สิม หอไตร ฮูปแต้ม



ปราสาทปรางค์กู่ ปราสาทปรางค์กู่ ปราสาทบ้านปราสาท ปราสาทปรางค์กู่ ปราสาทปรางค์กู่ ปราสาทปรางค์กู่ ปราสาทปรางค์กู่ ปราสาทปรางค์กู่ ปราสาทปรางค์กู่ ปราสาทปรางค์กู่ ปราสาทปรางค์กู่
  • ปราสาทปรางค์กู่
  • ปราสาทปรางค์กู่
  • ปราสาทปรางค์กู่
  • ปราสาทปรางค์กู่
  • ปราสาทปรางค์กู่
  • ปราสาทปรางค์กู่
  • ปราสาทปรางค์กู่
  • ปราสาทปรางค์กู่
  • ปราสาทปรางค์กู่
  • ปราสาทปรางค์กู่
  • ปราสาทปรางค์กู่


    ปราสาทปรางค์กู่ ตั้งอยู่ในพื้นที่ บ้านกู่ ตำบลกู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ ห่างจากศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษ ประมาณ 65 กิโลเมตร สร้างด้วยอิฐเรียงแผ่นใหญ่เหมือนปราสาทศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเป็นศาสนสถานสมัยขอมที่เก่าแก่ มีอายุกว่าพันปี ด้านหน้าปรางค์กู่ มีสระน้ำขนาดใหญ่เป็นทำเลพักหากินของนกเป็ดน้ำ ซึ่งมีมากในช่วงฤดูแล้งตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์

    การเดินทางมายังปราสาทปรางค์กู่ สามารถเดินทางได้ 2 เส้นทาง คือ เส้นทางศรีสะเกษ-สุรินทร์ แยกซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2234 หรือเส้นทางศรีสะเกษ-ขุขันธ์ แยกขวาเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2167 ปรางค์กู่อยู่ห่างจากตัวอำเภอปรางค์กู่ ประมาณ 5 กิโลเมตร

