สิม หอไตร ฮูปแต้ม



แหล่งโบราณคดีดงเมืองเตย แหล่งโบราณคดีดงเมืองเตย แหล่งโบราณคดีดงเมืองเตย แหล่งโบราณคดีดงเมืองเตย แหล่งโบราณคดีดงเมืองเตย แหล่งโบราณคดีดงเมืองเตย แหล่งโบราณคดีดงเมืองเตย แหล่งโบราณคดีดงเมืองเตย แหล่งโบราณคดีดงเมืองเตย แหล่งโบราณคดีดงเมืองเตย แหล่งโบราณคดีดงเมืองเตย แหล่งโบราณคดีดงเมืองเตย แหล่งโบราณคดีดงเมืองเตย แหล่งโบราณคดีดงเมืองเตย แหล่งโบราณคดีดงเมืองเตย แหล่งโบราณคดีดงเมืองเตย แหล่งโบราณคดีดงเมืองเตย แหล่งโบราณคดีดงเมืองเตย
  • แหล่งโบราณคดีดงเมืองเตย
  • แหล่งโบราณคดีดงเมืองเตย
  • แหล่งโบราณคดีดงเมืองเตย
  • แหล่งโบราณคดีดงเมืองเตย
  • แหล่งโบราณคดีดงเมืองเตย
  • แหล่งโบราณคดีดงเมืองเตย
  • แหล่งโบราณคดีดงเมืองเตย
  • แหล่งโบราณคดีดงเมืองเตย
  • แหล่งโบราณคดีดงเมืองเตย
  • แหล่งโบราณคดีดงเมืองเตย
  • แหล่งโบราณคดีดงเมืองเตย
  • แหล่งโบราณคดีดงเมืองเตย
  • แหล่งโบราณคดีดงเมืองเตย
  • แหล่งโบราณคดีดงเมืองเตย
  • แหล่งโบราณคดีดงเมืองเตย
  • แหล่งโบราณคดีดงเมืองเตย
  • แหล่งโบราณคดีดงเมืองเตย
  • แหล่งโบราณคดีดงเมืองเตย




ถ่ายภาพเมื่อ : 27 สิงหาคม 2560
     ภาพอาคารดงเมืองเตยสร้างทับหลุมขุดค้น ปัจจุบันยังไม่ได้ใช้งานจัดแสดง และ ภาพบริเวณศาลาโถงใช้เป็นห้องจัดแสดงวัตถุโบราณ


ถ่ายภาพเมื่อ : 27 สิงหาคม 2560
      ภาพปราสาทอิฐเป็นปราสาทขอมโบราณที่ขุดค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2526 และได้ทำการขุดค้นเพิ่มเติมในปี 2534


    อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม สำรวจบริเวณเนินดินที่บ้านสงเปือย และพบว่าเป็นเมืองโบราณชื่อเมืองดอย ภายในเมืองปรากฏส่วนซากฐานรากโบราณสถาน ศาสตราจารย์โกรลิเยร์ (B.P.Groslier) กล่าวว่าเป็นฐานของโบราณสถานในศิลปะเจนละ และยังพบชิ้นส่วนประกอบสถาปัตยกรรมมีจารึกสมัยพระเจ้าจิตรเสนด้วย


    อาจารย์ประยูร อุลุชาฏะ ศึกษาโบราณสถานแห่งนี้และสันนิษฐานว่าเป็นสถาปัตยกรรมในศิลปะเจนละ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 11-12 รูปแบบอาคารเหมือนกับอาคารในศิลปะคุปตะรุ่นหลังของอินเดีย

