สิม หอไตร ฮูปแต้ม



เมืองโบราณโนนเมือง อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น เมืองโบราณโนนเมือง อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น เมืองโบราณโนนเมือง อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น เมืองโบราณโนนเมือง อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น เมืองโบราณโนนเมือง อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น เมืองโบราณโนนเมือง อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น เมืองโบราณโนนเมือง อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น เมืองโบราณโนนเมือง อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น เมืองโบราณโนนเมือง อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น เมืองโบราณโนนเมือง อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น เมืองโบราณโนนเมือง อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น เมืองโบราณโนนเมือง อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น เมืองโบราณโนนเมือง อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น เมืองโบราณโนนเมือง อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น เมืองโบราณโนนเมือง อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น เมืองโบราณโนนเมือง อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น เมืองโบราณโนนเมือง อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น เมืองโบราณโนนเมือง อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น
  • เมืองโบราณโนนเมือง อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น
  • เมืองโบราณโนนเมือง อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น
  • เมืองโบราณโนนเมือง อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น
  • เมืองโบราณโนนเมือง อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น
  • เมืองโบราณโนนเมือง อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น
  • เมืองโบราณโนนเมือง อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น
  • เมืองโบราณโนนเมือง อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น
  • เมืองโบราณโนนเมือง อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น
  • เมืองโบราณโนนเมือง อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น
  • เมืองโบราณโนนเมือง อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น
  • เมืองโบราณโนนเมือง อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น
  • เมืองโบราณโนนเมือง อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น
  • เมืองโบราณโนนเมือง อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น
  • เมืองโบราณโนนเมือง อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น
  • เมืองโบราณโนนเมือง อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น
  • เมืองโบราณโนนเมือง อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น
  • เมืองโบราณโนนเมือง อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น
  • เมืองโบราณโนนเมือง อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น
 Isan Upload
รวมภาพที่เกี่ยวข้องกับสถานที่

 ข่าวอัพเดท ข่าวสารอัพเดทสถานที่ :
ข่าวทั้งหมด 0 ข่าว

โบราณสถานและแหล่งโบราณคดีสำคัญอื่นๆ ในเขตอำเภอชุมแพ
    1. แหล่งโบราณคดีบ้านหนองบัว เป็นแหล่งโบราณคดีที่อยู่ไม่ไกลจากเมืองโบราณโนนเมืองนัก ห่างไปทางใต้ประมาณ 3 กิโลเมตร พบโครงกระดูกมนุษย์ เครื่องประดับ เครื่องใช้สำริดและภาชนะดินเผาสมัยก่อนประวัติศาสตร์
    2. แหล่งโบราณคดีบ้านบัวสิมมา เป็นที่ตั้งชุมชนโบราณที่พบหลักฐานในสมัยทวารวดีจนถึงสมัยลพบุรีประกอบด้วยกลุ่มในเสมาหินและโบราณสถานศิลาแลง
    3. วัดพระนอน เป็นสถานที่เก็บรักษาใบเสมาหินทรายที่พบภายในบริเวณเมืองโบราณโนนเมือง
    4. พระพุทธไสยาสน์ภูเวียง เป็นภาพสลักรูปพระนอนหรือรูปพระพุทธไสยาสน์บนหน้าผาขาวเขาภูเวียงมีขนาดยาวประมาณ 3,080 เมตร ลักษณะแบบศิลปะทวารวดี


    เส้นทางเข้าสู่แหล่งโบราณคดีโนนเมือง เดินทางจากจังหวัดขอนแก่น ตามเส้นทางถนนมะลิวัลย์ (ถนนสายขอนแก่น-ชุมแพ) กิโลเมตรที่ 84 เลี้ยวซ้ายผ่านถนนทหารพรานที่ 25 มีทางแยกเข้าสู่แหล่งโบราณคดี
 