 Isan Upload


รวมภาพเก่าๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานที่



 ข่าวอัพเดท ข่าวสารอัพเดทสถานที่ :
ข่าวทั้งหมด 0 ข่าว
 

+ เพิ่ม | - ลด ขนาดตัวอักษร    


ปราสาทปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ
    ปราสาทปรางค์กู่ สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16 เพื่อเป็นเทวสถานในศาสนาพราหมณ์ มีลักษณะเป็นปรางค์ 3 องค์ สร้างเป็นแนวจากเหนือไปใต้ ตั้งอยู่บนฐานขนาดใหญ่ ก่อด้วยอิฐปนแลง เป็นศิลปะขอม ที่งดงามในเชิงสถาปัตยกรรมโบราณ
    ปราสาทปรางค์กู่ ซึ่งภาษากูย เรียกว่า " เถียด เซาะโก " ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของหมู่บ้าน ลักษณะเป็นปราสาท 3 หลัง สร้างเป็นแนวเรียงหน้ากระดานจากทิศใต้ไปทิศเหนือ ตั้งอยู่บนฐานที่สร้างด้วยศิลาแลงทั้งหมด ปราสาทหลังที่ 1 และ 2 สร้างด้วยอิฐมอญขนาดใหญ่ เสาแกะสลักลวดลายติดขอบประตูเพื่อรองรับทับหลัง เสาและทับหลังสร้างด้วยหินทราย ส่วนปราสาทหลังทิศเหนือ เป็นหลังเดียวที่สร้างจากหินศิลาแลง มีเสาแกะสลักลวดลาย และทับหลังที่สร้างจากหินทรายเช่นกัน ยอดปราสาทเป็นบัวตูม มีลักษณะเช่นเดียวกันกับปราสาทศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์
    ปัจจุบัน ยอดปราสาทได้พังทลายลง ทับหลังและเสาติดขอบประตูได้ถูกโจรลักขโมยไป วัตถุบางชิ้นก็ตามกลับมาได้ และเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา มีหลายชิ้นที่นำมาเก็บไว้ที่วัดบ้านกู่
    ปราสาทปรางค์กู่ สร้างเมื่อสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 สมัยขอมเรืองอำนาจ สันนิษฐานว่า สร้างเพื่อใช้เป็นสถาน " อโรคยาศาล " หรือสถานีอนามัยเพื่อรักษาคนป่วย ล้อมรอบด้วยสระน้ำ ซึ่งสภาวัฒนธรรมตำบลกู่ ได้สร้างทับหลังจำลองขนาดเท่าของจริงมาตั้งไว้บนฐานด้านหน้าตัวปราสาท เพื่อให้คนที่มาเที่ยวชมได้เรียนรู้ต่อไป
    ปราสาทปรางค์กู่ ยังเป็นที่ที่ชุมขนชาวกุย ให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างยิ่ง หากมีกิจกรรมในหมู่บ้านหรือศาสนพิธีต่างๆ ก็จะมีการนำเครื่องเซ่นไหว้ มาบอกกล่าวที่ปราสาทปรางค์กู่ให้รับทราบ ซึ่งชาวกุยบ้านกู่ได้สมมุติชื่อวิญญาณที่สิงสถิตย์ ณ ปราสาทกูjว่า " ปู่พันธเสน " และใช้เรียกชื่อนี้ในการเซ่นไหว้ตลอดมา
    ปราสาทปรางค์กู่ เป็นศาสนสถานที่ได้รับอิทธิพลศิลปะเขมร ตั้งอยู่บริเวณบ้านกู่ ตำบลกู่ อำเภอปรางค์กู่ โดยห่างจากตัวอำเภอปรางค์กู่มาประมาณ 5 กิโลเมตร และอยู่ห่างจังหวัดศรีสะเกษประมาณ 65 กิโลเมตร กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ตามประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2478 และกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานประมาณ 12 ไร่ 2 งาน 39 ตารางวา ตามประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 99 ตอนที่ 155 วันที่ 21 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2525
    ปราสาทปรางค์กู่ ตั้งอยู่ภายในหมู่บ้านกู่ ซึ่งเป็นลักษณะเมืองโบราณซึ่งมีคูน้ำและคันดินล้อมรอบ ทิศตะวันออก ทิศใต้ และทิศตะวันตก ส่วนทางทิศเหนือเป็นสระขนาดใหญ่ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 350x700 เมตร พื้นที่ภายในเมืองโบราณ มีบ้านเรือนราษฏรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น บริเวณรอบนอกเมืองโบราณ เป็นทุ่งนาเพาะปลูกข้าว ห่างออกไปทางทิศตะวันตกของหมู่บ้าน ประมาณ 200 เมตร เป็นที่ตั้งของปราสาทปรางค์กู่ โดยอยู่ห่างจากสระนำประมาณ 200 เมตร

