ฮุปแต้มอีสาน, สิมอีสาน (Isan Mural Painting and Isan Temple Architectures)
 สิม หอไตร ฮูปแต้ม

(วางเมาส์บนรูปภาพ เพื่อดูส่วนขยายภาพ)

+ เพิ่ม | - ลด ขนาดตัวอักษร      


ปราสาทหินพิมาย อ.พิมาย จ.นครราชสีมา
      อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย เป็นหนึ่งในอุทยานประวัติศาสตร์ของประเทศไทย ที่ตั้งอยู่ในตัวอำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วยปราสาทหินในสมัยอาณาจักรขอมที่ใหญ่โตและงดงาม สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ราวพุทธศตวรรษที่ 16 เพื่อใช้เป็นเทวสถานของศาสนาพราหมณ์
      เมืองพิมายเป็นเมืองที่สร้างตามแบบแผนของศิลปะเขมร หรือ กัมพูชา มีลักษณะเป็นเวียงสี่เหลี่ยม ชื่อ พิมาย น่าจะมาจากคำว่า วิมาย หรือ วิมายปุระ ที่ปรากฏในจารึกภาษาเขมรบนแผ่นหินตรงกรอบประตูระเบียงคดด้านหน้าของปราสาท จากหลักฐานศิลาจารึกและศิลปะสร้างบ่งบอกว่า ปราสาทหินพิมายคงเริ่มสร้างขึ้นสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ราวพุทธศตวรรษที่ 16 ในฐานะเทวสถานของศาสนาพราหมณ์ รูปแบบของศิลปะเป็นแบบบาปวนผสมผสานกับศิลปะแบบนครวัด ซึ่งหมายถึงปราสาทนี้ได้ถูกดัดแปลงมาเป็นสถานที่ทางศาสนาพุทธในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
      เมื่ออิทธิพลของวัฒนธรรมขอมเริ่มเสื่อมลงหลังรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และมีการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยในเวลาต่อมา เมืองพิมายคงจะหมดความสำคัญลง และหายไปในที่สุด เนื่องไม่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับเมืองพิมายเลยในสมัยสุโขทัย
      ในปี พ.ศ. 2479 กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนปราสาทหินพิมายเป็นโบราณสถาน และได้จัดตั้งเป็น อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ในวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2532 โดยได้ดำเนินการปรับปรุงจัดตั้งถึง 13 ปี ร่วมมือกันระหว่างกรมศิลปากร และประเทศฝรั่งเศส ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519-2532 ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จฯ พระราชดำเนิน เป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอุทยาน



ภาพเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร โบราณสถานปราสาทหินพิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2498


      พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย
      ตั้งอยู่ในตัวอำเภอพิมาย บริเวณเชิงสะพานท่าสงกรานต์ ก่อนถึงปราสาทหินพิมาย300 เมตร ห่างจากตัวเมืองนครราชสีมา 60 กิโลเมตร เป็นสถานที่เก็บรวบรวมหลักฐาน และจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับความเจริญรุ่งเรือง ของวัฒนธรรมอีสานในอดีต โดยเฉพาะโบราณวัตถุศิลปะวัตถุที่ค้นพบในเขตอีสานตอนล่าง
      โบราณวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ นำมาจัดแสดงได้แก่ เครื่องปั้นดินเผาโบราณ โครงกระดูก เครื่องมือ เครื่อประดับที่ทำจากสำริดและหิน ส่วนโบราณวัตถุสมัย ประวัติศาสตร์ได้แก่ ใบเสมาแบบศิลปะทวาราวดี ชิ้นส่วนสถาปัตยกรรมแบบเขมร เช่น ทับหลัง หน้าบัน เสาประดับกรอบประตู ทวารบาล และประติมากรรมรูปเคารพ อาทิ พระพุทธรูป เทวรูป รูปพระโพธิสัตว์ และรูปสลักศิลาพระเจ้าชัยวรมันท ี่7 ซึ่งพบที่ ปราสาทหินพิมาย นับเป็นโบราณวัตถุชิ้นเยี่ยมของพิพิธภัณฑ์นี้
      แบ่งการจัดแสดงออกเป็น 3 ส่วน
      ส่วนที่ 1 อาคารจัดแสดงชั้นบน จัดแสดงเรื่องพัฒนาการของสังคมในดินแดนอีสานตอนล่าง แสดงถึงรากฐานการกำเนิด อารยธรรม ซึ่งมีมาจากความเชื่อต่าง ๆ ตลอดจนอิทธิพลวัฒนธรรมภายนอกที่เข้ามามีบทบาทตั้งแต่สมัยก่อน ประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบัน
      ส่วนที่ 2 อาคารชั้นล่าง จัดแสดงโบราณวัตถุศิลปะเขมรในอีสานตอนล่าง
      ส่วนที่ 3 อาคารโถง จัดแสดงโบราณวัตถุซึ่งเป็นส่วนประกอบสถาปัตยกรรมหินทราย เช่น ทับหลัง เสาประดับกรอบประตู กลีบขนุน บัวยอดปราสาท และปราสาทจำลองนอกจากนี้บริเวณรอบอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย ยังได้จัดแสดงใบเสมาและ ทับหลังที่สวยงามอีกด้วย
      พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เปิดให้เข้าชม วันพุธ-วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น. หยุดทุกวันจันทร์-อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ค่าเข้าชม ชาวไทย 20 บาท; ชาวต่างประเทศ 100 บาท ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ ที่ โทร. 0 4447 1167



      The Phimai historical park
      protects one of the most important Khmer temples of Thailand. It is located in the town of Phimai, Nakhon Ratchasima province.
      The temple marks one end of the Ancient Khmer Highway from Angkor. As the enclosed area of 1020x580m is comparable with that of Angkor Wat, Phimai must have been an important city in the Khmer empire. Most buildings are from the late 11th to the late 12th century, built in the Baphuon, Bayon and Angkor Wat style. However, even though the Khmer at that time were Hindu, the temple was built as a Buddhist temple,[1] as Buddhism in the Khorat area dated back to the 7th century. Inscriptions name the site Vimayapura (which means city of Vimaya), which developed into the Thai name Phimai.
      The first inventory of the ruins was done in 1901 by the French geographer Etienne Aymonier. They were put under governmental protection by announcement in the Government Gazette, Volume 53, section 34, from September 27, 1936. Most of the restorations were done from 1964 to 1969 as a joint Thai-French project. The historical park, now managed by the Fine Arts Department, was officially opened by Princess Maha Chakri Sirindhorn on April 12, 1989.
      In the aftermath of the fall of the Ayutthaya Kingdom in 1767, attempts were made to set up five separate states, with Prince Teppipit, a son of king Boromakot, attempting to establish Phimai as one, holding sway over eastern provinces including Nakhon Ratchasima. The weakest of the five, Prince Teppipit was the first defeated and was executed in 1768. Phimai had also been an important town at the time of the Khmer. The temple Prasat Hin Phimai, located in the center of the town, was one of the major Khmer temples in ancient Thailand, connected with Angkor by an ancient Khmer Highway, and oriented so as to face Angkor as its cardinal direction. The site is now protected as the Phimai Historical Park.



อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ถ่ายภาพเมื่อ : 7 พฤษภาคม 2555


      


      อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย เป็นหนึ่งในอุทยานประวัติศาสตร์ของประเทศไทย ประกอบด้วยปราสาทหินในสมัยอาณาจักรขอมที่ใหญ่โตและงดงาม สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ราวพุทธศตวรรษที่ 16 เพื่อใช้.เป็นเทวสถานของศาสนาพราหมณ์ ตั้งอยู่ฟากทิศตะวันออกของแม่น้ำมูล บนพื้นที่ 115 ไร่ วางแผนเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 565 เมตร ยาว 1,030 เมตร ลักษณะพิเศษของปราสาทหินพิมาย คือ ปราสาทหินแห่งนี้สร้างหันหน้าไปทางทิศใต้ ต่างจากปราสาทหินอื่น ๆ ที่มักหันไปทางทิศตะวันออก สันนิษฐานว่าเพื่อให้หันรับกับเส้นทางตัดมาจากเมืองยโศธรปุระ เมืองหลวงในสมัยนั้นของขอม ซึ่งเข้ามาสู้เมืองพิมายทางทิศใต้

