สิม หอไตร ฮูปแต้ม



วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
  • วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
  • วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
  • วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
  • วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
  • วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
  • วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
  • วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
  • วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
  • วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
  • วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
  • วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
  • วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม

    สิ่งก่อสร้างสำคัญ

    ศาลาสี่สมเด็จ
   ศาลาสี่สมเด็จ เป็นศาลาจตุรมุขพื้นศิลา หลังคาประดับด้วยช่อฟ้าใบระกา สร้างขึ้นจากพระราชทรัพย์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวร่วมกับสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอและสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอร่วมพระราชชนนีอีก 3 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล กรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช โดยพระองค์พระราชทานนามศาลาแห่งนี้ว่า ศาลาสี่สมเด็จ ไว้เป็นที่พักผ่อนสำหรับพระสงฆ์และสามเณร[4] ปัจจุบัน ศาลาสี่สมเด็จใช้เป็นหอกลอง
   บริเวณหน้าบันทั้ง 4 ด้านของศาลาสี่สมเด็จได้จำหลักลายไทยเป็นตราประจำพระองค์ของแต่ละพระองค์ไว้ ได้แก่ ตราพระเกี้ยว พระราชลัญจกรในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตราจันทรมณฑล ตราประจำพระองค์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล กรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์ ตราจักร ตราประจำพระองค์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ และ ตราสุริโยทัย ตราประจำพระองค์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
    พระที่นั่งทรงธรรม
   เป็นตึก ๒ ชั้น ก่ออิฐถือปูนตลอด พื้นชั้นล่างและบันไดปูหินอ่อน ชั้นบนปูไม้ หลังคา ๒ ชั้น มุงกระเบื้องเคลือบสี ช่อฟ้าใบระกาลงรักปิดทองทึบ หน้าบันทั้ง ๔ ด้าน จำหลักภาพต่าง ๆ ปิดทองประดับกระจก ภายในผนังเสมอกรอบหน้าต่าง ประกบแผ่นหินอ่อนสีขาว เสาเขียนลายรดน้ำเทพนม ตั้งธรรมาสน์กลางห้อง ด้านใต้กั้นพระฉากดีบุกฉลุลายไทยเทพนมและกุมภัณฑ์ เพื่อเป็นที่ประทับของฝ่ายใน พระที่นั่งทรงธรรมนี้ "สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี" ทรงสร้างอุทิศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๕ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์ใช้เป็นที่ประทับแรมเวลาทรงธรรมรักษาอุโบสถศีล ต่อมาได้เคยใช้เป็นที่ประชุมสังฆมนตรี, ที่ศึกษาพระปริยัติธรรม จัดงานประจำปีของวัด ตั้งพระศพและศพบุคคลสำคัญของชาติ ในเวลาตั้งพระศพศาลาแห่งนี้มีศักดิ์เป็นรองจากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เช่น พระศพของพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี พระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเหมวดี พระศพพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต พระศพสมเด็จพระสังฆราช กิตติโสภณมหาเถระ สฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี เป็นต้น ปัจจุบันคงใช้ในกิจกรรมของวัด และตั้งพระศพหรือศพบุคคลสำคัญ
    หอระฆังบวรวงศ์
   หอระฆังบวรวงศ์ เป็นหอระฆังทรงไทยประกอบหินอ่อน สร้างขึ้นโดยพระบรมวงศานุวงศ์ ฝ่ายพระราชวังบวร (กรมพระราชวังบวรสถานมงคล หรือ วังหน้า) และข้าราชการ ระฆังภายในหอนั้นนำมาจากวัดบวรสถานสุทธาวาส ซึ่งเป็นวัดประจำพระราชวังบวรสถานมงคล หน้าบันของหอระฆังจำหลักลายไทยประกอบภาพตราประจำตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล โดยหน้าบันทิศตะวันตกเป็นภาพ "พระลักษณ์ทรงหนุมาน" ซึ่งเป็นตราประจำตำแหน่งองค์เดิม ส่วนหน้าบันทิศตะวันออก เป็นภาพ "พระนารายณ์ทรงปืน" ซึ่งเป็นตราประจำตำแหน่งองค์ที่ได้รับการปรับปรุงขึ้นใหม่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการเปิดและฉลองหอระฆังเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2445 พร้อมทั้งพระราชทานามว่า หอระฆังบวรวงศ์





เส้นทาง
    การเดินทาง : อยู่ไม่ไกลจากพระบรมรูปทรงม้า สวนอัมพรมากนัก

 ข่าวอัพเดท ข่าวสารอัพเดทสถานที่ :
ข่าวทั้งหมด 0 ข่าว

 
+ เพิ่ม | - ลด ขนาดตัวอักษร    


วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
    วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด เดิมชื่อ วัดแหลม หรือ วัดไทรทอง ภายหลังได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวใหม่ว่า วัดเบญจบพิตร ซึ่งหมายถึง วัดของเจ้านาย 5 พระองค์ที่ทรงร่วมกันปฏิสังขรณ์วัดแห่งนี้ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างสวนดุสิตขึ้นพระองค์ทรงทำผาติกรรมสถาปนาวัดขึ้นใหม่และพระราชทานามว่า วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม อันหมายถึง วัดของเจ้านาย 5 พระองค์ที่ทรงร่วมกันปฏิสังขรณ์วัด

    วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร เดิมเป็นวัดราษฎร์ ชื่อ วัดแหลม เนื่องจากตั้งอยู่บริเวณปลายแหลมที่สวนต่อกับทุ่งนา หรือ มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วัดไทรทอง เนื่องจากอาจมีต้นไทรอยู่ภายในวัด ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างเมื่อใด เมื่อ พ.ศ. 2369 ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ขึ้น พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพนมวัน กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาศิลา ทรงเป็นแม่ทัพรักษาพระนคร โดยทรงตั้งกองบัญชาการทัพที่วัดแหลม หลังจากปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์แล้ว กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ พร้อมพระอนุชาและพระขนิษฐาร่วมเจ้าจอมมารดาเดียวกันอีก 4 พระองค์ คือ
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากุญชร กรมพระพิทักษ์เทเวศร์ (ต้นราชสกุลกุญชร)
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทินกร กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ (ต้นราชสกุลทินกร)
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอินทนิล และ
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงวงศ์
    มีพระประสงค์ที่จะร่วมกันปฏิสังขรณ์วัดแหลม พร้อมทั้งทรงสร้างพระเจดีย์เรียงรายไว้หน้าวัด 5 องค์ ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ว่า วัดเบญจบพิตร หมายความว่า วัดของเจ้านาย 5 พระองค์

    ในปี พ.ศ. 2441 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ซื้อที่ดินระหว่างคลองผดุงกรุงเกษมจนถึงคลองสามเสนเพื่อสร้างที่ประทับพักผ่อนพระอิริยาบถส่วนพระองค์ โดยพระราชทานนามว่า "สวนดุสิต"[2] (พระราชวังดุสิต ในปัจจุบัน) ซึ่งบริเวณที่ดินที่ทรงซื้อนั้นมีวัดโบราณ 2 แห่ง คือ วัดดุสิตซึ่งอยู่ในสภาพทรุดโทรมโดยถูกใช้เป็นที่สร้างพลับพลา และวัดร้างอีกแห่งซึ่งจำเป็นต้องใช้ที่ดินของวัดสำหรับตัดเป็นถนน พระองค์จึงทรงกระทำผาติกรรม สร้างวัดแห่งใหม่เพื่อเป็นการทดแทนตามประเพณี โดยทรงเลือกวัดเบญจมบพิตรเป็นวัดที่ทรงสถาปนาตามพระราชดำริว่า การสร้างวัดใหม่หลายวัดยากต่อการบำรุงรักษา ถ้ารวมเงินสร้างวัดเดียวให้เป็นวัดใหญ่ และทำโดยฝีมือประณีตจะดีกว่า จึงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นผู้ทรงออกแบบก่อสร้างพระอุโบสถและถาวรวัตถุอื่น ๆ และมีพระยาราชสงคราม (กร หงสกุล) เป็นนายช่างก่อสร้าง

    เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2441 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมายังวัด ในการนี้มีพระบรมราชโองการประกาศพระบรมราชูทิศถวายที่ดินให้เป็นเขตวิสุงคามสีมาของวัด พร้อมทั้งพระราชทานนามวัดใหม่ว่า วัดเบญจมบพิตร อันหมายถึง วัดของพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลที่ 5 และเพื่อแสดงลำดับรัชกาลในมหาจักรีบรมราชวงศ์[3] ต่อมา พระองค์ได้ถวายที่ดินซึ่งพระองค์ขนานนามว่า ดุสิตวนาราม ให้เป็นที่วิสุงคามสีมาเพิ่มเติมแก่วัดเบญจมบพิตร และโปรดฯ ให้เรียกนามรวมกันว่า วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม

    เมื่อมีการจัดระเบียบพระอารามหลวงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในปี พ.ศ. 2458 วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามจัดเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ดังนั้น ชื่อวัดจึงมีสร้อยนามต่อท้ายด้วย "ราชวรวิหาร" ดังเช่นในปัจจุบัน

    พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ วัดเบญจมบพิตร เป็นพิพิธภัณฑ์ที่สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อจัดแสดงพระพุทธรูปทั้งในและนอกประเทศ

สถานที่ตั้ง : 69 ถนนพระรามที่ 5 แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
ถ่ายภาพเมื่อ : 6 สิงหาคม 2555
วันติดตั้งหน้าเว็บ : 8 ตุลาคม 2559
จำนวนผู้เข้าชม : 2579 ครั้ง
หมายเหตุ : เว็บมาสเตอร์เดินทางไปชมและถ่ายภาพเอง : ข้อมูลจาก : วิกิพีเดีย




ออกแบบโลโก้ ออกแบบกล่อง ออกแบบถุง ออกแบบสิ่งพิมพ์ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ วาดเส้น จิตรกรรม Drawing  Painting รับทำ SEO, ปั่นเว็บ, หน้า 1, อันดับ 1 ฮูปแต้ม, สิมอีสาน, ฮูบแต้ม, ศิลปะอีสาน, สิม, โบสถ์, หอไตร, สถาปัตยกรรมอีสาน
9809/1 Anankanak Rd., Tambol Kalasin, Amphoe Muang, Kalasin Province 46000 Thailand
www.artnana.com

98.81.24.230 =    Friday 13th September 2024
 IP : 98.81.24.230   คนที่กำลังอ่าน   Bookmark and Share   
Russia รัสเซีย  เรียนรัสเซีย  ภาษารัสเซีย ตุ๊กตารัสเซีย ของฝากรัสเซีย