ฮุปแต้มอีสาน, สิมอีสาน (Isan Mural Painting and Isan Temple Architectures)
 สิม หอไตร ฮูปแต้ม

(วางเมาส์บนรูปภาพ เพื่อดูส่วนขยายภาพ)

+ เพิ่ม | - ลด ขนาดตัวอักษร      


ธาตุ (เจดีย์) บ้านเมืองจันทร์ อ.เมืองจัันทร์ จ.ศรีสะเกษ
      ธาตุ (เจดีย์) บ้านเมืองจันทร์ เป็นเจดียืทรงปราสาทเพิ่มมมไม้ 12 ส่วนฐานเป็นชุดฐานบัว 1 ชั้น รองรับตัวเรือนธาตุทรงสี่เหลี่ยมจตุรัส ก่ออิฐฉาบปูน มีซุ้มจรนำทั้ง 4 ด้าน ก่อปิดทึบ หัวเสาประตูซุ้มจรนำ ปั้นปูนเป็นลายบัวคว่ำ - บัวหงาย ส่วนยอดทำเป็นเรือนธาตุจำลอง ซ้อนลดหลั่นกันไป 3 ชั้น ปลายสุดท้ายทำเป็นปลียอดสอบแหลมคล้ายเจดีย์จำลอง กำหนดอายุการสร้างอยู่ในสมัยอยุธยา อิทธิพลศิลปะล้านช้าง ประมาณพุทธศตวรรษที่ 23

      ชาวบ้านเมืองจันทร์ปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นกลุ่มไทยกูย ซึ่งเป็นกลุ่มฅนพื้นถิ่นดั้งเดิมในแถบอีสานล่าง โดยอพยพแยกบ้านมาจากทางเหนือแถวจังหวัดสุรินทร์และร้อยเอ็ด เพื่อมาตั้งถิ่นฐานบ้านใหม่พร้อมๆกับ ชาวบ้านตาโกน ซึ่งตั้งอยู่ห่างออกไปทางเหนือประมาณ 6 กิโลเมตร ทาให้ฅนทั้งสองหมู่บ้านมีความสัมพันธ์ ใกล้ชิดกันจนมีคาเรียกติดปากชาวบ้านทั่วไปว่า “เมืองจันทร์ตาโกน”
      ชื่อ “เมืองจันทร์” สันนิษฐานว่าเป็นการเอาชื่อตาแหน่งของผู้นาชุมชนในอดีตซึ่งเป็นตาแหน่งหนึ่งใน เสนาบดีชั้นพญาที่สาคัญในระบบการปกครองแบบอาญาสี่ สมัยอาณาจักรล้านช้างมีอิทธิพลครอบคลุมพื้นที่ ภาคอีสานของไทยในอดีตมาตั้งเป็นชื่อบ้าน และมักเป็นบ้านเก่าที่ตั้งมานานก่อนที่จะมีการปฏิรูปการปกครอง ในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
      บ้านเมืองจันทร์ในอดีต มีการกล่าวถึงไว้ในบันทึกการเดินทางของชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาบ้านเมืองจันทร์ เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2426 โดยได้บรรยายไว้บางตอนว่า บ้านเมืองจันทร์เป็นหมู่บ้านใหญ่ที่เรียกว่า “เมือง” ตั้งอยู่บนเนินดินมีกระท่อมอยู่ 80 หลัง มียุ่งข้าวติดอยู่ด้วย ตั้งกันอยู่อย่างแออัดภายในรัศมี 200 เมตร มีถนน เล็กๆตัดผ่าน ในหมู่บ้านมีวัดอยู่วัดเดียว เนินดินภายในหมู่บ้านสูงกว่าที่นาโดยรอบหลายเมตรและมีน้า ล้อมรอบบ้านเมืองจันทร์ ประชาชนเป็นชาวกูย อยู่ห่างจากสุรินทร์ 2 วัน ห่างจากสังขละ 2 วัน และห่างจาก ศรีสะเกษ 1 วัน ชาวกูยเหล่านี้ปลูกข้าวและยาสูบ พระภิกษุเป็นชาวกูย เรียนอักษรลาว เมืองจันทร์มีวัดและ ปราสาทแบบขอม (น่าจะหมายถึงธาตุเมืองจันทร์/วสันต์ เทพสุริยานนท์ นักโบราณคดีชานาญการ)

