ฮุปแต้มอีสาน, สิมอีสาน (Isan Mural Painting and Isan Temple Architectures)
 สิม หอไตร ฮูปแต้ม

(วางเมาส์บนรูปภาพ เพื่อดูส่วนขยายภาพ)

+ เพิ่ม | - ลด ขนาดตัวอักษร      


ปราสาทโดนตวล จ.ศรีสะเกษ ปราสาทโดนตวล
ปราสาทโดนตวล เป็นปราสาทขอมขนาดเล็กท่ามกลางต้นไม้ใหญ่ สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 15 – 16 มีลักษณะเป็นปรางค์เดี่ยว ผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้าง – ยาวประมาณ 7 เมตร ย่อมุมทั้ง 4 ด้าน หันหน้าไปทางทิศตะวันออก หากสังเกตให้ดีจะเห็นว่าตัวปรางค์ก่อด้วยอิฐครึ่งหนึ่ง และก่อด้วยศิลาแลงอีกครึ่งหนึ่ง โดยก่อศิลาแลงจากฐานถึงครึ่งผนังเรือนธาตุ จากนั้นก่อขึ้นไปด้วยอิฐฝนเรียบจนถึงยอดปรางค์


      ปราสาทโดนตวล เป็นปราสาทขอมโบราณขนาดเล็กที่ตั้งอยู่ริมหน้าผาสูง บนเทือกเขาพนมดงรัก บริเวณใกล้ชายแดนไทย-กัมพูชา ประกอบด้วยปรางค์รูปสี่เหลี่ยมย่อมุม ก่อด้วยอิฐ ซุ้มประตูก่อด้วยศิลา และมีรูปสิงโตจำหลักอยู่หน้าปราสาท
      ตัวปราสาทหันหน้าไปทางทิศตะวันออก บริเวณหน้าปราสาทมีถนนปูด้วยหินขนาดเล็ก กว้าง 6 เมตร มีเสาหิน 2 คู่ สูง 3 เมตร อยู่ห่างกันราว 250 เซนติเมตร ซุ้มประตูทางเข้าปราสาทมีรูปสิงห์โตจำหลักตั้งอยู่บนแท่นข้างละ 1 ตัว ตัวปราสาทประกอบด้วยซุ้มประตู และปรางค์ 2 องค์ ซุ้มประตูมีจำนวน 3 ประตำ ก่อด้วยศิลา ประตูกลางมีขนาดใหญ่ที่สุด กว้าง 1 เมตร สูง 2.5 เมตร ประตูเล็กซ้ายขวา กว้าง 70 เซนติเมตร สูง 1.8 เมตร กรอบประตูและศิลาทับหลังไม่ได้จำหลักลวดลาย
      ปรางค์องค์หน้าอยู่ถัดจากซุ้มประตูเข้าไปประมาณ 1 เมตร หักพังจนมีสภาพเป็นกองอิฐทับถมกันอยู่ ปรางค์องค์ในอยู่ห่างจากปรางค์องค์แรกประมาณ 1 เมตร ก่อด้วยอิฐและศิลาแลงฐานทำเป็น 4 ชั้น กว้างด้านละ 6 เมตร สูง 26 เมตร ตัวปรางค์มีประตูเข้าออกทางด้านหน้า 1 ประตู กว้าง 1 เมตรสูง 2 เมตร คูหาปรางค์มีเนื้อที่ 3.7 x 3 เมตร ลักษณะของปรางค์เป็นรูปสี่เหลี่ยมย่อมุมสลับซับซ้อนลดหลั่นกันไปจนถึงยอด ห่างจากปราสาทประมาณ 10 เส้น มีสระน้ำขนาดใหญ่กว้างด้านละ 80 เมตร มีร่องระบายน้ำจากยอดเขาลงมาสู่สระร่องน้ำลึกประมาณ 2 เมตร
      ประวัติศาสตร์ยังไม่มีปรากฏแน่ชัด แต่สันนิษฐานได้จากการที่กรมศิลปากรบันทึกไว้ว่าที่ช่องตาเฒ่า ตำบลบึงมะลู อำเภอกันทรลักษ์ ซึ่งเป็นโบราณสถานแห่งหนึ่งของจังหวัดศรีสะเกษ ได้มีการสำรวจพบ "เทวรูปทำด้วยหิน 1 องค์ สูง 2 ศอก กว้าง 1 คืบเศษนั่งแท่นหินที่แท่นมีจารึกอักษร" โบราณสถานช่องตาเฒ่าที่กรมศิลปากรได้บันทึก คือ ปรางค์ศิลาโดนตวล สำหรับอายุของปราค์ศิลาแห่งนี้คงอยู่ราว พ.ศ. 1500 - พ.ศ. 1650

      ปรางค์เป็นปรางค์เดี่ยว ผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างยาวประมาณ 7 เมตร ย่อมุมทั้ง 4 ด้าน หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ตัวปรางค์ ก่อด้วย อิฐครึ่งหนึ่งและก่อด้วยศิลาแลงครึ่งหนึ่งโดยก่อศิลาแลงจากฐานถึงครึ่งผนังเรือนธาตุ จากนั้นก่อขึ้นไปด้วยอิฐฝนเรียบไม่สอปูนจนถึงยอดปรางค์ บริเวณทางเข้าทำเป็นมุขยื่นออกไป ผนังของมุขเป็นอิฐ หลังคาคาดว่าจะเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้องยาวประมาณ 5-7 เมตร สังเกตได้จากการเซาะร่องโครงสร้างหลังคาและขอบกระเบื้อง ที่ผนังองค์ปรางค์ด้านหน้า ต่อจากมุขมีแนวเสาหินทราย 4 ต้น

      สันนิษฐานว่า เป็นเสารองรับหลังคาห้องโถง หรือที่เรียกว่า มณฑป ทางเข้ามณฑปมีวงกลมประตู 3 ช่อง วงกบประตูทั้งสองข้าง มีจารึกปรากฏอยู่เสาศิลาทราย ถัดจากประตูทางเข้าปราสาทออกมา มีเสาศิลาทราย อยู่อีก 4 ด้าน สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นซุ้ม โคปุระ แต่ไม่ปรากฏว่ามีกรอบประตู พบหินทราย ลักษณะเป็นธรณี ประตูตั้งไว้ ระหว่างเสาและหน้าธรณีประตูมีอัฒจันทร์ หินทรายวางอยู่ด้านตะวันออกเฉียงใต้ของปรางค์มีหินทรายเรียงต่อกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้างยาวประมาณ 3x5 เมตร สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นบรรณาลัย และมีสระน้ำ ลักษณะเป็นคันดินมีน้ำขัง อายุสมัย ราวพุทธศตวรรษที่ 16 หลักฐานจารึก ปราสาทโดนตวล 1 เลขที่ ศก. ๙ จารึกที่กรอบประตูด้วยอักษรขอมโบราณ ภาษาเขมร-สันสกฤต จำนวน 1 ด้าน มี 3 บรรทัด ระบุมหาศักราช 924 ซึ่งตรงกับ พ.ศ.1545 เป็นจารึกที่เก่าแก่กว่า จารึกปราสาทเขาพระวิหาร ๑ เลขที่ ศก.๕ ระบุมหาศักราช 959 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 1580





      Prasat Don Tuan The sanctuary has a square floor plan, oriented towards the east, with facade walls built of bricks and covered a terracotta tiled wooden roof. The main building is made of laterite, brick and sandstone, which may have come from the cliff east of the building. The whole structure dates from the 10th and 11th centuries.

      Prasat Don Tuan is a Khmer sanctuary located Ban Phumsaron of Kantharalak District in Sri Sa Ket Province. The sanctuary was built in the 10th-11th century and is located 300 meters from the Thailand -Cambodia border at the edge of a cliff on the hill called Khao Don Tuan or Khao Yai On.
      A legend says a lady, Nang Nom Yai or Nieng Non Dor in Khmer, had stopped here to rest on her way to a royal audience.

      การเดินทาง
      ปราสาทโดนตวล ตั้งอยู่ที่บ้านภูมิซรอล ตำบลบึงมะลู อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ห่างจากหมู่บ้าน 8 กิโลเมตร ห่างจากตัวอำเภอกันทรลักษ์ 38 กิโลเมตร โดยใช้เส้นทางที่แยกจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2243 กม.98 ระยะทาง 4 กิโลเมตร เป็นปราสาทที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่บริเวณชายแดนของประเทศไทย ดินทางด้วยถนนราดยาง สายกันทรลัษ์-เขาพระวิหาร 30 กิโลเมตร ก่อนขึ้นผามออีแดงเลี้ยวซ้ายไปตามถนนลูกรัง 3.5 กิโลเมตร ก็จะถึงปราสาทโดนตวล
      
     


       ปราสาทโดนตวล ตั้งอยู่ที่บ้านภูมิซรอล ตำบลบึงมะลู อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ โดยตั้งอยู่ริมหน้าผาสูง บนเทือกเขาพนมดงรัก ใกล้ชายแดนไทย – กัมพูชา ห่างจากตัวอำเภอกันทรลักษ์ 38 กิโลเมตร ปัจจุบันมีถนนลาดยางเข้าถึง และมีลานจอดรถบริเวณใกล้ๆ ตัวปราสาท การเที่ยวชมสถานที่ใดๆ ให้ได้ครบทุกอรรถรส สิ่งหนึ่งที่ไม่ควรละเลยคือ ตำนานหรือเรื่องเล่าเกี่ยวกับสถานที่นั้นๆ เพราะจะทำให้รู้สึก “เข้าถึง” สิ่งที่กำลังรับชมอยู่
       สำหรับปราสาทโดนตวลนั้นมีตำนานเล่าว่า มีสตรีสูงศักดิ์นางหนึ่งรูปร่างหน้าตาสวยงาม แต่มีลักษณะอาภัพคือ หน้าอกใหญ่จนต้องเอาสายสร้อยทองคำทำเป็นสาแหรกรองรับไว้ เมื่อกษัตริย์ขอมรู้ถึงกิตติศัพท์ จึงให้เหล่าอำมาตย์มารับนางไปเฝ้า ในระหว่างที่เดินทางนั้น ตาเล็งซึ่งเป็นคนบ้านเดียวกันกับนางนมใหญ่ได้มาตามนางกลับไป แต่เหล่าอำมาตย์ไม่ยอมจึงเกิดการต่อสู้กัน ปรากฏว่าตาเล็งถูกฆ่าตาย โดยศพถูกทิ้งไว้ในป่าบริเวณที่สร้างปราสาทโดนตวล

ปราสาทโดนตวล ถ่ายภาพเมื่อ : 31 ธันวาคม 2560
ปราสาทโดนตวล ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
ปราสาทโดนตวล ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
ปราสาทโดนตวล ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
ปราสาทโดนตวล ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
ปราสาทโดนตวล ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
ปราสาทโดนตวล ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
ปราสาทโดนตวล ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
ปราสาทโดนตวล ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
ปราสาทโดนตวล ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
ปราสาทโดนตวล ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
ปราสาทโดนตวล ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
ปราสาทโดนตวล ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
ปราสาทโดนตวล ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
ปราสาทโดนตวล ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
ปราสาทโดนตวล ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
ปราสาทโดนตวล ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
ปราสาทโดนตวล ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
ปราสาทโดนตวล ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
ปราสาทโดนตวล ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
ปราสาทโดนตวล ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
ปราสาทโดนตวล ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
ปราสาทโดนตวล ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ



สถานที่ตั้ง : ปราสาทโดนตวล บ้านภูมิซรอล ตำบลบึงมะลู อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
ถ่ายภาพเมื่อ : 31 ธันวาคม 2560
วันติดตั้งหน้าเว็บ : 2 มีนาคม 2561
จำนวนผู้เข้าชม : 3820 ครั้ง
หมายเหตุ : เว็บมาสเตอร์เดินทางไปชมและถ่ายภาพเอง, thai.tourismthailand.org, วิกิพีเดีย, m-culture.go.th


02-03-2018 Views : 3821
      ร่วมกันสนับสนุนเว็บไซต์นี้ ทำได้ง่ายๆ ด้วยการคลิกลิงค์ด้านล่าง... ขอบคุณครับ





อาร์ตนานา สตูดิโอ และ เดอะ ไดโนเสาร์ อาร์ต แกลเลอรี่ ™ (หอศิลป์ เดอะแด็ก)
บ้านเลขที่ 9, 48 หมู่ 12 บ้านหนองซำ ต.น้ำอ้อม อ.ค้อวัง จ.ยโสธร 35160 กรุณาโทรติดต่อก่อนการเดินทางหรือนัดหมายล่วงหน้า ที่เบอร์ โทร. 081- 303 4493, 064-092 9449
ออกแบบโลโก้ | ออกแบบบรรจุภัณฑ์ | ออกแบบกล่อง | ออกแบบบถุง | ออกแบบฉลาก | ออกแบบสื่อส่งเสริมการขาย ออกแบบสื่อดิจิทัล Digital Media Design

 ร่วมสนับสนุนเว็บไซต์ อีสานอาร์ตดอทคอม ช่องพุทธศิลป์อีสาน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางถ่ายภาพนำมาจัดทำเว็บไซต์ ได้ที่ :

ธนาคารกสิกรไทย สาขาบางกะปิ ชื่อบัญชี นายพัฒยา จันดากูล เลขที่บัญชี 003-2-02799-9 ประเภท ออมทรัพย์

ต้องยอมรับความจริงว่า การเดินทางมีค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะค่าน้ำมันรถ หากต้องเดินทางไกลๆ หลายร้อยกิโลเมตร ค่าใช้จายในแต่ละเที่ยวก็หลายพันบาท เว็บมาสเตอร์จึงต้องรองบประมาณ และวางแผนการเดินทางให้คุ้มกับค่าน้ำมัน โดยกำหนดจุดที่จะไปถ่ายภาพให้ได้เยอะๆ ก่อนการเดินทาง ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ให้การสนับสนุนค่าเดินทางครับ



98.80.143.34 | Copyright © 2008 - 2023 esanart.com All Rights Reserved.
Website designed by Artnana Sudio