สิม หอไตร ฮูปแต้ม



ปรางค์กู่แก้ว ปรางค์กู่แก้ว ปรางค์กู่แก้ว ปรางค์กู่แก้ว ปรางค์กู่แก้ว ปรางค์กู่แก้ว ปรางค์กู่แก้ว ปรางค์กู่แก้ว ปรางค์กู่แก้ว ปรางค์กู่แก้ว ปรางค์กู่แก้ว ปรางค์กู่แก้ว ปรางค์กู่แก้ว ปรางค์กู่แก้ว ปรางค์กู่แก้ว ปรางค์กู่แก้ว ปรางค์กู่แก้ว ปรางค์กู่แก้ว ปรางค์กู่แก้ว ปรางค์กู่แก้ว ปรางค์กู่แก้ว ปรางค์กู่แก้ว
  • ปรางค์กู่แก้ว
  • ปรางค์กู่แก้ว
  • ปรางค์กู่แก้ว
  • ปรางค์กู่แก้ว
  • ปรางค์กู่แก้ว
  • ปรางค์กู่แก้ว
  • ปรางค์กู่แก้ว
  • ปรางค์กู่แก้ว
  • ปรางค์กู่แก้ว
  • ปรางค์กู่แก้ว
  • ปรางค์กู่แก้ว
  • ปรางค์กู่แก้ว
  • ปรางค์กู่แก้ว
  • ปรางค์กู่แก้ว
  • ปรางค์กู่แก้ว
  • ปรางค์กู่แก้ว
  • ปรางค์กู่แก้ว
  • ปรางค์กู่แก้ว
  • ปรางค์กู่แก้ว
  • ปรางค์กู่แก้ว
  • ปรางค์กู่แก้ว
  • ปรางค์กู่แก้ว
    ปรางค์กู่แก้ว เป็นศาสนสถานประจำโรงพยาบาลที่เรียกว่า "อโรคยาศาล" สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 18 สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรขอม ประกอบด้วยปราสาทประํานทรงสี่เหลี่ยมเพิ่มมุม ก่อมุขยื่นด้านหน้าหรือทิศตะวันออก และวิหารตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ที่มุขด้านหน้าก่อด้วยศิลาแลงและหินทราย ล้อมรอบด้วยกำแพงศิลาแลง มีโคปุระหรืออาคารประตูซุ้มขนาดใหญ่ทางทิศตะวันออก นอกกำแพงด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากรุด้วยศิลาแลง ตามแผนผังด้านล่าง


อาจารย์ชะเอม แก้วคล้าย เป็นผู้อ่านและผู้แปลศิลาจารึกกู่แก้ว เกิดที่บ้านหารเทา อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านจารึกอักษรโบราณ ภาษาไทย ภาษาบาลีสันสกฤต และพุทธศาสนา มีผลงานการอ่านและแปลจารึกที่พบในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก รวมทั้งการแปลคัมภีร์พุทธศาสนาจากภาษาสันสกฤต ปัจจุบันเป็นข้าราชการบำนาญ แต่ยังมีผลงานด้านภาษาและจารึกอย่างต่อเนื่อง



 Isan Upload


รวมภาพเก่าๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานที่



 ข่าวอัพเดท ข่าวสารอัพเดทสถานที่ :
ข่าวทั้งหมด 0 ข่าว
 

+ เพิ่ม | - ลด ขนาดตัวอักษร      

ปรางค์กู่แก้วจังหวัดขอนแก่น
    ปรางค์กู่แก้ว อยู่บนเนินดินกว้างใหญ่ในเขตวัดกู่แก้วสามัคคี โบราณสถานปรางค์กู่แก้ว ได้รับการบูรณะตกแต่งมาแล้ว เมื่อปีพุทธศักราช 2529 - 2530 พบรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรวัชรธร พระวัชรปาณีทรงครุฑ และพระยมทรงกระบือ พร้อมศิลาจารึกประจำอโรคยาศาลของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และพระพุทธรูปศิลปะล้านช้าง บุเงิน 24 องค์ (ซึ่งนำมาปรดิษฐานไว้ในยุคอาณาจักรล้านช้าง พุทธศตวรรษที่ 22-23) และในปีพุทธศักราช 2541-2542 ได้มีการขุดแต่งอีกครั้ง เนื่องจากมีคนเข้ามาลักลอบขุดหาสิ่งของมีค่า จนพังทลายลงมา ปัจจุบันยังพอมองเห็นฐานปรางค์ประธาน ซุ้มประตูโคปุระ และกำแพงแก้วศิลาแลง โบราณสถานวัตถุที่สำคัญ ได้แก่ ศิลาจารึก พระโพธิสัตว์วัชรธร พระโพธิสัตว์วัชรปาณีทรงครุฑ พระยมทรงกระบือ ประติมากรรหินทรายเหล่านี้ เป็นรูปเคารพในพุทธศาสนามหายาน รูปแบบศิบปะขอมแบบบายน (1720-1780)

