+ เพิ่ม |
- ลด ขนาดตัวอักษร
ปราสาทตาเมือนโต๊ด จังหวัดสุรินทร์
ปราสาทตาเมือนโต๊ด เป็นปราสาทหลังหนึ่งในอุทยานประวัติศาสตร์กลุ่มปราสาทตาเมือน ซึ่งประกอบด้วยปราสาทหินสามหลัง เรียงลำดับจากขนาดใหญ่ไปขนาดเล็ก คือ ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาเมือนโต๊ด และปราสาทตาเมือน
ปราสาทตาเมือนโต๊ดเป็นอโรคยศาล สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 18 สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 อโรคยศาลแห่งนี้ยังคงสภาพเกือบจะสมบูรณ์ ประกอบด้วยปรางค์ประธานรูปสี่ เหลี่ยมจัตุรัสมีมุขยืนทางด้านหน้าเยื้องไปทางขวาขององค์ปรางค์ ล้อมรอบด้วย กำแพงก่อด้วยศิลาแลงเช่นกัน มีซุ้มประตู (โคปุระ) อยู่ทางด้านหน้าคือ ด้านทิศตะวันออกเพียงด้านเดียว ทางนอกกำแพง ด้านหน้าของปราสาทมีสระน้ำเช่นเดียวกับอโรคยศาลแห่งอื่นๆ ตรงห้องกลางของโคปุระได้พบศิลาจารึก 1 หลัก จารึกด้วยอักษรขอมภาษาสันสกฤต เป็นจารึกซึ่งพระ เจ้าชัยวรมันที่ 7 โปรดให้สร้างไว้ประจำอโรคยศาลแห่งนี้ มีข้อความเช่นเดียวกับจารึกที่พบที่อโรคยศาลแห่งอื่นๆ คือ
กล่าวนมัสการพระพุทธเจ้า พระไภษัชยคุรุไวฑูรยะ ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์ผู้ประทานความ ไม่มีโรคแก่ประชาชนผู้นับถือ และกล่าวถึงการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ประจำสถานพยาบาลในแผนกต่างๆ เช่น แพทย์ ผู้ดูแลสถานพยาบาลเป็นต้น ปัจจุบันหลักนี้เก็บรักษาไว้ที่หอสมุดแห่งชาติท่า วาสุกรี
ปราสาทตาเมือนโต๊ด ในกลุ่ม ปราสาทตาเมือน ยังเป็น อโรคยศาลา (โรงพยาบาลในสมัยนั้น) หลังสุดท้ายในเขตประเทศไทย ที่มีสภาพสมบูรณ์ที่สุด ซึ่งเป็น 1 ใน 102 แห่ง ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 โปรดให้สร้างเพื่อช่วยเหลืออาณาประชาราษฎร์ ดังข้อความในจารึกของพระองค์ที่พบในประเทศ ไทยหลักหนึ่งระบุว่า...ทุกข์ของประชาราษฎร์คือทุกข์ในพระองค์
ปราสาทตาเมือนโต๊ด หนึ่งใน 17 แห่ง ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 โปรดสร้างขึ้นบนเส้นทางจากเมืองพระนคร (ยโสธรปุระ หรือนครธม) มาสู่เมืองพิมาย และปราสาทตาเมือนโต๊ดซึ่งตั้งอยู่ถัดจากปราสาทตาเมือน (ธรรมศาลา) ออกไปประมาณกิโลเมตรเศษ เป็นศาสนสถานในกลุ่มปราสาทตาเหมือน คือ อยู่ระหว่างปราสาทตาเมือนและปราสาทตาเมือนธม ที่ติดกับชายแดนไทย-กัมพูชา
