ฮุปแต้มอีสาน, สิมอีสาน (Isan Mural Painting and Isan Temple Architectures)
 สิม หอไตร ฮูปแต้ม

(วางเมาส์บนรูปภาพ เพื่อดูส่วนขยายภาพ)

+ เพิ่ม | - ลด ขนาดตัวอักษร      


วัดสระเกตุ
     สิมคู่ วัดสระเกตุ เป็นอุโบสถเก่าแก่ โดยวัดสระเกตุตามประวัติย์ของกรมศิลปากรที่ได้บูรณะปฏิสังขรเขียนไว้ว่า      วัดสระเกตุสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย ช่วงที่เป็นกลุ่มชนวัฒนธรรมไท-ลาว เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด บริเวณเมืองท่งหรือเมืองทุง หรืออำเภอสุวรรณภูมิในปัจจุบัน สิมคู่ก็คือ อุโบสถ 2 หลังสร้างคู่กันมีดังนี้
     หลังที่ 1.วิหารเดิมใช้เป็นสิม(อุโบสถ) เป็นอาคารทึบ ฐานเป็นแบบฐานเอวบัน มุขหน้าทำเป็นเครื่องไม้ประดับ แกะสลักรูปราหูอมจันทร์ และลายพรรณพฤกษาอย่างงดงามตามแบบพื้นถิ่น
     หลังที่ 2.สิม(อุโบสถ) ตั้งอยู่ทางทิศเหนือคู่กับวิหาร สร้างขึ้นในปลายสมัยรัชกาลที่ ๔ ต้นรัชกาลที่ ๕ เป็นอาคารโปร่ง ฐานสูง มุขหน้าแกะสลักลายเช่นเดียวกับวิหาร

      สิมคู่ วัดสระเกตุ บ้านน้ำคำ เป็นสถานที่สำคัญแห่งความภาคภูมิใจหมู่บ้าน แม้สมัยเนิ่นนานมาแล้ว หลายคนไม่รู้จัก แต่โดยส่วนตัวผมเองผูกพันกับสถานที่แห่งนี้มาตั้งแต่เกิด จวบจนต้องออกมาศึกษาและทำงาน จึงได้ห่างหมู่บ้านและสถานที่แห่งนี้มาด้วย นาน ๆ จะกลับบ้านที่หนึ่ง ผมเองเคยเขียนบันทึกเกี่ยวกับสถานที่แห่งนี้ไว้ใน สมบัติอันล้ำค่าแห่งดินแดนบ้านเกิด แต่ก็มีสิ่งหนึ่งที่ผมค่อนข้างน้อยใจส่วนราชการ โดยเฉพาะ อบต.น้ำคำ ที่ให้ความสนใจเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์สถานที่สำคัญ ๆ แห่งนี้น้อยไปหน่อย
      สิมแห่งนี้จริง ๆ ที่ได้เป็นสิมคู่ ตามประวัติที่เล่ากันมา ก็ด้วยเหตุโบสถ์(ด้านซ้าย) มีมานานแสนนานแล้ว (ตามที่กรมศิลปากรได้แจ้งไว้ประมาณราวปลายสมัยอยุธยาตอนปลาย) ชาวบ้านเกิดความไม่แน่ใจว่า เขาใช้ในพิธีกรรมอะไรบ้าง จึงไม่กล้าทำพิธีบวชให้กับพระที่โบสถ์หลังนี้ จึงได้ทำการสร้างโบสถ์ขึ้นมาใหม่อีกหลังหนึ่ง(ด้านขวา) แต่ยังคงรูปแบบสถาปัตยกรรมไว้ดังเดิม และได้ใช้โบสถ์(สิมด้านขวา) นี้ในการทำพิธีบวชพระแทน
      โบสถ์หลังเก่าเคยได้ฟังผู้เฒ่าผู้แก่เล่าต่อ ๆ กันมา ในตอนแรก ๆ ที่มาพบกัน ยังไม่มีหลังคา มีเพียงฐานและพระประธานคือหลวงพ่อใหญ่ ระยะต่อมาจึงมีการสร้างเพิ่มเติมส่วนของหลังคาและมีการยกฐานสูงขึ้นมาอีก ระยะหลัง ๆ (ก่อนที่กรมศิลป์ฯจะเข้ามาบูรณะ) มีคนพยายามที่หาพระประธานองค์ใหม่เข้ามาแทน และเสนอสร้างโบสถ์สมัยใหม่ที่สวยงามแทน แต่ชาวบ้านไม่ยอม ความเชื่อความศรัทธาของชาวบ้านจึงอนุรักษ์สถานที่สำคัญ ๆ แห่งนี้เอาไว้ได้
      เรื่องความศักดิ์สิทธิ์ขององค์หลวงพ่อใหญ่และสถานที่สำคัญแห่งนี้ มีการเล่าต่อ ๆ กันมาว่า ทุก ๆ วันศีล(8 และ 15 ค่ำ) ถ้าใครตื่นมาตอนค่ำคืนของวันนั้น ๆ ก็จะปรากฏเห็นไหเงิน ไหทองคำ กลิ้งรอบอุโบสถหลังนี้เป็นประจำ ถัดจากวัดออกไปนิดเดียวก็จะเป็นสระน้ำขนาดใหญ่ของหมู่บ้าน เดิมทีเป็นป่าเกตุ(ต้นคล้ายต้นป่าน แต่มีหนามคล้ายกับต้นสัปะรด) ในวันสำคัญ ๆ คนก็จะเห็นพระยานาค(งูใหญ่) มาว่ายน้ำเล่นเป็นประจำ (หนองสิมเดิมที่ล้อมรอบด้วยป่าเกตุ ที่เรียกว่าหนองสิมเพราะเดิมมีสิมอยู่กลางน้ำ)


ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น
       ภาพถ่ายเมื่อ : 28 เมษายน 2556
         
ภาพถ่ายเมื่อ : 13 เมษายน 2557



สถานที่ตั้ง : วัดสระเกตุ บ้านน้ำคำ ตำบลน้ำคำ อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
ถ่ายภาพเมื่อ : 28 เมษายน 2556 / 13 เมษายน 2557
วันติดตั้งหน้าเว็บ : 28 พฤศจิกายน 2556
จำนวนผู้เข้าชม : 343 ครั้ง
หมายเหตุ : เว็บมาสเตอร์เดินทางไปชมและถ่ายภาพเอง, ข้อมูลจากจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, thebestinsure.com


28-11-2013 Views : 344
      ร่วมกันสนับสนุนเว็บไซต์นี้ ทำได้ง่ายๆ ด้วยการคลิกลิงค์ด้านล่าง... ขอบคุณครับ





อาร์ตนานา สตูดิโอ และ เดอะ ไดโนเสาร์ อาร์ต แกลเลอรี่ ™ (หอศิลป์ เดอะแด็ก)
บ้านเลขที่ 9, 48 หมู่ 12 บ้านหนองซำ ต.น้ำอ้อม อ.ค้อวัง จ.ยโสธร 35160 กรุณาโทรติดต่อก่อนการเดินทางหรือนัดหมายล่วงหน้า ที่เบอร์ โทร. 081- 303 4493, 064-092 9449
ออกแบบโลโก้ | ออกแบบบรรจุภัณฑ์ | ออกแบบกล่อง | ออกแบบบถุง | ออกแบบฉลาก | ออกแบบสื่อส่งเสริมการขาย ออกแบบสื่อดิจิทัล Digital Media Design

 ร่วมสนับสนุนเว็บไซต์ อีสานอาร์ตดอทคอม ช่องพุทธศิลป์อีสาน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางถ่ายภาพนำมาจัดทำเว็บไซต์ ได้ที่ :

ธนาคารกสิกรไทย สาขาบางกะปิ ชื่อบัญชี นายพัฒยา จันดากูล เลขที่บัญชี 003-2-02799-9 ประเภท ออมทรัพย์

ต้องยอมรับความจริงว่า การเดินทางมีค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะค่าน้ำมันรถ หากต้องเดินทางไกลๆ หลายร้อยกิโลเมตร ค่าใช้จายในแต่ละเที่ยวก็หลายพันบาท เว็บมาสเตอร์จึงต้องรองบประมาณ และวางแผนการเดินทางให้คุ้มกับค่าน้ำมัน โดยกำหนดจุดที่จะไปถ่ายภาพให้ได้เยอะๆ ก่อนการเดินทาง ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ให้การสนับสนุนค่าเดินทางครับ



3.15.174.76 | Copyright © 2008 - 2023 esanart.com All Rights Reserved.
Website designed by Artnana Sudio