    เมืองโบราณดงเมืองเตย บ้านเมืองเตย ต.สงเปือย อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร มีลักษณะเป็นเมืองโบราณที่มี คูน้ำ คันดินล้อมรอบเนินดินขนาดใหญ่ คูน้ำคันดินมีรูปร่างค่อนข้างรี จากการศึกษาทางโบราณคดี พบการอยู่อาสัยภายในเมืองโบราณดงเมืองเตย มาตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อประมาณ 2,500 ปี มาแล้ว โดยพบหลักฐานเครื่องมือหินขัด พิธีกรรมการฝังศพครั้งที่สองในภาชนะดินเผา และภาชนะดินเผาน้ำเคลือบสีแดง (ซึ่งพบแพร่หลายในแหล่งโบราณคดีเขตแม่น้ำมูล-ชี ตอนล่าง)
    ในช่วงเวลาต่อมาพบว่า ภายในเมืองโบราณดงเมืองเตย มีการพบกระบอกอัดลมแบบ 2 สูบ และเศษตระกันเหล้กทั่วบริเวณเมืองโบราณ อาจสันนิษฐานได้ว่า น่าจะเป็นแหล่งถลุงเหล็ก โดยเมืองโบราณดงเมืองเตยตั้งอยู่ห่างจากแม่น้ำชีมาทางทิศตะวันออกประมาณ 6 กิโลเมตร เมื่อชุมชนมีขนาดใหญ่ รวมทั้งได้รับอิทธิพลความเชื่อและศาสนาจากภายนอก ได้แก่ศาสนาพุทธและพราหมณ์-ฮินดู เป็นต้น
    ทำให้บริเวณเมืองโบราณดงเมืองเตยเคยพบหลักฐาน อันเกี่ยวเนื่องกับศาสนาทั้งพุทธและพราหมณ์-ฮินดู อันได้แก่ โบราณสถานดงเมืองเตย รวมทั้งโบราณวัตถุ และสิ่งประกอบอาคารที่สร้างเกี่ยวเนื่องกับศาสนา เช่น ใบเสมา พระพุทธรูป กุฑุสลักรูปสตรีที่ทำด้วยหินทราย ตลอดจนวงกบกรอบประตู ทำด้วยหินทรายสีแดง ขนากกว้างประมาณ 80 เซ็นติเมตร สูงประมาณ 200 เซ็นติเมตร หนาประมาณ 60 เซ็นติเมตร มีจารึก 1 ด้าน มี 4 บรรทัด


อักษรปัลลวะภาษาสันสกฤต ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12-13 มีใจความว่า...

1. พระศรีมารประวรเสนะ ได้เป็นใหญ่ในเมืองศังขะปุระโดยรอบ แม้พระโอรสของพระองค์ ก็ได้เป็นโกรญ..
2. บุตรีของพระโกรญจพาหุ คนที่ 12 ก็ได้เป็นผู้ที่มีอำนาจ พระอนุชาของบุคคลเหล่านั้น มีนามว่า ศรีมานุญชุลี
3. เพราะมีความปรารถนาในธรรม พระองค์ผู้เป็นเช่นเดียวกับพราหมณ์ จึงได้รับขนานนามที่สัมพันธ์กับชคัทธรรมว่า ศรีธรรมเสนะ
4. เพราะเหตุนั้น พระนางเมื่อประกาศทุรเมาลี อันเป็นมาลัยแห่งความภักดีสูงสุด จึงได้สร้างลิงคโลก ที่นางเคารพบูชา ใว้ในที่นี้


 Isan Upload


รวมภาพเก่าๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานที่



ถ่ายภาพเมื่อ : 27 สิงหาคม 2560
      ภาพการพัฒนาก่อสร้างพระพุทธรูปและพญานาคต่างๆ ซึ่งเกิดข้อพิพาทฟ้องร้องกับกรมศิลปากร ถึงการบุกรุกโบราณสถานดงเมืองเตย ตามการกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานสำหรับชาติ เล่มที่ 121 ตอนพิเศษ 53ง หน้า 5 วันที่ 10 พฤษภาคม 2547่ (เกิดข้อพิพาท ปี พ.ศ. 2558 คดียังไม่สิ้นสุด)





 

