สิม หอไตร ฮูปแต้ม



ปราสาทสระกำแพงใหญ่ ปราสาทสระกำแพงใหญ่ ปราสาทสระกำแพงใหญ่ ปราสาทสระกำแพงใหญ่ ปราสาทสระกำแพงใหญ่ ปราสาทสระกำแพงใหญ่ ปราสาทสระกำแพงใหญ่ ปราสาทสระกำแพงใหญ่ ปราสาทสระกำแพงใหญ่ ปราสาทสระกำแพงใหญ่ ปราสาทสระกำแพงใหญ่ ปราสาทสระกำแพงใหญ่ ปราสาทสระกำแพงใหญ่ ปราสาทสระกำแพงใหญ่ ปราสาทสระกำแพงใหญ่ ปราสาทสระกำแพงใหญ่ ปราสาทสระกำแพงใหญ่ ปราสาทสระกำแพงใหญ่ ปราสาทสระกำแพงใหญ่ ปราสาทสระกำแพงใหญ่
  • ปราสาทสระกำแพงใหญ่
  • ปราสาทสระกำแพงใหญ่
  • ปราสาทสระกำแพงใหญ่
  • ปราสาทสระกำแพงใหญ่
  • ปราสาทสระกำแพงใหญ่
  • ปราสาทสระกำแพงใหญ่
  • ปราสาทสระกำแพงใหญ่
  • ปราสาทสระกำแพงใหญ่
  • ปราสาทสระกำแพงใหญ่
  • ปราสาทสระกำแพงใหญ่
  • ปราสาทสระกำแพงใหญ่
  • ปราสาทสระกำแพงใหญ่
  • ปราสาทสระกำแพงใหญ่
  • ปราสาทสระกำแพงใหญ่
  • ปราสาทสระกำแพงใหญ่
  • ปราสาทสระกำแพงใหญ่
  • ปราสาทสระกำแพงใหญ่
  • ปราสาทสระกำแพงใหญ่
  • ปราสาทสระกำแพงใหญ่
  • ปราสาทสระกำแพงใหญ่
แผนผังปราสาทสระกำแพงใหญ่
ปราสาทสระกำแพงใหญ่



    ปราสาทสระกำแพงใหญ่ หรือ ปราสาทศรีพฤทเธศวร ตั้งอยู่ในบริเวณวัดสระกำแพงใหญ่ ถนนประดิษฐ์ประชาราษฎร์ หมู่ 1 ตำบลสระกำแพงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ ใกล้กับสถานีรถไฟอุทุมพรพิสัย และห่างจากที่ว่าการอำเภออุทุมพรพิสัยไปทางทิศตะวันตก ประมาณ 2 กิโลเมตร
    สภาพทั่วไปของปราสาทสระกำแพงใหญ่ประกอบด้วยระเบียงคดรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว้าง 49 เมตร ยาว 67 เมตร ล้อมรอบกลุ่มปราสาทอิฐและบรรณาลัย รวมทั้งหมด 6 หลัง จากภาพถ่ายทางอากาศ ชี้ให้เห็นว่าปราสาทสระกำแพงใหญ่น่าจะมีชุมชนรายรอบอย่างหนาแน่น ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ห่างออกไปประมาณ 400 เมตร มีสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ เรียกว่า "สระกำแพง" สันนิษฐานว่าน่าจะขุดขึ้นเมื่อครั้งสร้างปราสาท ส่วนทางทิศตะวันออกมีลำห้วยเล็กๆไหลผ่าน คือ ห้วยตาเหมา ซึ่งเป็นลำห้วยสาขาที่แยกออกมาจากห้วยสำราญ
    ปราสาทสระกำแพงใหญ่สร้างขึ้นในศาสนาฮินดู และศาสนาพุทธแบบมหายานเพื่อเป็นที่ประดิษฐานเทวรูป จากการขุดแต่บูรณปราสาทแห่งนี้ ของกรมศิลปากร เมื่อ พ.ศ. 2532 ได้ค้นพบปฏิมากรรมสำริดขนาดใหญ่เฉพาะองค์สูง 140 เซนติเมตร และรวมความสูงทั้งฐาน 180 เซนติเมตร ศาสตราจารย์หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ให้ความเห็นว่าเป็นรูปของนันทิเกศวร หรือ นันทีศวร ลักษณะพิเศษ คือเป็นสำริดกะไหล่ทอง เดิมอาจจะตั้งอยู่หน้าปราสาทหลังกลางภายในมุขหน้าปราสาท เพราะโดยปกติจะประจำอยู่กับเทวาลัยของพระอิศวร ปฏิมากรรมชิ้นนี้เป็นศิลปะขอมแบบบาปวนตอนปลาย สำคัญมากนับเป็มปฏิมากรรมชิ้นเอกชิ้นหนึ่งที่พบในประเทศไทย ปัจจุบันจัดแสดงพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพิมาย จังหวัดนครราชสีมา

