วัดธรรมจักรเสมาราม อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา
พระนอนหินทราย อายุกว่า 1300 ปี ที่วัดธรรมจักรเสมาราม ตั้งอยู่ที่ ตำบลเสมา อ. สูงเนิน แต่เดิมบริเวณนี้เป็นศาสนสถานในสมัยทราวดี มีโบราณวัตถุที่สำคัญ คือ พระพุทธรูปปางไสยาสน์ ก่อด้วยหินทรายที่มีความเก่าแก่และใหญ่ที่สุดของประเทศไทย มีความยาวประมาณ 13.30 เมตร สูง 2.80 เมตร สร้างขึ้นราว พ.ศ. 1200 ที่วัดแห่งนี้ยังมีธรรมจักรเก่าแก่ ลักษณะเหมือนเสมาธรรมจักร ที่ขุดพบที่จังหวัดนครปฐม
พระนอน หรือ พระพุทธไสยาสน์ สลักด้วยหินทรายแดง ขนาดใหญ่หลาย ๆ ก้อน ประกอบกัน สร้างขึ้นในสมัยทวาราวดี พ.ศ. 1200
ปี พ.ศ.2533 กรมศิลปากรได้ทำการขุดแต่ง และบูรณะขึ้น เนื่องจากเกิดการแตกหัก และผุพัง ต่อมา ปี พ.ศ. 2538 ได้มีการสร้างอาคารและหลังคาคลุมองค์พระนอน เพื่อกันแดด กันฝน องค์พระนอน มีความยาว 13.30 เมตร สูง 2.80 เมตร ประดิษฐานอยู่ที่ วัดธรรมจักรเสมาราม ต.เสมา อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา เป็นวัดเล็ก ๆ เรียบง่าย และสงบ แต่มากด้วยคุณค่าทางประวัติศาสตร์ เพราะในอดีตเรียกบริเวณเมืองดังกล่าวว่า เมืองโคราฆปุระ ต่อมาได้เรียกเพี้ยนเป็นเมืองโคราช อันเป็นต้นกำเนิดเมืองโคราชหรือนครราชสีมาในปัจจุบัน เพราะที่นี่มีการพบธรรมจักรโบราณที่เหมือนกับ เสมาธรรมจักรที่นครปฐมด้วย และไม่ไกลนักยังมี โบราณสถานที่เป็นเทวสถานของศาสนาพราหมณ์ คือ ปราสาทหินเก่าแก่สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้แก่ ปราสาทหินเมืองแขก ปราสาทหินโนนกู่ เป็นที่มาหรือเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียกขานเมืองโคราช หรือนครราชสีมาในปัจจุบัน
พระพุทธไสยาสน์ หรือพระนอนหินทราย
พระนอนหินทราย เป็นพระพุทธรูปปางเสด็จปรินพพาน มีพุทธลักษณะแบบทวาราวดี พระพักตร์หันไปทางทิศตะวันออกตามขนบของศาสนสถานในศาสนาพุทธ ในส่วนของพระพักตร์ใช้หินทรายแดงสี่ก้อนวางประกอบซ้อนกันแล้วจึงสลักเป็นรูปวงพระพักตร์ ซึ่งมีลักษณะค่อนข้างกว้างทรงแย้มพระสรวลที่มุมพระโอษฐ์ชี้ขึ้น ส่วนพระศอเป็นหินทรายทรงกลมหนึ่งก้อน หนาประมาณ 35 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 90 เซนติเมตร และพระวรกายประกอบด้วยหินทรายขนาดใหญ่หลายก้อน พระนอนหินทรายเป็นพุทธลักษณะที่เป็นศิลปะทวารวดี ซึ่งเป็นยุคแรกเริ่มของประวัติศาสตร์ เป็นพระนอนเก่าแก่ และมีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือมีความยาว 13.30 เมตร สูง 2.80 เมตร สร้างขึ้นในสมัยทวารวดีอายุราว พ.ศ. 1200 ตั้งอยู่ที่วัดธรรมจักรเสมาราม บ้านคลองขวาง ตำบลเสมา อำเภอสูงเนิน
ธรรมจักรศิลา
ธรรมจักรศิลา เป็นชนิดเดียวกันกับที่พระปฐมเจดีย์ เป็นศิลปะยุคทวารวดี มีลักษณะคล้ายล้อเกวียน ทำจากศิลาแลงขนาดใหญ่ มีหน้ากว้างทั้ง 2 ด้าน เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.41 เมตร ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางดุมล้อ 31 เซนติเมตร ตอนล่างมีสลักคล้ายหน้าพนัสบดี ซึ่งมีลักษณะผสมสัตว์หลายชนิด คือ มีเขาเหมือนโค มีปากเป็นครุฑ มีปีกเหมือนหงษ์ สัตว์เหล่านี้ล้วนเป็นพาหนะของเทพให้ศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู ส่วนพนัสบดีเป็นพาหนะของพระพุทธเจ้าตามความเชื่อของพุทธฝ่ายมหายาน ประดิษฐานอยู่ที่วัดธรรมจักรเสมาราม ภายในอาคารซึ่งอยู่ด้านซ้ายของโบสถ์ เปิดให้เข้าชมเวลา 06.00 - 17.00 ทุกวัน
An original religious site of the Dvaravati period, Wat Thammachak Semaram keeps so many artefacts here starting from bronze Buddha statues, fire clays, glass beads, fire clay looms, including a stone inscription tables. These items are moved to the Phimai National Museum though. The highlight here is a huge reclining Buddha sandstone statue, which is aged for a thousand years. Built in 657 AD, the gigantic tatue is 13.30 meters long and 2.80 meters high. There is another ancient sandstone Buddhist symbol in the form of cartwheel as well.
Opening hours: Daily 09.00 - 16.00
|
|
ถ่ายภาพเมื่อ : 30 สิงหาคม 2558
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
สถานที่ตั้ง : วัดธรรมจักรเสมาราม บ้านคลองขวาง ต.เสมา อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา
ถ่ายภาพเมื่อ : 30 สิงหาคม 2558
วันติดตั้งหน้าเว็บ : 8 กันยายน 2558
จำนวนผู้เข้าชม : 3106 ครั้ง
หมายเหตุ : เว็บมาสเตอร์เดินทางไปชมและถ่ายภาพเอง, ข้อมูลจาก www.tourismthailand.org
|
07-08-2015 Views : 3107