สิม หอไตร ฮูปแต้ม



ปรางค์กู่บ้านหนองบัว ปรางค์กู่บ้านหนองบัว ปรางค์กู่บ้านหนองบัว ปรางค์กู่บ้านหนองบัว ปรางค์กู่บ้านหนองบัว ปรางค์กู่บ้านหนองบัว
  • ปรางค์กู่บ้านหนองบัว
  • ปรางค์กู่บ้านหนองบัว
  • ปรางค์กู่บ้านหนองบัว
  • ปรางค์กู่บ้านหนองบัว
  • ปรางค์กู่บ้านหนองบัว
  • ปรางค์กู่บ้านหนองบัว


    ปรางค์กู่บ้านหนองบัว ตั้งอยู่ในตัวเมืองชัยภูมิ ห่างจากอนุสาวรีย์เจ้าพ่อพระยาแล ออกไปเพียงกิโลเมตรเศษเท่านั้น อยู่ติดกับวัดปรางค์กู่ พบศิลาจารึกประจำอโรคยาศาลของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 องค์ปรางค์ประธานอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ กรมศิลปากรได้ทำการบูรณะเมื่อปี พ.ศ. 2540-2542 พร้อมกับได้ประกอบชิ้นส่วนภาพสลักที่หน้าบันปรางค์ประธานขึ้น เป็นภาพพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรและบริวาร

    ปรางค์กู่บ้านหนองบัว เป็นศาสนสถานศักดิ์สิทธิอีกแห่งหนึ่งของเมืองชัยภูมิ ปัจจุบันปรางค์ได้กลายเป็นพุทธสถานแบบเถรวาท ประดิษฐานพระพุทธรูปสมัยทวารวดี ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวเมืองชัยภูมิเป็นอย่างมาก โดยจัดให้มีประเพณีการสรงน้ำพระพุทธรูปที่ปรางค์กู่ ในเทศกาลสงกรานต์ เป็นประจำทุกปี

 Isan Upload


รวมภาพเก่าๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานที่



 ข่าวอัพเดท ข่าวสารอัพเดทสถานที่ :
ข่าวทั้งหมด 0 ข่าว
 

+ เพิ่ม | - ลด ขนาดตัวอักษร

ปรางค์กู่บ้านหนองบัวจังหวัดชัยภูมิ
    ปรางค์กู่บ้านหนองบัว เป็นศาสนสถานในพุทธศาสนาพุทธลัทธิมหายาน ก่อด้วยศิลาแลงและหินทราย มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลียมผืนผ้า ตั้งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ 18 ประกอบด้วยสิ่งก่อสร้างดังนี้
1. ซุ้มโคปุระ คือ ซุ้มประตูทางเข้าด้านทิศตะวันออก เป็นที่อยู่ของพาหนะของเทพเจ้าที่รักษาพระองค์ มีเทพประจำ 8 ทิศ
2. ปราสาทประธาน มีพระพุทธรูปปางสมาธิอยู่ด้านใน มีเศียรที่ทำการบูรณะขึ้นมาใหม่
3. บรรณาลัยหรือวิหาร (บรรณาลัย เป็นที่เก็บยาอยู่ขวามือของปราสาท มีแท่นรูปเคารพ (แท่นโยนี) อยู่ข้างใน สร้างตามไสวนิกายซึ่งนับถือพระเจ้าสามองค์คือ พระศิวะ พระนารายณ์ พระพรหม ซึ่งพระพรหมเป็นผู้ทำลายล้างและสร้างโลกใหม่เวลาที่พรหมทำพิธี จะเทน้ำรดจากปลายศิวลึงค์ ไหลลงสู่ฐานโยนี ชาวบ้านสามารถรองไปดื่มกินได้ เชื่อกันว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์
4. กำแพงล้อมรอบปราสาทและประตูซุ้มทางเข้า
5. สระน้ำ