ทับหลังปราสาทสระกำแพงใหญ่ ที่สำคัญและยังคงสภาพสมบูรณ์

1. ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์
ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์
ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ หรือวิษณุอนันตศายินปัทมนาภะ เป็นภาพตอนที่พระวิษณุทรงบรรทมบนเกษียรสมุทรภายหลังจากการทำลายโลก ต่อมาเกิดพระพรหมผุดขึ้นที่พระนาภีซึ่งทำให้เกิดการสร้างโลกขึ้น ภาพเล่าเรื่องตอนนี้ยังพบอีกที่ปราสาทพนมรุ้งและ ปราสาทเปือยน้อย ภาพเล่าเรื่องนารายณ์บรรทมสินธุ์ที่นี่ มีลักษณะพิเศษ เนื่องจากปรากฏเทวีจำนวนหลายองค์ที่พระบาท โดย 2 ใน 3 องค์นี้น่าจะได้แก่พระลักษมีและพระภูเทวี อันเป็นชายา 2 องค์ของพระวิษณุ นอกจากนี้ ยังปรากฏอารมณ์ขันของช่างโดยการออกแบบให้พระวิษณุใช้พระบาทเขี่ยพระถันของพระเทวีองค์ที่ 2 อารมณ์ขันนี้ถือเป็นลักษณะพื้นเมืองของช่างของในประเทศไทยอย่างแท้จริง

2. ทับหลังพระกฤษณะปราบม้าเกษี
ทับหลังพระกฤษณะปราบม้าเกษี
ทับหลังมีองค์ประกอบแบบบาปวนโดยทั่วไป คือ มีหน้ากาลอยู่ด้านล่างของทับหลัง มีภาพบุคคลอยู่ด้านบนหน้ากาล มีท่อนพวงมาลัยออกมาจากปากหน้ากาล วกขึ้นด้นบนและม้วนตกลงด้านล่าง ด้านบนมีใบไม้ตั้งขึ้น ด้านล่างมีใบไม้ห้อยตกลง ที่น่าสนใจคือการจัดภาพเล่าเรื่อง 3 กลุ่มไว้ที่ด้านบนของหน้ากาลและส่วนปลายของท่อนพวงมาลัยซึ่งไม่พบในทับหลังแบบปกติของบาปวน เหนือหน้ากาลเป็นภาพพระกฤษณะปราบม้าเกษี ซึ่งเป็นตอนหนึ่งของเรื่องพระกฤษณะในวัยเด็กที่ป่าวรินทาวัน พญากงส์มักส่งอสูรร้ายแปลงมาในรูปสัตว์ต่างๆเข้าทำร้ายพระกฤษณะแต่พระองค์ก็สามารถปราบอสูรต่างๆได้เสมอ นอกจากนี้ ทับหลังชิ้นนี้ยังแสดงภาพพระกฤษณะปราบอสูรในรูปสัตว์อื่นๆอีก เช่น พระกฤษณะปราบจระเข้ซึ่งอยู่ทางขวาของผู้ชม

3. ทับหลังพระศิวะทรงโคนนทิ (อุมามเหศวร)
ทับหลังพระศิวะทรงโคนนทิ
ทับหลังชิ้นนี้ นับว่าเป็นภาพ สลักอุมามเหสวรที่งดงามที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย พระศิวะทรงประทับนั่งในท่ามหาราชลีลาสนะ ประคองพระอุมา ประทับนั่งบนโคนนทิ และแวดล้อมด้วยบริวารที่นั่งคุกเข่า ถือมยุรฉัตรและเครื่องสูงอื่นๆ อุมามเหศวรในศิลปะบาปวน ปรากฏอีกในปราสาทเขาพระวิหาร และปราสาทเปือยน้อย

4. ทับหลังคชลักษมี
ทับหลังคชลักษมี
ทับหลังแสดงภาพพระลักษมีประทับนั่งถือดอกบัว 2 ดอก ด้านบนมีช้างกำลังสรงน้ำ ลักษณะทางประติมานวิทยานี้เรียกว่า “คชลักษมี” หรือ “อภิเษกศรี” ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์และความโชคดี การนำสัญลักษณ์ดังกล่าวมาประดิษานไว้ที่หน้าประตู ก็เพื่ออวยพรให้ผู้ศรัทธาที่เดินผ่านให้ได้รับพรคือความอุดมสมบูรณ์และความโชคดี คชลักษมี ปรากฏที่ปราสาทบันทายศรีในประเทศกัมพูชาด้วย

5. ทับหลังพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ
ทับหลังพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ
ทับหลังแสดงภาพพระลักษมีประทับนั่งถือดอกบัว 2 ดอก ด้านบนมีช้างกำลังสรงน้ำ ลักษณะทางประติมานวิทยานี้เรียกว่า “คชลักษมี” หรือ “อภิเษกศรี” ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์และความโชคดี การนำสัญลักษณ์ดังกล่าวมาประดิษานไว้ที่หน้าประตู ก็เพื่ออวยพรให้ผู้ศรัทธาที่เดินผ่านให้ได้รับพรคือความอุดมสมบูรณ์และความโชคดี คชลักษมี ปรากฏที่ปราสาทบันทายศรีในประเทศกัมพูชาด้วย

6. ทับหลังหนุมานถวายแหวน
ทับหลังหนุมานถวายแหวน
ทับหลังนี้ เป็นตัวอย่างของทับหลังที่สลักไม่เสร็จ โดยยังเห็นส่วนที่เป็นโกลน และส่วนที่ลงรายละเอียดแล้วแต่ยังคงหินเชื่อมที่ร่องระหว่างกนก รายละเอียดทับหลัง เป็นภาพหนุมานถวายแหวนซึ่งเป้นตอนสำคัญตอนหนึ่งในเรื่องรามายณะ โดยปรากฏหนุมานนั่งคุกเข่าต่อหน้านางสีดา ด้านหลังปรากฏสตรีสามเศียรซึ่งอาจหมายถึงนางตรีชฎา ผู้ดูแลนางสีดาก็ได้

7. ทับหลังรามายณะ
ทับหลังมหากาพย์รามายณะ
ทับหลังนี้ เป็นตัวอย่างของทับหลังที่สลักไม่เสร็จ โดยยังเห็นส่วนที่เป็นโกลน และส่วนที่ลงรายละเอียดแล้วแต่ยังคงหินเชื่อมที่ร่องระหว่างกนก รายละเอียดทับหลัง น่าจะเป็นภาพเล่าเรื่องในมหากาพย์รามายณะ โดยปรากฏบุคคลถือศรอยู่ทางด้านขวาของผู้ชม ซึ่งอาจหมายถึงพระรามหรือพระลักษมณ์




ภาพปราสาทวัดสระกำแพงใหญ่ (เพิ่มเติม)
ถ่ายภาพเมื่อ : 26 กรกฎาคม 2558  Isan Upload


รวมภาพเก่าๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานที่




ถ่ายภาพเมื่อ : 9 พฤษภาคม 2560



 ข่าวอัพเดท ข่าวสารอัพเดทสถานที่ :
จ.ศรีสะเกษ เตรียมเปิดพิพิธภัณฑ์สระกำแพงใหญ่ แหล่งแสดงอารยธรรมขอมเรืองอำนาจนับพันปี
วันนี้ (9 พ.ค. 60) ที่พิพิธภัณฑ์สระกำแพงใหญ่ ตําบลสระกำแพงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ นายสุรชาติ แก้วศิลา นายอำเภออุทุมพรพิสัย พร้อมด้วยนายบุญยัง สำแดงภัย นายกเทศมนตรีตําบลสระกำแพงใหญ่ และคณะกรรมการวัดสระกำแพงใหญ่ ได้นำผู้สื่อข่าวสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย NBT เยี่ยมชมการเตรียมความพร้อมเพื่อเตรียมเปิดให้ประชาชน นักท่องเที่ยว ที่เดินทางมาเที่ยวปราสาทวัดสระกำแพงใหญ่ ได้เรียนรู้และศึกษาถึงประวัติศาสตร์สมัยขอมเรืองอำนาจนับพันปี  กำหนดเปิดอย่างเป็นทางการขึ้นในวันที่ 9 มิถุนายน 2560

ข่าวทั้งหมด 1 ข่าว




 

+ เพิ่ม | - ลด ขนาดตัวอักษร    


ปราสาทสระกำแพงใหญ่ จังหวัดศรีสะเกษ
    ความเป็นมาของปราสาทสระกำแพงใหญ่ ยังไม่สามารถยืนยันได้แน่ชัดว่าสร้างขึ้นมาในสมัยใดหรือศักราชใด ถึงแม้จะพบจารึกที่โบราณสถานแห่งนี้ ข้อความในจารึกกล่าวถึงการซื้อที่ดินถวายแก่เจ้านายผู้ล่วงลับคือ "กมรเตงชคตศรีพฤทเธศวร" ไม่ได้กล่าวถึงการสร้างปี พ.ศ. 1585 ที่ปรากฏในจารึกไม่ใช่ปีที่สร้างปราสาท ระยะดังกล่าวในกัมพูชาเป็นสม้ยที่พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ครองราชย์ แต่มิได้หมายถึงพระองค์เป็นผู้สร้าง จากการศึกษาลาดลายต่างๆทางด้านศิลปกรรมและสถาปัตยกรรม ปราสาทสระกำแพงใหญ่ น่าจะมีอายุอยู่ในศิลปะเขมรแบบคลังต่อบาปวน หรือประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 16 ถึงพุทธศตวรรษที่ 16 ตอนปลาย

