กู่พระโกนา จ.ร้อยเอ็ด
กู่พระโกนาประกอบด้วยปรางค์อิฐ 3 องค์ บนฐานศิลาทรายเรียงจากเหนือ – ใต้ทั้งหมดหันหน้าไปทาง
ทิศตะวันออก มีกำแพงล้อม และซุ้มประตูเข้า – ออกทั้งปรางค์องค์ กลางถูกดัดแปลงเมื่อ พ.ศ. 2471 โดยการฉาบปูนทับ
และก่อขึ้นเป็นชั้น ๆ แต่ละชั้นมีซุ้มพระทั้ง 4 ทิศ หน้าปรางค์องค์กลางชั้นล่างสร้างเป็นวิหาร พระพุทธบาท ประดับเศียรนาค 6 เศียร
ของเดิมไว้ด้านหน้าส่วน ปรางค์อีก 2 องค์ ก็ได้รับการบูรณะจากทางวัด เช่นกัน แต่ไม่ถึงกับเปลี่ยนรูปทรงอย่างปรางค์องค์กลาง
ปรางค์องค์กลางถูกดัดแปลงเมื่อ พ.ศ. 2471 โดยการฉาบปูนทับและก่อขึ้นเป็นชั้น ๆ แต่ละชั้นมีซุ้มพระทั้ง 4 ทิศ หน้าปรางค์องค์กลาง ชั้นล่าง สร้างเป็นวิหาร มีพระพุทธบาทประดับ เศียรนาค 6 เศียรของเดิมไว้ด้านหน้า ส่วนปรางค์ อีก 2 องค์ ก็ได้รับการบูรณะจากทางวัดเช่นกันแต่ไม่ถึงกับเปลี่ยนรูปทรงอย่างปรางค์องค์กลาง
ปรางค์องค์ทิศเหนือ ทางวัดสร้างศาลาครอบ ภายในมีหน้าบันสลักรามายณะและประทับสลัก ภาพพระนารายณ์บรรทมสินธุ์อยู่ที่เดิมคือเหนือประตูทาง ด้านหน้า ส่วนทับหลังประตูด้านทิศตะวันตก
หล่นอยู่บน พื้นเป็นรูปนารายณ์ทรงครุฑปรางค์องค์ทิศใต้ยังคงมีทับหลังของเดิมเหนือประตูหลอกด้านทิศเหนือเป็นภาพเทวดานั่งชันเข่า
ในซื้อเรือนแก้วเหนือหน้ากาลนอกจากนี้
ทางด้านหน้ายังมีทับหลังหล่นที่พื้นเป็นภาพพระอิศวรประทับนั่งบนหลังโคและมีเสานางเรียง
วางอยู่ด้วย สันนิษฐานว่ากู่พระโกนาเดิมคงจะมีสะพานนาคและทาง เดินประทับเสานางเรียงทอดต่อจากซุ้มประตูหน้าไปยัง
สระน้ำหรือบาราย ซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ 300 เมตร จากรูปแบบลักษณะทางศิลปกรรมทั้งหมดของภาพสลัก และเสากรอบประตู
ซึ่งเป็นศิลปะขอม ที่มีอายุในราว พ.ศ. 1560-1630 (แบบปาปวน) สันนิษฐานว่ากู่พระโกนาคงจะสร้างขึ้นในราว พุทธศตวรรษที่ 16
กู่พระโกนา เป็นปราสาทอิฐ 3 หลัง ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกัน เรียงกันในแนวทิศเหนือ-ใต้ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีกำแพงศิลาแลงซึ่งมีซุ้มประตูทางเข้าหรือโคปุระประจำอยู่ทั้ง 4 ทิศ ปัจจุบันตัวโบราณสถานถูกดัดแปลงสภาพไปมาก โดยเฉพาะปรางค์องค์กลางถูกฉาบปูนทับและก่อขึ้นใหม่เป็นชั้นๆ แต่ละชั้นมีซุ้มพระพุทธรูปประดับอยู่ทั้ง 4 ทิศ ปรางค์องค์ทิศเหนือมีการสร้างกุฏิครอบทับ แต่ยังคงมีส่วนประกอบทางสถาปัตยกรรมเหลือ ได้แก่ หน้าบันสลักเรื่องรามายณะ ทับหลังเหนือกรอบประตูด้านหน้าสลักเป็นภาพพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ ส่วนทับหลังด้านทิศตะวันตกหล่นลงบนพื้นนอกองค์ปรางค์ สลักเป็นภาพพระนารายณ์ทรงครุฑ ปรางค์องค์ทิศใต้ยังคงเหลือทับหลังติดอยู่ในที่เดิม 1 ชิ้นเหนือกรอบประตูหลอกด้านทิศเหนือ สลักเป็นรูปเทวดานั่งชันเข่าอยู่เหนือหน้าบัน จากรูปแบบศิลปกรรมที่ปรากฏอยู่บนทับหลังและหน้าบันเหล่านี้ จัดอยู่ในศิลปะขอมแบบบาปวน อายุราวพุทธศตวรรษที่ 16 ร่วมสมัยกับกู่กาสิงห์ ทั้งนี้กู่พระโกนาคงมีความสำคัญอย่างยิ่งในอดีต เนื่องจากสร้างเป็นกลุ่มปราสาทขนาดใหญ่์
สรุปย่อๆ กู่พระโกนาประกอบด้วยปรางค์อิฐ 3 องค์ บนฐานศิลาทรายเรียงจากเหนือไปใต้ โดยหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีกำแพงล้อม และซุ้มประตูเข้า ออก
1.ปรางค์องค์ทิศเหนือ ทางวัดสร้างศาลาครอบ ภายในมีทับหลังผูกลายแบบปาปวน ตรงกลางสลักภาพพระนารายณ์บรรทมสินธุ์และด้านบนสภาพสลักรามายณะ เหนือประตูทางด้านหน้าสภาพสมบูรณ์มาก และประตูหลอกด้านข้างเห้นร่องรอยการแกะสลักยังไม่เสร็จ
2.ปรางค์องค์กลางมีการฉาบปูนทับและก่อขึ้นเป็นชั้น ๆ แต่ละชั้นมีซุ้มพระทั้ง 4 ทิศ หน้าปรางค์องค์กลางชั้นล่างสร้างเป็นวิหารพระพุทธบาท ประดับด้วยเศียรนาค 6 เศียรซึ่งเป้นของดั้งเดิมไว้ด้านหน้า ซ้าย-ขวา
3.ปรางค์องค์ทิศใต้ ไม่ได้รับการบูรณะเหมือนองค์กลาง มีประตูหลอกทั้ง 4 ทิศ แกะลายประตุยังไม่สมบูรณ์ ฝั่งด้านหน้าเจาะลึกเข้าไปเป็นซุ้มพระพุทธรูป
นอกจากนี้ ทางด้านหน้ายังมีทับหลังหล่นที่พื้นเป็นภาพพระอิศวรประทับนั่งบนหลังโคและมีเสานางเรียวางอยู่ด้วย สันนิษฐานว่ากู่พระโกนาเดิมคงจะมีสะพานนาคและทาง เดินประทับเสานางเรียงทอดต่อจากซุ้มประตูหน้าไปยังสระน้ำหรือบาราย ซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ 300 เมตร
ดังนั้นจากรูปแบบลักษณะทางศิลปกรรมทั้งหมดของภาพสลัก และเสากรอบประตูซึ่งเป็นศิลปะขอม ที่มีอายุในราว พ.ศ. 1560-1630 (แบบปาปวน) สันนิษฐานว่ากู่พระโกนาคงจะสร้างขึ้นในราว พุทธศตวรรษที่ 16
หมายเหตุ : พระและชาวบ้าน ไม่อนุญาตให้กรมศิลปากร เข้าไปบูรณะ
สถานที่ตั้ง : วัดกู่พระโกนา บ้านกู่ หมู่ที่ 2 ต.สระคู อ.สุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด
ถ่ายภาพเมื่อ : 1 มิย. 57, 28 ธค. 58, 4 ธค. 59
วันติดตั้งหน้าเว็บ : 7 เมษายน 2558
ปรับปรุงล่าสุด : 5 ธันวาคม 2559
จำนวนผู้เข้าชม : 2826 ครั้ง
หมายเหตุ : เว็บมาสเตอร์เดินทางไปชมและถ่ายภาพเองทุกสถานที่ ข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต