สิม หอไตร ฮูปแต้ม



จารึกโนนสัง จารึกโนนสัง จารึกโนนสัง จารึกโนนสัง จารึกโนนสัง จารึกโนนสัง
  • จารึกโนนสัง
  • จารึกโนนสัง
  • จารึกโนนสัง
  • จารึกโนนสัง
  • จารึกโนนสัง
  • จารึกโนนสัง

      จารึกโนนสัง (จารึกโนนสังข์)
       ศิลาจารึกนี้เป็นหินชนิดละเอียด (ลับมีด) เป็นรูปยาวรีแหลม ฝังอยู่ที่โนนสัง ทิศตะวันตกบ้านบึงแก ห่างบ้านประมาณ 20 เส้น อยู่ข้างขวาของทางหลวงสายอุบลฯ ไปอำเภอฟ้าหยาด อยู่ห่างทาง 3 วา ทางผ่านกลางโนน ปักหันหน้าหนังสือไปทางทิศตะวันตก ฝังอยู่พ้นดิน 1 คืบ บนโนนเป็นดินทรายกรวด โนนสูงจากระดับพื้นดินประมาณ 3 วา โนนกลมวัดศูนย์กลางประมาณ 2 เส้น นอกจากเสาหินนี้แล้วไม่พบโบราณวัตถุอย่างอื่น
       ใจความจารึก กล่าวถึงพระเจ้าโสมาทิตยะ ว่าเป็นผู้เกิดแต่พระเจ้าอินทรวรมัน ในมหาศักราช 811 พระองค์ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลแด่พระราชบิดา โดยการประทานสิ่งต่างๆ ได้แก่รัตนะ และป่าไม้แก่จอมมุนี จารึกด้านที่ 1 บรรทัดที่ 6 บอกมหาศักราช 811 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2432 อันเป็นสมัยของพระเจ้ายโศวรมัน (พ.ศ. 1431-1453)




Isan Upload


รวมภาพที่เกี่ยวข้องกับสถานที่


 ข่าวอัพเดท ข่าวสารอัพเดทสถานที่ :
ข่าวทั้งหมด 0 ข่าว
 
+ เพิ่ม | - ลด ขนาดตัวอักษร

จารึกโนนสัง อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร
       จารึกโนนสัง รูปร่างคล้ายใบเสมา สร้างด้วยหินทรายสีแดง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 16-17 ราวพุทธศักราช 1432 อักษรที่ในจารึกเป็นอักษรหลังปัลลวะ ใช้ภาษาสันสกฤตบันทึก บันทึก 1 ด้าน มี 16 บรรทัด ขนาดกว้าง 64 ซม. สูง 46 ซม. หนา 36 ซม.

      การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากจารึก :
      การพิจารณาอายุของจารึกสามารถกําหนดได้จากศักราชที่ปรากฏ ซึ่งจารึกโบราณในเอเชียอาคเนย์ส่วนใหญ่ใช้มหาศักราช ซึ่งเมื่อต้องการรู้ว่าเป็นพุทธศักราชเท่าใด ก็ให้บวกด้วย 621
      แต่ว่าในจารึกแผ่นนี้ไม่มีศักราช กํากับไว้จึงต้องหาอายุสมัยจากส่วนอื่น ซึ่งปรากฏให้เห็นก็คือ รูปร่างของอักษร อักษรที่ใช้บันทึกจารึกโบราณในเอเชียอาคเนย์ทั้งหมดรับมาจากอินเดียใต้เริ่มปรากฏช่วงประมาณ พ.ศ. 1000 หรือประมาณ 1,500 ปีมาแล้ว เราเรียกอักษรแบบนี้ว่า “อักษรแบบราชวงศ์ปัลลวะ”
       เพราะสมัยนั้น กษัตริย์ราชวงศ์ปัลลวะปกครองอินเดียใต้อยู่แม้ตามประวัติศาสตร์จะมีกษัตริย์ต่างราชวงศ์ปกครองก็ตามเราก็ ยังคงเรียกตัวอักษรแบบนี้ว่า “อักษรแบบราชวงศ์ปัลลวะ” แต่นักวิชาการบางคนเรียกรวมๆ ว่า “อักษรแบบอินเดียใต้” ซึ่งก็เป็นอักษรชนิดเดียวกันนั่นเอง ความจริงในยุคสมัยนั้นอินเดียใต้มีอักษรใช้ 2 แบบ คือ
       1. อักษรทมิฬโบราณ ใช้บันทึกภาษาทมิฬ
       2.อักษรแบบราชวงศ์ปัลลวะ ใช้บันทึกภาษาสันสกฤตและภาษาที่ใช้ในการ ศาสนา