      ธาตุเมืองจันทร์ มีตานานเรื่องเล่าท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องว่า ผู้ชายชาวบ้านตาโกนและผู้หญิงชาวบ้านเมือง จันทร์แข่งกันสร้างธาตุ(เจดีย์) โดยมีข้อตกลงร่วมกันว่า ฝ่ายใดสร้างธาตุครบ 3 องค์เสร็จก่อนเป็นผู้ชนะ โดย ผู้ชายชาวบ้านตาโกนสร้างธาตุเมืองจันทร์ ส่วนผู้หญิงชาวบ้านเมืองจันทร์สร้างธาตุปราสาท (ปราสาทห้วยทับ ทัน ต.ปราสาท อ.ห้วยทับทัน จ.ศรีสะเกษ ตั้งอยู่ห่างธาตุเมืองจันทร์ออกไปทางทิศใต้ประมาณ 5 กิโลเมตร) ในระหว่างการก่อสร้างฝ่ายหญิงที่สร้างธาตุปราสาทได้ใช้เสน่ห์ล่อลวงฝ่ายชายที่สร้างธาตุเมืองจันทร์ จนสามารถเป็นฝ่ายชนะได้ โดยเมื่อฝ่ายหญิงสร้างธาตุปราสาทแล้วเสร็จ 3 องค์ ฝ่ายชายเพิ่งสร้างธาตุเสร็จ เพียงองค์เดียว ดังนั้นธาตุเมืองจันทร์จึงมีองค์เดียวและธาตุปราสาทจึงมี 3 องค์ดังปรากฏในปัจจุบัน
      นอกจากนี้ชาวบ้านเมืองจันทร์และตาโกนยังมีความเชื่อร่วมกันว่า หากชาวบ้านตาโกนยังไม่มาไหว้ธาตุ เมืองจันทร์ ชาวบ้านเมืองจันทร์ก็จะยังไม่สามารถไปไหว้ธาตุปราสาทได้ ซึ่งชาวบ้านมีความเชื่อในการไหว้ธาตุ ร่วมกันว่า การไหว้ธาตุทั้งสองแห่งจะสร้างความอยู่เย็นเป็นสุขให้กับชาวบ้านทุกฅน หากไม่ปฏิบัติจะเกิดความ เดือดร้อนต่างๆนานา ประเพณีการไหว้ธาตุเมืองจันทร์ในช่วงเดือนเมษายนของทุกปีจึงยังคงสืบทอดมาตราบ จนปัจจุบัน
      ชุมชนโบราณที่เปลี่ยนปราสาทในวัฒนธรรมร่วมแบบเขมรที่พบใน ภาคอีสานของไทยเป็นธาตุ(เจดีย์)เนื่องในพุทธศาสนา มักจะเป็นกลุ่มฅนที่ไม่ใช่กลุ่มชาติพันธุ์ลาว แต่มักจะเป็น กลุ่มชาติพันธุ์กูย เขมร หรือเยอ ส่วนกลุ่มชาติพันธุ์ลาวมักจะสร้างธาตุ(เจดีย์)เป็นทรงบัวเหลี่ยมเป็นสาคัญ

      สิมวัดบ้านเมืองจันทร์
      สิมวัดบ้านเมืองจันทร์ เป็นสิมขนาดเล็ก หันหน้าไปทางทิศตะวันตก แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส กว้าง 4.10 เมตร ยาว 5.10 เมตร มีบันไดขึ้นทางด้านทิศตะวันตก ตัวสิมก่ออิฐสอดินฉาบปูน ฐานสูง 1.20 เมตร ผนังสูง 2.00 เมตร ผนังด้านใน มีเสาไม้กลมที่ด้านทิศตะวันตก 3 ต้น และด้านทิศตะวันออก 3 ต้น ผนังด้านทิศเหนือมีช่องหน้าต่างขนาดเล็กไม่มีบานหน้าต่าง จำนวน 4 ช่อง ด้านทิศใต้มีช่องหน้าต่างขนาดใหญ่ 1 ช่อง และด้านทิศตะวันตกมี 2 ช่อง
      พื้นภายในปูอิฐฉาบผิวปูนเรียบ มีใบเสมาขนาดเล็ก ปักเป็นกลุ่มโดยรอบ 8 ทิศ ผนังด้านนอกทิศตะวันตกประดับคันทวยไม้แกะสลักจำนวน 3 ตัว และด้านทิศตะวันออกจำนวน 3 ตัว (ปัจจุบันเหลือ 1 ตัว) ส่วนเครื่องหลังคาพังลงมาทั้งหมด กำหนดอายุการสร้างอยู่ในสมัยรัตนโกสินทร์ อิทธิพลศิลปะพื้นบ้านอีสาน ประมาณพุทธศตวรรษที่ 25


      กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 115 ตอนพิเศษ 83ง. วันที่ 21 กันยายน 2541 กำหนดเขตพื้นที่ประมาณ 86 ไร่ 2 งาน 38 ตารางวา และกรมศิลปากรดำเนินการบูรณะเมื่อปี 2553


