สิม หอไตร ฮูปแต้ม



กู่คันธนาม กู่คันธนาม กู่คันธนาม กู่คันธนาม กู่คันธนาม กู่คันธนาม กู่คันธนาม กู่คันธนาม กู่คันธนาม กู่คันธนาม กู่คันธนาม กู่คันธนาม กู่คันธนาม
  • กู่คันธนาม
  • กู่คันธนาม
  • กู่คันธนาม
  • กู่คันธนาม
  • กู่คันธนาม
  • กู่คันธนาม
  • กู่คันธนาม
  • กู่คันธนาม
  • กู่คันธนาม
  • กู่คันธนาม
  • กู่คันธนาม
  • กู่คันธนาม
  • กู่คันธนาม
ข้อความจากศิลาจารึกกู่คันธนาม
   “โรคทางกายของประชาชนนี้เป็นโรคทางใจที่เจ็บปวดยิ่ง เพราะว่าความทุกข์ของราษฎร แม้มิใช่ความทุกข์ของพระองค์ แต่เป็นความทุกข์ของเจ้าเมือง พระองค์พร้อมด้วยแพทย์ทั้งหลาย ผู้แกล้วกล้าและคงแก่เรียนในอายุรเวทและอัสตรเวท ได้ฆ่าศัตรูคือโรคของประชาชนด้วยอาวุธ คือ เภสัช…..พระองค์ได้สร้างโรงพยาบาล และรูปพระโพธิสัตว์ไภษัชยสุคต พร้อมด้วยรูปพระชิโนรส ทั้งสองโดยรอบ เพื่อความสงบแห่งโรคของประชาชนตลอดไป…”

 Isan Upload


รวมภาพเก่าๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานที่



 Isan Upload
ภาพถ่ายเมื่อ 20 มีนาคม 2559
หลังการบูรณะและปรับภูมิทัศน์งบประมาณปี 2555



ถ่ายภาพเมื่อ : 5 ธันวาคม 2559


 ข่าวอัพเดท ข่าวสารอัพเดทสถานที่ :
งานประเพณีบุญสรงกู่บูชาเจ้าพ่อคันธนาม
งานประเพณีบุญสรงกู่บูชาเจ้าพ่อคันธนาม จัดขึ้นทุกปี (ช่วงวันสงกรานต์)

ข่าวทั้งหมด 1 ข่าว



    จากอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ตามทางหลวงหมายเลข 2086 (สุวรรณภูมิ – โพนทราย – ราษีไศล) มาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 29 กิโลเมตร ถึงอำเภอโพนทราย และเลยไปตามเส้นทางเดิมทางอำเภอราษีไศลอีกประมาณ 3.5 กิโลเมตร ถึง วัดกู่คันธนาม โบราณสถานกู่คันธนาม อยู่ภายในบริเวณวัด
 

+ เพิ่ม | - ลด ขนาดตัวอักษร    


กู่คันธนาม กู่บ้านด่าน จ.ร้อยเอ็ด     | ดาวน์โหลดเอกสาร กรมศิลปากร |
    จากการสำรวจและขุดแต่งพบว่าแผนผังของปราสาทกู่คันธนามมีลักษณะเป็นโบราณสถานประเภทอโรคยาศาลหรือโรงพยาบาลอย่างชัดเจน การก่อสร้างใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุหลัก ในการก่อสร้างจะใช้ทินทรายในส่วนที่รับน้ำหนัก หรือแกะสลัก สระน้ำประจำอโรคยาศาลทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือถูกรื้อออกไปจนหมดแล้วนำมาก่อเรียงใหม่ จนไม่สามารถศึกษาถึงรูปแบบเดิมได้ ส่วนกำแพงที่ล้อมรอบปราสาททั้ง 4 ด้าน ส่วนที่จมอยู่ในดินยังคงอยู่ในสภาพเดิม มีการทรุดเนื่องจากการยุบตัวของดินที่รองรับตัวกำแพง แต่แนวกำแพงด้านทิศใต้ยังคงสมบูรณ์ดี แนวกำแพงด้านทิศตะวันออก บริเวณมุมด้านตะวันออกเฉียงเหนือ ใต้แนวกำแพงทำเป็นรางน้ำไหลออกไปลงสระที่อยู่นอกกำแพงกึ่งกลางของแนวกำแพงมีโคปุระตั้งอยู่ โคปุระมีลักษณะเป็นรูปกากบาทมีประตูทางเข้าซึ่งอยู่ทางด้านตะวันออก ไปทะลุออกไปทางด้านตะวันตก ตรงกลางเป็นห้องโถง มีห้องกำแพงเป็นห้องเล็ก ๆ อยู่ทางด้านเหนือและใต้

