ปราสาทภูมิโปนอ.สังขะ จ.สุรินทร์
ปราสาทภูมิโปน ประกอบด้วย โบราณสถาน 4 หลัง คือ ปราสาทก่ออิฐ 3 หลัง และศิลาแลง 1 หลัง มีอายุการก่อสร้าง อย่างน้อย 2 สมัย ปราสาทก่ออิฐหลังใหญ่ และหลังทางทิศเหนือสุด นับเป็นปราสาท แบบศิลปะเขมร ที่มีอายุเก่าที่สุด ในประเทศไทย คือราวพุทธศตวรรษที่ 13
ส่วนปราสาทอิฐหลังเล็ก ที่ตั้งตรงกลาง และปราสาทที่มีฐานศิลาแลง ด้านทิศใต้นั้น สร้างขึ้นในสมัย หลังปราสาทภูมิโปน คงจะสร้างขึ้น เป็นศาสนสถาน ในศาสนาฮินดู ไศวนิกาย เช่นเดียวกับศาสนสถานอื่นๆ ในรุ่นเดียวกัน แม้จะไม่พบ รูปเคารพ ซึ่งควรจะเป็นศิวลึงค์ อยู่ภายในองค์ปรางค์
แต่ที่ปรางค์องค์ใหญ่ยังมี ท่อโสมสูตร คือ ท่อน้ำมนต์ ที่ต่อออกมา จากแท่นฐานรูปเคารพ ในห้องกลาง ติดอยู่ที่ผนังในระดับพื้นห้อง
ปราสาทแห่งนี้สันนิษฐานว่าน่าจะมาจากชื่อภาษาเขมร 2 คำ คือ ภูมิ ซึ่งในภาษาเขมรออกเสียงว่า ปูม หมายถึง แผ่นดินหรือสถานที่ และ ปูน ซึ่งออกเสียงว่า โปน แปลว่า หลบซ่อน รวมความแล้วมีความหมายว่า "ที่หลบซ่อน" จากความหมายของชื่อมีความสัมพันธ์กับนิทานท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับปราสาท แห่งนี้คือเรื่อง "เนียงเด๊าะทม" แปลว่า นางนมใหญ่ ซึ่งมีเรื่องเล่าว่าเป็นพระราชธิดาของกษัตริย์แต่ถูกนำมาพักอาศัย ณ เมืองนี้เพื่อหลบหนีภัยสงคราม
ปราสาทภูมิโปน ประกอบด้วยปราสาทอิฐ 3 หลัง และฐานปราสาทศิลาแลงอีก 1 หลัง ตั้งเรียงกันจากเหนือไปใต้ ปราสาทอิฐองค์ที่ 3 ซึ่งเป็นปรางค์ประธาน เป็นปราสาทหลังใหญ่ ก่อด้วยอิฐไม่สอปูน มีเสาประดับกรอบประตูและทับหลังทำด้วยหินทราย ใต้หน้าบันเหนือทับหลังขึ้นไปมีลายรูปใบไม้ม้วน รูปแบบและเทคนิคการก่อสร้างปราสาทประธานเทียบได้กับปราสาทขอมสมัยก่อนพระ นคร ร่วมสมัยกับปราสาทหลังที่ 1 และเมื่อกรมศิลปากรดำเนินการขุดแต่ง ได้พบจารึกภาษาสันสกฤต อักษรปัลลวะ ซึ่งเคยใช้ในราวพุทธศตวรรษที่ 12-13 ซึ่งถือเป็นจารึกรุ่นแรก ๆ (ส่วนจารึกที่ระบุศักราชชัดเจนเท่าที่พบในประเทศไทยที่ถือว่าเก่าแก่ที่สุด คือ จารึกเขาน้อย อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว พุทธศักราช 1180 และจารึกเขาวัง อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว พุทธศักราช 1182)