    ปราสาทสระกำแพงใหญ่เป็นศาสนสถานแบบเขมร ทั้งในด้านศิลปกรรมและสถาปัตยกรรม รวมทั้งความเชื่อในการนับถือศาสนาจากหลักฐานที่ปรากฏสันนิษฐานว่าเดิมเป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดู โดยดูจากทับหลังที่สลักภาพบุคคลเล่าเรื่องราวต่างๆเกี่ยวข้องกับความเชื่อในศาสนาฮินดู ภายหลังเมื่อพระพุทธศาสนาเข้ามามีอิทธิพลในดินแดนแถบนี้จึงเปลี่ยนเป็นศาสนสถานของศาสนาพุทธโดยได้ขุดพบพระพุทธรูปนาคปรกปางสมาธิ สูง 1.33 เมตร     ปราสาทสระกำแพงใหญ่ ได้รับการประกาศเป็นโบราณสถานสำหรับชาติ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 ตอนที่ 0ง วันที่ 8 มีนาคม 2478 พร้อมกับปราสาทอีกหลายแห่งในจังหวัดขุขันธ์ (ชื่อในขณะนั้น) ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 99 ตอนที่ 255 วันที่ 8 มีนาคม 2478 เนื้อที่ 6 ไร่ 3 งาน


    จากจารึกปราสาทสระกำแพงใหญ่ ที่กรอบประตูระเบียงคต มีทั้งหมด 33 บรรทัด เนื้อความย่อมีดังนี้
    พระกมรเตงอัญศิวทาส คุณโทศพระสภาแห่งกมรเตงชคตศรีพฤทเธศวร เมืองสดุกอำพิลร่วมกับข้าราชการคนอื่นๆ คือพระกมรเตง อัญขทุรอุปกัลปดาบส พระกมรเตงอัญศิขเรสวัตพระธรรมศาสตร์ และพระกมรเตงอัญ ผู้ตรวจราชการ แต่ละปักษ์ ซื้อที่ดินซึ่งอยู่ติดกับตระพัง (สระน้ำ) เพื่อถวายให้แก่กมรเตงชคตศรีพฤทเธศวร ในวันวิศุวสงกราณต์ ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 5 มหาศักราช 964 (พ.ศ. 1585)


องค์ประกอบของปราสาท
    1.บาราย บารายคือสระน้ำ นับเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของศาสนสถานประเภทปราสาทหิน เนื่องจากจะต้องใช้นำในการประกอบศาสนพิธี ปกติบารายจะอยู่รอบ หรือทางทิศตะวันออกของศาสนสถาน บารายที่อยู่รอบศาสนสถานนั้นเป็นการจำลองเขาพระสุเมรุที่ล้อมรอบด้วยมหาสมุทรทั้ง 4 ด้านตะวันออกเป็นด้านที่ศาสนิกชนเข้าเฝ้าเทพเจ้า ซึ่งมักจะต้องตักน้ำเพื่อไปสรงศิวลึงค์หรือชำระพระบาทเทพเจ้า บารายที่ปราสาทสระกำแพงใหญ่นี้อยู่ห่างออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ระยะทางประมาณ 400 เมตร
    2.ระเบียงคต ระเบียงคตเป็นกำแพงของศาสนสถานที่ล้อมรอบอาคารศาสนสถานไว้ภายใน ระเบียงคตนี้เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 49 เมตร ยาว 67 เมตร ระเบียงคตมีซุ้มประตูโคปุระ (ซุ้มประตู) ทั้ง 4 ด้าน คือ ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก ฐานและผนังก่อด้วยศิลาแลงกรอบประตูหน้าต่างทำด้วยหินทรายภายในมีช่องทางเดินกว้าง 3 เมตร สภาพส่วนใหญ่คงเหลือแต่ฐานและผนังบางส่วนเท่นั้น ส่วนที่เป็นหลังคาพังทลายเสื่มสภาพไปแล้ว
    3.บรรณาลัยหรือวิหารภายในระเบียงคตเมื่อผ่านซุ้มโคปุระด้านทิศตะวันออกเข้าไปจะพบอาคาร 2 หลัง หันหน้าไปทางทิศตะวันตก อาคารทั้งสองก่อด้วยอิฐไม่สอปูน ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีมุขยื้นออกมาด้านหน้า ด้านข้างและด้านหลังก่อเป็นอิฐทึบแต่แซะร่องให้มีลักษณะเป็นประตูปลอมเลียนแบบประตูจริง อาคาร 2 หลังนี้เรียกว่าวิหารหรือบรรณาลัย เปรียบได้กับหอตรัยของพุทธศาสนา คือใช้เป็นที่เก็บคัมภีร์ทางศาสนา ซึ่งถือว่ามีความสำคัญไม่น้อยกว่ารูปเคารพ
    4.ปรางค์ ปรางค์หรือปราสาท เป็นศูนย์กลางของศาสนสถาน เป็นที่ประดิษฐานของรูปเคารพ ปราสาทสระกำแพงใหญ่ประกอบด้วยปรางค์ 4 หลัง คือ ปรางค์หลังทิศเหนือ ทิศใต้ โดยมีปรางค์ประธานอยู่ตรงกลาง ปรางค์ทั้ง 3 หลังนี้ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน

    นอกจากนี้ยังมีปรางค์เดี่ยวอีกหนึ่งหลังอยู่ทางทิศตะวันตกค่อนไปทางทิศใต้ภายในระเบียงคต (ที่มีปรางค์หลายหลังเนื่องจากศาสนาฮฺนดูนับถือพระเจ้าหลายองค์ จึงต้องมีที่ประดิษฐานรูปเคารพหลายหลัง) ปรางค์ทั้งหมดมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสขนาด 4 x 4 เมตร สำหรับปรางค์ประธานมีมุขยื่นออกมาด้านหน้า ปรางค์ทุกหลังหันหน้าไปทางทิศตะวันออก และมีประตูเข้าออกเพียงด้านเดียว นอกนั้นทำเป็นประตูปลอม

ภาพจำหลักทับหลัง
    โบราณสถานประเภทปราสาทหิน โดยทั่วไปจะมีทับหลังตั้งอยู่เหนือกรอบประตูทางเข้าเสมอ ทับหลังนี้เป็นภาพจำหลักเล่าเรื่องต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นคติความเชื่อเกี่ยวกับศาสนา ภาพจำหลักทับหลังปราสาทหินสระกำแพงใหญ่เป็นศิลปะเขมรแบบคลังต่อบาปวน ที่เจริญรุ่งเรืองอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16 ทับหลังที่พบที่ปราสาทหินสระกำแพงใหญ่มี่มากถึง 13 แผ่นอยู่ภายในบริเวณปราสาทสระกำแพงใหญ่ ทับหลังที่น่าสนใจได้แก่
    1.ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์
    2.ทับหลังพระกฤษณะประลองกำลังกับม้า (พระกฤษณะปราบม้าเกษี)
    3.ทับหลังพระศิวะทรงโคนนทิ (อุมามเหศวร)
    4.ทับหลังคชลักษมี
    5.ทับหลังพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ
    6.ทับหลังหนุมานถวายแหวน