    ในการขุดแต่งพบประติมากรรมหินทรายรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 4 กร ในบริเวณห้อง โถงกลางถัดจากโคปุระไปทางด้านทิศใต้ มีประตูเล็ก ๆ อยู่บนแนวกำแพงด้านทิศตะวันออก โคปุระทางด้านทิศตะวันตกและปราสาทประธานถูกเชื่อมต่อกันโดยลานศิลาแลงซึ่งมีแผนผังเป็นรูปกากบาท ลานหินนี้มีร่องลอยของหลุมเสาต่อเนื่องจากมุขหน้าปราสาทประธานมาจนถึงประตูด้านทิศตะวันตก ของโคปุระซึ่งแต่เดิม น่าจะทำเป็นหลังคาคลุมเนื่องจากสภาพพื้นที่โบราณสถานเป็นเนินทรายจึงทำให้ลานหินมีลักษณะเป็นลูกระนาด จากการทรุดตัวของพื้นที่เช่นเดียวกับอาคารอื่น ๆ หลังจากรื้อถอนหินปราสาทประธานที่ก่อเรียงใหม่ออกหมดแล้วพบว่าเป็นอาคารทรงสี่เหลี่ยมทางด้านทิศตะวันออกก่อเป็นมุขยื่นออกมาเชื่อมกับลานหิน มุขมีลักษณะเตี้ยกว่าตัวปราสาทโดยอยู่ในระดับเดียวกับลานหินภายในมุขทำเป็นบันใดเข้าไปใน ห้องปราสาทประธาน ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของปราสาทประธานก่อสร้างเป็นอาคารบรรณาลัย ใกล้กับลานหินทางด้านทิศใต้ มีแผ่นหินทรายสีเขียวมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมปักอยู่ ๓ แผ่น (เดิมอาจจะมี 4 แผ่น) พบจารึกจากการยกหินตั้งที่หน้าบรรณาลัยลักษณะแบบเดียวกับจารึกที่พบตามอโรคยาศาลหลาย ๆ แห่ง ภายในบรรณาลัยพบว่ามีการปูพื้นด้วยศิลาแลงแต่บางส่วนถูกรื้อออกจากการขุดหาของมีค่า

โบราณวัตถุสำคัญที่พบ
1. พระวัชรธร หินทราย ขนาดหน้าตักกว้าง 36 เซนติเมตร สูง 74 เซนติเมตร ประทับที่นั่งขัดสมาธิบนฐานกลีบบัว พระหัตถ์ขวาถือวัชร และพระหัตถ์ซ้ายถือกระดิ่ง ทรงมงกุฎทรงเทริด ทรงตุ้มหู สวมผ้านุ่งสั้น ประทับนั่งบนฐานสลักลายกลีบบัวตามแบบศิลปะเขมรแบบบายน พบบริเวณมุมด้านนอกโคปุระด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้

2. พระไภษัชยคุรุ หินทราย ขนาดกว้าง 16 เซนติเมตร ยาว 7.50 เซนติเมตร ประทับที่นั่งบนฐานสลักลายกลีบ พระหัตถ์ทั้งสองประคองหม้อน้ำเสมอพระอุระ พบในบริเวณเดียวกับพระวัชรธร

3. พระโพธิสัตว์ประทับยืน 4 กร หินทราย สภาพใต้ข้อพระหัตถ์ซ้ายบนหักแตกหักออกเป็นส่วนแต่สามารถประกอบได้เต็มองค์ พบบริเวณห้องกลางของโคปุระ มวยผมสลักเป็นพระอมิตาระ ประทับนั่งปางสมาธิ พระหัตถ์ขวาบนมือลูกประคำ พระหัตถ์ซ้ายบนถือคัมภีร์ พระหัตถ์ขวาล่างถือดอกบัว พระหัตถ์ซ้ายล่างถือหม้อน้ำนุ่งผ้าชักชายเป็นหางปลาสั้นตามแบบศิลปะเขมรแบบบายน วัดกู่คันธนามขอเก็บรักษาไว้ แต่ปัจจุบันถูกโจรกรรมสูญหายไปแล้ว