ปราสาทตาเมือนโต๊ด (คำว่า โต๊จ หรือ โต๊ต แปลว่า เล็ก) เป็นศาสนสถานประจำอโรคยาศาล ที่ก่อด้วยศิลาแลง ประกอบไปด้วยปรางค์ประธานหันหน้าไปทางทิศตะวันออก เป็นปราสาทขนาดกลาง ซึ่งมีสภาพที่สมบูรณ์ซ่อนเร้นอยู่ในป่าดงทึบ บริเวณเขตชายแดน ต.ตาเมียง อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ โดยอยู่ห่างจากบ้านหนองคันนา ต.ตาเมียง ไปสู่ยริเวณชายแดนประมาณ 12 กิโลเมตร
อโรคยาศาลตาเมือนโต๊ด เป็นหนึ่งในอโรคยาศาลที่มีสภาพสมบูรณ์ที่สุด จนเป็นแม่แบบในการซ่อมแซมบูรณะอโรคยาศาลอื่นๆ ในภาคอีสานทั้งหมด 30 แห่ง เพราะองค์ปรางค์ประธานมีความสมบูรณ์ชัดเจนจนถึงยอด ลักษณะโดยทั่วไปของปราสาทตาเมือนโต๊ด มีปรางค์ประธานตั้งอยู่โดดเด่น รูปทรงสี่เหลี่ยมจตุรัส มีมุขยื่นออกไปด้านหน้า ก่อด้วยศิลาแลงและหินทราย มองเห็นบรรณาลัยอยู่ด้านหน้าเยื้องไปทางขวาของปรางค์ประธานเล้กน้อย ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว (ก่อด้วยศิลาแลง) มีซุ้มประตูโคปุระอยู่ทางด้านทิศตะวันออก นอกกำแพงด้านหน้าซ้ายมือของปราสาท จะมีสระน้ำขนาดกลางอยู่สระหนึ่ง อันเป็นรูปแบบผังของอโรคยาศาลทุกแห่งทั่วพระราชอาณาจักรเมืองพระนคร
ตรงห้องกลางของซุ้มประตูโคปุระ พบจารึก 1 หลัก จารึกด้วยอักษรขอม ภาษาสันสกฤตที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 โปรดให้จารึกไว้ประจำอโรคยาศาล โดย กล่าวนมัสการพระพุทธเจ้า พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาสุคต อันเป็นพระโพธิสัตว์ผู้ประทานความไม่มีโรคแก่ประชาชนผู้นับถือ และกล่าวถึงการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่มาประจำอยู่ในสถานพยาบาล ในแผนกต่างๆ แห่งนี้ เช่น แพทย์ ผู้ดูแลสถานพยาบาลและเจ้าหน้าที่คนอื่นๆ
ปัจจุบันจารึกหลักนี้ ได้นำมาเก็บรักษาไว้ที่กองอักษรโบราณ หอสมุดแห่งชาติกรุงเทพมหานคร (ซึ่งอาจารย์ชะเอม แก้วคล้าย - อาจารย์ฺก่องแก้ว วีระประจักษ์ ผู้เชี่ยวชายการอ่านอักษรโบราณ ได้อ่านและแปลเอาไว้)
ห่างจากปราสาทตาเมือนโต๊ดออกไป ติดกับชายแดนทางทิศตะวันออกเพียง 500 เมตร ก็จะพบกับปราสาทขนาดใหญ่อีกปราสาทหนึ่ง มีชื่อว่า ปราสาทตาเมือนธม ซึ่งเป็นศาสนสถานขอม ริมเขตแดนไทย - กัมพูชา ที่มีความสำคัญที่สุดบนเส้นทางราชมรรคา เมืองพระนคร สู่เมืองพิมายดังกล่าวมาแล้ว รวมเป็นปราสาทกลุ่มตาเมือน
สถานที่ตั้ง : บ้านหนองคันนาสามัคคี หมู่ 8 ตำบลตาเมียง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์
ถ่ายภาพเมื่อ :
วันติดตั้งหน้าเว็บ : 20 กรกฎาคม 2558
จำนวนผู้เข้าชม : 4429 ครั้ง
หมายเหตุ : ข้อมูลภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต, ข้อมูลจากหนังสือความลับในปราสาทขอม เขียนโดย ทรงสมัย สุทธิธรรม