สิม หอไตร ฮูปแต้ม



พระธาตุนารายณ์เจงเวง พระธาตุนารายณ์เจงเวง พระธาตุนารายณ์เจงเวง พระธาตุนารายณ์เจงเวง พระธาตุนารายณ์เจงเวง พระธาตุนารายณ์เจงเวง พระธาตุนารายณ์เจงเวง พระธาตุนารายณ์เจงเวง พระธาตุนารายณ์เจงเวง พระธาตุนารายณ์เจงเวง พระธาตุนารายณ์เจงเวง
  • พระธาตุนารายณ์เจงเวง
  • พระธาตุนารายณ์เจงเวง
  • พระธาตุนารายณ์เจงเวง
  • พระธาตุนารายณ์เจงเวง
  • พระธาตุนารายณ์เจงเวง
  • พระธาตุนารายณ์เจงเวง
  • พระธาตุนารายณ์เจงเวง
  • พระธาตุนารายณ์เจงเวง
  • พระธาตุนารายณ์เจงเวง
  • พระธาตุนารายณ์เจงเวง
  • พระธาตุนารายณ์เจงเวง
ทับหลังรูปพระกฤษณะปราบสิงห์ ด้านทิศเหนือของปราสาทนารายณ์เจงเวง
มีลักษณะเป็นทับหลังแบบบาปวนโดยทั่วไปกล่าวคือ ประกอบด้วยภาพเล่าเรื่องตรงกลาง ด้านข้างปรากฏท่อนพวงมาลัย ใบไม่ตั้งขึ้นและใบไม้ห้อยตกลง อนึ่ง หน้ากาลอยู่ด้านล่างสุดของทับหลังชิ้นนี้ได้กลายเป็นหัวของสิงห์ที่พระกฤษณะกำลังปราบ สิงห์ดังกล่าวใช้ขาหน้ายึดครุฑซึ่งคายท่อนพวงมาลัยอีกทีหนึ่ง พระกฤษณะซึ่งเป็นอวตารปางที่ 8 ของพระวิษณุนั้น มีเรื่องราวอันโลดโผนเนื่องจากต้องผจญกับเหล่าอสูรที่พญากงส์ส่งมาทำร้าย เช่น โคอริษฏะ ม้าเกษี เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ในศิลปะขอม พระกฤษณะทรงต่อสู้กับสิงห์ด้วย ซึ่งเป็นเรื่องราวที่ไม่ได้ปรากฏในคัมภีร์ของอินเดีย เขื่อว่าเป็นเรื่องราวพื้นเมืองของขอมเอง โดยเรื่องนี้ปรากฏบนทับหลังของปราสาทขอมหลายแห่งในประเทศไทย


ศิวนาฏราชที่หน้าบันด้านทิศตะวันออกของปราสาทนารายณ์เจงเวง
พระศิวะ 12 กร ทรงเขย่งพระบาทและยกพระกรในท่าเต้นรำ ซึ่งเรียกว่า “ศิวนาฏราช” พระองค์ทรงแวดล้อมไปด้วยบริวารของพระองค์ เช่นพระคเณศ โอรสของพระศิวะซึ่งนั่งคุกเข่าอยู่ที่ด้านขวาสุดของผู้ชม ส่วนนางกาไรกาลัมเมยาร์ อันเป็นผู้ภักดีต่อพระศิวะ นั่งอยู่ทางด้านซ้ายของผู้ชม นางกาไรกาลัมเมยาร์มีลักษณะสำคัญคือมีถันหย่อนยานและมีหน้าตาดุร้าย ปรากฏเป็นบริวารของศิวนาฏราชเสมอๆ ในศิลปะขอมสมัยพระนคร การที่หน้าบันทางด้านทิศตะวันออกซึ่งเป็นหน้าบันทสำคัญที่สุดของปราสาทแสดงภาพศิวนาฏราชนั้น อาจแสดงใหเห็นว่าปราสาทแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่ลัทธิไศวนิกาย

ทับหลังทางด้านทิศใต้ของปราสาทนารายณ์เจงเวง
เป็นทับหลังที่แบ่งเป็น 2 แถวและมีภาพบุคคลกระจายอยู่จนเต็ม ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบอีกประเภทหนึ่งของทับหลังในศิลปะบาปวน ทับหลังแบบนี้ปรากฏเช่นกันในปราสาทแบบบาปวนอีกหลายแห่งในประเทศไทย เช่นทับหลังที่ปราสาทสระกำแพงใหญ่ นอกจากนี้ ยังปรากฏกับทับหลังของปราสาทในศิลปะนครวัดตอนต้น เช่น ปราสาทพิมายอีกด้วย ทับหลังชิ้นนี้อาจเล่าเรื่องรามายณะ เนื่องจากบุคคลในภาพมีพระพักตร์คล้ายลิงอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม ไม่อาจตีความได้ว่าทับหลังดังกล่าวเล่าเรื่องรามายณะตอนใด

