ตำนาน พระธาตุเชิงชุม จ.สกลนคร
พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระอานนท์ ได้เสด็จจากพระวิหารเชตวัน
เสด็จตามลำแม่น้ำโขง มีพระพุทธบาทบัวบก พระพุทธบาทโพนเพล พระพุทธบาทเวินปลา
ภูกำพร้า เป็นที่ตั้งของพระธาตุพนม พระพุทธบาทที่ภูน้ำลอดเชิงชุมพระพุทธบาท
ของพระพุทธเจ้าพระนามกกุสันธะพระพุทธบาท
ของพระพุทธเจ้าพระนามโกนาคมะและพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าพระนามกัสสปะ
เมื่อพระเจ้าสุวรรณภิงคาระทรงทราบข่าว จึงได้เสด็จออก
ต้อนรับ พร้อมทั้งพระนางนารายณ์เจงเวงราชเทวี พระพุทธเจ้ามีพุทธประสงค์ให้พระเจ้า
สุวรรณภิงคาระ ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนายิ่งขึ้น
จึงทรงแสดงปาฏิหาริย์บันดาลให้มีดวงมณีรัตน์มีรัศมี พวยพุ่งออกจากพระโอษฐ์พร้อม
กันสามดวง พระเจ้าสุวรรณภิงคาระทรงเห็นเป็นอัศจรรย์ก็
บังเกิดศรัทธา เปล่งวาจาสาธุการด้วยความปิติ พระพุทธเจ้าได้ตรัสว่า ณ ที่นี้เป็นสถาน
ที่อันอุดมประเสริฐ ที่พระพุทธเจ้าทั้งสี่พระองค์
จะได้มาประชุมรอยพระพุทธบาทไว้ เพื่อเป็นที่สักการะแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
พระเจ้าสุวรรณภิงคาระ บังเกิดความปิติโสมนัส
จึงได้ถอดพระมงกุฎทองคำของพระองค์ สวมบูชารอยพระพุทธบาท แล้วทรงสร้าง
เจดีย์ครอบไว้ จึงได้ชื่อว่า พระธาตุเชิงชุม
ตามพงศาวดารลาว ในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช แห่งกรุงศรีสัตนาคนหุต ล้านช้าง
เรียกพระธาตุเชิงชุมว่า พระธาตุหนองหาร
ตามตำนานอุรังคธาตุกล่าวถึงโบราณสถานแห่งนี้ว่า ยังกล่าวว่า เมื่อพระมหากัสสปเถระและบริวารเดินทางมาถึงเมืองหนองหานหลวง กลุ่มสตรีชาวเมืองหนอง
หานได้ทูลขอแบ่งอุรังคธาตุ (กระดูกหน้าอก)ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
แต่พระมหาเถระผู้ใหญ่มิได้ทรงอนุญาตด้วยผิด
วัตถุประสงค์ที่พระพุทธองค์ที่ตรัสไว้ให้
นำอุรังคธาตุไปประดิษฐานบรรจุเจดีย์ที่ภูกำพร้า กลางลำน้ำโขง(พระธาตุพนม) แต่มิให้เสียศรัทธา
พระมหากัสสัปะเถระผู้ใหญ่จึงมอบ
ให้พระอรหันต์รูปหนึ่งไปนำพระอังคารธาตุจากที่ถวาย
เพลิงพระศพสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาประดิษฐานไว้ในพระเจดีย์แห่งนี้ จึงนับว่าพระธาตุนารายณ์เจงเวงเป็นโบราณสถานที่สำคัญของเมืองสกลนคร
พระธาตุเชิงชุม ตั้งหันหน้าไปทางหนองหารที่อยู่ทางทิศตะวันออก
เป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน รูปทรงสี่เหลี่ยม สูง 24 เมตรเศษ ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมส่วนบนเป็นทรงบัวเหลี่ยม
ไม่มีลวดลายประดับ ที่ฐานเจดีย์ มีซุ้มประตูทั้งสี่ด้าน ซุ้มยอดประตูมีลักษณะเป็นยอดปราสาท
ข้างในทึบสร้างด้วยศิลาแลง และหินทรายแดง มีซุ้มประตูหลอกแบบขอม ด้านทิศ เหนือ ใต้ และตะวันตก ซุ้มประตูทางเข้าจริงด้านทิศตะวันออกแต่แรกเริ่มพระธาตุเชิงชุมคงเป็นปราสาทหินทรายศิลปะสมัยขอม
ภายในกรอบประตูทางเข้าอุโมงค์ด้านขวามือ มีจารึกพระธาตุเชิงชุมอักษรขอมโบราณ ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ องค์พระธาตุในปัจจุบันเป็นศิลปะล้านช้าง เนื่องจากช่วงที่อิทธิพลของอาณาจักรล้านช้าง
แผ่เข้ามาบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ และได้มีการบูรณะองค์พระธาตุขึ้นมาใหม่
สถานที่ตั้ง : ตั้งอยู่ที่ริมหนองหาน อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
จะมีงานมนัสการพระธาตุประจำปี เริ่มตั้งแต่วันขึ้น 11 ค่ำ ถึง 15 ค่ำ เดือนยี่
ถ่ายภาพเมื่อ : 3 พฤศจิกายน 2556
วันติดตั้งหน้าเว็บ : 3 เมษายน 2558
ปรับปรุงล่าสุด :
จำนวนผู้เข้าชม : 5462 ครั้ง
หมายเหตุ : เว็บมาสเตอร์เดินทางไปชมและถ่ายภาพเอง