พระพุทธรูปปางนาคปรก
พระพุทธรูปปางนาคปรก
    สถานที่ค้นพบ บ้านกำแพง หมู่ที่ 1 ตำบลสระกำแพงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่บ้านกำแพง หมู่ที่ 1 ตำบลสระกำแพงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ
    พุทธลักษณะ เป็นพระพุทธรูปที่เก่าแก่สร้างด้วยหินเขียว มีขนาดหน้าตักกว้าง 13 นิ้ว จากฐานถึงพระเกศ 15 นิ้ว จากฐานถึงหัวนาค 29 นิ้ว
ประวัติความเป็นมา
   จากการสัมภาษณ์หลวงปู่เครื่อง สุภัทโท เจ้าอาวาส วัดสระกำแพงใหญ่ปัจจุบันอายุ 94 ปี ได้เล่าว่า เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2491 เหตุเริ่มแรกที่ได้ พบหลวงพ่อนาคปรกองค์นี้ เนื่องด้วยในคืนวันหนึ่ง ได้ตั้งใจ สวดมนต์เจริญภาวนา ในระหว่างท้ายเดือน 11 ต้องอธิฐานรำลึกถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่สิงสถิตอยู่ภายในบริเวณปราสาทหินกำแพงนั้น ครั้นเมื่อ ข้าพเจ้าได้พักผ่อน นอนหลับไปด้วย ตั้งสติอันมั่นคงแล้วก็เกิดนิมิตขึ้นที่ใจ ปรากฏเห็นหลวงพ่อนาคปรก ประดิษฐาน อยู่ภายในหน้าเจดีย์ปราสาทหลังกลางเปล่งปลั่งรัศมีเป็นแสงทองคำธรรมชาติส่องแสงรุ่งโรจน์ โชตนาการทั่วไป ตามบริเวณกำแพงข้าพเจ้าก็ได้สติขึ้นมา แล้วตั้งสติพิจารณาด้วยปัญญาว่า อ้อ อันนี้คงจะเป็นบุญลาภอันประเสริฐ ของเราแล้ว เมื่อแสงอรุณรุ่งขึ้นเราก็เตรียมเครื่องมือ พร้อมด้วย สามเณรน้อยองค์หนึ่งให้ถือจอบเล่มหนึ่ง นึกดีใจว่าคงจะเป็นพระทองคำธรรมชาติแน่นอน ซึ่งเราก็ไม่ได้พิจารณาระมัดระวังอะไร แล้วรีบขุด ลงไปเลยถูกที่จุดมุ่งหมายนิมิตนั้น ใช้กำลังขุดลงไปอย่างแรกแล้วขุดไปถูกตัวนาคก่อนเสียงดังลั่นผิดปกติ
   เมื่อข้าพเจ้าเอามือ จี้ลงไปดูก็ปรากฏ เห็นสะเก็ดลวดลายเหมือนตัวงู ไม่นึกว่าจะเป็น พระพุทธรูปนาคปรก เพราะเกิดความสงสัยเสียจึงได้พยามยามขุดลงไปอีก จึงได้พบองค์หลวงพ่อนาคปรก กลายเป็นพระศิลาทรายอย่างละเอียดลออ ซึ่งเป็นองค์พระนาคปรกวัตถุโบราณของเก่าแก่ คงเป็นสมัยครั้งเมื่อ พระเจ้าภววรมันรัชกาลที่ 2-3 ของพวกพระเจ้าอีสานวรมันในราวปี พ.ศ. 1153 หรือในระหว่างสมัยพระเจ้าวรมันที่ พ.ศ. 1345 (หรือสมัยขอม) จึงได้พร้อมกันยกขึ้นมาจากมูลดินแล้วเอามาตั้งไว้ที่บริเวณภายในกำแพง ใคร่ ๆ ก็ไม่สนใจฝักใฝ่เท่าไรนัก เป็นแต่ข่าวลือกระตือรือร้นไป บุคคลทั่วไปทุกทิศได้หลั่งไหลกันมาชมมาดู ทิ้งตากแดดตากฝนไว้ได้ 3 เดือน
    ครั้นต่อมาวันหนึ่งมีเด็กนักเรียนคนหนึ่ง เอาชอล์กไปขีดเขียน ที่ด้านหลัง หลวงพ่อนาคปรกนั้น ส่วนเด็กนั้นเมื่อเวลากลับไปถึงบ้าน กลางคืนก็เกิดอุบัติเหตุเสียสติ เป็นบ้าๆ พลั้ง ๆ เผลอ ๆ ละเมอไป มีวิปริตประการต่าง ๆ ร้องห่มร้องไห้ จึงพากันไปดูหมอหมอดูบอกว่าเด็ก เอาชอล์กไปขีดเขียนพระนาคปรก เพราะพระเดชาภาพหลวงพ่อ นาคปรกได้เข้าไปสิงกาย สิงจาของเด็กให้แสดงอิทธิฤทธิ์ให้ประชาชนได้เคารพสักการบูชา เมื่อบิดามารดาได้เอาดอกไม้ธูปเทียน มาขอขมาโทษ เด็กนั้นก็หายวันหายคืน ด้วยเหตุนั้นชาวพุทธทั้งหลาย ได้เห็นพระเดชพระคุณอภินิหารอิทธิฤทธิ์ เช่นนี้ ผลที่สุด ท่านนายอำเภอพวง ศรีบุญลือ จึงได้จัดการสั่งให้กำนันผู้ใหญ่บ้านทายกทายิกา ให้หามเอาหลวงพ่อนาคปรกไปไว้บนศาลาการเปรียญ ความจริงเริ่มแรก ความเป็นมาของหลวงพ่อนาคปรกองค์นี้มีท่านนายอำเภอสิน ได้น้อมนำมาซึ่งดอกไม้ธูปเทียนสักการะบูชาแล้ว ตั้งใจอธิษฐานได้บนบานศาลกล่าวว่า ถ้าศักดิ์สิทธิ์จริงให้ข้าพเจ้าสอบได้ตำแหน่งนายอำเภอในครั้งนี้ ผลที่สุดท่านก็สอบตำแหน่งนายอำเภอได้ ท่านนายอำเภอพวง ศรีบุญลือ พร้อมด้วยคณะสงฆ์์และข้าราชการครู พ่อค้า ประชาชน จึงได้เริ่ม จัดทำบุญกุศล มีงานเทศกาลประจำปี ปิดทองเพื่อฉลองพระเดชพระคุณหลวงพ่อนาคปรกตลอดทุกปี ปัจจุบันหลวงปู่เครื่องและประชาชนมีความศรัทธาหวงแหน เกรงจะถูกโจรกรรม จึงได้จัดสร้างหอพระสูงสง่างามภายในบริเวณวัดสระกำแพงใหญ่ เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อนาคปรก พร้อมกำกับดูแลอย่างดี