หน้าบันรูปนารายณ์บรรทมสินธุ์ หน้าบันด้านทิศเหนือของปราสาทนารายณ์เจงเวง
เป็นหน้าบันแบบบาปวน โดยทั่วไปที่มักมีลายพันธุ์พฤกษากระจายจนเต็มพื้นที่ ด้านล่างมีรูปนารายณ์บรรทมสินธุ์ซึ่งมีลักษณะตามแบบบาปวนเช่นกัน หน้าบันชิ้นนี้มีลักษณะเป็นพื้นเมืองมาก อันแสดงว่าสลักขึ้นโดยช่างพื้นเมืองที่ไม่มีความชำนาญนัก โดยสังเกตจากการที่พระวิษณุทรงมีพระหัตถ์ที่เล็กและยืดยาวผิดส่วน ผ้านุ่งที่เป็นลายตาราง ท่านั่งของพระลักษมี และการปรากฏรูปสัตว์ที่ด้านบนพระวิษณุ นารายณ์บรรทสินธุ์ หรือวิษณุอนันตศายิน เป็นภาพพระวิษณุประทับนอนบนอนันตนาคราชภายหลังการทำลายโลก เป็นการพักผ่อนระหว่างกัลป์ พระวิษณุทรงมี 4 กร ถือสัญลักษณ์ของพระองค์ เช่น คฑาและดอกบัว ที่ปลายพระบาทปรากฏพระลักษมีนวดพระบาทอยู่
 
+ เพิ่ม | - ลด ขนาดตัวอักษร    


พระธาตุนารายณ์เจงเวง จ.สกลนคร
    วัดพระธาตุนารายณ์เจงเวง สร้างขึ้นพร้อมกันกับ "พระธาตุนารายณ์เจงเวง" หรือ "อรดีมายานารายณ์เจงเวง" โดยชื่อนี้ตั้งชื่อตามผู้สร้างโดยกลุ่มสตรีของพระนางนาเวงแห่งเมืองหนองหานหลวงมีการแข่งขันกลุ่มบุรุษชาวเมืองหนองหานน้อย เพื่อรอรับพระพระมหากัสสปะเถระ ซึ่งนำพระอุรังคธาตุไปบรรจุยังดอยภูกำพร้า โดยตกลงกันว่าหากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดสามารถสร้างพระธาตุเจดีย์ใหญ่เสร็จก่อนดาวเพ็กขึ้นฝ่ายนั้นจะเป็นผู้ชนะ้
    ตามตำนานอุรังคธาตุกล่าวถึงโบราณสถานแห่งนี้ว่า ยังกล่าวว่า เมื่อพระมหากัสสปเถระและบริวารเดินทางมาถึงเมืองหนองหานหลวง กลุ่มสตรีชาวเมืองหนองหานได้ทูลขอแบ่งอุรังคธาตุ (กระดูกหน้าอก)ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่พระมหาเถระผู้ใหญ่มิได้ทรงอนุญาตด้วยผิดวัตถุประสงค์ที่พระพุทธองค์ที่ตรัสไว้ให้นำอุรังคธาตุไปประดิษฐานบรรจุเจดีย์ที่ภูกำพร้า กลางลำน้ำโขง(พระธาตุพนม) แต่มิให้เสียศรัทธา พระมหากัสสัปะเถระผู้ใหญ่จึงมอบให้พระอรหันต์รูปหนึ่งไปนำพระอังคารธาตุจากที่ถวายเพลิงพระศพสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาประดิษฐานไว้ในพระเจดีย์แห่งนี้ จึงนับว่าพระธาตุนารายณ์เจงเวงเป็นโบราณสถานที่สำคัญของเมืองสกลนคร
    เมื่อครั้งปี พ.ศ. 2449 สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพเมื่อครั้งทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย พระองค์ได้เสด็จตรวจราชการมณฑลนครราชสีมา และมณฑลอุดรอีสาน รวม 56 วัน โดยได้นิพนธ์ไว้ในหนังสือเรื่องเที่ยวที่ต่าง ๆ ภาคที่ 4 เกี่ยวกับเมืองสกลนครไว้ว่า "วันที่ 15 มกราคม ขี่ม้าไปบ้านนาเวง ระยะทาง 15 เส้น ไปตามถนนขอมสร้างไว้แต่ดึกดำบรรพ์ มีสะพานหินเปนสพานศิลาแลง ฝีมือขอมทำดีน่าดูอยู่แห่ง 1 เปนของสมัยเดียวกันกับเทวสถาน ที่ตำบลนาเวงมีเทวสถานเรียกว่า "อรดีมายานารายณ์เจงเวง" ตั้งอยู่บนเนินซึ่งมีซุ้มไม้ร่มรื่นดี.."