สอดคล้องกับอายุของรูปแบบศิลปะของปราสาทนี้ด้วย ซึ่งนับเป็นโบราณสถานที่เก่าแก่มากที่สุดในประเทศไทย และเป็นจังหวัดที่พบศิลาจารึกอักษรปัลลวะ-สันสกฤต ส่วนฐานปราสาทศิลาแลงและปราสาทหลังที่ 2 เป็นการสร้างในสมัยต่อมา ไม่อาจกำหนดอายุได้ชัดเจน ปราสาทแห่งนี้มีเรื่องเล่าที่เกี่ยวข้อง คือ ตำนาน เนียงด็อฮทม ซึ่งเป็นราชธิดาขอมผู้ปกครองเมืองภูมิโปนองค์สุดท้าย กล่าวไว้ในส่วนของตำนานและนิทานเมืองสุรินทร์
ปราสาทภูมิโปนประกอบด้วยโบราณสถาน 4 หลัง คือ
ปราสาทอิฐหลังที่ 1 อยู่ทางด้านเหนือสุด มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมไม่ย่อมุม เหลือเพียงฐาน กรอบประตูทางเข้า และผนังบางส่วน ทับหลังและเสาประดับกรอบประตูทำด้วยหินทรายสลักลวดลาย ลักษณะเทียบได้กับศิลปะขอมสมัยก่อนเมืองพระนคร แบบไพรเกมร มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่12-13
ปราสาทหินหลังที่ 2 อยู่ต่อจากปราสาทหินหลังแรกมาทางใต้ ปัจจุบันเหลือเพียงฐานและกรอบประตูหินทราย
ปราสาทหินหลังที่ 3 หรือปรางค์ประธาน เป็นปราสาทหลังใหญ่ ก่อด้วยอิฐไม่สอปูน แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสไม่ย่อมุม มีบันได และประตูทางเข้าด้านทิศตะวันออก อีกสามด้านเป็นประตูหลอก เสาประดับ กรอบประตู และทับหลังทำด้วยหินทราย ใต้หน้าบันเหนือทับหลังขึ้นไปเป็นลายรูปใบไม้ม้วน รูปแบบและเทคนิคการก่อสร้าง เทียบได้กับปราสาทขอมสมัยก่อนพระนคร ร่วมสมัยกับปราสาทหลังที่ 1 ได้พบจารึกเป็นภาษาสันสกฤตด้วยอักษรปัลลวะ ซึ่งเคยใช้เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่12-13 ซึ่งสอดคล้องกับอายุของรูปแบบศิลปะของปราสาท นับเป็นปราสาทแบบศิลปะเขมรที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย
ปราสาทหินหลังที่ 4 อยู่ต่อจากปราสาทประธานมาทางใต้ ปัจจุบันเหลือเพียงฐานศิลาแลงเท่านั้น ปราสาทหลังนี้และปราสาทหลังที่สองคงสร้างในสมัยต่อมาซึ่งไม่อาจกำหนดอายุได้ชัดเจน จากส่วนประกอบทางสถาปัตยกรรม เช่น เสาประดับ กรอบประตูที่เหลืออยู่เป็นเสาแปดเหลี่ยมอันวิวัฒนาการมาจากเสากลมในสมัยก่อนเมืองนคร ตลอดจนการก่อฐานปราสาทด้วยศิลาแลง ทำให้สามารถกำหนดได้ว่า ปราสาททั้งสองหลังนี้คงจะสร้างขึ้นหลังจากปราสาทประธาน และปราสาทหลังที่หนึ่ง
ปราสาทภูมิโปนเป็นแหล่งอารยธรรมโบราณ หรือชุมชนโบราณที่มีระบบการปกครองแบบเมือง สังเกตได้จากบริบทปราสาทมีคูกำแพงเมือง เขื่อนดินโบราณ และสระน้ำ โดยเฉพาะน้ำเป็นระบบชลประทานถูกออกแบบอย่างสวยงามไล่จากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ มีจำนวน 5 แห่ง ได้แก่ สระลำเจียก สระตา สระกนาล สระตราว และสระปรือ เรียงลำดับจากสระน้ำขนาดเล็กอยู่สูงสุด และขนาดใหญ่หรือกว้างอยู่ต่ำสุดและเชื่อมต่อกัน นับว่าเป็นระบบการจัดการน้ำที่ดีมาก ปัจจุบันยังไม่มีใครบุกรุก หรือครอบครอง ควรแก่การพัฒนา