+ เพิ่ม | - ลด ขนาดตัวอักษร    


เมืองโบราณโนนเมือง อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น
    จากการสำรวจและขุดค้นโดยหน่วยศิลปากรที่ ๗ จังหวัดขอนแก่น เมื่อ พ.ศ 2525 - 2526 พบว่าบ้านโนนเมืองมีความเก่าแก่ถึง ๓ ช่วงสมัยติดต่อกัน คือ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายอายุราว 3,000 ปี สมัยประวัติศาสตร์ตอนต้นเรียกว่าสมัยทวาราวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 13 - 16 และสมัยประวัติศาสตร์เรียกว่า ลพบุรี ราวพุทธศตวรรษที่ 16 - 19
    ลักษณะทั่วไป มีคูน้ำและคันดินรูปกลมรี เป็นแหล่งพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง มีหลุมขุดค้นสาธิตขนาดใหญ่ 5 หลุม ให้ศึกษา
    หลักฐานที่พบ พบใบเสมาหินทรายกระจายอยู่ทั่วไป คูเมืองขนาดใหญ่แสดงให้เห็นชุมชนซึ่งเป็นศูนย์กลาง และชุมชนย่อยกระจายอยู่โดยรอบ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์ มีโครงกระดูกมนุษย์โบราณฝังอยู่เป็นระเบียบและสมบูรณ์ มีเครื่องใช้ กำไลมือ กำไลเท้าที่อุทิศให้แก่ศพ และเครื่องปั้นดินเผาแบบต่าง ๆ มีใบเสมาสมัยทวาราวดีเป็นจำนวนมาก หนึ่งในนั้นได้นำไปทำเป็นเสาหลักเมืองของเทศบาลนครขอนแก่น และเสาหลักเมืิองอำเภอชุมแพ


    ในปี พ.ศ. 2513 หน่วยศิลปากรที่ 7 ได้สำรวจพบเมืองโบราณโนนเมืองเป็นครั้งแรก ต่อมาในปี พ.ศ. 2525 ถึง 2526 จึงได้ดำเนินขุดตรวจ-ขุดค้นจำนวน 7 หลุมแล้วทำหลังคาคลุมหลุมขุดค้นไว้จำนวน 6 หลุม เพื่อแสดงในลักษณะพิพิธภัณฑ์สถานกลางแจ้ง และในปี พ.ศ. 2534 - 2535 ได้รับงบประมาณการศึกษาและพัฒนาแหล่งจากโครงการน้ำพระทัยจากในหลวง ( โครงการอีสานเขียว ) จึงได้ขุดค้นเพื่อหาหลักฐานเพิ่มเติมอีกจำนวน 6 หลุม รวมทั้งหมด 13 หลุมด้วยกัน โดยจัดแสดงเป็นพิพิธภัณฑสถานกลางแจ้ง ให้ผู้ที่สนใจได้ชมและศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับเมืองนี้ได้อย่างใกล้ชิด
    เมื่อหน่วยศิลปากรที่ 7 ขอนแก่น ได้ทำการขุดค้นเพื่อศึกษาหลักฐานและข้อมูลเกี่ยวกับเมืองโบราณโนนเมือง จึงได้พบว่า ที่นี่มีคนอยู่อาศัยมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ คือราว 2,500 ปีมาแล้ว อยู่อาศัยเรื่อยมาจนถึงสมัยทวารวดี ( พุทธศตวรรษที่ 12 - 16 ) มีการสร้างเมืองขนาดใหญ่ โดยขุดคูเมืองและก่อคันดินเป็นกำแพงเมือง จากการค้นพบกลุ่มใบเสมาในตัวเมืองโนนเมือง เมืองนี้จึงอาจมีความสำคัญในระดับศูนย์กลางทางศาสนาหรือเป็นที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาในช่วงสมัยนั้นก็เป็นได้ คนที่นี่อยู่อาศัยต่อมาจนถึงสมัยลพบุรี (พุทธศตวรรษที่ 16 - 17 ) และทิ้งร้างไปในที่สุด
    จากการขุดค้นในปี พ.ศ. 2525 - 2526 พบโครงกระดูจำนวน 11 โครง และจากการขุดค้นในปี 2535 พบโครงกระดูจำนวน 17 โครง เป็นเพศชาย 6 โครง หญิง 6 โครง ไม่สามารถระบุเพศได้ 5 โครง พบว่าโครงกระดูถูกฝังให้นอนหงายเหยียดยาว ส่วนใหญ่หันศรีษะไปทางทิศตะวันตก ตะวันตกเฉียงเหนือ หรือตะวันตกเฉียงใต้มัดแขนให้แนบลำตัวมัดช่วงเข่าและปลายเท้าให้ชิดกัน มีการเตรียมพื้นที่หลุมฝังศพด้วยภาชนะดินเผาทุบแตกไว้รองรับศพ บางโครงก็รองรับเฉพาะด้านล่างบางโครงก็โรยไว้ข้างๆ และวางภาชนะดินเผาที่ปลายเท้ารวมทั้งเครื่องประดับ เครื่องใช้และกระดูกสัตว์ ( อาหารสำหรับผู้ตาย ) จากสิ่งของต่างๆ ที่พบฝังร่วมกับโครงกระดูก ทำให้ทราบว่าบรรพบุรุษแห่งโนนเมืองคงจะมีความเชื่อในเรื่องของการตายแล้วเกิดใหม่
    หลังจากที่พุทธศาสนาในช่วงวัฒนธรรมทวารวดีเผยแพร่เข้ามาสู่โนนเมือง ประเพณีการฝังศพก็เปลี่ยนไปเนื่องจากไม่พบหลักฐานของการฝังศพในชั้นดินสมัยนี้ และไม่พบโครงกระดูกใด มีโบราณวัตถุสมัยทวารวดีฝังร่วมอยู่ด้วย จึงเป็นไปได้ว่าอาจมีการเผาศพแทนการฝัง
    โครงกระดูกที่จัดแสดงในหลุมขุดค้นที่นี่ล้วนเป็นโครงกระดูกของมนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายทั้งสิ้น
    จากโครงกระดูกจำนวน 17 โครง ( จากการขุดค้นปี พ.ศ. 2525 ) เป็นโครงกระดูกเด็ก 1 โครง นอกนั้นมีอายุระหว่าง 20 - 45 ปี ผู้หญิงมีความสูงเฉลี่ย 159 เซนติเมตร ผู้ชายสูงเฉลี่ย 164 เซนติเมตร จากช่วงอายุดังกล่าว จะเห็นได้ว่ามีอายุไม่ยืนนัก และเชื่อว่าคนเหล่านี้คงตายด้วยโรคภัยไข้เจ็บ