    องค์ประกอบสถาปัตยกรรม
    เป็นกลุ่มโบราณสถาน ประกอบด้วย ปราสาทประธาน บรรณาลัย ล้อมรอบด้วยแนวกำแพงแก้วมีโคปุระด้านหน้าด้านเดียว นอกกำแพงที่มุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีสระน้ำกรุด้วยศิลาแลง 1 สระ มีรายละเอียด ดังนี้
    1. ปราสาทประธาน ก่อด้วยศิลาแลงมีหินทรายเป็นส่วนกรอบประตู หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีขนาดกว้าง 7.20 เมตร ยาว 7.20 เมตร สูง 5.60 เมตร รูปแบบมีฐานเขียง 2 ชั้น มีการย่อเก็จ ด้านหน้ามีบันได 3 ชั้น และลานเล็กๆ ด้านหน้าปราสาทประธาน ตัวปราสาทมีผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ด้านหน้ามีกรอบประตูหินทราย และเสาประดับกรอบประตูแปดเหลี่ยม (ชำรุด) ส่วนอาคารด้านบนหักพังไม่เห็นรูปทรง
    2. บรรณาลัย ก่อด้วยศิลาแลง มีผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดยาว 7.50 เมตร หันหน้าไปทางทิศตะวันตก ด้านหน้าก่อมุขยื่นออกมา ภายในห้องคูหาปูพื้นด้วยศิลาแลงโดยเว้นตรงกลางไว้เป็นช่องสี่เหลี่ยม คงเพื่อสำหรับประดิษฐานรูปเคารพ
    3. โคปุระ (ประตูซุ้ม) ก่อด้วยศิลาแลง อยู่ด้านทิศตะวันออกของปราสาทประธานหรือด้านหน้ามีผังเป็นรูปกากบาท มีกรอบประตูหินทราย ส่วนยอดหักพัง
    4. กำแพงแก้ว ก่อด้วยศิลาแลงต่อเชื่อมจากโคปุระ มีผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขนาด 26x38 เมตร สูง 4 เมตร ส่วนบนก่อยื่นเป็นชั้นบัวตลอดแนวกำแพง เพื่อรองรับทับหลังกำแพงชั้นบนสุด
    5. สระน้ำ ก่อด้วยศิลาแลง ผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขนาดกว้าง 15 เมตร ยาว 18 เมตร ลึก 4 เมตร ตั้งอยู่นอกกำแพงแก้ว มุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือ

    โบราณวัตถุ มีดังนี้

1. ศิลาจารึก หินทรายรูปทรงสี่เหลี่ยม ยอดกระโจมขนาดสูง 38 เซนติเมตร กว้างแต่ละด้านไม่เท่ากัน มีขนาดระหว่าง 22.50-24.50 เซนติเมตร จารึกด้วยอักษรขอมสันสกฤตทั้งสี่ด้าน นายชะเอม แก้วคล้าย เป็นผู้อ่านและผู้แปล เนื้อความเกี่ยวกับการสร้างอโรคยศาลพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พบจากการขุดแต่งเมื่อปี พ.ศ. 2529

2. พระวัชรธร หินทราย ขนาดสูง 55 เซนติเมตร หน้าตักกว้าง 30 เซนติเมตร ลักษณะประทับนั่งขัดสมาธิราบ บนฐานกลีบบัว สวมกระบังหน้า กุณฑล พระหัตถ์ขวาซ้อนอยู่บนพระหัตถ์ซ้าย พระหัตถ์ขวาถือวัชระ พระหัตถ์ซ้ายถือกระดิ่ง พบส่วนองค์จากการขุดแต่งปี พ.ศ. 2529 และพบเศียรในปี พ.ศ. 2530 สามารถประกอบกันได้


    3. พระโพธิสัตว์วัชรปาณีทรงครุฑ หินทราย ขนาดสูง 44 เซนติเมตร ฐานกว้าง 12 เซนติเมตร ยาว 21 เซนติเมตร ลักษณะรูปบุรุษนั่งชันเข่า อยู่บนคอครุฑยืนกางปีกบนแท่นสี่เหลี่ยมผืนผ้า รูปบุรุษเกษายาว พระเนตรกลมโปน สวมกระบังหน้า กุณฑล กรองศอ และพาหุรัด