ตำนานปราสาทภูมิโปน
ตำนาน เนียง ด็อฮ ทม ราชธิดาขอมผู้ปกครองเมืองภูมิโปนองค์สุดท้าย เป็นตำนานของปราสาทภูมิโปน อ.สังขะ จ.สุรินทร์ มีเรื่องเล่าว่า ที่สระลำเจียก ห่างจากตัวปราสาทไปทางทิศตะวันออกประมาณ 200 เมตร มีกลุ่มต้นลำเจียกขึ้นเป็นพุ่มๆ ต้นลำเจียกที่สระน้ำแห่งนี้ไม่เคยมีดอกเลย ในขณะที่ต้นอื่นๆนอกสระต่างก็มีดอกปกติ ความผิดปกติของต้นลำเจียกที่สระลำเจียกหน้าปราสาทจึงเป็นที่มาของตำนานปราสาทภูมิโปน การสร้างเมืองและการลี้ภัยของราชธิดาขอม
กษัตริย์ขอมองค์หนึ่งได้สร้างเมืองลับไว้กลางป่าใหญ่ชื่อว่าปราสาทภูมิโปน ต่อมาเมื่อเมืองหลวงเกิดความไม่สงบ มีข้าศึกมาประชิดเมือง กษัตริย์ขอมจึงส่งพระราชธิดาพร้อมไพร่พลจำนวนหนึ่งมาหลบซ่อนลี้ภัยที่ภูมิโปน พระราชธิดานั้นมีพระนามว่า พระนางศรีจันทร์หรือ เนียง ด็อฮ ทม แต่คนทั่วไปมักเรียกนางว่า พระนางนมใหญ่
กล่าวถึงเจ้าเมืองอีกเมืองหนึ่งได้ส่งพรานป่าเจ็ดคน พร้อมเสบียงกรังและช้าง 1 เชือก ออกล่าจับสัตว์ป่าเพื่อจะนำมาเลี้ยงในอุทยานของพระองค์ พรานป่ารอนแรมจนมาหยุดพักตั้งห้างล่าสัตว์อยู่ที่ ตระเบีย็ง เปรียน แปลว่าหนองน้ำของนายพราน ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของบ้านตาพรม ในปัจจุบันในที่สุดกลุ่มพรานสามในเจ็ดคน ก็ดั้นด้นจนไปพบปราสาทภูมิโปน และไปได้ยินกิตติศัพท์ความงามของพระนางศรีจันทร์เข้า พรานทั้งเจ็ดจึงได้ปลักลอบแอบดูพระนางศรีจันทร์สรงน้ำ และเห็นว่านางมีความงามสมคำร่ำลือจริง จึงรีบเดินทางกลับเพื่อไปรายงานพระราชา พระราชายินดีปรีดามาก รีบจัดเตรียมกองทัพเพื่อไปรับนางมาเป็นพระชายาคู่บารมี
ฝ่ายพระนางศรีจันทร์หลังจากวันที่ไปสรงน้ำก็เกิดลางสังหรณ์ กระสับกระส่ายว่ามีคนมาพบที่ซ่อนของนางแล้ว เมื่อบรรทมก็ฝันว่าได้ทำกระทงเสี่ยงทาย ใส่เส้นผมเจ็ดเส้น อันมีกลิ่นหอมและเขียนสาส์นใจความว่าใครเก็บกระทงของนางได้ นางจะยอมเป็นคู่ครอง ในกระทงยังให้ช่างเขียนรูปของนางใส่ลงไปด้วย เมื่อตื่นขึ้นมานางจึงได้จัดการทำตามความฝัน (ด้วยการที่นางเอาผมใส่ในผอบเครื่องหอม ผมนางจึงหอม นางจึงได้ชื่อว่า เนียง ช็อก กระโอบ หรือนางผมหอมอีกชื่อหนึ่ง) และนำกระทงไปลอย ณ สระลำเจียกหน้าปราสาท