       เมื่ออารยธรรมของอินเดียใต้แผ่เข้ามายังเอเชียอาคเนย์พร้อมกบศาสนาความเชื่อ เมื่อจะมีการบันทึกเรื่องราวต่างๆ จึงใช้อักษรแบบราชวงศ์ปัลลวะและบันทึกเป็นภาษาสันสกฤต ส่วนภาษาบาลีมีน้อยกว่า
       ต่อมาคนในอาณาจักรต่างๆ ในเอเชียอาคเนย์ต่างก็ใช้ตัวอักษรแบบราชวงศ์ปัลลวะนี่แหละ บันทึกภาษาของตนเอง กลุ่มชนที่บันทึกภาษาของตัวเองได้ก่อน คือ อาณาจักรจามหรือจามปา ซึ่งตั้งอยู่บริเวณประเทศ เวียดนามตอนกลางในปัจจุบัน
       ต่อมาอาณาจักรอื่นๆ ร่วมสมัยนั้นอันได้แก่อาณาจักรกัมพูชา ทวารวดีศรีวิชัย ศรีเกษตร ต่างก็บันทึกภาษาของตัวเองด้วยอักษรแบบราชวงศ์ปัลลวะหรือที่เราเรียกสั้นๆว่า “อักษรปัลลวะ” นั้น ตัวอักษรก็เช่นเดียวกับศิลปะต่างๆ ย่อมมีการพัฒนาไปตามยุคสมัย เมื่อเราเอาจารึกทั้งหลายมาเปรียบเทียบกัน เราจะสามารถเห็นความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นต่อกันมาเรื่อยๆ ที่เราเรียกกันว่า “วิวัฒนาการ”นั่นเอง เพราะฉะนั้น เราก็สามารถกําหนดอายุจากสายวิวัฒนาการของตัวอักษรได้เช่นเดียวกับการวิวัฒนาการของศิลปะ


สถานที่ตั้ง : จารึกโนนสัง บ้านบึงแก ตำบลบึงแก อำเภอมหาชัยชนะ จังหวัดยโสธร (จากบ้านราชมุนี ไปบ้านยางกลาง ก่อนถึงบ้านยางกลางมีป้ายบอกทาง)
พิกัด : 15.522168, 104.326683
ถ่ายภาพเมื่อ : 16 กรกฏาคม 2560
วันติดตั้งหน้าเว็บ : 17 กรกฏาคม 2560
ปรับปรุงล่าสุด :
ข้อมูลจาก : sac.or.th
จำนวนผู้เข้าชม : 2595 ครั้ง
หมายเหตุ : เว็บมาสเตอร์เดินทางไปชมและถ่ายภาพเอง




ออกแบบโลโก้ ออกแบบกล่อง ออกแบบถุง ออกแบบสิ่งพิมพ์ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ วาดเส้น จิตรกรรม Drawing  Painting รับทำ SEO, ปั่นเว็บ, หน้า 1, อันดับ 1 ฮูปแต้ม, สิมอีสาน, ฮูบแต้ม, ศิลปะอีสาน, สิม, โบสถ์, หอไตร, สถาปัตยกรรมอีสาน
9809/1 Anankanak Rd., Tambol Kalasin, Amphoe Muang, Kalasin Province 46000 Thailand
www.artnana.com

98.81.24.230 =    Friday 13th September 2024
 IP : 98.81.24.230   คนที่กำลังอ่าน   Bookmark and Share   
Russia รัสเซีย  เรียนรัสเซีย  ภาษารัสเซีย ตุ๊กตารัสเซีย ของฝากรัสเซีย