    ทับหลังปราสาทปรางค์กู่
ทับหลังแผ่นที่ 1
    เป็นชิ้นส่วนทับหลังประดับประตูปรางค์องค์ทิศใต้ โดยจำหลักเป็นภาพพระนารายณ์สี่กรถือสังข์ จักร คธา และดอกบัวยืนอยู่บนปีกครุฑ ก็ยืนเหยียบอยู่บนหลังสิงห์ 2 ตัว ที่หันหลังให้กัน สิงห์ทั้ง 2 ตัวคายท่อนพวงมาลัยออกมา โดยใช้มือยึดจับท่อนพวงมาลัยไว้ด้วยที่ปลายท่อนพวงมาลัยนั้นจำหลักเป็นรูปเทวดานคราชออกมาเห็นในด้านข้าง 3 เศียร ส่วนแถวบนของทับหลังจำหลักภาพเทวดาในท่าฟ้อนรำ ประกอบอยู่ 2 ด้าน ด้านละ 3 องค์ ทั้งพระนารายณ์ และเทวดาจะอยู่ภายในซุ้มเรือนแก้ว และริมสุดของภาพจำหลักแถวบนมีเทวดานั่งอีกด้านละ 1 องค์ ลักษณะการนุ่งผ้าของพระนารายณ์หรือวิษณุ จะนุ่งผ้าเว้าลงใต้สะดือ มีชายผ้าปล่อยยาวลงด้านหน้าหยัก 3 ชั้น สำหรับท่อนพวงมาลัยที่สิงห์คายออกมา จำหลักเป็นลายกลีบบัวหรือดอกบัวบานหันเข้าหากันเป็นคู่ๆ แต่ละคู่คั่นด้วยเส้นลวดบัว ใต้ท่อนพวงมาลัยจำหลักเป็นลานก้านขด หรือใบไม้ม้วนขนาดใหญ่จนเต็มพื้นที่
ทับหลังแผ่นที่ 2
    เป็นทับหลังเหนือกรอบแผ่นปรางค์องค์ทิศเหนือ จำหลักภาพเกี่ยวกับเรื่องรามเกียรติ์ ตอนพระรามพระลักษณ์ถูกศรนาคบาศรัด คล้ายกับทับหลังที่ประตูมุขของมณฑปด้านทิศตะวันตก มีภาพฝูงลิงเป็นจำนวนมาก ประกอบจนเต็มพื้นที่ ฝูงลิงแสดงความเคลื่อนไหวและแสดงอาการเศร้าสลด โดยมีภาพจำหลักลายก้านขด หรือใบไม้ม้วนประกอบอยู่ด้วย นอกจากนี้ยังจำหลักเป็นภาพบุคคลหรือเทวดาเหาะ ทั้งองค์พระรามและพระลักษณ์จำหลักในท่านอนติดกันมีศรนาคบาศรัดตลอดตัว และที่ด้านบนศีรษะของพระรามพระลักษณ์มีภาพสตรีในท่านั่ง ซึ่งอาจเป็นนางสีดามเหสีของพระราม (ทับหลังแผ่นที่ 1 และแผ่นที่ 2 ถูกเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภันฑสถานแห่งชาติ พิมาย)
ทับหลังแผ่นที่ 3
    เป็นทับหลังประตูปรางค์ประธานหรือปรางค์กลาง โดยจำหลักเป็นภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณยืนอยู่บนแท่นซึ่งวางอยู่เหนือหน้ากาลหรือเกียรติมุขหน้ากาลจะแยกเขี้ยวคายท่อนพวงมาลัยออกมาทั้ง 2 ข้าง ลักษณะของท่อนพวงมาลัยจำหลักรูปกลีบบัวผสมผสานก้านขด ที่ปลายลายใบไม้ม้วนประกอบจนเต็ม สำหรับพระอินทร์ ประทับนั่งบนหลังช้าง มีภาพจำหลักควาญช้างอยู่หัวและท้าย มีลักษณะคล้ายกลดกั้น ภาพจำหลักที่ประกอบอยู่แถวบนทั้งสองข้างไม่เหมือนกัน คือ ด้านซ้ายเป็นภาพเทพฟ้อนรำอยู่ภายในซุ้มซึ่งมีขนาดองค์ใหญ่กว่า ส่วนด้านขวาเป็นภาพเทวดาสององค์ ในท่าฟ้อนรำภายในซุ้ม ลักษณะของซุ้มก็มีความแตกต่างกัน เสาประดับกรอบประตู ลักษณะลวดลายของเสาประดับกรอบประตูคล้ายคลึงกับเสาประดับกรอบประตูปราสาทหินพิมาย คือเป็นเสาเหลี่ยมมีเครื่องประดับตกแต่งมาก จำหลักลวดลายต่างๆ เช่น ลายกลีบบัว ลายใบไม้เล็กๆ คล้ายฟันปลา ลายเกสรบัว ลายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน หรือลายประจำยาม ลักษณะเสาประดับกรอบประตูจัดอยู่ในสมัยนครวัดตอนต้น คานรองรับซุ้มหน้าบัน ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พิมาย ลักษณะคานรองรับบริเวณปลายสุดทำเป็นเศียรนาค 5 เศียร ตัวคานจำหลักลวดลายเป็นหัวเพราคายเศียรนาคอยู่ทั้ง 2 มุม แนวคานที่รองรับจำหลักลวดลายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน หรือลายประจำยามเป็นแถวยาวคั่นด้วยลายนูนลูกประคำ สลับด้วยลายกลีบบัว และลายเกสรบัว ตัวเสาที่รองรับคาน ลักษณะเป็นเสาสี่เหลี่ยม ส่วนยอดเสาเป็นชั้นหน้ากระดานจำหลักลวดลายเป็นลายประจำยามและลายกลีบดอกไม้ ใต้ลงมาคือส่วนชั้นบัวหงายจำหลักลายพรรณพฤกษา ลายใบไม้ม้วน และสลักรูปครุฑขนาดเล็กในท่าแบกหัวเสาอยู่ตรงมุม ชั้นต่อลงมาจำหลักเป็นลายกลีบบัวเรียงต่อกันรอบเสา ลักษณะของเศียรนาคที่ประกอบคานรองรับหน้าบันของปรางค์ มีความคล้ายคลึงกับเศียรนาคที่ปราสาทหินพิมาย คือ เศียรนาคตรงกลางจะมีขนาดใหญ่ที่สุด คายพวงอุบะเป็นลายกนก หน้าของนาคค่อนข้างดุร้ายและน่ากลัว มีตาโต โปน และแยกเขี้ยว บริเวณหน้าอกจำหลักรูปดอกบัวกลม ลักษณะของเศียรนาคดังกล่าวจัดอยู่ในศิลปะแบบนครวัดตอนต้น (ประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ 17)

