+ เพิ่ม |
- ลด ขนาดตัวอักษร
สถูปคู่ อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร จ.ศรีสะเกษ
สถูปคู่ ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร เป็นโบราณวัตถุมีอยู่ 2 องค์ ตั้งคู่อยู่บริเวณทิศตะวันตกของผามออีแดง ถ้าเดินทางจากผามออีแดงไปยังเขาพระวิหารก็จะผ่านสถูปคู่นี้ มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ขนาดหน้ากว้าง 1.93 เมตร สูง 4.20 เมตร ยอดมนคล้ายตะปูหัวเห็ด ข้างในเป็นโพรงบรรจุสิ่งของ ก่อสร้างด้วยหินทรายเป็นท่อนที่ตัดและตกแต่งอีกที นับว่าแปลกจากศิลปวัฒนธรรมยุคอื่นใด
สถูปคู่ สร้างจากหินทราย มีรูปทรงสี่เหลี่ยม หลังคาบาตรคว่ำ สันนิษบษนว่า เป็นศิลปะแบบปาปวน พบฐานโยนีและศิวลึงค์ อันเป็นสัญลักษณ์แห่งการเกิด นักวิชาการจึงสันนิษฐานว่า สถูปคู่น่าจะถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์
สถูปคู่ โบราณสถานขนาดเล็ก 2 หลัง ที่มีลักษณะเหมือนกัน วางเรียงตัวคู่กันในแนวทิศเหนือ-ใต้ ขนานกับแนวแกนหลักของปราสาทพระวิหาร (นักโบราณคดีเชื่อว่าเป็นบริวารของปราสาท) ตั้งอยู่บนลานหินกว้างทางทิศใต้ของผามออีแดง
สถูปคู่นี้ก่อสร้างด้วยหินทราย ก้อนหินเรียบวางทับซ้อนกันได้สนิทอย่างประณีต รูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส ส่วนหลังคายอดมนสร้างจากแผ่นหินขนาดใหญ่เพียงชิ้นเดียวทั้งสองหลัง ตัวอาคารไม่มีประตูหรือหน้าต่าง แต่ภายหลังมีช่องใหญ่ เกิดจากการลักลอบขุดหาโบราณวัตถุ
นักโบราณคดีได้สำรวจภายในตัวสถูป เป็นห้องกลวง มีประดิษฐานรูปเคารพที่อาจเป็นศิวลึงค์อยู่บนฐานโยนี ทำด้วยหินทรายอยู่ภายในอาคารทั้งสองหลัง แต่โบราณวัตถุดังกล่าวได้สูญหายไปแล้ว (สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของเทวาลัย อุทิศถวายเทพในศาสนาฮินดู) เหลือแต่เพียงฐานรูปเคารพ 1 ชิ้นในสถูปองค์ทิศใต้เท่านั้น
VIDEO
สถานที่ตั้ง : อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ต.เสาธงชัย อ.กันทรลักษ์ ศรีสะเกษ
ถ่ายภาพเมื่อ : 31 ธันวาคม 2560
วันติดตั้งหน้าเว็บ : 2 มีนาคม 2561
จำนวนผู้เข้าชม : 4318 ครั้ง
หมายเหตุ : เว็บมาสเตอร์เดินทางไปชมและถ่ายภาพเอง
ข้อมูลจาก : ป้ายกรมศิลปากร, domesticthailand.com