ประติมากรรมสำริด นันทิเกศวรหรือนันทีศวร
ประติมากรรมสำริดนันทิเกศวรหรือนันทีศวร
สถานที่ค้นพบ ปราสาทสระกำแพงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ กรมศิลปากรได้ค้นพบประติมากรรมสำริดที่ปราสาทสระกำแพงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ ในขณะทำการขุดแต่ง ปราสาทแห่งนี้ เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2532 โดยขุดพบภายในใกล้กับระเบียงทางด้านทิศตะวันออก เฉียงเหนือ ลึกลงไปเพียงราว 10 เซนติเมตร ปรากฏว่ายังคงอยู่ดี เป็นรูปเดียว สูงเฉพาะองค์ 140 เซนติเมตร และวัดความสูงทั้งฐาน 180 เซนติเมตร โดยมีเดือยยาว 34 เซนติเมตร ทรงผมด้านบนเศียร ได้หักหายไป รวมทั้งส่วนล่างของแขนด้านขวา และส่วนหนึ่งแต่งกาย และเทคนิคการฝังโลหะอื่นลงในเนื้อสำริด ประติมากรรมสำริดชิ้นนี้คงหล่อขึ้นในศิลปขอมแบบบาปวนตอนปลาย ราวระหว่าง พ.ศ. 1600-1650 โดยไม่ต้องสงสัย
    ศาสตราจารย์ ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ให้ความเห็นหลังจากการพิจารณาประติมากรรมสำริด ซึ่งเพิ่งขุดค้นพบเมื่อเร็ว ๆ นี้จากปราสาทสระกำแพงใหญ่ว่า จากลักษณะ โดยทั่วไปของประติมากรรมที่ปราสาทสระกำแพงใหญ่ ทำให้ข้าพเจ้าที่จะกล่าวว่ารูปนี้เป็นรูปของนันทิเกศวรหรือนันทีศวร ผู้เป็นหัวหน้าของคณะ (บรรดาผู้ที่มีตัวเป็นมนุษย์ และเป็นหัวเป็นสัตว์) พระอิศวรได้ทรงนึกถึงการรับใช้อย่างซื่อสัตย์ของเขา จึงได้โปรดให้หลุดพ้นจากรูปร่างเดิมซึ่งมีลักษณะคล้ายลิง และให้มีลักษณะคล้ายกับพระองค์เอง เช่น จากปาฐกถาของข้าพเจ้า เรื่อง Deux temples Khmers de plan exceptionnel แสดงที่สมาคมฝรั่งเศส ที่กรุงเทพฯ ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2531
    การที่ประติมากรรมรูปนี้ ไม่มีนัยน์ตาที่ 3 บนหน้าผากก็ไม่น่าแปลกประหลาดอะไร เพราะเหตุว่าเทวรูปพระอิศวรเองก็ไม่ได้มีตรีเนตรทุกองค์ไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประติมาณวิทยาของขอม การค้นคว้าเกี่ยวกับสถานที่ตั้ง ไม่ว่าการที่ข้าพเจ้า ได้กล่าวว่าประติมากรรมรูปนี้ เป็นรูปของนินทิเกศวร จะถูกต้องหรือไม่ก็ตามแต่ประติมากรรมรูปนี้ก็คงเป็นรูปาของทวารบาล อย่างแน่นอน และ ลักษณะพิเศษ ถือเป็นสำริดชุบทองและหล่ออย่างดี จึงอาจทำให้คิดได้ว่าแต่เดิมคงจะตั้งอยู่ในมุขหน้าปราสาทหลังนั้น หรือตั้งอยู่หน้าปราสาทองค์ทิศตะวันตกเฉียงใต้ปราสาทหลังนี้ เป็นหลังสำคัญที่สุด และมีฐานสำหรับตั้งประติมากรรม 2 รูป มากกว่าที่จะตั้งอยู่หน้าประตูซุ้มทิศใดทิศหนึ่ง นอกจากนี้ ทวารบาลนั้นจำต้องตั้งอยู่เป็นคู่ ประติมากรรมที่ค้นพบที่ปราสาทกำแพงใหญ่นี้จำต้องมีคู่อยู่อีกด้านหนึ่งของประตูหรือทางที่ตนรักษาอยู่ ถ้าเรานึกไปถึงลักษณะพิเศษของปราสาทบันทายสรีหลังกลางในประเทศกัมพูชา (พ.ศ. 1510) และบรรดาประติมากรรมซึ่งตั้งอยู่ 2 ข้างของมุขและประตูหลอดของปราสาทหลังนั้นแล้ว “ประติมากรรมที่เป็นคู่”นั้นก็คงจะเป็นเช่นเดียวกับประติมากรรม ที่ปราสาทสระกำแพงใหญ่นี้ และประติมากรรมนั้น ก็คงจะเป็นประติมากรรมที่ดุร้ายกว่า มีลักษณะคล้ายเงาะทรงผมหนาและเตี้ยค่อมซึ่งเป็นลักษณะโดยทั่วไปของ “ มหากาล ” ซึ่งเป็นคู่โดยปกติของนินทิเกศวร เช่น ที่ปรากฎอยู่ที่ประสาทพระโค(พ.ศ. 1422) โดยสลักเป็นภาพนูนสูง นอกจากนี้ยังควรจำไว้ด้วยว่าคู่ของนันทิเกศวร-มหากาลนี้โดยปกติ จะประจำอยู่กับเทวาลัยของพระอิศวร และเป็นลักษณะประจำจนกระทั่งบางครั้งจะไม่ปรากฏอยู่ในศิลาจารึกขอม แต่ไปปรากฏอยู่ในศิลาจารึกของขอม แต่ไปปรากฏอยู่ในศิลาจารึก สำหรับเทวาลัยของพระนารายณ์ด้วย
    ความสำคัญ ประติมากรรมสำริดชิ้นเอกนี้ นับว่ามีความสำคัญ เพราะประติมากรรมนันทิเกศวรขนาดใหญ่นี้ จะพบที่ปราสาทบันทายสรี ประเทศกัมพูชา ส่วนในประเทศไทย พบแห่งเดียวที่ปราสาทสระกำแพงใหญ่ นับว่าปราสาทสระกำแพงใหญ่เป็นศูนย์กลางที่สำคัญแห่งหนึ่ง ในสมัยกลางพุทธศตวรรษที่ 16
    ปัจจุบัน ประติมากรรมชิ้นนี้ ตั้งแสดงอยู่พิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย จังหวัดนครราชสีมา



สถานที่ตั้ง : วัดสระกำแพงใหญ่ ถนนประดิษฐ์ประชาราษฎร์ หมู่ 1 ตำบลสระกำแพงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ ใกล้กับสถานีรถไฟอุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีษะเกษ
ถ่ายภาพเมื่อ : 26 กรกฎาคม 2558, 10 พฤษภาคม 2560
วันติดตั้งหน้าเว็บ : 26 สิงหาคม 2558
จำนวนผู้เข้าชม : 3485 ครั้ง
ข้อมูล : วิกิพีเดีย, archae.su.ac.th, m-culture.go.th
หมายเหตุ : เว็บมาสเตอร์เดินทางไปชม และถ่ายภาพเอง






อาร์ตนานา สตูดิโอ และ เดอะ ไดโนเสาร์ อาร์ต แกลเลอรี่ ™ (หอศิลป์ เดอะแด็ก)
บ้านเลขที่ 9, 48 หมู่ 12 บ้านหนองซำ ต.น้ำอ้อม อ.ค้อวัง จ.ยโสธร 35160 กรุณาโทรติดต่อก่อนการเดินทางหรือนัดหมายล่วงหน้า ที่เบอร์ โทร. 081- 303 4493, 064-092 9449
ออกแบบโลโก้ | ออกแบบบรรจุภัณฑ์ | ออกแบบกล่อง | ออกแบบบถุง | ออกแบบฉลาก | ออกแบบสื่อส่งเสริมการขาย ออกแบบสื่อดิจิทัล Digital Media Design

 ร่วมสนับสนุนเว็บไซต์ อีสานอาร์ตดอทคอม ช่องพุทธศิลป์อีสาน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางถ่ายภาพนำมาจัดทำเว็บไซต์ ได้ที่ :

ธนาคารกสิกรไทย สาขาบางกะปิ ชื่อบัญชี นายพัฒยา จันดากูล เลขที่บัญชี 003-2-02799-9 ประเภท ออมทรัพย์

ต้องยอมรับความจริงว่า การเดินทางมีค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะค่าน้ำมันรถ หากต้องเดินทางไกลๆ หลายร้อยกิโลเมตร ค่าใช้จายในแต่ละเที่ยวก็หลายพันบาท เว็บมาสเตอร์จึงต้องรองบประมาณ และวางแผนการเดินทางให้คุ้มกับค่าน้ำมัน โดยกำหนดจุดที่จะไปถ่ายภาพให้ได้เยอะๆ ก่อนการเดินทาง ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ให้การสนับสนุนค่าเดินทางครับ



98.81.24.230 | Copyright © 2008 - 2023 esanart.com All Rights Reserved.
Website designed by Artnana Sudio