      โบราณสถานธาตุเมืองจันทร์และสิม ตั้งอยู่ภายในวัดเมืองจันทร์ ตำบลเมืองจันทร์ อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ โบราณสถานประกอบด้วย
      1. ธาตุเมืองจันทร์ รูปแบบเป็นเจดีย์เพิ่มมุมไม้สิบสอง เรือนธาตุมีซุ้มจระนำทั้ง 4 ด้าน ส่วนบนเป็นการจำลองเรือนธาตุซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไป 3 ชั้น ปลียอดสอบแหลม กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 23 ศิลปะล้านช้างผสมขอมแบบท้องถิ่น เปรียบเทียบได้กับปราสาทบ้านปราสาท ตำบลบ้านปราสาท อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ
      2. สิมบ้านเมืองจันทร์ เป็นอุโบสถขนาดเล็กมีเสมาอยู่ภายในตัวโบสถ์ เป็นศิลปอีสานพื้นถิ่นกำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 25



      การเดินทาง
      อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ อยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัด เดินทางถนนหมายเลข 226 – สุรินทร์ ถึงสี่แยกอำเภออุทุมพรพิสัยเลี้ยวขวาถนนลาดยาง ไปอำเภอเมืองจันทร์ ประมาณ 40 กิโลเมตร ประชาชนมีทั้งชาวลาว และส่วย ภาษาที่ใช้ติดต่อกัน มีทั่งลาวและส่วย เชื่อว่าประชาชนบางส่วนอพยพมาจากประเทศลาว
       ธาตุ (เจดีย์) บ้านเมืองจันทร์ ถ่ายภาพเมื่อ : 13 พฤศจิกายน 2559
เจดีย์บ้านเมืองจันทร์
เจดีย์บ้านเมืองจันทร์
เจดีย์บ้านเมืองจันทร์
เจดีย์บ้านเมืองจันทร์
เจดีย์บ้านเมืองจันทร์


สิม (อุโบสถ) บ้านเมืองจันทร์ ถ่ายภาพเมื่อ : 13 พฤศจิกายน 2559



สถานที่ตั้ง : วัดบ้านเมืองจันทร์ ตำบลเมืองจันทร์ อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ
ถ่ายภาพเมื่อ : 13 พฤศจิกายน 2559
วันติดตั้งหน้าเว็บ : 13 พฤศจิกายน 2559
จำนวนผู้เข้าชม : 4777 ครั้ง
หมายเหตุ : เว็บมาสเตอร์เดินทางไปชมและถ่ายภาพเอง, ข้อมูลจากป้ายกรมศิลปากร, finearts.go.th


13-11-2016 Views : 4778
      ร่วมกันสนับสนุนเว็บไซต์นี้ ทำได้ง่ายๆ ด้วยการคลิกลิงค์ด้านล่าง... ขอบคุณครับ





อาร์ตนานา สตูดิโอ และ เดอะ ไดโนเสาร์ อาร์ต แกลเลอรี่ ™ (หอศิลป์ เดอะแด็ก)
บ้านเลขที่ 9, 48 หมู่ 12 บ้านหนองซำ ต.น้ำอ้อม อ.ค้อวัง จ.ยโสธร 35160 กรุณาโทรติดต่อก่อนการเดินทางหรือนัดหมายล่วงหน้า ที่เบอร์ โทร. 081- 303 4493, 064-092 9449
ออกแบบโลโก้ | ออกแบบบรรจุภัณฑ์ | ออกแบบกล่อง | ออกแบบบถุง | ออกแบบฉลาก | ออกแบบสื่อส่งเสริมการขาย ออกแบบสื่อดิจิทัล Digital Media Design

 ร่วมสนับสนุนเว็บไซต์ อีสานอาร์ตดอทคอม ช่องพุทธศิลป์อีสาน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางถ่ายภาพนำมาจัดทำเว็บไซต์ ได้ที่ :

ธนาคารกสิกรไทย สาขาบางกะปิ ชื่อบัญชี นายพัฒยา จันดากูล เลขที่บัญชี 003-2-02799-9 ประเภท ออมทรัพย์

ต้องยอมรับความจริงว่า การเดินทางมีค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะค่าน้ำมันรถ หากต้องเดินทางไกลๆ หลายร้อยกิโลเมตร ค่าใช้จายในแต่ละเที่ยวก็หลายพันบาท เว็บมาสเตอร์จึงต้องรองบประมาณ และวางแผนการเดินทางให้คุ้มกับค่าน้ำมัน โดยกำหนดจุดที่จะไปถ่ายภาพให้ได้เยอะๆ ก่อนการเดินทาง ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ให้การสนับสนุนค่าเดินทางครับ



98.81.24.230 | Copyright © 2008 - 2023 esanart.com All Rights Reserved.
Website designed by Artnana Sudio