สิ่งก่อสร้างที่น่าสนใจภายในอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย

พลับพลา
1.พลับพลา ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้ากำแพงชั้นนอก ด้านซ้ายมือของทางเดินเข้าสู่ตัวปราสาท เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เดิมเรียกกันว่า "คลังเงิน" จากตำแหน่งที่ตั้งสันนิษฐานว่าคงเป็นที่พักเตรียมพระองค์สำหรับกษัตริย์ หรือเจ้านายชั้นสูงที่เสด็จมาประกอบพิธีกรรมทางศาสนา รวมทั้งเป็นสถานที่พักจัดขบวนสิ่งของถวายต่าง ๆ จากการขุดแต่งบริเวณนี้เมื่อปี พ.ศ. 2511 ได้พบโบราณวัตถุจำนวนมาก มีทั้งรูปเคารพ เครื่องประดับ และเหรียญสำริด เป็นเหตุให้เรียกกันว่า "คลังเงิน"

สะพานนาคราช
2.สะพานนาคราช ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าทางเข้าโคปุระด้านทิศใต้สร้างด้วยหินทราย มีผังเป็นรูปกากบาท กว้าง 4 ม. ยาว 31.70 ม. ยกพื้นสูง ราวสะพานทำเป็นตัวนาค ที่ปลายราวสะพานทำเป็นรูปนาคราชชูคอแผ่พังพานเป็นรูปนาค 7 เศียร สะพานนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการเดินทางเข้าสู่ศาสนสถานอันศักดิ์สิทธิ์ตามคติความเชื่อเรื่องจักรวาล เชื่อว่าเป็นเส้นทางเชื่อมระหว่างโลกมนุษย์กับโลกสวรรค์ คตินีถือสืบกันมาในศาสนาฮินดูและพุทธศาสนานิกายมหายาน

ซุ้มประตูและกำแพงแก้ว
3.ซุ้มประตูและกำแพงแก้ว ซุ้มประตูหรือโคปุระ ตั้งอยู่กึ่งกลางของแนวกำแพงแก้ว อยุ่ในแนวตรงกันหมดทั้ง 4 ด้าน คือ ทิศเหนือ-ใต้ อยู่ตรงกึ่งกลางของกำแพง ทิศตะวันออก-ตะวันตกค่อนไปทางเหนือเล็กน้อย ผังโดยรอบของซุ้มประตูจะมีลักษณะเป็นรูปกากบาท จากกำแพงแก้วเข้ามาด้านในเชื่อกันว่าเป็นดินแดนของโลกสวรรค์ อันเป็นที่อยู่ของเทพเจ้า

ชาลาทางเดิน
4.ชาลาทางเดิน ก่อสร้างด้วยหินทราย เชื่อมต่อระหว่างซุ้มประตูด้านทิศใต้ของระเบียงคดที่ล้อมรอบปราสาทประธาน โดยทำทางเดินยกพื้นสูงประมาณ 1 เมตร แบ่งเป็น 3 ช่องทางเดิน ผังทำเป็นรูปกากบาท จากการบูรณะพบเศษกระเบื้องมุงหลังคาและบราลีดินเผาจำนวนมาก สันนิษฐานว่าเดิมคงเป็นระเบียงโปร่ง หลังคามุงกระเบื้อง รองรับด้วยเสาไม้