แหล่งโบราณคดีดงเมืองเตย จ.ยโสธร
    โบราณสถานดงเมืองเตย ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณ สถานของชาติตามราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 53 ตอนที่ 34 วันที่ 27 กันยายน พ.ศ.2479
    เจ้าหน้าที่โครงการโบราณคดีประเทศไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) สำรวจเพื่อศึกษาที่ตั้ง สภาพภูมิศาสตร์ ลักษณะผังเมือง และหลักฐานทางโบราณคดีต่างๆ สันนิษฐานในเบื้องต้นว่าน่าจะเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนา ได้รับอิทธิพลของเขมรสมัย ก่อนเมืองพระนคร สมัยพระเจ้าจิตรเสน ราวพุทธศตวรรษที่ 12-13 (โครงการโบราณคดีประเทศไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) 2526 : 1-12)
    หน่วยศิลปากรที่ 6 กองโบราณคดี กรมศิลปากรได้เล็งเห็นถึงความ สำคัญของแหล่งโบราณคดีดงเมืองเตย จึงได้ดำเนิน “โครงการขุดค้น-ขุดแต่ง โบราณสถานดงเมืองเตย บ้านสงเปือย ตำบลสงเปือย อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร” เพื่อขุดค้น-ขุดแต่งเนินดินแห่งนี้เป็นครั้งแรก โดยการขุดค้นเมื่อ พ.ศ.2526 นั้น พบว่าทางด้านทิศตะวันออกของเนินดินมีบันไดทางขึ้นทำด้วยหินทรายแดง และพบแนว อิฐที่ยื่นมาทสงด้านหน้าประมาณ 1 เมตร ด้านใต้มีร่องรอยการลักลอบ ขุดเป็นหลุมกว้างขนาด 1.2 เมตร สูง 1.7 เมตร จึงได้ทำการก่ออิฐปิดส่วนนี้และ ได้ต่อเติมมุมเจดีย์ด้านตะวันออกเฉียงเหนือเป็นลักษณะย่อมุม
    ด้านตะวันตกของเจดีย์พบชิ้นส่วนแขนประติมากรรมทำจากหิน ทรายสีเขียว ขนาดยาวประมาณ 8 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 เซนติเมตร และพบชิ้นส่วนภาชนะดินเผาแบบเขมรกระจายอยู่ทั่วไป ด้านบนของเจดีย์มีลักษณะเป็นห้อง สี่เหลี่ยมมีความสูงขององค์เจดีย์ประมาณ 2 เมตร พระมหากัสสัปะเถระผู้ใหญ่จึงมอบให้พระอรหันต์รูปหนึ่งไปนำพระอังคารธาตุจากที่ถวายเพลิง พระศพสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาประดิษฐานไว้ในพระเจดีย์แห่งนี้ จึงนับว่าพระธาตุนารายณ์เจงเวง เป็นโบราณสถานที่สำคัญของเมืองสกลนคร
    นายชะเอม แก้วคล้าย ได้วิเคราะห์จารึกดอนเมืองเตยอีก ครั้งนี้อีกครั้งและพบว่าแท้จริงแล้วสำเนาจารึกทั้ง 4 แผ่น เป็นสำเนาของจารึกแผ่นเดียวกัน แต่ทำสำเนาแยกกัน ดังนั้นเมื่อนำสำเนาจารึกทั้ง 4 ชิ้น มาเรียงต่อกันให้ถูกต้องแล้วก็สามารถ อ่านและแปลความหมายได้ จึงได้นำคำอ่านและแปลใหม่นี้ลงตีพิมพ์ในหนังสือ “เมืองอุบลราชธานี” เมื่อปี พ.ศ.2532
    หน่วยศิลปากรที่ 6 ดำเนิน “โครงการขุดแต่งและเสริมความมั่นคง โบราณสถานดงเมืองเตย บ้านสงเปือย ตำบลสงเปือย อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร” โดยเป็นโครงการฟื้นฟูและบูรณะโบราณสถานเพื่อพัฒนาในเขตพื้นที่อีสานเขียว ดำเนินการ ขุดแต่งโบราณสถานดงเมืองเตยครั้งที่ 2 โดยขุดพื้นที่บริเวณโดยรอบโบราณสถาน ทำให้สามารถเห็นรูปแบบสถาปัตยกรรมของโบราณสถานได้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยโบราณสถาน แห่งนี้เป็นเจดีย์ก่ออิฐไม่สอปูนทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า สูงประมาณ 1.7 เมตร มีฐานเขียง 2 ชั้น มีบันไดทางขึ้นด้านทิศตะวันออกและมีอัฒจรรย์ก่อด้วยอิฐอยู่ด้านหน้า ถัดไปเป็นทางเดิน ด้านหน้ายาวประมาณ 28 เมตร รอบองค์เจดีย์มีลักษณะเป็นลานอิฐ สันนิษฐานว่าเป็น การนำอิฐส่วนที่พังทลายมาต่อเติมขึ้นภายหลัง นอกจากการขุดแต่งโบราณสถานแล้ว หน่วยศิลปากรที่ 6 ยังได้ทำการขุดหลุมทดสอบเพื่อตรวจสอบชั้นวัฒนธรรมหรือการใช้พื้นที่ของคนในอดีต โดยขุดบริเวณที่เนินห่างจากโบราณสถานดงเมืองเตยไปทางทิศเหนือประมาณ 30 เมตร จาการขุดค้นสามารถแบ่งชั้นดินธรรมชาติได้ออกเป็น 6 ชั้น และชั้นวัฒนธรรมได้ 4 สมัย (ธรดรา ทองสิมา และนฤมล เภกะนันท์ 2536 : 14-49)

