+ เพิ่ม |
- ลด ขนาดตัวอักษร
สามพันโบก จ.อุบลราชธานี
โบก หรือแอ่ง หมายถึง บ่อน้ำลึกในแก่งหินใต้ลำน้ำโขง และคำว่า โบก เป็นภาษาของลาวที่มักนิยมเรียกกัน และ สามพันโบก กลายเป็นที่เพาะพันธุ์สัตว์น้ำจืด ในลำน้ำโขงตามธรรมชาติ แหล่งใหญ่ที่สุด รักษาระบบนิเวศน์และการขยายพันธุ์ของสัตว์น้ำในลำน้ำโขงให้อยู่ได้อย่างสมดุล ในช่วงหน้าแล้ง สามพันโบก จะโผล่พ้นน้ำให้เห็นเป็นคล้ายภูเขากลางลำน้ำโขง ความสวยงามวิจิตรของหินที่ถูกน้ำเซาะมองเห็นเป็นภาพศิลปะ บางแห่งใหญ่ขนาดเป็นสระว่ายน้ำ บางแอ่งขนาดเล็ก มีรูปร่างลักษณะที่แตกต่างกันออกไปเช่น รูปดาว วงรี และหินที่ถูกน้ำกัดเซาะจนดูคล้ายรูปหัวสุนัขพุดเดิ้ล มีความสวยงาม
สามพันโบก จัดว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวเกิดใหม่ ที่ชุมชนท้องถิ่น คุณครูเรืองประทิน เขียวสด ครูโรงเรียนบ้านสองคอน นายสมชาติ เบญจถาวรอนันท์ (เว็บมาสเตอร์อุบลดอทคอม) และผู้ใหญ่บ้านชาย บุดดีวัน ผู้ใหญ่บ้านโป่งเป้า และ อบต. เหล่างาม ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานอุบลราชธานี ริเริ่มพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวสามพันโบก นี้ขึ้นมา
จุดเด่นของแหล่งท่องเที่ยวสามพันโบกคือ จำนวนกุมภลักษณ์ ที่มีรูปร่าง รูปแบบ ขนาดต่างๆ เป็นจำนวนมาก (แก่งสามพันโบก) นอกจากนี้ยังมีการท่องเที่ยวทางน้ำ ที่สามารถศึกษาลักษณะของหินตะกอน ที่มีลักษณะต่างๆ เช่น หินหัวพะเนียง ปากบ้อง หินหัวสุนัข ผาหินศิลาเลข หาดหงส์ หาดหินสี หรือทุ่งหินเหลื่อม พร้อมกับการศึกษาวิถีชิวิตของประชาชนท้องถิ่นอีกด้วย การท่องเที่ยวดังกล่าวต้องศึกษา จากบริเวณชุมชนหาดสลึง และบริเวณสามพันโบก รายละเอียดเกี่ยวกับตำนานเรื่องเล่า ที่ผูกโยงกับแก่งหินงามสามพันโบก
ธรณีวิทยา : ลักษณะที่เป็นหลุมหรือบ่อที่เรียกว่า ทมภลักษณ์ (pothoie) ในหินทรายและ หินทรายปนกรวดของหมวดหินภูพาน อายุประมาณ 110 ล้านปี แสดงชั้นเฉียงระดับสวยงาม ซึ่งบ่งบอกถึง สภาวะการสะสมตัวในสภาพแวดล้อมทางนํ้าประสานสายและโค้งตวัด ในสภาพอากาศที่ค่อนข้างร้อนชื้น เมื่อ ประมาณ 65-97 ล้านปีมาแล้ว เกิดจากกระบวนการกร่อน(erosion) โดยกระแสนํ้าพัดพาเอากรวดทรายมา หมุนวนกัดกร่อนในแอ่งเล็กๆบนผิวหน้าชั้นหินจนเกิดเป็นโพรงโค้งเว้า
ต่อมาเมื่อการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้จัดทำและเผยแพร่โฆษณา ชุด เที่ยวไทยครึกครื้นเศรษฐกิจไทยคึกคัก ในปี พ.ศ. 2551 และหลังจากนั้นเป็นต้นมา สามพันโบก จึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่รู้จักของคนไทยทั่วไป
สถานที่ตั้ง : บ้านโป่งเป้า อำเภอโพธึ้ไทร จังหวัดอุบลราชธานี
ถ่ายภาพเมื่อ : 1 มกราคม 2557
วันติดตั้งหน้าเว็บ : 8 มีนาคม 2559
จำนวนผู้เข้าชม : 2521 ครั้ง
หมายเหตุ : เว็บมาสเตอร์เดินทางไปชมและถ่ายภาพเอง : ข้อมูลจาก fieldtrip.ipst.ac.th, dmr.go.th