4. พระยมทรงกระบือ หินทราย ชำรุด รูปบุคคลด้านบนหักหายเหลือขนาดความสูง 36 เซนติเมตร ฐานกว้าง 14.50 เมตร ยาว 15 เซนติเมตร ลักษณะรูปบุคคล (ชำรุด) นั่งชันเข่าบนหลังกระบือ กระบือยืนบนแท่นสี่เหลี่ยมผืนผ้า

    นอกจากนี้ยังได้พบส่วนประกอบอาคาร ได้แก่ บัวยอดปราสาทหินทราย (โกลน) กรอบประตูหินทรายและแท่นฐานประติมากรรม ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ในศาลาบริเวณด้านข้างกู่แก้ว

    อายุสมัย ราวพุทธศตวรรษที่ 18 สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรเขมร ศิลปะแบบบายน

    ประเภทโบราณสถาน ศาสนสถานประจำอโรคยศาล (สถานพยาบาล) สร้างเนื่องในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน

    ลักษณะการใช้งานในปัจจุบัน โบราณสถาน เป็นที่เคารพบูชาของท้องถิ่น และประกอบพิธี “สรงกู่” ในวันขึ้น 14 ค่ำ และ 15 ค่ำ ในช่วงเดือนเมษายนเป็นประจำทุกปี

    การประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน
    กรมศิลปากร ประกาศขึ้นทะเบียนกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน ในพระราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 99 ตอนที่ 172 วันที่ 18 พฤศจิกายน 2525 พื้นที่ 2 ไร่ 2 งาน 14 ตารางวา

    การดำเนินงาน
    พ.ศ. 2529 - 2530 หน่วยศิลปากรที่ 7 ขอนแก่น (ปัจจุบัน คือ สำนักสิลปากรที่ 9 ขอนแก่น) ดำเนินการขุดแต่งและบูรณะโคปุระและแนวกำแพงแก้ว ต่อมา พ.ศ. 2541 ดำเนินการขุดแต่งพื้นที่อีกครั้งหนึ่ง และในปี พ.ศ. 2542 ดำเนินการบูรณะบรรณาลัย

สถานที่ตั้ง : วัดกู่แก้ว บ้านหัวสระ ตำบลดอนช้าง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
ถ่ายภาพเมื่อ : 27 มีนาคม 2559
วันติดตั้งหน้าเว็บ : 22 กรกฎาคม 2558
ปรับปรุงล่าสุด : 22 ธันวาคม 2559
จำนวนผู้เข้าชม : 4738 ครั้ง
แหล่งที่มาของข้อมูล : หนังสือความลับในปราสาทขอม, ทำเนียบอโรคยศาลในประเทศไทย, finearts.go.th, irtualmuseum.finearts.go.th/khonkaen, oknation.nationtv.tv/blog/voranai, วิกิพีเดีย
หมายเหตุ : เว็บมาสเตอร์เดินทางไปชมและถ่ายภาพเอง




อาร์ตนานา สตูดิโอ และ เดอะ ไดโนเสาร์ อาร์ต แกลเลอรี่ ™ (หอศิลป์ เดอะแด็ก)
บ้านเลขที่ 9, 48 หมู่ 12 บ้านหนองซำ ต.น้ำอ้อม อ.ค้อวัง จ.ยโสธร 35160 กรุณาโทรติดต่อก่อนการเดินทางหรือนัดหมายล่วงหน้า ที่เบอร์ โทร. 081- 303 4493, 064-092 9449
ออกแบบโลโก้ | ออกแบบบรรจุภัณฑ์ | ออกแบบกล่อง | ออกแบบบถุง | ออกแบบฉลาก | ออกแบบสื่อส่งเสริมการขาย ออกแบบสื่อดิจิทัล Digital Media Design

 ร่วมสนับสนุนเว็บไซต์ อีสานอาร์ตดอทคอม ช่องพุทธศิลป์อีสาน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางถ่ายภาพนำมาจัดทำเว็บไซต์ ได้ที่ :

ธนาคารกสิกรไทย สาขาบางกะปิ ชื่อบัญชี นายพัฒยา จันดากูล เลขที่บัญชี 003-2-02799-9 ประเภท ออมทรัพย์

ต้องยอมรับความจริงว่า การเดินทางมีค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะค่าน้ำมันรถ หากต้องเดินทางไกลๆ หลายร้อยกิโลเมตร ค่าใช้จายในแต่ละเที่ยวก็หลายพันบาท เว็บมาสเตอร์จึงต้องรองบประมาณ และวางแผนการเดินทางให้คุ้มกับค่าน้ำมัน โดยกำหนดจุดที่จะไปถ่ายภาพให้ได้เยอะๆ ก่อนการเดินทาง ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ให้การสนับสนุนค่าเดินทางครับ



18.97.14.88 | Copyright © 2008 - 2023 esanart.com All Rights Reserved.
Website designed by Artnana Sudio