สิม หอไตร ฮูปแต้ม



พระธาตุพันขัน พระธาตุพันขัน พระธาตุพันขัน พระธาตุพันขัน พระธาตุพันขัน พระธาตุพันขัน พระธาตุพันขัน พระธาตุพันขัน พระธาตุพันขัน พระธาตุพันขัน พระธาตุพันขัน พระธาตุพันขัน
  • พระธาตุพันขัน
  • พระธาตุพันขัน
  • พระธาตุพันขัน
  • พระธาตุพันขัน
  • พระธาตุพันขัน
  • พระธาตุพันขัน
  • พระธาตุพันขัน
  • พระธาตุพันขัน
  • พระธาตุพันขัน
  • พระธาตุพันขัน
  • พระธาตุพันขัน
  • พระธาตุพันขัน

Isan Upload


รวมภาพเก่าๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานที่



 ข่าวอัพเดท ข่าวสารอัพเดทสถานที่ :
ทับหลังพระธาตุพันขัน
จัดแสดงถาวร ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดร้อยเอ็ด 

กรุพระธาตุพันขัน
หลักฐานทางโบราณวัตถุเหล่านี้ มีรูปลักษณ์คล้ายๆ กรุนาดูนเป็นอย่างมาก อาจเป็นพระร่วมสมัยทวารวดีเหมือนกัน

ข่าวทั้งหมด 2 ข่าว
 

พระธาตุพันขัน หรือ พระธาตุบ่อพันขัน จ.ร้อยเอ็ด
   เป็นปราสาทรูปสี่เหลี่ยมเพิ่มมุม ก่อด้วยอิฐ ไม่สอปูน ตั้งอยู่บนฐานสูง หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีทางเข้าด้านหน้าเพียงด้านเดียว อีกสามด้านที่เหลือเป็นประตูหลอก ส่วนชั้นหลังคาหักพังลงเหลือเพียงสองชั้น ส่วนประกอบที่ใช้ประดับตกแต่งตัวอาคารสูญหายไปเกือบทั้งหมด คงเหลือเพียงชิ้นส่วนประติมากรรมไม่กี่ชิ้น และวงกบประตูที่แสดงถึงเทคนิคการเข้าวงกบแบบมีบ่า ต่างจากการเลียนแบบวงกบอาคารเครื่องไม้แบบเข้าเหลี่ยมที่นิยมทำกันในระยะต้นเช่นปราสาทภูมิโปน อำเภอสังขละ จังหวัดสุรินทร์ โบราณวัตถุชิ้นสำคัญที่สันนิษฐานว่าเดิมคงได้ไปจากโบราณสถานแห่งนี้ ได้แก่ ประติมากรรมรูป “เอกมุขลึงค์” ลักษณะส่วนปลาย (รุทรภาค) สลักเป็นรูปไข่ มีพระพักตร์ของพระศิวะประดับอยู่ทางด้านหน้า ส่วนฐานอันประกอบไปด้วย “วิษณุภาค” และ “พรหมภาค” สลักเป็นแปดเหลี่ยมและสี่เหลี่ยมตามลำดับ เอกมุขลึงค์ชิ้นนี้แสดงให้เห็นถึงการผสมผสานทางรูปแบบและลำดับขั้นตอนของวิวัฒนาการในช่วงระยะหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างกลุ่มศิวลึงค์รุ่นเก่าและรุ่นหลัง ที่สร้างขึ้นระหว่างพุทธศตวรรษที่ 16-17 จึงอาจกำหนดอายุไว้ในช่วงต้นของกลุ่มศิวลึงค์รุ่นหลังหรือราวพุทธศตวรรษที่ 15 เช่นเดียวกับลักษณะการเข้าวงกบประตูที่กล่าวถึงข้างต้น และหากศิวลึงค์ องค์นี้เคยประดิษฐานอยู่ ณ ที่นี้จริงโดยมิได้เคลื่อนย้ายมาจากโบราณสถานแห่งใด ก็น่าที่จะระบุได้ว่าปราสาทหรือพระธาตุองค์นี้เดิมสร้างขึ้นเนื่องในศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกายซึ่งบูชาพระศิวะ เป็นเทพสูงสุดเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 15 และแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลทางวัฒนธรรมของอาณาจักรกัมพูชาระยะแรกๆ ที่ปรากฏในพื้นที่เขตจังหวัดร้อยเอ็ดปัจจุบัน อย่างไรก็ตามได้มีการซ่อมแซมพระธาตุบ่อพันขันในชั้นหลัง ทำให้มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นแบบธาตุอีสานดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน

ทับหลังเล่าเรื่องท้าวหิมวันต์ถวายนางปารพตีแด่พระศิวะ
   ศิลาทราย ศิลปะขอม (แบบบาปวน) อายุราวพุทธศตวรรษที่ 16 (ราว 1,000 ปีมาแล้ว) พบจากการขุดแต่งพระธาตุพันขัน อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ทับหลัง คือ แผ่นหินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแกะสลัก เป็นลวดลายต่าง ๆ ใช้ประดับอยู่เหนือกรอบประตูปราสาทหิน ทำหน้าที่เป็นคานรับน้ำหนัก ของสิ่งก่อสร้างที่อยู่ตอนบน คือ หน้าบัน ไม่ให้หลุดตกลงมาได้ง่าย แผ่นหินนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าคานทับหลังประตู ทับหลังชิ้นนี้สลักภาพ พระศิวะประทับนั่งอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว ทางขวาของพระองค์ถึงแม้ว่าจะชำรุด ไปมากแล้ว แต่ก็ยังพอสังเกตได้ว่ามีภาพบุรุษคนหนึ่งกำลังประคอง ยกสตรีถวายแด่พระองค์ ซึ่งเป็นองค์ประกอบของภาพเล่าเรื่อง ที่ปัจจุบันนักวิชาการตีความว่า คือฉากท้าวหิมวันต์ถวายนางปารพตีแด่พระศิวะ
   พระธาตุบ่อพันขัน ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานของชาติในประกาศพระราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 99 ตอนที่ 172 วันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ.2525

นครจัมปาขัน
   ปัจจุบันตั้งอยู่บริเวณบ้านตาเณร ตำบลจำปาขัน อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นชุมชนโบราณขนาดใหญ่มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ จากการสำรวจทางโบราณคดีที่เมืองโบราณแห่งนี้พบการกระจายตัวของเศษภาชนะดินเผาและโคกเนินที่อยู่ในเขตเมืองและรอบๆบริเวณเมืองนั้น สะท้อนให้เห็นถึงการอยู่อาศัยของประชากรเป็นจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 16-17 ทีเดียว ต่อจากนั้นคงโรยร้างไป จนกระทั่งมีการฟื้นฟูให้เป็นชุมชนใหม่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 22-23 ลงมา (ศรีศักร : 2546)
   ในพื้นที่เขตนี้มีการค้นพบแหล่งโบราณสถาน โบราณวัตถุ เป็นจำนวนมาก ได้แก่ พระธาตุพันขัน บ้านตาเณร เนินขันหมาก บ้านหญ้าหน่อง วังขุมเงินแหล่งโบราณสถานที่พบจารึกอักษรปาลวะพระเจ้าจิตเสน(มเหนทรวรมัน) บ้านหนองคูณ ภาชนะดินเผาของชุมชนโบราณในพื้นที่รายรอบบ่อพัน ที่สำคัญชุมชนโบราณแห่งนี้ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่บ่อพันขัน แหล่งต้มเกลือโบราณระดับภูมิภาค บางเนินในเขตนี้ก็พบภาชนะที่สัมพันธ์กับการฝังศพครั้งที่ 2 ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ประมาณ 2,000 กว่าปีลงมา จนถึงสมัยทวารวดีและลพบุรีโดยเฉพาะสมัยลพบุรีนั้นและเห็นจากเศษภาชนะดินเผาเคลือบสีน้ำตาลและสีเขียวอ่อน ซึ่งเป็นลักษณะเครื่องปั้นดินเผาแบบอย่างขอมอย่างแท้จริง นับว่าเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นการทำเกลืออย่างต่อเนื่องในสมัยโบราณ(ศรีศักร : 2546)

สถานที่ตั้ง : วัดธาตุตาเณร บ้านตาเณร ต.จำปาขัน อ.สุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด
ถ่ายภาพเมื่อ : 14 เมษายน 2558
วันติดตั้งหน้าเว็บ : 15 เมษายน 2558
ปรับปรุงล่าสุด :
จำนวนผู้เข้าชม : 5260 ครั้ง
หมายเหตุ : เว็บมาสเตอร์เดินทางไปชมและถ่ายภาพเอง

ออกแบบโลโก้ ออกแบบกล่อง ออกแบบถุง ออกแบบสิ่งพิมพ์ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ วาดเส้น จิตรกรรม Drawing  Painting รับทำ SEO, ปั่นเว็บ, หน้า 1, อันดับ 1 ฮูปแต้ม, สิมอีสาน, ฮูบแต้ม, ศิลปะอีสาน, สิม, โบสถ์, หอไตร, สถาปัตยกรรมอีสาน
9809/1 Anankanak Rd., Tambol Kalasin, Amphoe Muang, Kalasin Province 46000 Thailand
www.artnana.com

98.81.24.230 =    Friday 13th September 2024
 IP : 98.81.24.230   คนที่กำลังอ่าน   Bookmark and Share   
Russia รัสเซีย  เรียนรัสเซีย  ภาษารัสเซีย ตุ๊กตารัสเซีย ของฝากรัสเซีย