    ชุมชนโบราณต่างๆ บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหรือตอนล่าง และมีข้อเสนอว่าบริเวณที่เป็นต้นกำเนิดของอาณาจักรเจนละอยู่ตรงพื้นที่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของไทย เมืองโบราณดงเมืองเตยเป็นเมืองหนึ่งในอาณาจักรเจนละ และเป็นศูนย์กลางของเมืองเล็กๆ โดยรอบ การค้นคว้าศึกษาข้อมูลต่างๆ ดังนี้ เครื่องมือเครื่องใช้, การปลงศพ, ภาชนะดินเผา, ประวัติศาสตร์ศิลปะ, การตั้งถิ่นฐาน-การใช้พื้นที่, สถาปัตยกรรม, ความเชื่อ, โลหะ, สภาพสังคม, สภาพแวดล้อม เป็นต้น

    ลำดับอายุแหล่งโบราณคดีดงเมืองเตย

โครงกระดูกเด็กผู้ชาย ขุดค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2555 - 2556 ประมาณ 2,500 - 1,600 ปีแล้ว
โครงกระดูกเด็กผู้ชาย ขุดค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2555 - 2556 บริเวณที่สูงที่สุดของดงเมืองเตย ในระดับความลึกจากผิวดินประมาณ 5 เมตร ปัจจุบัน กรมศิลปากรได้จำลองเสมือนจริงและได้จัดแสดงภายในสำนักสงฆ์ดงเมืองเตย

หม้อบรรจุกระดูกมนุษ์ ประมาณ 1,800 - 1,470 ปีที่แล้ว
เตาถลุงเหล็ก หม้อบรรจุกระดูกมนุษ์ ขุดค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2557 บริเวณตรงกลางเมืองโบราณดงเมืองเตย ฝั่งทิศตะวันตก แสดงให้เห็นว่ามีผู้คนอาศัยอยู่บริเวณนี้ มาตั้งแต่สมัยยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย หรือก่อนที่จะมีการสร้างปราสาทขอมโบราณ

ปราสาทอิฐ ประมาณ 1,300 ปีที่แล้ว
ปราสาทอิฐเป็นปราสาทขอมโบราณที่ขุดค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2526 และได้ทำการขุดค้นเพิ่มเติมในปี 2534 ทำให้เห็นแนวชาลาทางเดินเชื่มไปยังปราสาท พิจารณาจากรูปแบบโครงสร้างปราสาทและลวดลายสลักบนอิฐรูปบัวหงายที่ปรากฏด้านข้างและด้านหลังปราสาท จึงสันนิษฐานได้ว่า อยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 13?

ใบเสมา ประมาณ 1,300 - 1,200 ปี
ใบเสมา ขุดค้นพบภายในเมืองโบราณดงเมืองเตยและโดยรอบเมือง มีทั้งแบบรูปทรงทั่วไปและแบบแท่งแปดเหลี่ยม ทำจากหินทรายสีแดง แสดงว่าพุทธศาสนาเข้ามายังดินแดนแถบนี้ด้วย

สิงห์ ขุดค้นพบเมื่อปี พ.ส. 2534 ประมาณ 1,000 ปีที่แล้ว
สิงห์ ขุดค้นพบเมื่อปี พ.ส. 2534 บริเวณด้านหน้าปราสาทอิฐ ห่างไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 10 เมตร พิจารณาจากรูปแบบศิลปะ จึงสันนิษฐานได้ว่ามีอายุในราวครึ่งแรกของพุทธสตวรรษที่ 16 ปัจจุบันเก็บรักษาของจริงไว้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอุบลราชธานี และทางกรมศิลปากรได้จำลองสิงห์เสมือนจริงมาจัดแสดงที่นิทรรศการแห่งนี้