กระทงของนางได้ลอยไปยังอีกเมืองหนึ่งชื่อว่าเมืองโฮลมาน และราชโอรสของเมืองนี้ได้เก็บกระทงของนางได้ ทันทีที่เจ้าชายเปิดผอบก็หลงรักนางทันที เจ้าชายโอลมานนั้นมีรูปร่างไม่หล่อเหลา แต่มีฤทธานุภาพมากในเรื่องเวทมนตร์คาถาและได้ชื่อว่ารักษาคำสัตย์เป็นที่ตั้ง พระองค์จึงไปสู่ขอนางตามประเพณีเพราะเป็นผู้เก็บผอบได้ แต่เหตุการณ์กลับตาลปัตร เมื่อพระนางศรีจันทร์ได้เห็นรูปร่างของเจ้าชายโฮลมานนางจึงได้แต่นิ่งอึ้งและร้องไห้ เจ้าชายโฮลมานทรงเข้าพระทัยดีเพราะรู้ตัวว่าตัวเองมีรูปร่างอัปลักษณ์ แต่ด้วยความรักที่พระองค์มีต่อพระนางศรีจันทร์ พระองค์จึงไม่บังคับที่จะเอาตัวนางมาเป็นชายา กลับช่วยพระนางขุดสระสร้างกำแพงเมือง และสร้างกลองชัยเอาไว้ เพื่อให้พระนางตียามมีเหตุเดือดร้อนต้องการให้พระองค์ช่วยเหลือ พระองค์จะมาช่วยเหลือนางโดยทันที โดยห้ามตีด้วยเหตุไม่จำเป็นเป็นอันขาด
กล่าวถึงชายหนุ่มอีกคนหนึ่งที่มาหลงรักพระนางศรีจันทร์ นั่นคือบุญจันทร์นายทหารคนสนิท ที่พระราชบิดาของพระนางศรีจันทร์ไว้วางพระราชหฤทัย ให้รับใช้ใกล้ชิดพระนางศรีจันทร์ ด้วยความใกล้ชิดทำให้บุญจันทร์หลงรักพระนางศรีจันทร์ แต่พระนางศรีจันทร์ก็ไม่ได้มีใจตอบกับบุญจันทร์ ยังคงคิดกับบุญจันทร์แค่เพื่อนสนิทเท่านั้น วันหนึ่งบุญจันทร์ได้เห็นกลองชัยที่เจ้าชายโฮลมานให้พระนางไว้ ก็นึกอยากตี จึงไปร่ำร้องกับพระนางทุกเช้าเย็น อยากจะขอลองตีกลอง พระนางทนไม่ไหวพูดประชดทำนองว่า ถ้าอยากตีก็ตีไป เพราะคงจะไม่ได้พบกันอีกแล้ว บุญจันทร์หน้ามืดตามัวด้วยคิดว่านางมีใจให้เจ้าชายโฮลมาน ก็ไปตีกลอง เจ้าชายโฮลมานและไพร่พลก็ปรากฏตัวขึ้นทันที เพราะนึกว่าพระนางศรีจันทร์มีเหตุร้าย พระนางศรีจันทร์เสียใจมาก เมื่อต้องบอกถึงเหตุผลที่ตีกลองให้เจ้าชายทราบ เจ้าชายโฮลมานตำหนิพระนาง และเป็นอันสิ้นสุดสัญญาที่ให้ไว้กับพระนางทันที พระองค์จะไม่มาช่วยเหลือพระนางอีกแล้วแม้จะตีกลองเท่าไหร่ก็ตาม
กล่าวฝ่ายพระราชาที่ส่งพรานป่าเจ็ดคน มาล่าสัตว์แล้วมาพบพระนางในตอนแรกนั้น ก็ส่งทัพมาล้อมเมืองภูมิโปนไว้ พระนางจึงหนีเข้าไปหลบภัยในปราสาทและคิดที่จะยอมตายเสียดีกว่า เพราะคนที่มาหลงรักพระนางแต่ละคนนั้น คนหนึ่งแม้จะเพียบพร้อมก็มีความอัปลักษณ์ คนหนึ่งก็มีความต่างศักดิ์ ด้านชนชั้นจนไม่อาจจะรักกันได้ และยังมีข้าศึกมาประชิดเมืองหมายจะเอาพระนางไปเป็นชายาอีก พระนางจึงพยายามหลบไปด้านที่มีการยิงปืนใหญ่ ตั้งใจจะโดนกระสุนให้ตาย