ซุ้มประตูและระเบียงคด
5.ซุ้มประตูและระเบียงคด เป็นอาคารก่อด้วยหินทรายยกพื้นสูง อยู่ล้อมรอบปราสาทประธาน ระเบียงคดมีลักษณะคล้ายกำแพงแก้วทั้ง 4 ด้าน โดยมีตำแหน่งที่ตั้งตรงกับแนวของประตูเมือง และประตูทางเข้าปราสาทประธาน ปรากฏหลักฐานสำคัญที่ซุ้มประตูด้านทิศใต้ บริเวณกรอบประตูพบจารึกภาษาเขมร อักษรขอมโบราณ ระบุศักราชตรงกับ พ.ศ. 1651-1655 กล่าวถึงการสร้างรูปเคารพ การสร้างเมือง ตลอดจนปรากฏพระนามของขุนนางชั้นสูง และพระนามมหากษัตริย์คือ พระเจ้าธรณินทรวรมันที่1

ประสาทประธาน
6.ประสาทประธาน เป็นส่วนสำคัญที่สุดของปราสาทหินพิมาย เป็นปราสาทองค์ใหญ่ สร้างขึ้นราวพุทธศรรตวรรษที่ 16-17 ก่อสร้างด้วยศิลาทรายสีขาวหันหน้าไปทางทิศใต้ ซึ่งแตกต่างจากศาสนสถานแบบขอมในที่อื่น ๆ ซึ่งมักจะหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ปราสาทประธานประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วนคือ มณฑป และ เรือนธาตุ มีการจำหลักลวดลายประดับตามส่วนต่าง ๆ เช่น หน้าบัน ทับหลัง มักจำหลักเป็นภาพเล่าเรื่องรามเกียรติ์และเรื่องราวทางพุทธศาสนา ยกเว้นทางด้านทิศใต้ จำหลักเป็นภาพศิวนาฏราช ภายในเรือนธาตุเป็นส่วนสำคัญที่สุดเรียกว่า ห้องครรภคฤหะ เป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพสำคัญ พื้นห้องตรงมุมด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีร่องน้ำมนต์ต่อลอดผ่านพื้นห้องออกไปทางด้านนอก เรียกว่า ท่อโสมสูตร

ปรางค์หินแดง
7.ปรางค์หินแดง สร้างขึ้นราวปลายพุทธศตวรรษที่ 17 ตั้งอยู่ทางด้านขวาของปรางค์ประธาน มีมุขยื่นออกไปทั้ง 4 ทิศ เหนือกรอบประตูทางเข้าด้านทิศเหนือ มีทับหลังหินทรายจำหลักภาพเล่าเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ ตอนอรชุนล่าหมูป่า ส่วนกรอบประตูด้านอื่นคงเหลือร่องรอยเฉพาะเสาประดับกรอบประตูศิลปะแบบเขมรประดับอยู่

หอพราหมณ์
8.หอพราหมณ์ เป็นอาคารก่อด้วยหินทรายและศิลาแลง ตั้งอยู่บนฐานเดียวกันกับบปรางค์หินแดง ในปี พ.ศ. 2493 ได้ค้นพบศิวลึงค์ สลักด้วยหินทรายจำนวน 7 ชิ้นอยู่ภายในหอพราหมณ์ เชื่อกันว่าอาคารหลังนี้คงเป็นสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนาพราหมณ์ แต่จากรูปแบบและตำแหน่งที่ตั้งเดิมคงเป็นที่ตั้งของบรรณาลัยมากกว่า.

ปรางค์พรหมทัต
9.ปรางค์พรหมทัต ลักษณะของปรางค์องค์นี้ สร้างด้วยศิลาแลงตั้งอยู่ด้านหน้าของปราสาทประธานทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ประตูทำเป็นมุขยื่นออกไปทั้ง 4 ทิศ ภายในองค์ปรางค์พบประติมากรรมสำคัญ 2 ชิ้น คือ ประติมากรรมรูปบุคคลขนาดใหญ่อยู่ในท่านั่งขัดสมาธิ สลักด้วยหินทราย สันนิษฐานว่าเป็นรูปจำลองของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ชาวบ้านเรียกว่า ท้าวพรหมทัต ส่วนอีกรูปเป็นรูปสตรีนั่งคุกเข่าสลักด้วยหินทราย ส่วนศีรษะและแขนหักหายไป เชื่อกันว่าเป็นรูปของพระนางชัยราขเทวีมเหสี ชาวบ้านเรียกตามนิยายพื้นบ้านว่า นางอรพิม ปัจจุบันประติมากรรมทั้ง 2 ชิ้นนี้จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพิมาย

บรรณาลัย
10.บรรณาลัย ตั้งอยู่บริเวณลานชั้นนอก ระหว่างกำแพงแก้วและซุ้มประตูระเบียงคด ด้านทิศตะวันตกเป็นอาคาร 2 หลังขนาดเดียวกัน ผังอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายกพื้นสูง ก่อด้วยหินทรายกั้นเป็นห้องยาวตลอดแนว พบร่องรอยหลุมเสารูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เดิมคงเป็นหลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง เชื่อกันว่าบรรณาลัยคือสถานที่เก็บรักษาคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนา

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย ถ่ายภาพเมื่อ : 7 พฤษภาคม 2555
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย



สถานที่ตั้ง : ปราสาทหินพิมาย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย อ.พิมาย จ.นครราชสีมา
พิกัด : 15.224802, 102.494452
ถ่ายภาพเมื่อ : 7 พฤษภาคม 2555
วันติดตั้งหน้าเว็บ : 28 สิงหาคม 2559
ปรับปรุงหน้าเว็บล่าสุด : 29 สิงหาคม 2560
จำนวนผู้เข้าชม : 60 ครั้ง
แหล่งที่มาข้อมูล : วิกิพีเดีย, thai.tourismthailand.org
หมายเหตุ : เว็บมาสเตอร์เดินทางไปชมและถ่ายภาพเอง


28-08-2016 Views : 61
      ร่วมกันสนับสนุนเว็บไซต์นี้ ทำได้ง่ายๆ ด้วยการคลิกลิงค์ด้านล่าง... ขอบคุณครับ





อาร์ตนานา สตูดิโอ และ เดอะ ไดโนเสาร์ อาร์ต แกลเลอรี่ ™ (หอศิลป์ เดอะแด็ก)
บ้านเลขที่ 9, 48 หมู่ 12 บ้านหนองซำ ต.น้ำอ้อม อ.ค้อวัง จ.ยโสธร 35160 กรุณาโทรติดต่อก่อนการเดินทางหรือนัดหมายล่วงหน้า ที่เบอร์ โทร. 081- 303 4493, 064-092 9449
ออกแบบโลโก้ | ออกแบบบรรจุภัณฑ์ | ออกแบบกล่อง | ออกแบบบถุง | ออกแบบฉลาก | ออกแบบสื่อส่งเสริมการขาย ออกแบบสื่อดิจิทัล Digital Media Design

 ร่วมสนับสนุนเว็บไซต์ อีสานอาร์ตดอทคอม ช่องพุทธศิลป์อีสาน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางถ่ายภาพนำมาจัดทำเว็บไซต์ ได้ที่ :

ธนาคารกสิกรไทย สาขาบางกะปิ ชื่อบัญชี นายพัฒยา จันดากูล เลขที่บัญชี 003-2-02799-9 ประเภท ออมทรัพย์

ต้องยอมรับความจริงว่า การเดินทางมีค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะค่าน้ำมันรถ หากต้องเดินทางไกลๆ หลายร้อยกิโลเมตร ค่าใช้จายในแต่ละเที่ยวก็หลายพันบาท เว็บมาสเตอร์จึงต้องรองบประมาณ และวางแผนการเดินทางให้คุ้มกับค่าน้ำมัน โดยกำหนดจุดที่จะไปถ่ายภาพให้ได้เยอะๆ ก่อนการเดินทาง ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ให้การสนับสนุนค่าเดินทางครับ



18.97.14.88 | Copyright © 2008 - 2023 esanart.com All Rights Reserved.
Website designed by Artnana Sudio