    ปราสาทนารายณ์เจงเวง เป็นปราสาทสมัยบาปวนขนาดเล็กที่มีภาพสลักงดงามที่สุดแห่งหนึ่งในภาคเฉียงเหนือตอนบน ชื่อของปราสาทสันนิษฐานว่ามาจากภาษาเขมรว่า “นารายณ์เชิงแวง” หรือพระนารายณ์ขายาว เนื่องจากปรากฏภาพสลักรูปนารายณ์บรรทมสินธุ์ที่ทางด้านเหนือของปราสาท
    ปราสาทนารายณ์เจงเวง เป็นปราสาทหลังเดี่ยว ก่อด้วยหินทราย ทั้งหลัง ซึ่งถือเป็นลักษณะพิเศษ เนื่องจากปราสทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนหลังอื่นๆมักใช้วัสดุอื่นหรือวัสดุผสม ถ้าอนุมานจากรายละเอียดของภาพสลักและการใช้วัสดุ ย่อมแสดงใหเห็นว่าปราสาทแห่งนี้มีความพิเศษที่แตกต่างไปจากปราสาทในบริเวณเดียวกัน เช่น ปราสาทพระธาตุดุม และปราสาทภายในพระธาตุเชิงชุม แผนผังปราสาทประกอบด้วยห้องครรภคฤหะ และมีมุขยื่นออกมาทางด้านทิศตะวันออก มีประตูทางด้านหน้าเพียงทิศเดียว ส่วนทิศอื่นเป็นประตูหลอก ซื่งปรากฏโดยปกติกับปราสาทในศิลปะบาปวนและนครวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย สิ่งที่น่าสนใจสำหรับปราสาทแห่งนี้ก็คือ ยังคงปรากฏโสมสูตรที่ประตูหลอกทางด้านทิศเหนือ
    ภาพสลักส่วนมากเป็นภาพเล่าเรื่องในไวษณพนิกาย เช่น นารายณ์บรรทมสินธุ์ พระกฤษณะปราบสิงห์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม หน้าบันกลางกลับแสดงภาพศิวนาฏราชซึ่งอาจแสดงใหเห็นว่าปราสาทแห่งนี้สร้างเพื่ออุทิศให้กับไศวนิกายมากกว่า ในตำนานอุรังคธาตุ เมื่อพระมหากัสสปะอัญเชิญพระอุรังคธาตุมาจากอินเดีย พระยาสุวรรณภิงคารประสงค์จะขอแบ่งพระธาตุมาบ้าง ฝ่ายชายจึงสร้างปราสาทภูเพ็กขึ้น โดยแข่งกับฝ่ายหญิงที่สร้างปราสาทนารายณ์เจงเวง ทั้งสองฝ่ายถือกติกาว่าถ้าดาวเพ็ก (ดาวศุกร์) ขึ้นให้หยุดสร้าง ในการก่อสร้าง ฝ่ายหญิงได้ออกอุบายแขวนโคมไว้บนยอดสูง ทำให้ฝ่ายชายเข้าใจผิดและหยุดสร้าง ปราสาทนารายณ์เจงเวงจึงเสร็จสมบูรณ์อยู่เพียงปราสาทเดียว

พระธาตุนารายณ์เจงเวง ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดพระธาตุนารายณ์เจงเวง บ้านธาตุ ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 5 กม. โดยใช้เส้นทางสายสกลนคร - อุดรธานี ทางหลวงหมายเลข 22 ถึงบริเวณบ้านธาตุซึ่งอยู่ก่อนถึง สี่แยกถนนเลี่ยงเมืองไปเล็กน้อยแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าไปอีก 400 เมตร เชื่อกันว่าเป็นฝีมือของผู้หญิงสร้างทั้งหมด เพื่อแข่งขันกับผู้ชายที่สร้างพระธาตุภูเพ็ก รูปแบบและศิลปะกำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 16 งานประเพณีของพระธาตุเจงเวงจะเริ่มตั้งแต่วันขึ้น 11 ค่ำ - 15 ค่ำ เดือน 4 ของทุกปี

 Isan Upload


รวมภาพเก่าๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานที่




สถานที่ตั้ง : วัดพระธาตุนารายณ์เจงเวง บ้านธาตุ 74 สกลนคร-อุดรธานี อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร 47000
ถ่ายภาพเมื่อ : 23 มีนาคม 2556
วันติดตั้งหน้าเว็บ : 3 เมษายน 2558
ปรับปรุงล่าสุด : 14 พฤศจิกาายน 2559
จำนวนผู้เข้าชม : 7256 ครั้ง
หมายเหตุ : เว็บมาสเตอร์เดินทางไปชมและถ่ายภาพเอง ข้อมูลจาก : th.wikipedia.org, archae.su.ac.th


ออกแบบโลโก้ ออกแบบกล่อง ออกแบบถุง ออกแบบสิ่งพิมพ์ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ วาดเส้น จิตรกรรม Drawing  Painting รับทำ SEO, ปั่นเว็บ, หน้า 1, อันดับ 1 ฮูปแต้ม, สิมอีสาน, ฮูบแต้ม, ศิลปะอีสาน, สิม, โบสถ์, หอไตร, สถาปัตยกรรมอีสาน
9809/1 Anankanak Rd., Tambol Kalasin, Amphoe Muang, Kalasin Province 46000 Thailand
www.artnana.com

98.80.143.34 =    Saturday 05th October 2024
 IP : 98.80.143.34   คนที่กำลังอ่าน   Bookmark and Share   
Russia รัสเซีย  เรียนรัสเซีย  ภาษารัสเซีย ตุ๊กตารัสเซีย ของฝากรัสเซีย