กู่กระโดน จ.ร้อยเอ็ด
ตัวโบราณสถานก่อด้วยศิลาแลง หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
มีมุขยื่นออกมาทางด้านหน้า มีทางเข้าเพียงด้านเดียว ส่วนด้านทิศอื่นๆ ทำเป็นประตูหลอก พบทับหลังตกอยู่ในบริเวณโบราณสถาน เป็นภาพเล่าเรื่อง 2 ชิ้น ชิ้นหนึ่งเป็นภาพบุคคลหลายคน ทางขวาสุดของภาพเป็นภาพวานรมอบสิ่งของกับสตรี สันนิษฐานว่าเป็นภาพในเรื่องรามเกียรติ์ตอน “หนุมานถวายแหวน” ส่วนทับหลังอีกชิ้นหนึ่งสลักเป็นรูปบุคคลลักษณะคล้ายเป็นรูปสตรีอยู่ในซุ้มเรือนแก้วแบก
สิ่งของซึ่งอาจเป็นคานหรือคันศรอยู่บนบ่า มีรูปบุคคลขนาดเล็กกว่า นั่งแสดงความเคารพอยู่ด้านข้าง ไม่อาจสันนิษฐานได้ว่าเป็นภาพสลักจากวรรณกรรมเรื่องใด เมื่อพิจารณารูปแบบของทับหลัง
โดยเฉพาะเครื่องแต่งกายของบุคคลแล้วทำให้กำหนดได้ว่าอยู่ในศิลปะขอมแบบบาปวนตอนปลายถึงนครวัดตอนต้น
อายุราวพุทธศตวรรษที่ 14-17 กู่กระโดน ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานของชาติในประกาศพระราชกิจจานุเบกษา
เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2474
กู่กระโดน เป็นโบราณสถานในวัฒนธรรมขอม สร้างขึ้นในเมืองโบราณเกษตรวิสัย
ลักษณะเป็นปราสาทศิลาแลง สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นโบราณสถานที่เรียกว่าธรรมศาลา เป็นศาสน
สถานประจําที่พักคนเดินทาง หรือเป็นศาสนสถานประจําชุมชน สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 18
ในศิลปะเขมรแบบบายน อาจจะเกี่ยวเนื่องกับกิจกรรมของการรักษาพยาบาลผู้เจ็บป่วยทางร่างกาย มี
หลักฐานที่พบเป็นหินบดยา และแท่นหินบดยา จํานวนหลายชิ้น
สถานที่ตั้ง : วัดธาตุ บ้านกระโดน ต.หนองแวง อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด
ถ่ายภาพเมื่อ : 1 มิถุนายน 2557
วันติดตั้งหน้าเว็บ : 7 เมษายน 2558
ปรับปรุงล่าสุด :
จำนวนผู้เข้าชม : 4251 ครั้ง
หมายเหตุ : เว็บมาสเตอร์เดินทางไปชมและถ่ายภาพเอง