    โบราณวัตถุสำคัญ ซึ่งได้จากการขุดแต่งโบราณสถาน ในปี พ.ศ. 2534 คือ
    สิงห์สลักจากหินทรายสีขาว
    ศิลปะเขมรสมัยแปรรูป อายุราวพุทธศตวรรษที่ 15 โดยพบบริเวณทางเดินด้านหน้า สูงประมาณ 115 เซ็นติเมตร สภาพสมบูรณ์ อยู่ในท่ายืนด้วยขาหน้า ส่วนขาหลังย่อเข่าเขย่งเท้า ส่วนหัวสลักผม มีครอบหน้าคล้ายกระบัง สลักอวัยวะหน้าตาทุกส่วน ขนคอสลักเป็นแผง ส่วนหางพาดผ่านกลางหลัง ปลายหางตั้งขึ้นแนบส่วนหัวด้านหลัง ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอุบลราชธานี
    ลักษณะโบราณสถานดงเมืองเตย สิ่งก่อสร้างหลัก คือ ฐานเจดีย์ก่ออิฐ ไม่สอปูน ทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า สูงประมาณ 1.7 เมตร มีฐานเขียง 2 ชั้น และชุดบัวคว่ำบัวหงาย มีการแกะตกแต่งบริเวณท้องไม้ลายตารางและลายบัวรวน บริเวณชั้นบัวหงายด้านหน้า มีฐานเดินเชื่อมต่อกับฐานโบราณสถาน ก่อด้วยอิฐ ทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ที่มีความกว้างและความยาวใกล้เคียงกันเกือบจะเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส และมีทางเดินปูอิฐยาวประมาณ 28 เมตร กว้างประมาณ 4 เมตร

    สรุป สิ่งก่อสร้างหรือปราสาทนี้ สร้างขึ้นเนื่องในศาสนาฮินดู เมื่อประมาณ 1,300-1,400 ปี มาแล้ว โดยพบจารึกอักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต ที่กรอบประตู กล่าวถึงการสร้างปราสาท เพื่อประดิษฐาน ศิวลิวค์ (รูปเคารพแทนพระศิวะ)
    ปัจจุบัน ปราสาทหลังนี้ พังทลายลง เหลือเพียงส่วนฐานและบางส่วนของ ห้องครรภคฤหะ (ห้องประดิษฐานรูปเคารพ) และยังพบลายสลักอิฐรูปกลีบบัว ที่ประดับรอบฐานของปราสาท ซึ่งถือว่าสวยงามและหาดูได้ยากมาก
    นอกจากการขุดค้นทางโบราณคดีบนเนินดินแห่งนี้ พบว่ามีการตั้งบ้านเรือน ถลุงโลหะและได้ใช้เป็นสุสานของมนุษย์ มาตั้งแต่ 1,600-1,700 ปี (กำหนดอายุด้วยวิธี C14-AMS Dating)
    โบราณสถานแห่งนี้ ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 53 ตอนที่ 34 ลงวันที่ 27 กันยายน 2479
    สำนักศิลปากรที่ 11 อุบลราชธานี



    กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานดงเมืองเตย 2 ครั้ง คือ
1. การกำหนดจำนวนโบราณสถานสำหรับชาติ เล่มที่ 53 หน้า 1535 วันที่ 27 กันยายน 2479
2. การกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานสำหรับชาติ เล่มที่ 121 ตอนพิเศษ 53ง หน้า 5 วันที่ 10 พฤษภาคม 2547่

 Isan Upload


ถ่ายภาพเมื่อ : 25 มกราคม 2559



สถานที่ตั้ง : บ้านเมืองเตย หมู่ที่ 8 ต.สงเปือย อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร
พิกัด : 15.639720 N, 104.258188 E
ถ่ายภาพเมื่อ : 3 พฤษภาคม 2556 / 25 มกราคม 2559 / 28 สิงหาคม 2560
วันติดตั้งหน้าเว็บ : 4 เมษายน 2558
ข้อมูลจาก : sac.or.th
ปรับปรุงล่าสุด : 28 สิงหาคม 2560
จำนวนผู้เข้าชม : 5815 ครั้ง
หมายเหตุ : เว็บมาสเตอร์เดินทางไปชมและถ่ายภาพเอง


ออกแบบโลโก้ ออกแบบกล่อง ออกแบบถุง ออกแบบสิ่งพิมพ์ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ วาดเส้น จิตรกรรม Drawing  Painting รับทำ SEO, ปั่นเว็บ, หน้า 1, อันดับ 1 ฮูปแต้ม, สิมอีสาน, ฮูบแต้ม, ศิลปะอีสาน, สิม, โบสถ์, หอไตร, สถาปัตยกรรมอีสาน
9809/1 Anankanak Rd., Tambol Kalasin, Amphoe Muang, Kalasin Province 46000 Thailand
www.artnana.com

98.80.143.34 =    Saturday 05th October 2024
 IP : 98.80.143.34   คนที่กำลังอ่าน   Bookmark and Share   
Russia รัสเซีย  เรียนรัสเซีย  ภาษารัสเซีย ตุ๊กตารัสเซีย ของฝากรัสเซีย