรินทร์ ต.เฉนียง อ.เมืองสุรินทร์ จ.สุรินทร์ (จากตัวเมืองเส้นทางไป อ.ปราสาท)
พิกัด : 14.848425, 103.473788
ถ่ายภาพเมื่อ : 20 สิงหาคม 2560
วันติดตั้งหน้าเว็บ : 21 สิงหาคม 2560
ปรับปรุงล่าสุด :
ข้อมูลจาก : virtualmuseum.finearts.go.th/surin, thai.tourismthailand.org
จำนวนผู้เข้าชม : 4901 ครั้ง
หมายเหตุ : เว็บมาสเตอร์เดินทางไปชมและถ่ายภาพเอง




ออกแบบโลโก้ ออกแบบกล่อง ออกแบบถุง ออกแบบสิ่งพิมพ์ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ วาดเส้น จิตรกรรม Drawing  Painting รับทำ SEO, ปั่นเว็บ, หน้า 1, อันดับ 1 ฮูปแต้ม, สิมอีสาน, ฮูบแต้ม, ศิลปะอีสาน, สิม, โบสถ์, หอไตร, สถาปัตยกรรมอีสาน
9809/1 Anankanak Rd., Tambol Kalasin, Amphoe Muang, Kalasin Province 46000 Thailand
www.artnana.com

54.85.255.74 =    Tuesday 19th March 2024
 IP : 54.85.255.74   คนที่กำลังอ่าน   Bookmark and Share   
Russia รัสเซีย  เรียนรัสเซีย  ภาษารัสเซีย ตุ๊กตารัสเซีย ของฝากรัสเซีย