    โบราณสถานแห่งนี้เป็น "อโรคยาศาล” (ศาสนสถานประจำสถานพยาบาล) 1 ในจำนวน 102 แห่งที่สร้างขึ้นทั่วราชอาณาจักร เพื่อรักษาผู้ป่วยตามพระบรมราชโองการของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ.1724-1761) แห่งราชอาณาจักร อธิบายอโรคยาศาล สร้างตามคติความเชื่อของลัทธิมหายาน สร้างตามพระไภษัชไชยาคุรุไวฑูรประภา เป็นครูของบรรดาแพทย์ มีรัศมีกายประดุจแก้วไพรฑูรย์ ภาพสลักที่สำคัญของโบราณสถานได้แก่
1. ภาพพระโพธิสัตว์อวโรกิเตศวร 4 กร ที่หน้า บันมุขด้านทิศตะวันออกของปราสาทประธาน
2. ทับหลังมุขด้านทิศตะวันออกของปราสาท ประธานจะมีหน้ากาล ด้านบนสลักภาพพระพุทธรูปปรางค์สมาธิ
3. ทัพหลังมุขด้านทิศเหนือของปราสาทประธาน สันนิษฐานว่าเป็นภาพพระรัตนไตรมหายาน อันประกอบไปด้วย
ภาพพระพุทธรูปนาคปรก อยู่ตรงกลาง ด้านซ้ายเป็นภาพพระโพธิสัตว์อวโรกิเตศวร 4 กร ด้านขวาแม้ว่ายังสลักไม่
เสร็จแต่สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นภาพนางปรัชญาปารมีตา เทพีแห่งปัญญา
4. ภาพพุทธประวัติตอนเจ้าชายสิทธัตถะ เสด็จออกมามหาภิเนษกรมณ์(เสด็จออกบวช) ที่หน้าบันด้านทิศตะวันตกของบรรณาลัย


สถานที่ตั้ง : บ้านหนองบัว ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ
ถ่ายภาพเมื่อ :
วันติดตั้งหน้าเว็บ : 20 กรกฎาคม 2558
จำนวนผู้เข้าชม : 2835 ครั้ง
หมายเหตุ : ข้อมูลภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต, ข้อมูลจากหนังสือความลับในปราสาทขอม เขียนโดย ทรงสมัย สุทธิธรรม






อาร์ตนานา สตูดิโอ และ เดอะ ไดโนเสาร์ อาร์ต แกลเลอรี่ ™ (หอศิลป์ เดอะแด็ก)
บ้านเลขที่ 9, 48 หมู่ 12 บ้านหนองซำ ต.น้ำอ้อม อ.ค้อวัง จ.ยโสธร 35160 กรุณาโทรติดต่อก่อนการเดินทางหรือนัดหมายล่วงหน้า ที่เบอร์ โทร. 081- 303 4493, 064-092 9449
ออกแบบโลโก้ | ออกแบบบรรจุภัณฑ์ | ออกแบบกล่อง | ออกแบบบถุง | ออกแบบฉลาก | ออกแบบสื่อส่งเสริมการขาย ออกแบบสื่อดิจิทัล Digital Media Design

 ร่วมสนับสนุนเว็บไซต์ อีสานอาร์ตดอทคอม ช่องพุทธศิลป์อีสาน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางถ่ายภาพนำมาจัดทำเว็บไซต์ ได้ที่ :

ธนาคารกสิกรไทย สาขาบางกะปิ ชื่อบัญชี นายพัฒยา จันดากูล เลขที่บัญชี 003-2-02799-9 ประเภท ออมทรัพย์

ต้องยอมรับความจริงว่า การเดินทางมีค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะค่าน้ำมันรถ หากต้องเดินทางไกลๆ หลายร้อยกิโลเมตร ค่าใช้จายในแต่ละเที่ยวก็หลายพันบาท เว็บมาสเตอร์จึงต้องรองบประมาณ และวางแผนการเดินทางให้คุ้มกับค่าน้ำมัน โดยกำหนดจุดที่จะไปถ่ายภาพให้ได้เยอะๆ ก่อนการเดินทาง ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ให้การสนับสนุนค่าเดินทางครับ



98.81.24.230 | Copyright © 2008 - 2023 esanart.com All Rights Reserved.
Website designed by Artnana Sudio