แต่พระนางก็กลับไม่ตายแต่ได้รับบาดเจ็บ แขนซ้ายหักและมีแผลเหนือราวนมด้านซ้ายเล็กน้อย(ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านดม-ภูมิโปนจะสังเกตเด็กผู้หญิงคนใดมีลักษณะแขนด้านซ้ายเหมือนเคยหัก และมีแผลเป็นเหนือราวนมด้านซ้าย จะสันนิษฐานว่าพระนางด็อฮ ทม กลับชาติมาเกิด) เมื่อพระราชาตีเข้าเมืองได้จึงรีบรักษานาง ไม่ช้าพระนางก็หาย พระราชาจึงเตรียมยกทัพกลับและจะนำพระนางกลับเมืองด้วย พระนางจึงขออนุญาตพระราชาเป็นครั้งสุดท้ายขอไปอาบน้ำที่สระลำเจียก และปลูกต้นลำเจียกไว้กอหนึ่ง พร้อมกับอธิษฐานว่าถ้าพระนางยังไม่กลับมาที่นี่ขอให้ต้นลำเจียก อย่าได้ออกดอกอีกเลย หลังจากนั้นพระนางก็ถูกนำสู่นครทางทิศตะวันตก ไปทางบ้านศรีจรูก พักทัพและฆ่าหมูกินที่นั่น (ซี จรูกแปลว่ากินหมู) ทัพหลังตามไปทันที่บ้านทัพทัน (ซึ่งกลายเป็นชื่อบ้านในปัจจุบัน) และเดินทางต่อมายังบ้านลำดวน พักนอนที่นั่น มีการเลี้ยงฉลองรำไปล้มไป รำล้มในภาษาเขมรคือ เรือ็ม ดูล ซึ่งเป็นชื่อของ อ.ลำดวนในปัจจุบัน
ดังนั้นคำว่าภูมิโปน จึงมีความหมายโดยรวมว่า หมู่บ้านแห่งการหลบซ่อน (ภูมิ แปลว่า หมู่บ้าน โปน แปลว่า หลบซ่อน อีกความหมายหนึ่งแปลว่า มะกอก)
Prasat Phum Pon
Prasat Phum Pon (sometimes known as Prasat Phumpon) is a little-known but rather important temple site. These brick shrines are far from the largest or most impressive Khmer temples in Thailand but they are the oldest.
If you want to see magnificent Khmer temples, you had better head to Phimai near the city of Nakhon Ratchasima or to Phanom Rung in the countryside outside the small country town or Buriram. These temples offer magnificent Khmer architecture dating back almost a millennium. Both these temples easily rate among the finest extant Khmer temples anywhere and the most impressive ancient monuments in the kingdom of Thailand. Set in the province of Surin, which still has 26% of the population who speak Khmer despite decades-long attempts to assimilate the ethnic Khmer into mainstream Thai society, Prasat Phum Pon is a much more humble affair altogether; but it does serve as a reminder of the long links of this part of modern Thailand with the Khmer kingdoms to the south of the Dongkrek Mountains.