4. ศิลาจารึก หินทรายสีน้ำตาล ลักษณะเป็นหลักสี่เหลี่ยมด้านเท่า ย่อทรงกระโจม จารึกอักษร ขอมโบราณ ภาษาสันสกฤต ด้านที่ 1-3 มี 24 บรรทัด ด้านที่ 4 มี 26 บรรทัด เป็นจารึกสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานไว้ ณ สถานพยาบาล (อโรคยาศาล) เช่นเดียวกับที่โบราณสถานกู่โพนระคัง เดิมน่าจะปักอยู่บริเวณแผ่นหินทรายเขียวที่อยู่ทางด้านข้างระหว่างปราสาทประธานกับอาคารบรรณาลัย

5. พระหัตถ์ประคองหม้อน้ำ หินทรายขนาดกว้าง 16 เซนติเมตร ยาว 7.50 เซนติเมตร ลักษณะพระหัตถ์ทั้งสองประคองหม้อน้ำ พบบริเวณด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของปราสาทประธาน


    การประกาศขึ้นทะเบียน
    กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ระบุชื่อ กู่บ้านด่าน ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม 2474 ประกาศขอบเขตในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 100 ตอนที่ 36 วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2526 พื้นที่ 2 ไร่ 35 ตารางวา

    การดำเนินงาน
    สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 8 อุบลราชธานี (ปัจจุบัน คือ สำนักศิลปากรที่ 11 อุบลราชธานี ) ดำเนินการขุดแต่งระหว่างเดือนเมษายน - กรกฏาคม พ.ศ. 2545 งบประมาณ 795,000 บาท
    และ กรมศิลปากร ดำเนินการบูรณะและปรับภูมิทัศน์กู่คันธนาม ตามโครงการบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์โบราณสถานกู่คันธนาม ตำบลยางคำ อำเภอโพนทราย จังหวัดร้อยเอ็ด งบประมาณปี พ.ศ. 2555



สถานที่ตั้ง : วัดกู่คันธนาม หมู่ที่ 9 บ้านกู่คันธนาม ตำบลยางคำ อำเภอโพนทราย จังหวัดร้อยเอ็ด
ถ่ายภาพเมื่อ : ก่อนการบูรณะ 19 พฤษภาคม 2555, หลังการบูรณะ 26 กรกฏาคม 2558, 20 มีนาคม 2559, 5 ธันวาคม 2559
วันติดตั้งหน้าเว็บ : 22 กรกฎาคม 2558
ปรับปรุงล่าสุด : 8 ธันวาคม 2559
จำนวนผู้เข้าชม : 4636 ครั้ง
แหล่งที่มาข้อมูล : ข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต, ข้อมูลจากหนังสือความลับในปราสาทขอม, ทำเนียบอโรคยศาลในประเทศไทย
หมายเหตุ : เว็บมาสเตอร์เดินทางไปชม และถ่ายภาพเอง


ออกแบบโลโก้ ออกแบบกล่อง ออกแบบถุง ออกแบบสิ่งพิมพ์ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ วาดเส้น จิตรกรรม Drawing  Painting รับทำ SEO, ปั่นเว็บ, หน้า 1, อันดับ 1 ฮูปแต้ม, สิมอีสาน, ฮูบแต้ม, ศิลปะอีสาน, สิม, โบสถ์, หอไตร, สถาปัตยกรรมอีสาน
9809/1 Anankanak Rd., Tambol Kalasin, Amphoe Muang, Kalasin Province 46000 Thailand
www.artnana.com

3.239.129.52 =    Sunday 28th May 2023
 IP : 3.239.129.52   คนที่กำลังอ่าน   Bookmark and Share   
Russia รัสเซีย  เรียนรัสเซีย  ภาษารัสเซีย ตุ๊กตารัสเซีย ของฝากรัสเซีย