สถานที่ตั้ง : บ้านกู่ ตำบลกู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ
ถ่ายภาพเมื่อ : 27 กรกฎาคม 2558
วันติดตั้งหน้าเว็บ : 19 พฤษภาคม 2559
จำนวนผู้เข้าชม : 6953 ครั้ง
ข้อมูล : วิกิพีเดีย, facebook.com/ปราสาทปรางค์กู่
หมายเหตุ : เว็บมาสเตอร์เดินทางไปชม และถ่ายภาพเอง






อาร์ตนานา สตูดิโอ และ เดอะ ไดโนเสาร์ อาร์ต แกลเลอรี่ ™ (หอศิลป์ เดอะแด็ก)
บ้านเลขที่ 9, 48 หมู่ 12 บ้านหนองซำ ต.น้ำอ้อม อ.ค้อวัง จ.ยโสธร 35160 กรุณาโทรติดต่อก่อนการเดินทางหรือนัดหมายล่วงหน้า ที่เบอร์ โทร. 081- 303 4493, 064-092 9449
ออกแบบโลโก้ | ออกแบบบรรจุภัณฑ์ | ออกแบบกล่อง | ออกแบบบถุง | ออกแบบฉลาก | ออกแบบสื่อส่งเสริมการขาย ออกแบบสื่อดิจิทัล Digital Media Design

 ร่วมสนับสนุนเว็บไซต์ อีสานอาร์ตดอทคอม ช่องพุทธศิลป์อีสาน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางถ่ายภาพนำมาจัดทำเว็บไซต์ ได้ที่ :

ธนาคารกสิกรไทย สาขาบางกะปิ ชื่อบัญชี นายพัฒยา จันดากูล เลขที่บัญชี 003-2-02799-9 ประเภท ออมทรัพย์

ต้องยอมรับความจริงว่า การเดินทางมีค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะค่าน้ำมันรถ หากต้องเดินทางไกลๆ หลายร้อยกิโลเมตร ค่าใช้จายในแต่ละเที่ยวก็หลายพันบาท เว็บมาสเตอร์จึงต้องรองบประมาณ และวางแผนการเดินทางให้คุ้มกับค่าน้ำมัน โดยกำหนดจุดที่จะไปถ่ายภาพให้ได้เยอะๆ ก่อนการเดินทาง ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ให้การสนับสนุนค่าเดินทางครับ



98.81.24.230 | Copyright © 2008 - 2023 esanart.com All Rights Reserved.
Website designed by Artnana Sudio