What makes Prasat Phum Pon such a rarity is that it is a Chenla temple. We are unaware of any other Khmer temple in Thailand which is attributable to the Chenla kingdom, a pre-Angkorian Khmer state whose capitals were centred in the present Cambodian province of Kampong Thom. All the other Khmer shrines in Thailand date from the world-famous Angkor Empire, which reached into Northern Thailand at the height of its power. This comparatively humble shrine shows characteristic Chenla style architecture from the seventh century, with orange brickwork, a sparsely carved exterior and a pyramidial roof. Encouragingly, a Khmer language school has now been established at the site to help promote the use of the long-suppressed language amongst Surin’s sizable ethnically Khmer minority.
การเดินทาง
จากจังหวัดสุรินทร์ ใช้ทางหลวงหมายเลข 2077 (สุรินทร์ - สังขะ) ระยะทาง 49 กิโลเมตร จากแยกอำเภอสังขะ เข้าทางหลวง หมายเลข 2124 (สังขะ - บัวเชด) ตรงต่อไป จนถึง ชุมชนบ้านภูมิโปน ระยะทางอีก 10 กิโลเมตร จะเห็นปราสาท ตั้งอยู่ริมถนน ด้านซ้ายมือ
|
|
ปราสาทยายเหงา ถ่ายภาพเมื่อ : 31 ธันวาคม 2560
ปราสาทภูมิโปน บ้านภูมิโปน ต.ดม อ.สังขะ จ.สุรินทร์ |
ปราสาทภูมิโปน บ้านภูมิโปน ต.ดม อ.สังขะ จ.สุรินทร์ |
ปราสาทภูมิโปน บ้านภูมิโปน ต.ดม อ.สังขะ จ.สุรินทร์ |
ปราสาทภูมิโปน บ้านภูมิโปน ต.ดม อ.สังขะ จ.สุรินทร์ |
ปราสาทภูมิโปน บ้านภูมิโปน ต.ดม อ.สังขะ จ.สุรินทร์ |
ปราสาทภูมิโปน บ้านภูมิโปน ต.ดม อ.สังขะ จ.สุรินทร์ |
ปราสาทภูมิโปน บ้านภูมิโปน ต.ดม อ.สังขะ จ.สุรินทร์ |
ปราสาทภูมิโปน บ้านภูมิโปน ต.ดม อ.สังขะ จ.สุรินทร์ |
ปราสาทภูมิโปน บ้านภูมิโปน ต.ดม อ.สังขะ จ.สุรินทร์ |
ปราสาทภูมิโปน บ้านภูมิโปน ต.ดม อ.สังขะ จ.สุรินทร์ |
ปราสาทภูมิโปน บ้านภูมิโปน ต.ดม อ.สังขะ จ.สุรินทร์ |
ปราสาทภูมิโปน บ้านภูมิโปน ต.ดม อ.สังขะ จ.สุรินทร์ |
ปราสาทภูมิโปน บ้านภูมิโปน ต.ดม อ.สังขะ จ.สุรินทร์ |
ปราสาทภูมิโปน บ้านภูมิโปน ต.ดม อ.สังขะ จ.สุรินทร์ |
ปราสาทภูมิโปน บ้านภูมิโปน ต.ดม อ.สังขะ จ.สุรินทร์ |
ปราสาทภูมิโปน บ้านภูมิโปน ต.ดม อ.สังขะ จ.สุรินทร์ |
ปราสาทภูมิโปน บ้านภูมิโปน ต.ดม อ.สังขะ จ.สุรินทร์ |
|
|
|
สถานที่ตั้ง : บ้านภูมิโปน ต.ดม อ.สังขะ จ.สุรินทร์
ถ่ายภาพเมื่อ : 31 ธันวาคม 2560
วันติดตั้งหน้าเว็บ : 21 กุมภาพันธ์ 2561
จำนวนผู้เข้าชม : 7113 ครั้ง
หมายเหตุ : เว็บมาสเตอร์เดินทางไปชมและถ่ายภาพเอง, ข้อมูลจากวิกิพีเดีย, sites.google.com/site/prasathhin/prawati-prasath-hin/prasath-phumi-pon
|
21-02-2018 Views : 7114