    หลักฐานต่างๆ ที่พบจากการขุดค้น ทำให้ทราบว่าผู้คนที่อาศัยอยู่ที่เมืองโบราณโนนเมืองแห่งนี้ ดำรงชีวิตด้วยการเกษตรกรรม การปศุสัตว์ และการล่าสัตว์ เช่นเดียวกับชุมชนโบราณอื่นๆ ในสมัยเดียวกัน
    เครื่องมือเหล็กประเพศ จอบ ใบมีด เคียว คงใช้ในการถากถางดินเพื่อการเกษตรกรรม ส่วนกระดูกสัตว์ก็พบหลายประเภทด้วยกัน คือ วัว ควาย เก้ง กวาง และปลาหลายชนิด พบหนาแน่นมากในชั้นดินช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์
    กระดูกวัวและควายคล้ายกับที่พบจากการขุดค้นที่แหล่งโบราณคดีโนนนกทา อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งบ่งชี้ว่าเป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อการกสิกรรมและเป็นอาหาร ส่วนสัตว์ป่าอื่นๆ คงถูกล่าเพื่อนำมาเป็นอาหาร


สถานที่ตั้ง : เมืองโบราณโนนเมือง บ้านนาโพธิ อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น
ถ่ายภาพเมื่อ : 24 ธันวาคม 2559
วันติดตั้งหน้าเว็บ : 29 ธันวาคม 2559
ปรับปรุงล่าสุด :
จำนวนผู้เข้าชม : 6732 ครั้ง
ที่มาข้อมูล : prapayneethai.com, khonkaenjob.com
หมายเหตุ : เว็บมาสเตอร์เดินทางไปชมและถ่ายภาพเอง

ออกแบบโลโก้ ออกแบบกล่อง ออกแบบถุง ออกแบบสิ่งพิมพ์ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ วาดเส้น จิตรกรรม Drawing  Painting รับทำ SEO, ปั่นเว็บ, หน้า 1, อันดับ 1 ฮูปแต้ม, สิมอีสาน, ฮูบแต้ม, ศิลปะอีสาน, สิม, โบสถ์, หอไตร, สถาปัตยกรรมอีสาน
9809/1 Anankanak Rd., Tambol Kalasin, Amphoe Muang, Kalasin Province 46000 Thailand
www.artnana.com

98.81.24.230 =    Friday 13th September 2024
 IP : 98.81.24.230   คนที่กำลังอ่าน   Bookmark and Share   
Russia รัสเซีย  เรียนรัสเซีย  ภาษารัสเซีย ตุ๊กตารัสเซีย ของฝากรัสเซีย